สวัสดีค่ะ พอดีเป็นหนึ่งในคนที่ปิดบริษัท และเจอประสบการณ์ที่ยากลำบาก เลยจะมาขอแชร์ เผื่อเป็นประโยชน์กับคนที่กำลังจะปิดบริษัท โดยเฉพาะช่วงโควิดนี้ ไม่มากก็น้อย ในการลดค่าปรับและภาษีต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากความไม่รู้
เริ่มจากพอดีเราเปิดบริษัทกับเพื่อนตั้งแต่ปี 2557 และมีการว่าจ้าง ฟรีแลนซ์ ทางด้านบัญชีให้ดำเนินการยื่นเอกสารให้ จนท้ายสุดเราตัดสินใจปิดบริษัทประมาณ ปี 2560 โดยมีการมอบหมายให้ทาง ฟรีแลนซ์ ด้านบัญชีคนเดิมดำเนินการเรื่องปิดกิจการให้ และหลังจากที่เราตามเรื่อง ทางบัญชีเจ้าเดิม ก็แจ้งว่าปิดกิจการให้แล้ว กับเรา แต่หลังจากนั้นประมาณ 1 ปี ก็มีเอกสารส่งมาจากกรมตำรวจว่า เราจะถูกดำเนินคดี ซึ่งเป็นคดีอาญา (แม่เจ้า...อยู่ดีๆ จะติดคุกเหรอเนี่ยะ) เหตุเพราะเราไม่ยื่นภาษีบริษัท ประจำปี (อ้าวก็นึกว่า ปิดไปแล้ว เลยไม่ยื่น) เราจึงสอบถามจากทางบัญชีเจ้าเดิมกลับยังโกหกและบอกว่า ปิดไปแล้ว (เราพลาดเองที่ไม่ได้ตรวจสอบเอกสารการปิดกิจการ บวกกับความไม่รู้ด้วย) ดังนั้นเราจึงต้องดำเนินการปิดบัญชีย้อนหลัง ซึ่งก็คือการยื่น ภ.ง.ด. 50 เริ่มจากปี 61,62,63 เลยทีเดียว ซึ่งโดนค่าปรับจำนวนมาก และคิดกันว่าเปลี่ยนบัญชีเจ้าใหม่น่าจะดีกว่า ซึ่งก็ดีกว่ามากๆเลย เทียบกับงานที่ติดพันขนาดนี้หลายปี สำหรับขั้นตอนการปิดกิจการมีตามนี้ค่ะ
ยื่นเลิกกิจการกับกรมพัฒนาธุรกิจก่อนเลยค่ะ อันดับ แรก
1. จองคิวออนไลน์ เพื่อทำธุรกรรม กับแอป DBD Service
2. ยื่นแบบ ลช.1 และ ลช.3 โดยการดาวโหลด ต้องดาวโหลดฉบับล่าสุด จากเวปไซต์ของกรมพัฒน์ www.dbd.go.th เท่านั้น อันเก่าใช้ยื่นไม่ได้นะจ๊ะ ถึงต้องกลับไปทำใหม่กันเลย เสียเวลา ส่วนเบอร์ 1570 เบอร์กรมพัฒนาธุรกิจ ไม่ต้องโทร ไม่มีใครรับ ติดต่อทางอีเมล์ก็ไม่ได้จ้า ถ้ามีข้อสงสัยต้องไปเจอที่กรมเท่านั้นจ้า
3. เตรียมตัวแจ้งกรรมการเอาไว้นะคะ ช่วงเลิกกิจการเซ็นต์เอกสารเยอะมากทำตัวให้พร้อม
4. สำเนาบัตรประชาชนกรรมการ ทุกท่าน เซ็นต์รับรองสำเนามาให้เรียบร้อย
5. สำเนาทะเบียนบ้าน ทุกท่าน เซ็นต์ให้เรียบร้อย
6. วันนัดประชุมที่ใส่ลงในแบบ ลช.1 ต้องไม่เกิน 14 วันของวันที่ ประชุม (ถ้าเกินโดนค่าปรับอีกจ้า)
