อัตลักษณ์ของนิสสันสะท้อนถึงความหมายของชื่อ “นิสสัน” ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแปลว่า ลูกพระอาทิตย์ หรือ “กำเนิดจากพระอาทิตย์” เป็นที่มาของการออกแบบโลโก้แบรนด์ที่มีประวัติศาสตร์ในโลกยานยนต์มากว่า 80 ปี
ต้นกำเนิดของโลโก้แบรนด์
ย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษที่ 1930 (พ.ศ. 2473) โยชิซุเกะ ไอกาวา ใฝ่ฝันที่จะสร้างแบรนด์รถยนต์ของ ชาวญี่ปุ่นที่ ได้ควบรวม บริษัท โทบาตะ ฟาวดรี้ จำกัด (Tobata Foundry Co. , Ltd.) เข้ากับ บริษัท นิฮอง ซังเกียว (Nihon Sangyo) และ บริษัท ดัท มอเตอร์แคร์ จำกัด (Dat Motorcar Co.) ที่ก่อนหน้าเป็นผู้ริเริ่มผลิตรถยนต์ DAT ในปี 1914 (พ.ศ. 2457) การควบรวมทั้งสามบริษัทเป็นหนึ่งเดียวนี้กำเนิดชื่อบริษัทใหม่เป็น นิสสัน – โดยมีการพัฒนา ผลิต และจำหน่ายรถยนต์ภายใต้แบรนด์ ดัทสัน และ นิสสัน
โลโก้แบรนด์แรกของ นิสสัน มีจุดกำเนิดในปี 1933 (พ.ศ.2476) สืบทอดมาจากการออกแบบของ ดัทสัน โดยใช้ลวดลายสัญลักษณ์รูปแบบเดียวกัน มีสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินที่มีชื่อแบรนด์จารึกเป็นตัวอักษรสีขาวพร้อมกับสีแดง วงกลมในพื้นหลังซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ "ดวงอาทิตย์ที่กำลังขึ้น"
ศาสตราจารย์ เดวิด บิฮานิก นักออกแบบ และอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในกรุงปารีส เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสัญลักษณ์เชิงกราฟิก ยืนยันว่าโลโก้แบรนด์แรกนี้ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงรากเหง้าของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตรงกับวงกลมสีแดงบนธงชาติญี่ปุ่น
โลโก้แบรนด์แบบแรกนี้ใช้เป็นอัตลักษณ์ของนิสสัน ตลอดช่วงทศวรรษราวๆ ปี 1930 (พ.ศ.2473) ที่เป็นตำนาน และถูกใช้เรื่อยมาจนถึงปี 1970 (พ.ศ.2513) แม้จะมีการแก้ไขถึง 4 ครั้ง โลโก้ของแบรนด์ แต่ละครั้งก็ยังคงเชื่อมโยงกับมรดก และวัฒนธรรมของนิสสัน อยู่เสมอ
โลโก้แบรนด์ เมื่อเทียบกับ โลโก้บนรถยนต์
หากคุณนึกถึงรถยนต์นิสสันในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา คุณอาจจะพบว่า โลโก้แบรนด์อย่างเป็นทางการยากที่จะสังเกตเห็น แต่คุณจะพบโลโก้บนรถยนต์ ในรูปแบบกราฟิกที่แตกต่างกันมากมายภายใต้แบรนด์นิสสัน
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เนื่องจากการออกแบบรถยนต์มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ผู้ผลิตรถยนต์จึงต้องการตราสัญลักษณ์บนรถยนต์เพื่อสะท้อนถึงชื่อของพวกเขาในรูปแบบที่ร่วมสมัย และแตกต่างจากโลโก้แบรนด์แบบดั้งเดิม
โลโก้นิสสัน ในช่วงกลางศตวรรษ
