❍
Indonesian eco-warrior
turns arid hills green
❍
เมื่อเพื่อนชาวบ้านมองว่า
Sadiman เป็นบ้าไปแล้ว
แต่ Sadiman คือ นักรบเชิงนิเวศชาวอินโดนีเซีย
ได้เปลี่ยนแปลงเนินเขาที่แห้งแล้งเป็นป่า
หลังจากพยายามอย่างยาวนานถึง 24 ปี
ทำให้มีแหล่งน้ำในพื้นที่เดิม
ที่เคยเป็นภูเขาที่แห้งแล้ง
ตั้งแต่ปี 1996
Sadiman ชาวนาในหมู่บ้าน Dali
ในเขตปกครอง Wonogiri ของ
Central Java ประเทศอินโดนีเซีย
ท่านได้กระตุ้นให้ชาวบ้านปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น
บน Gendol Hill ที่อยู่ใกล้เคียง
เพื่อพยายามลดวิกฤตน้ำที่รุนแรง
เพราะน้ำป่าเคยพัดถล่มหมู่บ้าน
โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งแบบฝนหลงฤดู
เนินเขา Lawu อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนของ
จังหวัดชวากลางและตะวันออก
ภูเขาถูกตัดไม้ทำลายป่าอย่างรุนแรง
ผลจากการตัดไม้เป็นจำนวนมาก
ทำให้เกิดไฟป่าหลายครั้ง
และน้ำท่วมถล่มบ้านเรือนหลายครั้ง
ในช่วงทศวรรษที่ 1960 ถึง 1980
การตัดไม้ทำลายป่าอย่างรุนแรง
ทำให้แม่น้ำ Gendol ซึ่งเคยเป็นแหล่งน้ำ
เพียงแหล่งเดียวของชาวบ้าน
หมู่บ้าน Geneng แห้งแล้งอย่างรวดเร็ว
ทำให้ชาวบ้านในท้องถิ่นตกอยู่ใน
ภาวะวิกฤตขาดน้ำที่รุนแรงกินเวลานานหลายปี
ในการให้สัมภาษณ์ Sadiman เมื่อปี 2015
" ความคิดที่จะฟื้นฟูเนินเขาเป็นครั้งแรก
เมื่อเริ่มกรีดยางจากต้นยางพาราบนเนินเขา
ผมพบว่าต้นยางหลายต้น
ไม่ได้ผลิตน้ำยางอีกต่อไป
จากนั้นผมก็ตระหนักว่าวิกฤตน้ำมากเกินไป
แม้แต่ลำต้นของต้นไม้ก็แห้งไปแล้ว ”
(ยางพารา เป็นพืชหัวร้อนตีนเย็น
ใบต้องการแดดมาก รากต้องการน้ำมาก)
คุณปู่ หรือที่เรียกกันด้วยความรักว่า mbah
วัย 69 ปี ยังทำงานอย่างไม่ลดละ
เพื่อปลูกต้นไม้บนเนินเขา เขตพื้นที่ชวาตอนกลาง
หลังจากพื้นที่นี้เคยเกิดเหตุเพลิงไหม้
ทำลายพื้นที่เพาะปลูก
จนเกือบทำให้แม่น้ำและทะเลสาบ
แทบเหือดแห้งเป็นที่ว่างเปล่าไปหมด
“ ผมคิดในใจว่า
ถ้าผมไม่ปลูกต้นไทร ต้นกร่าง
พื้นที่นี้ก็จะแห้งแล้งอย่างรุนแรง
จากประสบการณ์ของผม
ต้นไทร และ
ต้นกร่าง
สามารถกักเก็บน้ำได้จำนวนมาก ”
Sadiman (ชื่อโหลในอินโดนีเซีย) ให้สัมภาษณ์
ขณะที่สวมหมวกทหาร/เสื้อซาฟารีชาวบ้านทั่วไป
รากที่ยาวและแผ่กว้างของต้นไทรและต้นกร่าง
อย่างน้อย 11,000 ต้น ในพื้นที่มากกว่า
250 เฮกตาร์ (617 เอเคอร์)(1,542.5 ไร่)
2.5 ตร.กม (625 ไร่ = 1 ตร.กม.)