7. ผู้ถือหุ้นกี่คน & จำนวนหุ้นในบริษัทกี่หุ้นต้องรู้นะคะ เพราะทางกรมพัฒน์เค้าจะถาม
8. เลือกคนใดคนหนึ่งหรือทั้ง 2 คนเป็นผู้ชำระบัญชี ตกลงกันให้เรียบร้อยค่ะ (ผู้ชำระบัญชี ก็คือ ผู้ที่ดำเนินการปิดบริษัทจนกระทั่งเสร็จสิ้นจ้า)
ยื่นเลิกกิจการเพื่อออกจากการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นอันดับที่ 2
1. หลักจากเลิกกิจการกับกรมพัฒนาธุรกิจต้องไปยื่น สรรพากรภายใน 15 วัน นับรวมวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกธิ์ เข้าไปด้วย (อย่านับผิดนะคะ เดี๋ยวโดนค่าปรับ 2,000 บาท และไม่ต้องรอเอกสารเสร็จชำระบัญชี ค่อยส่งตามมาทีหลัง เพราะถ้าช้าจะเลยวันและโดนค่าปรับอีก)
2. ไม่จำเป็นต้องจองคิว แต่โทรไปถามว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้างจากสรรพากรพื้นที่ที่บริษัทตั้งอยู่ เพราะแต่ละที่ใช้เอกสารไม่เหมือนกัน
3. จัดทำเอกสารงบ การเสร็จชำระบัญชี จนถึงวันเลิกบริษัท (ปกติทางบัญชีจะทำเผื่อมา 3-4 ชุด)
4. ยื่น ภพ 30 2 ปี ย้อนหลัง, ยื่น ภธ 40 2 ปีย้อนหลัง และ ยื่น ภงด 50 2 ปีย้อนหลัง (ถ้าไม่ยื่นเลยค่าปรับจะเยอะมาก ระวังเรื่องเงินกู้กรรมการด้วย จะมีดอกเบี้ย และดอกเบี้ยต้องเสีย ภาษี ภธ 40) www.rd.go.th
5. ยื่น ภพ 09 ฉบับปัจจุบัน เท่านั้น วันเลิกในแบบคือวันเดียวกับที่แจ้งต่อกรมพัฒนาธุรกิจ หรือวันเดียวกับรายงานการประชุม แต่ต้องมีแบบสำเนารายงานการประชุม โดยให้ผู้ชำระบัญชีเซ็นต์รับรองทุกแผ่น มาด้วย 1 ฉบับ
6. แบบ ภพ 09 ต้องเซ็นต์สดหน้าสุดท้าย นะคะ ไม่เอาเป็นสำเนา
7. กรรมการผู้มีอำนาจ หมายถึงผู้ชำระบัญชีนะคะ เซ็นต์เอกสารมาให้ครบตามการมอบอำนาจในหนังสือรับรองนะคะ
8. หนังสือชี้แจงเลิก ทำฟอร์มให้เป็น 2 แบบไว้นะคะ แบบมีผู้ชำระบัญชี 1 ท่าน และ 2 ท่าน มากกว่านั้น ให้ทำช่องเพิ่มเติมค่ะ
9. ข้อมูลนิติบุคคลขอเป็นตามแบบภ.พ.01 ภ.พ.09 (ล่าสุด) หรือ ภ.พ.20 (ล่าสุด) ในส่วนของเบอร์โทรศัพท์ที่กรอกในภ.พ.09 ข้อ 1 ใหญ่ ขอเบอร์ทั้งของทางบัญชีของกิจการและตัวผู้ชำระบัญชีนะคะ (รวม 2 เบอร์โทรศัพท์นะคะ วงเล็บให้ด้วยว่าเป็นเบอร์ของใครค่ะ ขอเบอร์ที่ติดต่อได้ค่ะ ไม่เอาเบอร์ที่ยังไม่เปิดใช้บริการ หรือเบอร์ที่ติดต่อไม่ได้ หรือเบอร์ที่โทรติดรายอื่นนะคะ)
