สุนัขเมตตาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1



สุนัขเมตตาของฝรั่งเศส
กำลังลากตัวทหารบาดเจ็บ 
Postcard 1914 © Frankfurter Allgemeine



สุนัขได้ติดตามผู้ชายไปทำสงคราม
มาตั้งแต่สมัยโบราณ ในฐานะหน่วยสอดแนม
ทหารยาม ผู้ติดตามและผู้ส่งสาส์น
แต่บทบาทที่โดดเด่นที่สุดคือ
สุนัขเมตตา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
โดยมีหน้าที่ค้นหาทหารที่ได้รับบาดเจ็บ
ในสนามรบที่ไม่มีใครสามารถเข้าถึงได้
พวกมันจะปลอบโยนผู้บาดเจ็บสาหัส
และมอบความเป็นเพื่อนให้กับทหารผู้นั้น
และปลอบโยนทหารที่ใกล้จะตายในหน้าที่

สุนัขเมตตา สุนัขแพทย์ สุนัขของผู้ป่วย
ได้รับการฝึกฝนครั้งแรกโดยกองทัพเยอรมัน
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
โดยมีวัตถุที่ประสงค์คือ
ช่วยเหลือแพทย์ในสนามรบ
เพื่อค้นหาทหารที่ได้รับบาดเจ็บในสนามรบ

Jean Bungartz จิตรกรภาพสัตว์ชาวเยอรมัน
ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับสัตว์หลายเล่ม
รู้สึกหวาดกลัวกับจำนวนทหารที่หายไป
ในช่วงสงครามฝรั่งเศส - ปรัสเซียในปี 1870-71
Franco-Prussian War of 1870-71
และท่านได้เริ่มฝึกสุนัขเพื่อช่วยติดตาม
ค้นหาทหารที่ได้รับบาดเจ็บในสนามรบ
ด้วยเหตุนี้ในปี 1890 ท่านจึงก่อตั้ง
German Association for Medical Dogs
โดยรับผิดชอบในการฝึกสุนัขทางการแพทย์
ด้วยความสมัครใจของท่านกับเพื่อน ๆ



 






Alexander Pope วาดภาพ
สุนัขสภากาชาดกำลังคาบหมวกทหาร



ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
สุนัขเมตตาได้รับการฝึกฝน
จากสภากาชาดแห่งชาติ
เพื่อให้บริการในประเทศที่ทำสงครามกัน

สุนัขเมตตาทั่วไปจะมีกระเป๋าข้าง บรรจุน้ำ
แอลกอฮอล์และอุปกรณ์ปฐมพยาบาล
เพื่อให้ทหารที่ได้รับบาดเจ็บสามารถใช้
เพื่อดูแลบาดแผลของทหารได้ด้วยตนเอง

สุนัขเหล่านี้ได้รับการฝึกฝนให้เคลื่อนไหว
อย่างเงียบ ๆ รอบ ๆ ดินแดนที่ไม่มีคนอยู่
โดยปกติแล้วในเวลากลางคืน
สุนัขจะดมกลิ่นของทหารที่ได้รับบาดเจ็บ
โดยไม่สนใจสิ่งที่อยู่อีกด้านหนึ่ง(พวกศัตรู)

สุนัขฉลาดพอที่จะจดจำและแยกความแตกต่าง
ระหว่างทหารที่ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย
และทหารที่ไม่ต้องให้ความช่วยเหลือ(ตายแล้ว)
ภารกิจของสุนัขเมตตา คือ
การแจ้งเตือนทหารในฐานที่มั่นว่า
ยังมีทหารที่มีโอกาสรอดชีวิต
กำลังนอนบาดเจ็บอยู่ในสนามรบ
เพื่อรอความช่วยเหลือจากทหารจากสนามเพลาะ

ทันทีที่สุนัขเมตตาพบทหารที่บาดเจ็บ
สุนัขจะอนุญาตให้ทหารที่บาดเจ็บ
ใช้เวชภัณฑ์ในกระเป๋าข้างของสุนัข
หากอาการบาดเจ็บสาหัสเกินกว่าจะรักษา
สุนัขจะวิ่งกลับไปที่สนามเพลาะ
พร้อมกับเศษผ้าชุดทหาร
และนำแพทย์ไปหาทหาร
บางครั้งสุนัขเมตตา
จะลากทหารไปในที่ปลอดภัย