ช่วยกักเก็บน้ำใต้ดินและป้องกัน
การพังทลายของพื้นดินด้านบนได้
❍
❍
ความพยายามปลูกป่าอย่างตั้งใจที่ยาวนาน
ทำให้น้ำตกได้ไหลรินอีกครั้ง
ในแผ่นดินแห้งแล้งและไร้น้ำในอดีต
และได้ส่งน้ำตามท่อน้ำไปยังบ้านและใช้ในฟาร์ม
(แถวรัตภูมิ จขกท.เห็นประปาชาวบ้าน
ต่อน้ำจากลำธาร/น้ำตกบนภูเขามาเป็นน้ำใช้
แบบต้องปล่อยน้ำทิ้งไม่ปิดก๊อกเพราะก๊อกจะพัง
และไม่มีมิเตอร์ประปาแต่อย่างใด)
แม้ว่าในตอนแรก ๆ
มีชาวบ้านเพียงไม่กี่คนที่ชื่นชมผลงานของปู่
“ ผู้คนต่างเยาะเย้ยผม
ที่ผมนำต้นไทรมาปลูกในหมู่บ้าน
เพราะชาวบ้านรู้สึกไม่สบายใจในเรื่องนี้
เพราะเชื่อว่า มีผีอยู่ในต้นไม้เหล่านี้ "
Sadiman ให้สัมภาษณ์
" บางคนถึงกับคิดว่า ปู่เป็นบ้าไปแล้ว
เพราะปู่เอาแพะที่เลี้ยง
ไปแลกกับต้นไทร/ต้นกร่าง
ในอดีต ทุกคนต่างคิดว่า ปู่เป็นบ้าไปแล้ว
แต่ตอนนี้ลองดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ปู่ทำให้มีน้ำสะอาดที่เพียงพอกับ
ความต้องการของชาวบ้านในหลาย ๆ หมู่บ้าน "
Warto ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าว
Sadiman ได้เงินในการปลูกป่า
จากการขายพืชเพาะชำ
เช่น กานพลู และต้นขนุน
ซึ่งปู่สามารถขาย
หรือแลกเปลี่ยนกับกล้าพืชได้
การเสียสละของ Sadiman นั้นน่าชื่นชมมาก
จากการเป็นเกษตรกรที่เรียบง่าย
ทำให้ปู่ต้องดิ้นรนเพื่อให้ได้เงินมาให้มากพอ
อย่างไรก็ตามสภาพความเป็นอยู่ที่ลำบากของปู่
ทำให้ปู่หาเงินได้ยากมาก
ตอนซื้อต้นกล้ามาปลูก
ต้นไทรต้นหนึ่งอาจมีราคาตั้งแต่ 50,000 ถึง 10,000 รูเปียห์
ซึ่งเท่ากับ 2.75 - 5.50 ปอนด์
หรือ 3.70 - 7.40 เหรียญหรือ 3.15 - 6.30 ยูโร
ซึ่งเป็นเงินจำนวนมากสำหรับปู่
ปู่จึงต้องเพาะต้นกล้ากานพลูในที่ดินของปู่
แล้วนำกานพลู 10 ต้นแลกกับต้นไทร 1 ต้น
แน่นอนว่าการอุทิศตนของ Sadiman
นั้นเหนือกว่าคำถาม
เพราะปู่เคยถูกเรียกว่า คนบ้า
หลายครั้งต้นกล้าของปู่
ถูกคนที่ขาดความรับผิดชอบดึงออกจากพื้นดิน
แต่ปู่ไม่เคยถอดใจ/ล้มเลิกการปลูกต้นไม้
ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา
Sadiman ยังคงปลูกต้นไม้และดูแลพวกมัน
เพื่อให้แน่ใจว่าพวกมันเติบโตอย่างแข็งแรง
ต้องขอบคุณการทำงานหนักอย่างไม่ลดละของปู่
ป่าไม้จึงเริ่มฟื้นตัวและเจริญงอกงามอย่างแน่นอน
มีน้ำตกและลำธารมากขึ้นเรื่อย ๆ
เป็นแหล่งน้ำสำหรับหมู่บ้านที่เชิงเขา Lawu
บรรดาผู้ที่เรียกปู่ว่า คนบ้า
ต่างเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของงานของปู่
ชายชราชาวชวาผู้ชาญฉลาดคนนี้
และผู้คนจำนวนมากขึ้นก็เริ่มตระหนัก
ถึงความสำคัญของป่าในภาพรวม
❍
❍
ในกาลครั้งหนึ่ง
การขาดฝนในพื้นที่ที่ปลูกต้นไม้ที่นี่
การเก็บเกี่ยวทำได้เพียงครั้งเดียวในรอบหนึ่งปี
แต่ตอนนี้มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์
ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวมากถึง 2-3 ครั้งต่อปี
“ ผมหวังว่า ผู้คนที่นี่จะมีชีวิตที่เจริญรุ่งเรือง
และอยู่กันอย่างมีความสุข
และอย่าเผาป่าซ้ำแล้วซ้ำเล่า ”
Sadiman กล่าวเสริมพร้อมแววตาที่เป็นประกาย
เรียบเรียง/ที่มา
https://reut.rs/3tSYm5t
https://bit.ly/2Qoqv63
หมายเหตุ
เมืองไทยมี
คนบ้าปลูกป่า
แต่ท่านเลือกปลูกตามริมถนน ไหล่ทาง ที่หลวง
แต่คิดเป็นต้นไม้ได้มากกว่า 3 ล้านต้น
ร.ต.ต.วิชัย สุริยุทธ อดีตนายตำรวจ
สภ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ หรือที่ใครหลายๆ คน
ให้ฉายา ดาบวิชัย คนบ้าปลูกต้นไม้ 3 ล้านต้น
ไทรย้อย ชื่อสามัญ Golden Fig,
Weeping Fig, Weeping or Java Fig, Weeping Chinese Bonyan
Benjamin Tree Benjamin's fig Ficus tree
ไทรย้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus benjamina L.
จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
สมุนไพรไทรย้อย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า
ไทรพัน (ลำปาง) ไทร (นครศรีธรรมราช)
ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์)
ไฮ (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ)
ไทรย้อยใบแหลม (กรุงเทพฯ)
จาเรย (เขมร) ไซรย้อย เป็นต้น
ข้อควรทราบ : ต้นไทรย้อยใบแหลม
เป็นพันธุ์ไม้พระราชทาน
เพื่อปลูกเป็นไม้มงคลประจำกรุงเทพฯ
ลักษณะของไทรย้อย
ต้นไทรย้อย มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย อินเดีย และภูมิภาคมาเลเซีย
จัดเป็นไม้ยืนต้นหรือพุ่มไม้ผลัดใบขนาดกลาง
ที่มีความสูงได้ประมาณ 5-15 เมตร
ลำต้นแตกเป็นพุ่มหนาทึบ
และแผ่กิ่งก้านสาขาทิ้งใบห้อยย้อยลง
เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง
มีลำต้นที่สูงใหญ่
ตามลำต้นจะมีรากอากาศแตกย้อยลง
สู่พื้นดินเป็นจำนวนมากดูสวยงาม
รากอากาศเป็นรากขนาดเล็ก เป็นเส้นสีน้ำตาล
ลักษณะรากกลมยาวเหมือนเส้นลวดย้อยลงมาจากต้น
รากอากาศที่มีขนาดใหญ่
จะมีเนื้อไม้ด้วย มีรสจืดและฝาด
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำ
เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า
ชอบดินร่วนซุย ต้องการน้ำและความชุ่มชื้น
ในระดับปานกลาง
ไทรย้อยมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง
ในประเทศเขตร้อน พบได้อินเดีย เนปาล
ปากีสถาน จีนตอนใต้ พม่า
ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย
ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ
โดยมักขึ้นกระจายในป่าดิบแล้ง
ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา
และบางครั้งอาจพบได้ตามเขาหินปูน
จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,300 เมตร
©
ต้นไทรย้อย
❍
ต้นกร่าง
❍
❍
❍
กร่าง ชื่อสามัญ Banyan tree,
Bar, East Indian Fig
กร่าง ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus benghalensis L.
(มักเขียนผิดเป็น Ficus bengalensis L.
จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
สมุนไพรกร่าง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า นิโครธ หรือ ไทรนิโครธ (กรุงเทพฯ)
ภาษาสันสกฤตเรียกว่า บันยัน (Banyan)
ในภาษาฮินดูเรียกว่า บาร์คาด (Bargad)
ส่วน กร่าง เป็นชื่อเรียกของคนภาคกลางทั่วไป
(ส่วนในวิกิพีเดียใช้ชื่อสมุนไพรชนิดนี้ว่า ไกร)
ลักษณะของต้นกร่าง
ต้นกร่าง หรือ ต้นนิโครธ เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา และปากีสถาน
และได้แพร่กระจายพันธุ์ไปทั่วใน
แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่
มีความสูงของต้นประมาณ 10-30 เมตร
ลำต้นตรงขึ้นเป็นพูพอน แตกกิ่งก้านหนาทึบ
ลักษณะเป็นเรือนยอดแผ่กว้างปลายกิ่งลู่ลง
เปลือกต้นเรียบเกลี้ยง ลำต้นและกิ่ง
มีรากอากาศห้อยย้อยลงมามากมาย
และเมื่อหยั่งถึงดินแล้วจะทำให้เกิดเป็นหลืบ
สลับซับซ้อน เป็นฉากเป็นห้อง
หรือเป็นลำต้นต่อไปได้อีก
ทุกส่วนของลำต้นมียางสีขาว
กิ่งอ่อนมีขนนุ่มอยู่หนาแน่น
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
หรือโดยวิธีทางธรรมชาติที่นกหรือค้างคาว
จะกินผลแล้วถ่ายมูลที่มีเมล็ดติดอยู่ไปยังที่ต่าง ๆ
จะขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ
หรือการตอนกิ่งก็ทำได้เช่นกัน
โดยสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด
ที่ค่อนข้างมีความชุ่มชื้น
©
ต้นกร่าง
เรื่องเล่าไร้สาระ
ต้นไทร กับ ต้นกร่าง ถ้าอยู่ในป่าไม่เป็นไร
แต่ถ้าอยู่ในเมือง อยู่บนดาดฟ้าบ้านคน จะมีปัญหา
เพราะรากชอนไชไปไกลมาก จนเหลือเชื่อ
สามารถทำลายพื้นผิวปูนบนดาดฟ้า
ทำให้น้ำรั่วซึม หรือ แผ่นพื้นแตกได้
ขณะเดียวกันรากที่มีจำนวนมาก
คือ ตัวการที่นำไอน้ำ/น้ำจากใต้ดิน ขึ้นมาด้านบน
ทำให้พื้นที่โดยรอบรากต้นไทร ต้นกร่าง จะชุ่มชื้น
เพราะมีละอองไอน้ำที่ต้นไม้คายน้ำออกมา
เป็นประโยชน์กับพืชที่อยู่ใกล้เคียงเช่นกัน
การปลูกต้นไทร ต้นกร่างมีข้อดีอีกอย่าง
คือ เมล็ดที่งอกออกมาเป็นอาหารนก
นกกินแล้วถ่าย ก็จะกระจายพันธุ์ไปได้เร็วมาก
เป็นผลให้ต้นไม้อื่นมาขอเติบโตบ้าง
จากการนำมาของนกและสัตว์ต่าง ๆ
ทำให้พื้นที่ป่าขยายตัวได้เร็วกว่าเดิมมาก
แต่ในพื้นที่อินโดนีเซียที่เป็นเกาะ มีทะเลล้อมรอบ
จึงมีไอน้ำจากพื้นที่โดยรอบจำนวนมาก
ถ้ามีป่าชุ่มชื้นเพียงพอก็สามารถทำให้ฝนตกได้ง่าย
แบบภาคใต้ด้ามขวานของไทยที่ติดทะเลสองด้าน
มีป่าไม้จำนวนหนึ่งที่ทำให้ที่นี่มี ฝนแปด แดดสี่
ลองฝนไม่ตกสักอาทิตย์สองอาทิตย์
ชาวบ้านก็เริ่มบ่นว่า แล้งแล้ว
ต้นไม้ทั่วไปจะเก็บกักน้ำได้ราว 1 ปี๊บ(20 ลิตร)
ถ้าต้นไม้สัก 1.25 ล้านต้นก็ราว 2.5 ล้านลิตร
ปริมาตรน้ำเท่ากับสระว่ายน้ำในกีฬา
Olympic Swimming Pools
ถ้าไม่มีต้นไม้ หรือ เขาหัวโล้น
ลองจินตนาการถึงน้ำที่ไหลบ่าลงมาได้
พิ้นทึ่ปู่ Sadiman ปลูกป่า 1,542 ไร่
ประมาณต้นไม้ 6,000 ต้น/ 2.5 ไร่(1 เอเคอร์)