10.ภ.พ.20 หายต้องแจ้งความ โดยแจ้งว่า ใบทะเบียนภ.พ.20ของ.....ชื่อกิจการ.....หาย พร้อมแนบใบแจ้งความฉบับจริงมาส่งด้วยค่ะ ส่วนภ.พ.01,09 หาย จะแจ้งความไปพร้อมกันหรือไม่แจ้งความเลยก็ได้ค่ะ
11.กรณีหนังสือมอบอำนาจ โดยปกติการแจ้งเลิกกิจการและมูลค่าเพิ่มจะมีผู้ชำระบัญชีเป็นผู้ดำเนินการแจ้งทุกอย่าง เพราะฉะนั้นการมอบอำนาจจะต้องเป็นชื่อบุคคลซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีมอบอำนาจให้ดำเนินการค่ะ ไม่ใช่ชื่อนิติบุคคลมอบอำนาจ ถ้าอยากให้มีนิติบุคคลอยู่ให้เพิ่มข้อความท้ายชื่อค่ะ เช่น ข้าพเจ้า คำนำหน้า ชื่อ นามสกุล ในฐานะผู้ชำระบัญชีของ กิจการ/ชื่อนิติบุคคล หรือ ข้าพเจ้า ชื่อกิจการ โดย ชื่อผู้ชำระบัญชี (ให้เลือกแบบใดแบบหนึ่งนะคะ)(ถ้าหากผู้ชำระบัญชีที่มีอำนาจตามหน้าหนังสือรับรองมีมากกว่า 1 ท่าน ก็ให้พิมพ์ข้อความมอบอำนาจเพิ่มนะคะ ตามจำนวนผู้ชำระบัญชี)
12.เราต้องยื่น ภพ 30 จนถึงเดือนที่ได้รับเอกสาร ขีดชื่อ เลิกกิจการ ไม่อย่างนั้นจะโดนค่าปรับเดือนละ 500 บาท และเตรียมตัวไปแจ้งกรมพัฒนาธุรกิจเรื่องยื่นเสร็จชำระบัญชีล่าช้า ไม่เกิน 45วัน หลังจากวันเลิกบริษัท (ตัวอย่างคือ เลิก 21 ธันวาคม 2563 ต้องไปยื่นล่าช้ากับกรมพัฒน์ ไม่เกินวันที่ 4 เมษายน 2564 ไม่งั้นจะโดนปรับ 2,000 บาท)
ยื่นเลิกกิจการกับกรมพัฒนาธุรกิจ อันดับสุดท้าย
1. ต้องจองคิวออนไลน์ก่อนเข้าไปทุกครั้ง
2. หากได้รับจดหมาย ขีดชื่อ เลิกกิจการแล้ว นำเอกสารไปยื่นที่กรมพัฒนาธุรกิจอีกครั้ง เป็นการเสร็จสิ้น (ถ้ายังไม่ได้เอกสาร ขีดชื่อ เลิกกิจการ ให้ยื่น ลช.3 เพื่อขอยื่นล่าช้า ครั้งที่ 2,3,4,5... ต่อไปทุกๆ 3 เดือน โดยรายละเอียดด้านในไม่จำเป็นต้องเขียนดูจากใบแรก ที่ยื่น)
3. ยื่นเอกสาร
3.1 แบบคำขอจดทะเบียนเลิก ลช. 1
3.2 รายงานการชำระบัญชี ลช.3
3.3 รายงานจดทะเบียนเสร็จ การชำระบัญชี ลช.5
3.4 รายละเอียดสมุดบัญชีและสรรพเอกสาร ลช.6
3.5 แบบรับรองการตรวจสอบบัญชีของกรมสรรพากร
สิ่งที่ต้องระวังเรื่องปิดกิจการคือ
1.เลือกบัญชีที่มีความรับผิดชอบ ดูจากการประสานงานกับเรา ไม่หายไป
2.ระวังเรื่องค่าปรับ เพราะจะสูงมากถ้าไม่รู้ การปรับจะปรับทั้ง กรมพัฒนาธุรกิจ และกรมสรรพากร
หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านนะคะ ผิดพลาดตรงไหนขออภัยมา ณ ที่นี้ เขียนมาจากประสบการณ์ล้วนๆ ของเราใช้เวลาประมาณ 4 เดือน กว่าจะปิดได้ ขอบคุณค่ะ
เลิกกิจการ ปิดบริษัท ดำเนินเรื่องเอง (ให้ Audit ทำเฉพาะงบปิดให้
เริ่มจากพอดีเราเปิดบริษัทกับเพื่อนตั้งแต่ปี 2557 และมีการว่าจ้าง ฟรีแลนซ์ ทางด้านบัญชีให้ดำเนินการยื่นเอกสารให้ จนท้ายสุดเราตัดสินใจปิดบริษัทประมาณ ปี 2560 โดยมีการมอบหมายให้ทาง ฟรีแลนซ์ ด้านบัญชีคนเดิมดำเนินการเรื่องปิดกิจการให้ และหลังจากที่เราตามเรื่อง ทางบัญชีเจ้าเดิม ก็แจ้งว่าปิดกิจการให้แล้ว กับเรา แต่หลังจากนั้นประมาณ 1 ปี ก็มีเอกสารส่งมาจากกรมตำรวจว่า เราจะถูกดำเนินคดี ซึ่งเป็นคดีอาญา (แม่เจ้า...อยู่ดีๆ จะติดคุกเหรอเนี่ยะ) เหตุเพราะเราไม่ยื่นภาษีบริษัท ประจำปี (อ้าวก็นึกว่า ปิดไปแล้ว เลยไม่ยื่น) เราจึงสอบถามจากทางบัญชีเจ้าเดิมกลับยังโกหกและบอกว่า ปิดไปแล้ว (เราพลาดเองที่ไม่ได้ตรวจสอบเอกสารการปิดกิจการ บวกกับความไม่รู้ด้วย) ดังนั้นเราจึงต้องดำเนินการปิดบัญชีย้อนหลัง ซึ่งก็คือการยื่น ภ.ง.ด. 50 เริ่มจากปี 61,62,63 เลยทีเดียว ซึ่งโดนค่าปรับจำนวนมาก และคิดกันว่าเปลี่ยนบัญชีเจ้าใหม่น่าจะดีกว่า ซึ่งก็ดีกว่ามากๆเลย เทียบกับงานที่ติดพันขนาดนี้หลายปี สำหรับขั้นตอนการปิดกิจการมีตามนี้ค่ะ
ยื่นเลิกกิจการกับกรมพัฒนาธุรกิจก่อนเลยค่ะ อันดับ แรก
1. จองคิวออนไลน์ เพื่อทำธุรกรรม กับแอป DBD Service
2. ยื่นแบบ ลช.1 และ ลช.3 โดยการดาวโหลด ต้องดาวโหลดฉบับล่าสุด จากเวปไซต์ของกรมพัฒน์ www.dbd.go.th เท่านั้น อันเก่าใช้ยื่นไม่ได้นะจ๊ะ ถึงต้องกลับไปทำใหม่กันเลย เสียเวลา ส่วนเบอร์ 1570 เบอร์กรมพัฒนาธุรกิจ ไม่ต้องโทร ไม่มีใครรับ ติดต่อทางอีเมล์ก็ไม่ได้จ้า ถ้ามีข้อสงสัยต้องไปเจอที่กรมเท่านั้นจ้า
3. เตรียมตัวแจ้งกรรมการเอาไว้นะคะ ช่วงเลิกกิจการเซ็นต์เอกสารเยอะมากทำตัวให้พร้อม
4. สำเนาบัตรประชาชนกรรมการ ทุกท่าน เซ็นต์รับรองสำเนามาให้เรียบร้อย
5. สำเนาทะเบียนบ้าน ทุกท่าน เซ็นต์ให้เรียบร้อย
6. วันนัดประชุมที่ใส่ลงในแบบ ลช.1 ต้องไม่เกิน 14 วันของวันที่ ประชุม (ถ้าเกินโดนค่าปรับอีกจ้า)
7. ผู้ถือหุ้นกี่คน & จำนวนหุ้นในบริษัทกี่หุ้นต้องรู้นะคะ เพราะทางกรมพัฒน์เค้าจะถาม
