‘ยิ่งลักษณ์’ เล่าอาการหลังฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 2 ไร้ผลข้างเคียง เผยชาวสวิสฮิต ‘โมเดอร์นา’
https://www.matichon.co.th/politics/news_2645781
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม นางสาว
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เผยแพร่ภาพและข้อความผ่านอินสตาแกรม มีเนื้อหาเล่าถึงอาการหลังฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ว่าไม่มีผลข้างเคียงหรืออาการแพ้ สามารถใช้ชีวิตและเดินทางได้ตามปกติ โดยมีความมั่นใจมากขึ้นเนื่องจากเชื่อว่าสามารถป้องกันได้ในระดับหนึ่ง
ความว่า
หลังจากกลับจากการเดินทางไปสวิตเซอร์แลนด์และสวีเดนของดิฉันทริปนี้เป็นการเดินทางหลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่สองแล้ว ดิฉันยังคงใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้มีอาการแพ้ หรือมีผลข้างเคียงอะไร ไปต่างประเทศยังคงต้องใช้ผลตรวจโควิดเหมือนเดิม แต่ก็มีความมั่นใจมากขึ้นเพราะได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ซึ่งสามารถป้องกันได้ระดับหนึ่ง
ลองถามคนที่สวิตเซอร์แลนด์พบว่าคนส่วนใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว โดยมีวัคซีนจากหลากหลายผู้ผลิต แต่ประชาชนส่วนใหญ่จะชอบของโมเดอร์นา เพราะเป็นวัคซีนของสวิส อีกทั้งไม่ค่อยมีข่าวเรื่องการแพ้ยา หรือผลข้างเคียง
ขณะที่อีกประเทศที่เดินทางไปคือสวีเดน ที่นี่เขาเชื่อในเรื่องภูมิคุ้มกันหมู่ หรือ Herd Immunity ทำให้ไม่เคยปิดประเทศ หรือ lockdown ร้านค้าตั้งแต่มีการระบาด แต่พบว่าเศรษฐกิจยังเดินหน้าไปได้ รัฐบาลปล่อยให้ผู้คนใช้ชีวิตตามปกติ เพียงแต่จะมีการเตือนให้เว้นระยะห่าง หรือ social distance รวมไปถึงการรักษาความสะอาดและล้างมือบ่อยๆ
สวีเดนได้ฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรที่อยู่แนวหน้า เช่น แพทย์ พยาบาล และผู้ที่ต้องสัมผัสกับคนจำนวนมากเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้กำลังเข้าสู่ช่วงของการเร่งฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุเกิน 65 ปี
ดิฉันจึงถือโอกาสที่ได้เดินทางไปสวิสและสวีเดนครั้งนี้ นำข้อมูลของประเทศต่าง ๆ มาเล่าสู่กันฟังค่ะ
https://www.instagram.com/p/CM8eFrwLwHp/
สภาเกษตรฯฟ้อง “จุรินทร์” ข้าวบาร์เลย์ทะลักเข้าประเทศ
https://www.prachachat.net/economy/news-637593
จุรินทร์นั่งหัวโต๊ะประชุมบอร์ด นบขพ. สภาเกษตรฯจี้เร่งวางมาตรการดูแลนำเข้าข้าวบาร์เลย์ หลังพบยอดปี’63 เพิ่มพรวดจาก 3 แสน เป็น 7 แสนตัน โต 106% หวั่นกระทบราคาข้าวโพดร่วง สวนทางราคาตลาดโลกขาขึ้น
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 ซึ่งมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์เป็นประธานได้รับทราบสถานการณ์การผลิตและการตลาดข้าวโพดปี 2563/2564 ผลการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดปี 2563/2564 และผลการดำเนินโครงการชดเชยดอกเบี้ย การเก็บสต๊อกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และที่ประชุมได้พิจารณาวาระโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีการผลิต 2564
ปี 2563/2564 คาดการณ์ว่าจะมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดลดลงเล็กน้อย แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้น 5-6% จาก 4.5 เป็น 4.8 ล้านตัน โดยขณะนี้ผลผลิตออกมาหมดแล้ว เหลือในส่วนของข้าวโพดหลังนา ซึ่งหากเทียบผลผลิตกับปริมาณความต้องการใช้ของกลุ่มผู้ผลิตอาหารสัตว์ที่คาดว่าจะมีปริมาณ 8.38 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ใช้ 8.34 ล้านตัน ไทยต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทั้งข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต และข้าวไรย์