(ป่าแถบเมืองเหนือแคนาดา 4,000 ต้น)
ราว ๆ 3,700,800 ต้นกักน้ำได้เฉลี่ยต้นละ 5 ลิตร
ถ้ารวมวัชชพืชที่เหมือนผ้าขี้ริ้วซับน้ำไว้
จะได้ราว ๆ 18,504,000 ลิตร
การปลูกพืชเศรษฐกิจ
สวนยางพารา 44 ต้น/ไร่
มะพร้าว/ปาล์มน้ำมัน 22 ต้น/ไร่
เพราะเป็นพืชหัวร้อน ตีนเย็น อย่างแรง
ยูคาลิปตัส 400 ต้น/ไร่ แล้วตัดสางขาย
❍
❍
ชายชราชาวชวาผู้ปลูกป่า 1,542 ไร่ในเวลา 24 ปี
Indonesian eco-warrior
turns arid hills green
❍
เมื่อเพื่อนชาวบ้านมองว่า
Sadiman เป็นบ้าไปแล้ว
แต่ Sadiman คือ นักรบเชิงนิเวศชาวอินโดนีเซีย
ได้เปลี่ยนแปลงเนินเขาที่แห้งแล้งเป็นป่า
หลังจากพยายามอย่างยาวนานถึง 24 ปี
ทำให้มีแหล่งน้ำในพื้นที่เดิม
ที่เคยเป็นภูเขาที่แห้งแล้ง
ตั้งแต่ปี 1996
Sadiman ชาวนาในหมู่บ้าน Dali
ในเขตปกครอง Wonogiri ของ
Central Java ประเทศอินโดนีเซีย
ท่านได้กระตุ้นให้ชาวบ้านปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น
บน Gendol Hill ที่อยู่ใกล้เคียง
เพื่อพยายามลดวิกฤตน้ำที่รุนแรง
เพราะน้ำป่าเคยพัดถล่มหมู่บ้าน
โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งแบบฝนหลงฤดู
เนินเขา Lawu อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนของ
จังหวัดชวากลางและตะวันออก
ภูเขาถูกตัดไม้ทำลายป่าอย่างรุนแรง
ผลจากการตัดไม้เป็นจำนวนมาก
ทำให้เกิดไฟป่าหลายครั้ง
และน้ำท่วมถล่มบ้านเรือนหลายครั้ง
ในช่วงทศวรรษที่ 1960 ถึง 1980
การตัดไม้ทำลายป่าอย่างรุนแรง
ทำให้แม่น้ำ Gendol ซึ่งเคยเป็นแหล่งน้ำ
เพียงแหล่งเดียวของชาวบ้าน
หมู่บ้าน Geneng แห้งแล้งอย่างรวดเร็ว
ทำให้ชาวบ้านในท้องถิ่นตกอยู่ใน
ภาวะวิกฤตขาดน้ำที่รุนแรงกินเวลานานหลายปี
ในการให้สัมภาษณ์ Sadiman เมื่อปี 2015
" ความคิดที่จะฟื้นฟูเนินเขาเป็นครั้งแรก
เมื่อเริ่มกรีดยางจากต้นยางพาราบนเนินเขา
ผมพบว่าต้นยางหลายต้น
ไม่ได้ผลิตน้ำยางอีกต่อไป
จากนั้นผมก็ตระหนักว่าวิกฤตน้ำมากเกินไป
แม้แต่ลำต้นของต้นไม้ก็แห้งไปแล้ว ”
(ยางพารา เป็นพืชหัวร้อนตีนเย็น
ใบต้องการแดดมาก รากต้องการน้ำมาก)
คุณปู่ หรือที่เรียกกันด้วยความรักว่า mbah
วัย 69 ปี ยังทำงานอย่างไม่ลดละ
เพื่อปลูกต้นไม้บนเนินเขา เขตพื้นที่ชวาตอนกลาง
หลังจากพื้นที่นี้เคยเกิดเหตุเพลิงไหม้
ทำลายพื้นที่เพาะปลูก
จนเกือบทำให้แม่น้ำและทะเลสาบ
แทบเหือดแห้งเป็นที่ว่างเปล่าไปหมด
“ ผมคิดในใจว่า
ถ้าผมไม่ปลูกต้นไทร ต้นกร่าง
พื้นที่นี้ก็จะแห้งแล้งอย่างรุนแรง
จากประสบการณ์ของผม ต้นไทร และ ต้นกร่าง
สามารถกักเก็บน้ำได้จำนวนมาก ”
Sadiman (ชื่อโหลในอินโดนีเซีย) ให้สัมภาษณ์
ขณะที่สวมหมวกทหาร/เสื้อซาฟารีชาวบ้านทั่วไป
รากที่ยาวและแผ่กว้างของต้นไทรและต้นกร่าง
อย่างน้อย 11,000 ต้น ในพื้นที่มากกว่า
250 เฮกตาร์ (617 เอเคอร์)(1,542.5 ไร่)
2.5 ตร.กม (625 ไร่ = 1 ตร.กม.)