8. เลือกคนใดคนหนึ่งหรือทั้ง 2 คนเป็นผู้ชำระบัญชี ตกลงกันให้เรียบร้อยค่ะ (ผู้ชำระบัญชี ก็คือ ผู้ที่ดำเนินการปิดบริษัทจนกระทั่งเสร็จสิ้นจ้า)
ยื่นเลิกกิจการเพื่อออกจากการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นอันดับที่ 2
1. หลักจากเลิกกิจการกับกรมพัฒนาธุรกิจต้องไปยื่น สรรพากรภายใน 15 วัน นับรวมวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกธิ์ เข้าไปด้วย (อย่านับผิดนะคะ เดี๋ยวโดนค่าปรับ 2,000 บาท และไม่ต้องรอเอกสารเสร็จชำระบัญชี ค่อยส่งตามมาทีหลัง เพราะถ้าช้าจะเลยวันและโดนค่าปรับอีก)
2. ไม่จำเป็นต้องจองคิว แต่โทรไปถามว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้างจากสรรพากรพื้นที่ที่บริษัทตั้งอยู่ เพราะแต่ละที่ใช้เอกสารไม่เหมือนกัน
3. จัดทำเอกสารงบ การเสร็จชำระบัญชี จนถึงวันเลิกบริษัท (ปกติทางบัญชีจะทำเผื่อมา 3-4 ชุด)
4. ยื่น ภพ 30 2 ปี ย้อนหลัง, ยื่น ภธ 40 2 ปีย้อนหลัง และ ยื่น ภงด 50 2 ปีย้อนหลัง (ถ้าไม่ยื่นเลยค่าปรับจะเยอะมาก ระวังเรื่องเงินกู้กรรมการด้วย จะมีดอกเบี้ย และดอกเบี้ยต้องเสีย ภาษี ภธ 40) www.rd.go.th
5. ยื่น ภพ 09 ฉบับปัจจุบัน เท่านั้น วันเลิกในแบบคือวันเดียวกับที่แจ้งต่อกรมพัฒนาธุรกิจ หรือวันเดียวกับรายงานการประชุม แต่ต้องมีแบบสำเนารายงานการประชุม โดยให้ผู้ชำระบัญชีเซ็นต์รับรองทุกแผ่น มาด้วย 1 ฉบับ
6. แบบ ภพ 09 ต้องเซ็นต์สดหน้าสุดท้าย นะคะ ไม่เอาเป็นสำเนา
7. กรรมการผู้มีอำนาจ หมายถึงผู้ชำระบัญชีนะคะ เซ็นต์เอกสารมาให้ครบตามการมอบอำนาจในหนังสือรับรองนะคะ
8. หนังสือชี้แจงเลิก ทำฟอร์มให้เป็น 2 แบบไว้นะคะ แบบมีผู้ชำระบัญชี 1 ท่าน และ 2 ท่าน มากกว่านั้น ให้ทำช่องเพิ่มเติมค่ะ
9. ข้อมูลนิติบุคคลขอเป็นตามแบบภ.พ.01 ภ.พ.09 (ล่าสุด) หรือ ภ.พ.20 (ล่าสุด) ในส่วนของเบอร์โทรศัพท์ที่กรอกในภ.พ.09 ข้อ 1 ใหญ่ ขอเบอร์ทั้งของทางบัญชีของกิจการและตัวผู้ชำระบัญชีนะคะ (รวม 2 เบอร์โทรศัพท์นะคะ วงเล็บให้ด้วยว่าเป็นเบอร์ของใครค่ะ ขอเบอร์ที่ติดต่อได้ค่ะ ไม่เอาเบอร์ที่ยังไม่เปิดใช้บริการ หรือเบอร์ที่ติดต่อไม่ได้ หรือเบอร์ที่โทรติดรายอื่นนะคะ)
10.ภ.พ.20 หายต้องแจ้งความ โดยแจ้งว่า ใบทะเบียนภ.พ.20ของ.....ชื่อกิจการ.....หาย พร้อมแนบใบแจ้งความฉบับจริงมาส่งด้วยค่ะ ส่วนภ.พ.01,09 หาย จะแจ้งความไปพร้อมกันหรือไม่แจ้งความเลยก็ได้ค่ะ