ตัวอย่างที่ดีที่สุดบางส่วนคือตราสัญลักษณ์ของนิสสัน ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ตราสัญลักษณ์ “นิสสัน” ที่เป็นทางการและเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในปี 1950 (พ.ศ.2493) ในขณะที่ยุค 60’s สิ่งเหล่านี้ถูกแทนที่ด้วยแบบอักษรตัวเอียง การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้รู้สึกถึงความภาคภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์ มีความเป็นตัวตนและมีอิสระมากขึ้น ซึ่งในขณะเดียวกันก็มีความเป็นกันเองมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงทัศนคติที่เปิดกว้างอย่างเสรี โดยโลโก้ในปี 1960 (พ.ศ. 2503) นิสสันยังได้เปลี่ยนตัว N ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่มาเป็น n แบบตัวพิมพ์เล็ก
โดดเด่น กล้า แต่ไม่ตรงไปตามแนวทาง
ทศวรรษต่อมาได้เห็นการกลับมาใช้ตัวพิมพ์ใหญ่บนป้ายรถยนต์ของนิสสัน ด้วยสถานการณ์ในตอนนั้นเน้นภาพลักษณ์ในด้านธุรกิจมากขึ้น ในยุค 80’s เป็นยุคที่ผู้คนต้องการแสดงถึงสถานะของตนเอง และต้องการให้คนอื่นได้รับรู้ ทำให้มียี่ห้อรถจำนวนมาก โดยมีตัวอักษรหนา บ่อยครั้งที่สิ่งเหล่านี้แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค และแม้กระทั่งจากรุ่นสู่รุ่น
ยุคอุตสาหกรรมสมัยใหม่
จนถึงยุคที่นิสสันต้องการสร้างแบรนด์สู่ระดับโลก และต้องเป็นที่จดจำ นิสสันได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องสร้างอัตลักษณ์ รวมถึงภาพลักษณ์ที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ในยุคมิลเลนเนียม การออกแบบโลโก้แบรนด์เป็นขาวดำเมทัลลิกในปี 2001 (พ.ศ.2554) จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ ตัวแทนของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่ใช้โลโก้นี้กับรถทุกคัน และทุกรุ่น
ศาสตราจารย์ บิฮานิก อธิบายว่าการออกแบบสไตล์อุตสาหกรรม เกิดขึ้นในปี 2001 (พ.ศ.2544) ซึ่งกลายเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผู้ผลิตรถยนต์เกือบทุกค่าย เช่น การอัดขึ้นรูป 3 มิติ หรือนูนต่ำ และสีเทาเมทัลลิกที่ทำให้เห็นเงาสะท้อน แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของการผลิตที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูง
ก้าวสู่อนาคต
เมื่อนิสสันเข้าสู่ปี 2020 (พ.ศ.2563) ยุคอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนมาเป็นยุคแห่งการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า นิสสัน ได้เปิดตัวโลโก้ใหม่ที่เรียบง่าย อย่างภาคภูมิ อยู่ที่ด้านหน้าของ นิสสัน อาริยะ ใหม่ โลโก้แบรนด์แบบใหม่ใช้รูปแบบ 2 มิติสีเดียวที่เพรียวบางกว่า และความคมชัดที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นตัวแทนของยุคใหม่ของการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ราบรื่น นอกจากนี้ยังปรับให้เข้ากับยุคของสมาร์ทโฟนด้วยกราฟิกที่สะอาดตา ทำให้ดูโดดเด่นบนหน้าจอ
แต่สิ่งที่สืบทอดต่อกันมาไม่ได้ถูกละทิ้ง ด้วยวงกลมที่เปรียบเหมือนพระอาทิตย์ที่คุ้นเคยพร้อมชื่อ นิสสัน อยู่ตรงกลาง ซึโตมุ มัตซึโอะ รองผู้จัดการทั่วไปฝ่ายออกแบบขั้นสูง (Tsutomu Matsuo, deputy general manager of Nissan's advanced design department) เปิดเผยว่า“ โลโก้ใหม่ของนิสสันสื่อถึงความหมาย และแนวทางที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตว่า “ถ้าคุณมีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า มันก็ทำให้คุณก้าวไปได้ถึงดวงอาทิตย์”