สุนัขเมตตาหลายตัว
จะปลอบโยนทหารที่ใกล้ตาย
ในฐานะสหายร่วมรบตัวสุดท้าย
โดยจะอยู่จนกระทั่งทหารสิ้นใจ

แพทย์ทหารยกย่อง
ความสามารถของสุนัขเมตตา
ในการตรวจสอบทหารที่ได้รับบาดเจ็บ
" บางครั้งพวกมันพาเราไปยังร่างทหาร
ที่เราคิดว่าไม่มีชีวิตแล้ว
แต่เมื่อเรานำทหารกลับมาหาหมอทหาร
ทหารพวกนี้มักจะอยากมีชีวิตอยู่ต่อ
มันเป็นเรื่องของสัญชาตญาณ
ของสุนัขเมตตาเท่านั้น
[ซึ่ง] มีประสิทธิภาพมากกว่า
การใช้เหตุผลของมนุษย์ "



สุนัขกาชาดเยอรมัน
กำลังมองหาทหารผู้บาดเจ็บ



สุนัขเมตตาตัวแรกได้รับการฝึกฝน
โดยกองทัพเยอรมันในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 
โครงการฝึกสุนัขเมตตาในปี 1908
ริเริ่มโดย  Jean Bungartz ในเยอรมัน
ในโครงการการทดลองแบบใหม่
ในปี 1908 อิตาลี ออสเตรีย ฝรั่งเศส
และเยอรมันต่างมีโครงการฝึกสุนัขเมตตา

ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 
เยอรมันมีสุนัขที่ได้รับการฝึกฝนราว 6,000 ตัว
ซึ่งหลายตัวเป็นสุนัขประจำรถพยาบาล
กองทัพเยอรมันเรียกว่า
Sanitätshunde หรือ Medical dogs
คาดว่าเยอรมันมีสุนัขเมตตาราว  30,000 ตัว
ส่วนใหญ่เป็นสุนัขส่งสาส์นและสุนัขพยาบาล
ในจำนวนนั้นมี 7,000 ตัวที่ตายในสนามรบ
มีการคาดการณ์กันว่าคู่สงครามทั้งสองฝ่าย
มีการใช้สุนัขเมตตามากกว่า 50,000 ตัว


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Sanitätshunde (1915)



แม้ว่า อังกฤษไม่มีโครงการฝึกสุนัขทหาร
แต่ Edwin Hautenville Richardson
เจ้าหน้าที่ในกองทัพอังกฤษที่มีประสบการณ์
ในการทำงานกับสุนัขทหารและได้สนับสนุน
ในการจัดตั้งโครงการทางทหารตั้งแต่ปี 1910
มีการฝึกสุนัขหลายตัวให้เป็นสุนัขพยาบาล
และเสนอให้กองทัพอังกฤษนำไปใช้งาน
แต่กองทัพอังกฤษไม่ยอมรับ
ท่านจึงมอบให้กับสภากาชาดอังกฤษ
ผลงานของสุนัขเมตตาในสนามรบ
ทำให้ในเวลาต่อมา กองทัพอังกฤษยอมรับ
และมอบหมายให้ท่านเป็นผู้บัญชาการ
โรงเรียนฝึกสุนัขทหาร มากกว่า 200 ตัว





สุนัขจำนวนมากถึง 10,000 ตัว
ทำหน้าที่เป็นสุนัขเมตตา
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1
คู่กัดเยอรมันกับฝรั่งเศส
สุนัขเมตตาได้รับเกียรติ
ในการช่วยชีวิตทหารหลายพันคน
โดยแยกเป็นทหารฝรั่งเศสราว 2,000 คน
และทหารเยอรมันราว 4,000 คน