11.กรณีหนังสือมอบอำนาจ โดยปกติการแจ้งเลิกกิจการและมูลค่าเพิ่มจะมีผู้ชำระบัญชีเป็นผู้ดำเนินการแจ้งทุกอย่าง เพราะฉะนั้นการมอบอำนาจจะต้องเป็นชื่อบุคคลซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีมอบอำนาจให้ดำเนินการค่ะ ไม่ใช่ชื่อนิติบุคคลมอบอำนาจ ถ้าอยากให้มีนิติบุคคลอยู่ให้เพิ่มข้อความท้ายชื่อค่ะ เช่น ข้าพเจ้า คำนำหน้า ชื่อ นามสกุล ในฐานะผู้ชำระบัญชีของ กิจการ/ชื่อนิติบุคคล หรือ ข้าพเจ้า ชื่อกิจการ โดย ชื่อผู้ชำระบัญชี (ให้เลือกแบบใดแบบหนึ่งนะคะ)(ถ้าหากผู้ชำระบัญชีที่มีอำนาจตามหน้าหนังสือรับรองมีมากกว่า 1 ท่าน ก็ให้พิมพ์ข้อความมอบอำนาจเพิ่มนะคะ ตามจำนวนผู้ชำระบัญชี)
12.เราต้องยื่น ภพ 30 จนถึงเดือนที่ได้รับเอกสาร ขีดชื่อ เลิกกิจการ ไม่อย่างนั้นจะโดนค่าปรับเดือนละ 500 บาท และเตรียมตัวไปแจ้งกรมพัฒนาธุรกิจเรื่องยื่นเสร็จชำระบัญชีล่าช้า ไม่เกิน 45วัน หลังจากวันเลิกบริษัท (ตัวอย่างคือ เลิก 21 ธันวาคม 2563 ต้องไปยื่นล่าช้ากับกรมพัฒน์ ไม่เกินวันที่ 4 เมษายน 2564 ไม่งั้นจะโดนปรับ 2,000 บาท)
ยื่นเลิกกิจการกับกรมพัฒนาธุรกิจ อันดับสุดท้าย
1. ต้องจองคิวออนไลน์ก่อนเข้าไปทุกครั้ง
2. หากได้รับจดหมาย ขีดชื่อ เลิกกิจการแล้ว นำเอกสารไปยื่นที่กรมพัฒนาธุรกิจอีกครั้ง เป็นการเสร็จสิ้น (ถ้ายังไม่ได้เอกสาร ขีดชื่อ เลิกกิจการ ให้ยื่น ลช.3 เพื่อขอยื่นล่าช้า ครั้งที่ 2,3,4,5... ต่อไปทุกๆ 3 เดือน โดยรายละเอียดด้านในไม่จำเป็นต้องเขียนดูจากใบแรก ที่ยื่น)
3. ยื่นเอกสาร
3.1 แบบคำขอจดทะเบียนเลิก ลช. 1
3.2 รายงานการชำระบัญชี ลช.3
3.3 รายงานจดทะเบียนเสร็จ การชำระบัญชี ลช.5
3.4 รายละเอียดสมุดบัญชีและสรรพเอกสาร ลช.6
3.5 แบบรับรองการตรวจสอบบัญชีของกรมสรรพากร
สิ่งที่ต้องระวังเรื่องปิดกิจการคือ
1.เลือกบัญชีที่มีความรับผิดชอบ ดูจากการประสานงานกับเรา ไม่หายไป
2.ระวังเรื่องค่าปรับ เพราะจะสูงมากถ้าไม่รู้ การปรับจะปรับทั้ง กรมพัฒนาธุรกิจ และกรมสรรพากร
หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านนะคะ ผิดพลาดตรงไหนขออภัยมา ณ ที่นี้ เขียนมาจากประสบการณ์ล้วนๆ ของเราใช้เวลาประมาณ 4 เดือน กว่าจะปิดได้ ขอบคุณค่ะ