การวิเคราะห์โลโก้นิสสันของปี 2020 (พ.ศ.2563)
การเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ และตัวตนของแบรนด์ถือเป็นก้าวสำคัญเสมอ ศาสตราจารย์ บิฮานิก อธิบายว่า “โลโก้จะสามารถเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อให้เข้ากับยุคปัจจุบัน” กราฟิกเหล่านี้ต้องสะท้อนและถูกนำไปใช้เพื่อรักษา “DNA ของแบรนด์” แม้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตาม เขายืนยันว่า “ส่วนหนึ่งของตัวตนนี้จะต้องเด่นชัด และไม่จางหายไปถึงแม้ว่าเราจะมีการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ก็ตาม ยกเว้นแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงในฝ่ายบริหาร หรือวิสัยทัศน์รวมถึงทิศทางขององค์กร”
ด้วยเหตุนี้ โลโก้แบรนด์ของนิสสันในปี 2020 (พ.ศ.2563) จึงเปรียบเสมือนวิวัฒนาการมากกว่าการรีแบรนด์ใหม่ ซึ่งเป็นการพูดถึงการเดินทางที่ต่อเนื่องของนิสสัน สู่โลกแห่งพลังงานสะอาด ไร้มลพิษ ผ่านนิสสัน อินเทลลิเจ้นท์ โมบิลิตี้ ในขณะที่ยังคงรักษาจิตวิญญาณของนวัตกรรม และมรดกทางวัฒนธรรมไว้ เป็นที่น่ายินดีที่ศาสตราจารย์ บิฮานิก เห็นด้วยโดยเขาสรุปว่า“ นี่คือสัญญาณของแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จ โดยยังรักษาประวัติศาสตร์ของแบรนด์ และเปิดกว้างมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา” และที่ดียิ่งไปกว่านั้น โลโก้ใหม่ของนิสสันนี้จะถูกนำไปใช้ในรถยนต์ของนิสสันทั่วโลก
เปิดวิวัฒนาการรูปแบบ Logo Nissan "ลูกพระอาทิตย์"
อัตลักษณ์ของนิสสันสะท้อนถึงความหมายของชื่อ “นิสสัน” ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งแปลว่า ลูกพระอาทิตย์ หรือ “กำเนิดจากพระอาทิตย์” เป็นที่มาของการออกแบบโลโก้แบรนด์ที่มีประวัติศาสตร์ในโลกยานยนต์มากว่า 80 ปี
ต้นกำเนิดของโลโก้แบรนด์
ย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษที่ 1930 (พ.ศ. 2473) โยชิซุเกะ ไอกาวา ใฝ่ฝันที่จะสร้างแบรนด์รถยนต์ของ ชาวญี่ปุ่นที่ ได้ควบรวม บริษัท โทบาตะ ฟาวดรี้ จำกัด (Tobata Foundry Co. , Ltd.) เข้ากับ บริษัท นิฮอง ซังเกียว (Nihon Sangyo) และ บริษัท ดัท มอเตอร์แคร์ จำกัด (Dat Motorcar Co.) ที่ก่อนหน้าเป็นผู้ริเริ่มผลิตรถยนต์ DAT ในปี 1914 (พ.ศ. 2457) การควบรวมทั้งสามบริษัทเป็นหนึ่งเดียวนี้กำเนิดชื่อบริษัทใหม่เป็น นิสสัน – โดยมีการพัฒนา ผลิต และจำหน่ายรถยนต์ภายใต้แบรนด์ ดัทสัน และ นิสสัน
โลโก้แบรนด์แรกของ นิสสัน มีจุดกำเนิดในปี 1933 (พ.ศ.2476) สืบทอดมาจากการออกแบบของ ดัทสัน โดยใช้ลวดลายสัญลักษณ์รูปแบบเดียวกัน มีสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินที่มีชื่อแบรนด์จารึกเป็นตัวอักษรสีขาวพร้อมกับสีแดง วงกลมในพื้นหลังซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ "ดวงอาทิตย์ที่กำลังขึ้น"