สุนัขเมตตาหลายตัวมีความสามารถพิเศษ
ในการทำงานอย่างเอาใจใส่และสุดยอด
เช่น Captain สุนัขเมตตา
ที่ค้นหาทหารได้ถึง 30 คนในวันเดียว
และ Prusco  สุนัขเมตตา
ที่ค้นหาทหารได้ถึง 100 คนในการรบ
โดยยอมรับกันและรู้กันว่า Prusco
จะลากทหารลงไปในคูน้ำ
เพื่อเป็นสถานที่ปลอดภัย
ในขณะที่สุนัขวิ่งไปไปเรียกผู้ช่วยชีวิต
ทั้งคู่เป็นสุนัขพันธุ์ฝรั่งเศส (ไม่ได้ระบุสายพันธุ์)
แต่ที่นิยมในฝรั่งเศสมี 15 สายพันธุ์
15 of the Frenchiest French Dog Breeds for Bastille Day

สนามเพลาะในสงครามโลกครั้งที่ 1 
คือ ทุ่งสังหารที่น่าสยดสยอง
สำหรับทหารและสุนัข
เพราะกระสุนปืนปลิวว่อน
พอ ๆ กับฝนที่ทำให้พื้นที่เฉอะแฉะ
ก๊าซมัสตาร์ด ที่ทำลายระบบหายใจถึงตายได้
สุนัขเมตตาหลายตัวเสียชีวิต
เพราะถูกลูกกระสุนหรือก๊าซพิษ
สุนัขเมตตาหลายตัวที่รอดตาย
มักจะเครียดเพราะผลจากการทำงาน
ที่กระทบกระเทือนจิตใจสุนัขเหมือนกัน

ในขณะที่หลายประเทศในยุโรป
มีโครงการสุนัขเมตตา
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
แต่สหรัฐอเมริกาไม่มีแต่อย่างใด
เพราะคาดว่าสงครามคงจะจบลงในเร็ววัน
ทำให้โครงการสุนัขเมตตาจึงไม่จำเป็น
แต่ก็ยังมีสุนัขของสหรัฐฯ หลายตัว
ที่รับใช้ในงานกาชาดสหรัฐฯ
โดยมีสัญลักษณ์กาชาดสีแดงบนกระเป๋าข้าง
ทหารอเมริกันมักจะยืมสุนัขจากพันธมิตร
เพราะสหรัฐยังไม่มีหน่วยทหารสุนัข

สุนัขเมตตาถือเป็นสัญลักษณ์ของความรักชาติ
Jill Lenk Schilp เขียนว่า
" สุนัขมีการยกระดับที่กล้าหาญ
และแสดงถึงอารมณ์และลักษณะของมนุษย์ " 

Sergeant Stubby สุนัขพันธุ์อเมริกัน
เคยได้รับบาดเจ็บท่ามกลางสนามรบ
แต่ไม่ได้รับรางวัล Dickin Medal
(เทียบเท่า Victoria Cross)
ที่มีสัตว์หลายชนิดได้รับรางวัลนี้
แต่ Stubby ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น จ่าสิบเอก





สงครามโลกครั้งที่ 2
มีรายงานว่ากองทัพเยอรมันได้ใช้
สุนัขทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสาส์น เฝ้าระวัง
และมีการใช้งานสุนัขเมตตา

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
คณะแพทย์ของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา
ได้ใช้รถพยาบาลพร้อมกับสุนัข 6 ตัว
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพันธุ์  Pointers กับ Setters
เพื่อค้นหาทหารที่ได้รับบาดเจ็บ
โดยโครงการฝึกอบรมเริ่มขึ้นในสิงหาคม 1942

ในช่วงสงครามเกาหลี
กองทัพสหรัฐอเมริกาใช้โครงการสุนัขเมตตา
เพื่อค้นหาทหารที่ได้รับบาดเจ็บ
โดยสุนัขพันธุ์ German Shepherds
ทำหน้าที่ค้นหาทหารที่บาดเจ็บ
และแจ้งข่าวมายังแพทย์ทหาร
สุนัขเหล่านี้ฝึกฝนที่ Fort Riley Kansas 

แม้ว่า สงครามสมัยใหม่
อาจจะไม่ได้ต่อสู้ในสนามเพลาะอีกต่อไป
และใช้ทักษะของสุนัขนำทาง
ในสนามรบที่ดุเดือด
เพื่อค้นหาทหารที่ได้รับบาดเจ็บ
อาจจะไม่จำเป็นอีกต่อไป
(เพราะมี GPS ระบุตำแหน่งได้)

