===
ข้าพเจ้าเป็นผู้สนใจการจราจร และคิดแก้ปัญหาการจราจร เพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยได้ศึกษา และรู้จักประโยชน์ของ (๑) ramp meter, (๒) reversible-lane system, (๓) traffic-light (signal) synchronization, ได้เข้าใจภาวะการจราจรติดขัดแบบ (๔) phantom-traffic jam, (๕) traffic wave, (๖) แถวลด-รถเบียด เป็นต้น.
===
ขอชวนผู้เดือดร้อน
เป็น 'ผู้ร่วมฟ้องสอด'
ร่วมกับผม
ที่ได้ฟ้องต่อ ภาครัฐ ต่อศาลปกครอง เพื่อให้สามารถ กลับรถ จากถนนงามวงศ์วานฝั่งขาออก ไปงามวงศ์วานฝั่งขาเข้า ที่แยกแครายได้.
ผู้เดือดร้อนคือ (1) ผู้ที่อยู่ในย่านซอยงามวงศ์วานเลขที่ 1-19
(2) ผู้ที่เดือดร้อนจากรถติดย่านแคราย, งามวงศ์วาน, และใกล้เคียง.
ประเด็นก็คือ: (1) ยิ่งมีรถบนถนนมากเท่าไร ในทุกแห่งหน, รถยิ่งติดมากเท่านั้น.
ดังนั้นหากให้กลับรถได้, รถจะถึงที่หมายเร็วขึ้น จึงไม่รบกวนการจราจรทุกแห่งที่รถไป และบริเวณอื่นที่ต่อเนื่องติดกัน เนื่องจากการจราจรติดขัดแห่งหนึ่งย่อมมีผลไปยังแห่งอื่น โดยเฉพาะเมื่อมีรถจำนวนมากเกี่ยวข้อง.
(2) ในช่วงเร่งด่วน รถที่ต้องการกลับรถดังกล่าว เกือบทั้งหมด ก็วิ่งพื้นราบบนงามวงศ์วานขาออกมุ่งแคราย แล้วไปเลี้ยวขวาเข้าถนนติวานนท์ แล้วจึงกลับรถ เพื่อมาแยกแครายอีกครั้ง เพราะเส้นทางนี้มีรถติดน้อยที่สุด, ระยะทางสั้นสุด, และได้เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด "ดังนั้น" หางแถวที่มี หากมี (เพราะรถกลุ่มนี) ก็มีเท่าเดิม และ ลดน้อยกว่าเดิม เพราะได้ถึงที่หมายเร็วขึ้น คือไม่ไปรบกวนการจราจรของทุกถนน.
(3)
การกลับรถดังกล่าว ไม่รบกวนการจราจร คือไม่ทำให้รถจากเส้นใดติดขัดเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะว่า
ขอเฉพาะ ให้กลับรถดังกล่าวได้เมื่อ อยู่ในเลนขวาสุด บนงามวงศ์วานขาออก และเมื่อได้รับสัญญาณไฟเขียวให้เลี้ยวขวาเข้า ถ.ติวานนท์ ที่แยกแคราย ในจังหวะนี้ ก็กลับรถไปยังถนนแครายฝั่งขาเข้า. แบบนี้แล้วมิได้เป็นการขวางเส้นทางของรถบนถนนใด แม้กระทั่ง รถ บนถนนติวานนท์ที่ได้เลี้ยวซ้ายผ่านตลอดเข้างามวงศ์วาน เพราะว่ามีพื้นที่ผิวถนนกว้างพอ.
ผมได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองแล้ว
อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะรับคำฟ้องหรือไม่.
หากท่านใดอยากเป็น 'ผู้ร่วมฟ้องสอด' หลังไมค์มาครับ.
การกระทำนี้มิได้เป็น *การเห็นแก่ตัว* ตรงกันข้าม เป็นการช่วยการจราจรในทุกแห่ง เนื่องจาก ยิ่งมีรถ มากเท่าไร รถยิ่งติดมากเท่านั้น. Traffic-light synchronization เป็นตัวอย่างที่ดี ในการแก้ไขการจราจร ที่นำรถจำนวนมากออกไปจากพื้นที่ที่มีการจราจรติดขัด. Ramp meter ก็เป็นวิธีการลดจำนวนรถเพื่อการจราจรที่คล่องตัวขึ้นของรถทุกคัน.