ศาสตราจารย์ เดวิด บิฮานิก นักออกแบบ และอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในกรุงปารีส เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสัญลักษณ์เชิงกราฟิก ยืนยันว่าโลโก้แบรนด์แรกนี้ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงรากเหง้าของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตรงกับวงกลมสีแดงบนธงชาติญี่ปุ่น
โลโก้แบรนด์แบบแรกนี้ใช้เป็นอัตลักษณ์ของนิสสัน ตลอดช่วงทศวรรษราวๆ ปี 1930 (พ.ศ.2473) ที่เป็นตำนาน และถูกใช้เรื่อยมาจนถึงปี 1970 (พ.ศ.2513) แม้จะมีการแก้ไขถึง 4 ครั้ง โลโก้ของแบรนด์ แต่ละครั้งก็ยังคงเชื่อมโยงกับมรดก และวัฒนธรรมของนิสสัน อยู่เสมอ
โลโก้แบรนด์ เมื่อเทียบกับ โลโก้บนรถยนต์
หากคุณนึกถึงรถยนต์นิสสันในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา คุณอาจจะพบว่า โลโก้แบรนด์อย่างเป็นทางการยากที่จะสังเกตเห็น แต่คุณจะพบโลโก้บนรถยนต์ ในรูปแบบกราฟิกที่แตกต่างกันมากมายภายใต้แบรนด์นิสสัน
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เนื่องจากการออกแบบรถยนต์มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ผู้ผลิตรถยนต์จึงต้องการตราสัญลักษณ์บนรถยนต์เพื่อสะท้อนถึงชื่อของพวกเขาในรูปแบบที่ร่วมสมัย และแตกต่างจากโลโก้แบรนด์แบบดั้งเดิม
โลโก้นิสสัน ในช่วงกลางศตวรรษ
ตัวอย่างที่ดีที่สุดบางส่วนคือตราสัญลักษณ์ของนิสสัน ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ตราสัญลักษณ์ “นิสสัน” ที่เป็นทางการและเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในปี 1950 (พ.ศ.2493) ในขณะที่ยุค 60’s สิ่งเหล่านี้ถูกแทนที่ด้วยแบบอักษรตัวเอียง การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้รู้สึกถึงความภาคภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์ มีความเป็นตัวตนและมีอิสระมากขึ้น ซึ่งในขณะเดียวกันก็มีความเป็นกันเองมากขึ้น แสดงให้เห็นถึงทัศนคติที่เปิดกว้างอย่างเสรี โดยโลโก้ในปี 1960 (พ.ศ. 2503) นิสสันยังได้เปลี่ยนตัว N ซึ่งเป็นตัวพิมพ์ใหญ่มาเป็น n แบบตัวพิมพ์เล็ก
โดดเด่น กล้า แต่ไม่ตรงไปตามแนวทาง
ทศวรรษต่อมาได้เห็นการกลับมาใช้ตัวพิมพ์ใหญ่บนป้ายรถยนต์ของนิสสัน ด้วยสถานการณ์ในตอนนั้นเน้นภาพลักษณ์ในด้านธุรกิจมากขึ้น ในยุค 80’s เป็นยุคที่ผู้คนต้องการแสดงถึงสถานะของตนเอง และต้องการให้คนอื่นได้รับรู้ ทำให้มียี่ห้อรถจำนวนมาก โดยมีตัวอักษรหนา บ่อยครั้งที่สิ่งเหล่านี้แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค และแม้กระทั่งจากรุ่นสู่รุ่น
ยุคอุตสาหกรรมสมัยใหม่
จนถึงยุคที่นิสสันต้องการสร้างแบรนด์สู่ระดับโลก และต้องเป็นที่จดจำ นิสสันได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องสร้างอัตลักษณ์ รวมถึงภาพลักษณ์ที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ในยุคมิลเลนเนียม การออกแบบโลโก้แบรนด์เป็นขาวดำเมทัลลิกในปี 2001 (พ.ศ.2554) จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ ตัวแทนของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่ใช้โลโก้นี้กับรถทุกคัน และทุกรุ่น