ซึ่งสภาเกษตรกรแห่งชาติก็ได้แสดงความกังวลเรื่องการนำเข้าข้าวบาร์เลย์ที่เพิ่มขึ้นจาก 3 แสนตันเป็น 7 แสนตัน จากประเทศ เช่น ออสเตรเลียว่าจะซ้ำรอยกับเมื่อครั้งที่มีปัญหาข้าวสาลีที่เคยมีการนำเข้ามากจนกระทบเกษตรกร และต้องกำหนดมาตรการให้
ซื้อภายใน 3 ส่วนแลกกับนำเข้า 1 ส่วน แต่ก็ยังมีความเห็นที่ไม่ตรงกันบางจุด เช่น หากไปดูแลการนำเข้าจะกระทบกับการเปิดเสรีหรือไม่
ทั้งนี้ หากเทียบปริมาณการนำเข้าแต่ละชนิดพบว่า ในปี 2563 ไทยนำเข้าข้าวบาร์เลย์ 793,890 ตัน เพิ่มขึ้น 106.86% จากปี 2562 ที่มีการนำเข้า 383,772 ตัน หากดูเฉพาะเดือนมกราคม 2564 พบว่ามีการนำเข้า 84,269 ตัน เพิ่มขึ้น 41.66% จากเดือนมกราคม 2563 ที่นำเข้า 59,488 ตัน
ข้าวโพด ปี 2563 นำเข้า 1.58 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 132% จากปี 2562 ที่นำเข้า 681,459 ตัน ส่วนเดือนมกราคม 2564 ไม่มีการนำเข้าเลย, ข้าวสาลี ปี 2563 นำเข้า 1.84 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 8.34% จากปี 2562 ที่นำเข้า 1.70 ล้านตัน
ส่วนในเดือนมกราคม 2564 นำเข้า 207 ตัน ลดลง 99.78% จากมกราคม 2563 ที่นำเข้า 95,019 ตัน, DDGS ปี 2562 มีการนำเข้า 629,591 ตัน เพิ่มขึ้น 7.68% จากปี 2562 ที่นำเข้า 584,664 ตัน ส่วนในเดือนมกราคม 2564 นำเข้า 70,796 ตัน ลดลง 12.86% จากเดือนมกราคม 2563 ที่นำเข้า 81,246 ตัน ส่วนข้าวโอ๊ตและข้าวไรย์ มีปริมาณการนำเข้าที่ไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ราคาข้าวโพดความชื้น 14.5% ที่เกษตรกรขายได้ในเดือนนี้ กก.ละ 8.60-8.63 บาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ราคา กก.ละ 8.67 บาท ซึ่งแม้ว่าจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคาประกันรายได้ แต่ก็ถือว่าต่ำหากเทียบกับตลาดโลกที่มีแนวโน้มขาขึ้น มาจากความต้องการใช้ข้าวโพดในตลาดจีนที่เริ่มฟื้นตัว โดยเฉลี่ยแล้วราคาวัตถุดิบโลกเพิ่มขึ้น 50-60%
แนวโน้มอาหารสัตว์ในปี 2564/2565 น่าจะราคาเพิ่มสูงขึ้น เพราะสต๊อกโลกลดลงจาก 303.13 ล้านตัน เหลือ 287.53 ล้านตัน ความต้องการใช้เพิ่มขึ้น จาก 1,134 ล้านตัน เพิ่มเป็น 1,151 ล้านตัน โดยคาดการณ์ผลผลิตในอเมริกาประสบปัญหาฝนมาล่าช้า อาจจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง แม้ว่าผลผลิตทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 1,116 ล้านตัน เป็น 1,136 ล้านตัน
สำหรับโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2564 วงเงินงบประมาณ 311,418,600 บาท สำหรับพื้นที่ประกันภัย 2.86 ล้านไร่ ซึ่งมติครั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเป็นผู้นำเสนอเข้า ครม. เพื่อพิจารณาต่อไป โดยมีระยะเวลาขายประกันภัย แบ่งเป็น 2 รอบคือ วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 และรอบที่ 2 วันที่ 1 ตุลาคม 2564-15 มกราคม 2565
กรณีเป็นที่เป็นลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส.รัฐบาลจะจ่ายค่าเบี้ยประกันให้ 96 บาทต่อไร่ ธ.ก.ส. รับชดเชย 64 บาทต่อไร่ รวมเป็น 160 บาทต่อไร่ กรณีเกษตรกรทั่วไปที่ไม่ใช่ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. จะแบ่งการรับประกันเป็น 3 พื้นที่ คือ พื้นที่เสี่ยงต่ำ 150 บาทต่อไร่ พื้นที่เสี่ยงปานกลาง 350 บาทต่อไร่ และพื้นที่เสี่ยงสูง 550 บาทต่อไร่ นอกจากนี้เกษตรกรยังสามารถซื้อประกันภัยเพิ่มเติมได้
โดยเมื่อประสบภัยพิบัติธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ น้ำท่วมหรือฝนตกหนักภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ ไฟไหม้ และภัยช้างป่าวงเงินคุ้มครอง 1,500 บาทต่อไร่ ภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด วงเงินคุ้มครอง จำนวน 750 บาทต่อไร่
JJNY : ‘ยิ่งลักษณ์’เล่าหลังฉีดวัคซีนเข็ม2│ข้าวบาร์เลย์ทะลัก│รวบ2ทหารขับเก๋งทะเบียนปลอม-พกปืน│ดญ.เมียนมาเขียนจม.ส่งยูเอ็น
https://www.matichon.co.th/politics/news_2645781
ความว่า
หลังจากกลับจากการเดินทางไปสวิตเซอร์แลนด์และสวีเดนของดิฉันทริปนี้เป็นการเดินทางหลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่สองแล้ว ดิฉันยังคงใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้มีอาการแพ้ หรือมีผลข้างเคียงอะไร ไปต่างประเทศยังคงต้องใช้ผลตรวจโควิดเหมือนเดิม แต่ก็มีความมั่นใจมากขึ้นเพราะได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ซึ่งสามารถป้องกันได้ระดับหนึ่ง
ลองถามคนที่สวิตเซอร์แลนด์พบว่าคนส่วนใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว โดยมีวัคซีนจากหลากหลายผู้ผลิต แต่ประชาชนส่วนใหญ่จะชอบของโมเดอร์นา เพราะเป็นวัคซีนของสวิส อีกทั้งไม่ค่อยมีข่าวเรื่องการแพ้ยา หรือผลข้างเคียง
ขณะที่อีกประเทศที่เดินทางไปคือสวีเดน ที่นี่เขาเชื่อในเรื่องภูมิคุ้มกันหมู่ หรือ Herd Immunity ทำให้ไม่เคยปิดประเทศ หรือ lockdown ร้านค้าตั้งแต่มีการระบาด แต่พบว่าเศรษฐกิจยังเดินหน้าไปได้ รัฐบาลปล่อยให้ผู้คนใช้ชีวิตตามปกติ เพียงแต่จะมีการเตือนให้เว้นระยะห่าง หรือ social distance รวมไปถึงการรักษาความสะอาดและล้างมือบ่อยๆ
สวีเดนได้ฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรที่อยู่แนวหน้า เช่น แพทย์ พยาบาล และผู้ที่ต้องสัมผัสกับคนจำนวนมากเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้กำลังเข้าสู่ช่วงของการเร่งฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุเกิน 65 ปี
ดิฉันจึงถือโอกาสที่ได้เดินทางไปสวิสและสวีเดนครั้งนี้ นำข้อมูลของประเทศต่าง ๆ มาเล่าสู่กันฟังค่ะ
https://www.instagram.com/p/CM8eFrwLwHp/
สภาเกษตรฯฟ้อง “จุรินทร์” ข้าวบาร์เลย์ทะลักเข้าประเทศ
https://www.prachachat.net/economy/news-637593
จุรินทร์นั่งหัวโต๊ะประชุมบอร์ด นบขพ. สภาเกษตรฯจี้เร่งวางมาตรการดูแลนำเข้าข้าวบาร์เลย์ หลังพบยอดปี’63 เพิ่มพรวดจาก 3 แสน เป็น 7 แสนตัน โต 106% หวั่นกระทบราคาข้าวโพดร่วง สวนทางราคาตลาดโลกขาขึ้น
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 ซึ่งมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์เป็นประธานได้รับทราบสถานการณ์การผลิตและการตลาดข้าวโพดปี 2563/2564 ผลการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดปี 2563/2564 และผลการดำเนินโครงการชดเชยดอกเบี้ย การเก็บสต๊อกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และที่ประชุมได้พิจารณาวาระโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีการผลิต 2564
ปี 2563/2564 คาดการณ์ว่าจะมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดลดลงเล็กน้อย แต่ผลผลิตเพิ่มขึ้น 5-6% จาก 4.5 เป็น 4.8 ล้านตัน โดยขณะนี้ผลผลิตออกมาหมดแล้ว เหลือในส่วนของข้าวโพดหลังนา ซึ่งหากเทียบผลผลิตกับปริมาณความต้องการใช้ของกลุ่มผู้ผลิตอาหารสัตว์ที่คาดว่าจะมีปริมาณ 8.38 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ใช้ 8.34 ล้านตัน ไทยต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทั้งข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต และข้าวไรย์