การยื่นฟ้องนี้
แม้ศาล รับคำฟ้อง / ไม่รับฟ้อง หรือรับคำฟ้อง แล้วได้ตัดสินในแนวทางใด
ผมและผู้ร่วมฟ้องสอด
ไม่ต้องจ้างทนาย, ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด, ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปศาลหรือไปที่ใด, ไม่ทำให้หน่วยงานใดไม่ชอบ (เพราะจุดมุ่งหมายเดียวกันคือทำให้การจราจรคล่องตัวขึ้น), ไม่ว่าศาลตัดสินอย่างไร ก็ไม่มีใคร ทั้ง ผู้ฟ้อง, ผู้ร่วมฟ้องสอด, โจทก์และจำเลย ต้องจ่ายค่าปรับ, โดนลงโทษใด (ดังนั้นย่อมไม่มีใครเกลียดใคร). เราเพียงแค่ทำกรุงเทพให้ดีขึ้น.
ผมยังมีความเห็นเกี่ยวกับการจราจรอีกเยอะ
เช่น
ช่วงสัญญาณไฟจราจรเขียวกี่วินาที, แดงกี่วินาที ก็สามารถทำให้รถติดหนักขึ้นกว่าควรได้ และผมได้เห็นในหลายแยกที่คุ้นเคย ว่าช่วงเขียวและแดงไม่ควรเป็นอย่างที่มันเป็นอยู่.
ประเทศไทยควรใช้ระบบ zip merge เนื่องจากทำให้รู้จังหวะว่ารถคันใดได้ไป ทุกวันนี้เราใช้ระบบ ที่ไม่มีระบบ คือมะรุมมะตุ้ม แย่งก่อนไปก่อน ซึ่งกลายเป็น ได้ชนหรือถูกชนก่อน.
ผมยังเห็นว่าการจัดการจราจรบนทางด่วนเป็นวิธีที่ผิด ที่ให้รถวิ่งไหล่ทาง เพราะเกิดการเบียดกันหนักมากขึ้น รถต้องชะลอ / หยุด กันมากขึ้น.
ผมมั่นใจว่าผมมีแนวคิด จัดการจราจร บนถนนมิตรภาพ แล้วถนนอื่น ในช่วงสงกรานต์ ปีใหม่ ที่มีรถติดกันหนักหนาสาหัส โดยผมมั่นใจว่าทำให้การจราจรคล่องตัวขึ้นได้
รวมทั้งกรุงเทพฯ ปริมณฑลิ ในทุกๆวัน
โครงการถัดไปของผม
ก็คือแก้ไขปัญหาจราจรในวงกว้าง ที่กำลังหาเวลา และสักอย่าง เพื่อยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง.
ผมไม่ได้ต้องการการจัดการจราจรที่แยกแครายหรือทุกที่เพื่อประโยชน์ตัวผม. ผมทำเพื่อชาติของผม.
ผู้ที่มีหน้าที่จัดการจราจรทุกวันนี้ ได้จัดการจราจรแบบเดิมมาเป็นเวลา 30 หรือ 50 ปีมาแล้ว. เขาไม่เคยมีที่ปรึกษาด้านการจราจรจากประเทศใด. เขาไม่เคยเรียนด้านการจราจรด้วยซ้ำไป.
ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าการจัดการจราจรทุกวันนี้ยังไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ได้ทำให้ประเทศเสียหายยังหนักอยู่ทุกวัน: ฝุ่น PM 2.5 ทำให้กรุงเทพฯเป็นเมืองที่มีอันตรายมีมลพิษทางอากาศแย่ที่สุดติดอันดับเกือบสูงสุดของโลก; ควันท่อไอเสีย มีสารพิษ ทำให้คนป่วยทางโรคระบบทางเดินหายใจ รวมมะเร็งปอด กลายเป็นผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตมากกว่าโรค COVID ซึ่งคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่เชื่อ (ถ้าเชื่อคงดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่เติมน้ำมันรถ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้แล้วว่าต้องดับเครื่องยนต์ ยังไม่กลัวกันเลย ดังนั้นเขาไม่เชื่อว่าควันท่อไอเสียอันตราย); การจราจรเผาเงินของประชาชน / เอาเงินของชาติ; ทำให้โลกร้อน (ประเด็นนี้คนไทยส่วนใหญ่ไม่แพ้แน่นอน -- ผมแคร์ครับ เพราะมันทำให้กรุงเทพฯ, โตเกียวและอีกหลายเมือง จมใต้น้ำทะเล); การจราจรยังทำให้เสียประโยชน์ทางเศรษฐกิจ, การท่องเที่ยว และในมิติอื่นอีก.
คนอยู่กรุงเทพฯ ปริมณฑล เสี่ยงป่วย, เสี่ยงชีวิตสั้น มากกว่าคนอยู่ชนบทที่ห่างไกลรถติดและควันไอเสีย อย่างมาก.
ผมทำเพื่อชาติของผม.