ศาสตราจารย์ บิฮานิก อธิบายว่าการออกแบบสไตล์อุตสาหกรรม เกิดขึ้นในปี 2001 (พ.ศ.2544) ซึ่งกลายเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผู้ผลิตรถยนต์เกือบทุกค่าย เช่น การอัดขึ้นรูป 3 มิติ หรือนูนต่ำ และสีเทาเมทัลลิกที่ทำให้เห็นเงาสะท้อน แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของการผลิตที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูง
ก้าวสู่อนาคต
เมื่อนิสสันเข้าสู่ปี 2020 (พ.ศ.2563) ยุคอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนมาเป็นยุคแห่งการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า นิสสัน ได้เปิดตัวโลโก้ใหม่ที่เรียบง่าย อย่างภาคภูมิ อยู่ที่ด้านหน้าของ นิสสัน อาริยะ ใหม่ โลโก้แบรนด์แบบใหม่ใช้รูปแบบ 2 มิติสีเดียวที่เพรียวบางกว่า และความคมชัดที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นตัวแทนของยุคใหม่ของการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ราบรื่น นอกจากนี้ยังปรับให้เข้ากับยุคของสมาร์ทโฟนด้วยกราฟิกที่สะอาดตา ทำให้ดูโดดเด่นบนหน้าจอ
แต่สิ่งที่สืบทอดต่อกันมาไม่ได้ถูกละทิ้ง ด้วยวงกลมที่เปรียบเหมือนพระอาทิตย์ที่คุ้นเคยพร้อมชื่อ นิสสัน อยู่ตรงกลาง ซึโตมุ มัตซึโอะ รองผู้จัดการทั่วไปฝ่ายออกแบบขั้นสูง (Tsutomu Matsuo, deputy general manager of Nissan's advanced design department) เปิดเผยว่า“ โลโก้ใหม่ของนิสสันสื่อถึงความหมาย และแนวทางที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตว่า “ถ้าคุณมีความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า มันก็ทำให้คุณก้าวไปได้ถึงดวงอาทิตย์”
การวิเคราะห์โลโก้นิสสันของปี 2020 (พ.ศ.2563)
การเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ และตัวตนของแบรนด์ถือเป็นก้าวสำคัญเสมอ ศาสตราจารย์ บิฮานิก อธิบายว่า “โลโก้จะสามารถเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อให้เข้ากับยุคปัจจุบัน” กราฟิกเหล่านี้ต้องสะท้อนและถูกนำไปใช้เพื่อรักษา “DNA ของแบรนด์” แม้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตาม เขายืนยันว่า “ส่วนหนึ่งของตัวตนนี้จะต้องเด่นชัด และไม่จางหายไปถึงแม้ว่าเราจะมีการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ใหม่ก็ตาม ยกเว้นแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงในฝ่ายบริหาร หรือวิสัยทัศน์รวมถึงทิศทางขององค์กร”
ด้วยเหตุนี้ โลโก้แบรนด์ของนิสสันในปี 2020 (พ.ศ.2563) จึงเปรียบเสมือนวิวัฒนาการมากกว่าการรีแบรนด์ใหม่ ซึ่งเป็นการพูดถึงการเดินทางที่ต่อเนื่องของนิสสัน สู่โลกแห่งพลังงานสะอาด ไร้มลพิษ ผ่านนิสสัน อินเทลลิเจ้นท์ โมบิลิตี้ ในขณะที่ยังคงรักษาจิตวิญญาณของนวัตกรรม และมรดกทางวัฒนธรรมไว้ เป็นที่น่ายินดีที่ศาสตราจารย์ บิฮานิก เห็นด้วยโดยเขาสรุปว่า“ นี่คือสัญญาณของแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จ โดยยังรักษาประวัติศาสตร์ของแบรนด์ และเปิดกว้างมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา” และที่ดียิ่งไปกว่านั้น โลโก้ใหม่ของนิสสันนี้จะถูกนำไปใช้ในรถยนต์ของนิสสันทั่วโลก