ซึ่งสภาเกษตรกรแห่งชาติก็ได้แสดงความกังวลเรื่องการนำเข้าข้าวบาร์เลย์ที่เพิ่มขึ้นจาก 3 แสนตันเป็น 7 แสนตัน จากประเทศ เช่น ออสเตรเลียว่าจะซ้ำรอยกับเมื่อครั้งที่มีปัญหาข้าวสาลีที่เคยมีการนำเข้ามากจนกระทบเกษตรกร และต้องกำหนดมาตรการให้
ซื้อภายใน 3 ส่วนแลกกับนำเข้า 1 ส่วน แต่ก็ยังมีความเห็นที่ไม่ตรงกันบางจุด เช่น หากไปดูแลการนำเข้าจะกระทบกับการเปิดเสรีหรือไม่
ทั้งนี้ หากเทียบปริมาณการนำเข้าแต่ละชนิดพบว่า ในปี 2563 ไทยนำเข้าข้าวบาร์เลย์ 793,890 ตัน เพิ่มขึ้น 106.86% จากปี 2562 ที่มีการนำเข้า 383,772 ตัน หากดูเฉพาะเดือนมกราคม 2564 พบว่ามีการนำเข้า 84,269 ตัน เพิ่มขึ้น 41.66% จากเดือนมกราคม 2563 ที่นำเข้า 59,488 ตัน
ข้าวโพด ปี 2563 นำเข้า 1.58 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 132% จากปี 2562 ที่นำเข้า 681,459 ตัน ส่วนเดือนมกราคม 2564 ไม่มีการนำเข้าเลย, ข้าวสาลี ปี 2563 นำเข้า 1.84 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 8.34% จากปี 2562 ที่นำเข้า 1.70 ล้านตัน
ส่วนในเดือนมกราคม 2564 นำเข้า 207 ตัน ลดลง 99.78% จากมกราคม 2563 ที่นำเข้า 95,019 ตัน, DDGS ปี 2562 มีการนำเข้า 629,591 ตัน เพิ่มขึ้น 7.68% จากปี 2562 ที่นำเข้า 584,664 ตัน ส่วนในเดือนมกราคม 2564 นำเข้า 70,796 ตัน ลดลง 12.86% จากเดือนมกราคม 2563 ที่นำเข้า 81,246 ตัน ส่วนข้าวโอ๊ตและข้าวไรย์ มีปริมาณการนำเข้าที่ไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ราคาข้าวโพดความชื้น 14.5% ที่เกษตรกรขายได้ในเดือนนี้ กก.ละ 8.60-8.63 บาท ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ที่ราคา กก.ละ 8.67 บาท ซึ่งแม้ว่าจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคาประกันรายได้ แต่ก็ถือว่าต่ำหากเทียบกับตลาดโลกที่มีแนวโน้มขาขึ้น มาจากความต้องการใช้ข้าวโพดในตลาดจีนที่เริ่มฟื้นตัว โดยเฉลี่ยแล้วราคาวัตถุดิบโลกเพิ่มขึ้น 50-60%
แนวโน้มอาหารสัตว์ในปี 2564/2565 น่าจะราคาเพิ่มสูงขึ้น เพราะสต๊อกโลกลดลงจาก 303.13 ล้านตัน เหลือ 287.53 ล้านตัน ความต้องการใช้เพิ่มขึ้น จาก 1,134 ล้านตัน เพิ่มเป็น 1,151 ล้านตัน โดยคาดการณ์ผลผลิตในอเมริกาประสบปัญหาฝนมาล่าช้า อาจจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง แม้ว่าผลผลิตทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 1,116 ล้านตัน เป็น 1,136 ล้านตัน
สำหรับโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2564 วงเงินงบประมาณ 311,418,600 บาท สำหรับพื้นที่ประกันภัย 2.86 ล้านไร่ ซึ่งมติครั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเป็นผู้นำเสนอเข้า ครม. เพื่อพิจารณาต่อไป โดยมีระยะเวลาขายประกันภัย แบ่งเป็น 2 รอบคือ วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 และรอบที่ 2 วันที่ 1 ตุลาคม 2564-15 มกราคม 2565
กรณีเป็นที่เป็นลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส.รัฐบาลจะจ่ายค่าเบี้ยประกันให้ 96 บาทต่อไร่ ธ.ก.ส. รับชดเชย 64 บาทต่อไร่ รวมเป็น 160 บาทต่อไร่ กรณีเกษตรกรทั่วไปที่ไม่ใช่ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. จะแบ่งการรับประกันเป็น 3 พื้นที่ คือ พื้นที่เสี่ยงต่ำ 150 บาทต่อไร่ พื้นที่เสี่ยงปานกลาง 350 บาทต่อไร่ และพื้นที่เสี่ยงสูง 550 บาทต่อไร่ นอกจากนี้เกษตรกรยังสามารถซื้อประกันภัยเพิ่มเติมได้
โดยเมื่อประสบภัยพิบัติธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ น้ำท่วมหรือฝนตกหนักภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ ไฟไหม้ และภัยช้างป่าวงเงินคุ้มครอง 1,500 บาทต่อไร่ ภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด วงเงินคุ้มครอง จำนวน 750 บาทต่อไร่