ร่วมเป็นผู้ฟ้องสอด ให้แยกแคราย U-turn ได้ เพื่อนประโยชน์ทุกคน ทุกฝ่าย
ข้าพเจ้าเป็นผู้สนใจการจราจร และคิดแก้ปัญหาการจราจร เพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยได้ศึกษา และรู้จักประโยชน์ของ (๑) ramp meter, (๒) reversible-lane system, (๓) traffic-light (signal) synchronization, ได้เข้าใจภาวะการจราจรติดขัดแบบ (๔) phantom-traffic jam, (๕) traffic wave, (๖) แถวลด-รถเบียด เป็นต้น.
===
ขอชวนผู้เดือดร้อน
เป็น 'ผู้ร่วมฟ้องสอด'
ร่วมกับผม
ที่ได้ฟ้องต่อ ภาครัฐ ต่อศาลปกครอง เพื่อให้สามารถ กลับรถ จากถนนงามวงศ์วานฝั่งขาออก ไปงามวงศ์วานฝั่งขาเข้า ที่แยกแครายได้.
ผู้เดือดร้อนคือ (1) ผู้ที่อยู่ในย่านซอยงามวงศ์วานเลขที่ 1-19
(2) ผู้ที่เดือดร้อนจากรถติดย่านแคราย, งามวงศ์วาน, และใกล้เคียง.
ประเด็นก็คือ: (1) ยิ่งมีรถบนถนนมากเท่าไร ในทุกแห่งหน, รถยิ่งติดมากเท่านั้น.
ดังนั้นหากให้กลับรถได้, รถจะถึงที่หมายเร็วขึ้น จึงไม่รบกวนการจราจรทุกแห่งที่รถไป และบริเวณอื่นที่ต่อเนื่องติดกัน เนื่องจากการจราจรติดขัดแห่งหนึ่งย่อมมีผลไปยังแห่งอื่น โดยเฉพาะเมื่อมีรถจำนวนมากเกี่ยวข้อง.
(2) ในช่วงเร่งด่วน รถที่ต้องการกลับรถดังกล่าว เกือบทั้งหมด ก็วิ่งพื้นราบบนงามวงศ์วานขาออกมุ่งแคราย แล้วไปเลี้ยวขวาเข้าถนนติวานนท์ แล้วจึงกลับรถ เพื่อมาแยกแครายอีกครั้ง เพราะเส้นทางนี้มีรถติดน้อยที่สุด, ระยะทางสั้นสุด, และได้เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด "ดังนั้น" หางแถวที่มี หากมี (เพราะรถกลุ่มนี) ก็มีเท่าเดิม และ ลดน้อยกว่าเดิม เพราะได้ถึงที่หมายเร็วขึ้น คือไม่ไปรบกวนการจราจรของทุกถนน.
(3)
การกลับรถดังกล่าว ไม่รบกวนการจราจร คือไม่ทำให้รถจากเส้นใดติดขัดเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะว่า
ขอเฉพาะ ให้กลับรถดังกล่าวได้เมื่อ อยู่ในเลนขวาสุด บนงามวงศ์วานขาออก และเมื่อได้รับสัญญาณไฟเขียวให้เลี้ยวขวาเข้า ถ.ติวานนท์ ที่แยกแคราย ในจังหวะนี้ ก็กลับรถไปยังถนนแครายฝั่งขาเข้า. แบบนี้แล้วมิได้เป็นการขวางเส้นทางของรถบนถนนใด แม้กระทั่ง รถ บนถนนติวานนท์ที่ได้เลี้ยวซ้ายผ่านตลอดเข้างามวงศ์วาน เพราะว่ามีพื้นที่ผิวถนนกว้างพอ.
ผมได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองแล้ว
อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะรับคำฟ้องหรือไม่.
หากท่านใดอยากเป็น 'ผู้ร่วมฟ้องสอด' หลังไมค์มาครับ.
การกระทำนี้มิได้เป็น *การเห็นแก่ตัว* ตรงกันข้าม เป็นการช่วยการจราจรในทุกแห่ง เนื่องจาก ยิ่งมีรถ มากเท่าไร รถยิ่งติดมากเท่านั้น. Traffic-light synchronization เป็นตัวอย่างที่ดี ในการแก้ไขการจราจร ที่นำรถจำนวนมากออกไปจากพื้นที่ที่มีการจราจรติดขัด. Ramp meter ก็เป็นวิธีการลดจำนวนรถเพื่อการจราจรที่คล่องตัวขึ้นของรถทุกคัน.