แต่สุนัขยังคงมีส่วนร่วมในสงคราม
และจะทำต่อไปตราบเท่าที่
มนุษย์และสุนัขยังคงเป็นเพื่อนกัน
ส่วนสภากาชาดอเมริกัน
ก็ยังไม่ได้ยุติโครงการสุนัขเมตตาแต่อย่างใด
 


เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/39hvjkg
https://bit.ly/3lUFkZG
https://bit.ly/3lTnLcx







 







บาทหลวงในศตวรรษที่ 17 ที่
Hospiz auf dem Grossen Sankt Bernhard 
(สวิตเซอร์แลนด์) 
ได้ทำการเพาะพันธุ์สุนัขของตนเอง
ซึ่งเป็นสุนัขพันธุ์ St. Bernard ตัวแรก

ในตอนแรกงานของสุนัข
คือ การค้นหาเส้นทางซึ่งปกคลุมไปด้วยหิมะ
พาบาทหลวงกลับไปที่อาราม
แต่มีรายงานเหตุการณ์หลายครั้ง
ที่สุนัขเหล่านี้ได้ช่วยเหลือผู้คนที่สูญหายในหิมะ
และแสดงให้ผู้คนเห็นหนทางไปยังอาราม
และนำผู้คนไปยังที่ปลอดภัย
สุนัขที่ชื่อว่า Barry  ได้ช่วยชีวิตผู้คน
ถึง 40 คนระหว่างปี 1800 ถึง 1812 

ในปี 1968
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เริ่มฝึกสุนัขเพื่อรับผิดชอบงาน
ค้นหาคนในภัยพิบัติ/หายนะ

โดยในปี 1972
Schweizerische Verein für Katastrophenhunde
(Swiss Association of Disaster Dogs)
ได้ทำหนังสือคู่มือเกี่ยวกับวิธีการฝึกสุนัขเหล่านี้

ประชาชนเริ่มตระหนักว่า
สุนัขเหล่านี้มีความสำคัญเพียงใด
ในการค้นหาผู้สูญหายในสถานการณ์ภัยพิบัติ
เช่น แผ่นดินไหวในอิตาลี 1967
1977 ในรูมาเนีย และ 1980 ในแอลจีเรีย




แต่ในเยอรมัน
ผู้คนยังขาดความเชื่อมั่น
ความสามารถของสุนัขเหล่านี้
และตัดสินใจที่จะลงทุนในเทคโนโลยีมากกว่า
แต่ก็ยังมีบางคนที่ยังฝึกสุนัขค้นหา
และทำหน้าที่ช่วยในภัยพิบัติธรรมชาติ
ร่วมกับทีมค้นหาชุดต่าง ๆ

มีทีมงานที่จัดตั้งขึ้นโดยเอกชน
Bundesverband für das Rettungshundewesen e.V
ซึ่งทำหน้าที่ดูแล Mantrailer ผู้ช่วยเหลือคน

ในปี 2004
สุนัขพันธุ์ Belgian Malinois
เข้ารับราชการตำรวจเยอรมัน
แม้ว่าการใช้ Mantrailers 
จะเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่
แต่ก็เริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น 










หมายเหตุ


ในสนามรบจะมีระยะเวลาพักรบ
/หยุดยิงกันชั่วคราวแบบไม่เป็นทางการ
เพื่อให้แต่ละฝ่ายมีโอกาสเก็บศพทหาร
เพราะถ้าทิ้งไว้ ไม่ใช่แค่อุจาดตา
แต่จะเป็นแหล่งสะสมกลิ่นเน่าเหม็น
แหล่งกำเนิดพาหะแห่งโรคต่าง ๆ
ทั้งยังมีเวลาพักรบให้กินข้าวกันก่อน
หรือร่วมฉลองในเทศกาลสำคัญ ๆ
เพราะทหาร/ชาวบ้านไม่ใช่ศัตรูกัน
ผู้นำของชาติต่างหากที่หาเรื่องรบกัน


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Christmas Truce of 1914, World War I
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่