การยื่นฟ้องนี้
แม้ศาล รับคำฟ้อง / ไม่รับฟ้อง หรือรับคำฟ้อง แล้วได้ตัดสินในแนวทางใด
ผมและผู้ร่วมฟ้องสอด
ไม่ต้องจ้างทนาย, ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด, ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปศาลหรือไปที่ใด, ไม่ทำให้หน่วยงานใดไม่ชอบ (เพราะจุดมุ่งหมายเดียวกันคือทำให้การจราจรคล่องตัวขึ้น), ไม่ว่าศาลตัดสินอย่างไร ก็ไม่มีใคร ทั้ง ผู้ฟ้อง, ผู้ร่วมฟ้องสอด, โจทก์และจำเลย ต้องจ่ายค่าปรับ, โดนลงโทษใด (ดังนั้นย่อมไม่มีใครเกลียดใคร). เราเพียงแค่ทำกรุงเทพให้ดีขึ้น.
ผมยังมีความเห็นเกี่ยวกับการจราจรอีกเยอะ
เช่น
ช่วงสัญญาณไฟจราจรเขียวกี่วินาที, แดงกี่วินาที ก็สามารถทำให้รถติดหนักขึ้นกว่าควรได้ และผมได้เห็นในหลายแยกที่คุ้นเคย ว่าช่วงเขียวและแดงไม่ควรเป็นอย่างที่มันเป็นอยู่.
ประเทศไทยควรใช้ระบบ zip merge เนื่องจากทำให้รู้จังหวะว่ารถคันใดได้ไป ทุกวันนี้เราใช้ระบบ ที่ไม่มีระบบ คือมะรุมมะตุ้ม แย่งก่อนไปก่อน ซึ่งกลายเป็น ได้ชนหรือถูกชนก่อน.
ผมยังเห็นว่าการจัดการจราจรบนทางด่วนเป็นวิธีที่ผิด ที่ให้รถวิ่งไหล่ทาง เพราะเกิดการเบียดกันหนักมากขึ้น รถต้องชะลอ / หยุด กันมากขึ้น.
ผมมั่นใจว่าผมมีแนวคิด จัดการจราจร บนถนนมิตรภาพ แล้วถนนอื่น ในช่วงสงกรานต์ ปีใหม่ ที่มีรถติดกันหนักหนาสาหัส โดยผมมั่นใจว่าทำให้การจราจรคล่องตัวขึ้นได้
รวมทั้งกรุงเทพฯ ปริมณฑลิ ในทุกๆวัน
โครงการถัดไปของผม
ก็คือแก้ไขปัญหาจราจรในวงกว้าง ที่กำลังหาเวลา และสักอย่าง เพื่อยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง.
ผมไม่ได้ต้องการการจัดการจราจรที่แยกแครายหรือทุกที่เพื่อประโยชน์ตัวผม. ผมทำเพื่อชาติของผม.
ผู้ที่มีหน้าที่จัดการจราจรทุกวันนี้ ได้จัดการจราจรแบบเดิมมาเป็นเวลา 30 หรือ 50 ปีมาแล้ว. เขาไม่เคยมีที่ปรึกษาด้านการจราจรจากประเทศใด. เขาไม่เคยเรียนด้านการจราจรด้วยซ้ำไป.
ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่าการจัดการจราจรทุกวันนี้ยังไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ได้ทำให้ประเทศเสียหายยังหนักอยู่ทุกวัน: ฝุ่น PM 2.5 ทำให้กรุงเทพฯเป็นเมืองที่มีอันตรายมีมลพิษทางอากาศแย่ที่สุดติดอันดับเกือบสูงสุดของโลก; ควันท่อไอเสีย มีสารพิษ ทำให้คนป่วยทางโรคระบบทางเดินหายใจ รวมมะเร็งปอด กลายเป็นผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตมากกว่าโรค COVID ซึ่งคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่เชื่อ (ถ้าเชื่อคงดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่เติมน้ำมันรถ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้แล้วว่าต้องดับเครื่องยนต์ ยังไม่กลัวกันเลย ดังนั้นเขาไม่เชื่อว่าควันท่อไอเสียอันตราย); การจราจรเผาเงินของประชาชน / เอาเงินของชาติ; ทำให้โลกร้อน (ประเด็นนี้คนไทยส่วนใหญ่ไม่แพ้แน่นอน -- ผมแคร์ครับ เพราะมันทำให้กรุงเทพฯ, โตเกียวและอีกหลายเมือง จมใต้น้ำทะเล); การจราจรยังทำให้เสียประโยชน์ทางเศรษฐกิจ, การท่องเที่ยว และในมิติอื่นอีก.
คนอยู่กรุงเทพฯ ปริมณฑล เสี่ยงป่วย, เสี่ยงชีวิตสั้น มากกว่าคนอยู่ชนบทที่ห่างไกลรถติดและควันไอเสีย อย่างมาก.
ผมทำเพื่อชาติของผม.