ช่วยกักเก็บน้ำใต้ดินและป้องกัน
การพังทลายของพื้นดินด้านบนได้
❍
ความพยายามปลูกป่าอย่างตั้งใจที่ยาวนาน
ทำให้น้ำตกได้ไหลรินอีกครั้ง
ในแผ่นดินแห้งแล้งและไร้น้ำในอดีต
และได้ส่งน้ำตามท่อน้ำไปยังบ้านและใช้ในฟาร์ม
(แถวรัตภูมิ จขกท.เห็นประปาชาวบ้าน
ต่อน้ำจากลำธาร/น้ำตกบนภูเขามาเป็นน้ำใช้
แบบต้องปล่อยน้ำทิ้งไม่ปิดก๊อกเพราะก๊อกจะพัง
และไม่มีมิเตอร์ประปาแต่อย่างใด)
แม้ว่าในตอนแรก ๆ
มีชาวบ้านเพียงไม่กี่คนที่ชื่นชมผลงานของปู่
“ ผู้คนต่างเยาะเย้ยผม
ที่ผมนำต้นไทรมาปลูกในหมู่บ้าน
เพราะชาวบ้านรู้สึกไม่สบายใจในเรื่องนี้
เพราะเชื่อว่า มีผีอยู่ในต้นไม้เหล่านี้ "
Sadiman ให้สัมภาษณ์
" บางคนถึงกับคิดว่า ปู่เป็นบ้าไปแล้ว
เพราะปู่เอาแพะที่เลี้ยง
ไปแลกกับต้นไทร/ต้นกร่าง
ในอดีต ทุกคนต่างคิดว่า ปู่เป็นบ้าไปแล้ว
แต่ตอนนี้ลองดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ปู่ทำให้มีน้ำสะอาดที่เพียงพอกับ
ความต้องการของชาวบ้านในหลาย ๆ หมู่บ้าน "
Warto ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าว
Sadiman ได้เงินในการปลูกป่า
จากการขายพืชเพาะชำ
เช่น กานพลู และต้นขนุน
ซึ่งปู่สามารถขาย
หรือแลกเปลี่ยนกับกล้าพืชได้
การเสียสละของ Sadiman นั้นน่าชื่นชมมาก
จากการเป็นเกษตรกรที่เรียบง่าย
ทำให้ปู่ต้องดิ้นรนเพื่อให้ได้เงินมาให้มากพอ
อย่างไรก็ตามสภาพความเป็นอยู่ที่ลำบากของปู่
ทำให้ปู่หาเงินได้ยากมาก
ตอนซื้อต้นกล้ามาปลูก
ต้นไทรต้นหนึ่งอาจมีราคาตั้งแต่ 50,000 ถึง 10,000 รูเปียห์
ซึ่งเท่ากับ 2.75 - 5.50 ปอนด์
หรือ 3.70 - 7.40 เหรียญหรือ 3.15 - 6.30 ยูโร
ซึ่งเป็นเงินจำนวนมากสำหรับปู่
ปู่จึงต้องเพาะต้นกล้ากานพลูในที่ดินของปู่
แล้วนำกานพลู 10 ต้นแลกกับต้นไทร 1 ต้น
แน่นอนว่าการอุทิศตนของ Sadiman
นั้นเหนือกว่าคำถาม
เพราะปู่เคยถูกเรียกว่า คนบ้า
หลายครั้งต้นกล้าของปู่
ถูกคนที่ขาดความรับผิดชอบดึงออกจากพื้นดิน
แต่ปู่ไม่เคยถอดใจ/ล้มเลิกการปลูกต้นไม้
ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา
Sadiman ยังคงปลูกต้นไม้และดูแลพวกมัน
เพื่อให้แน่ใจว่าพวกมันเติบโตอย่างแข็งแรง
ต้องขอบคุณการทำงานหนักอย่างไม่ลดละของปู่
ป่าไม้จึงเริ่มฟื้นตัวและเจริญงอกงามอย่างแน่นอน
มีน้ำตกและลำธารมากขึ้นเรื่อย ๆ
เป็นแหล่งน้ำสำหรับหมู่บ้านที่เชิงเขา Lawu
บรรดาผู้ที่เรียกปู่ว่า คนบ้า
ต่างเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของงานของปู่
ชายชราชาวชวาผู้ชาญฉลาดคนนี้
และผู้คนจำนวนมากขึ้นก็เริ่มตระหนัก
ถึงความสำคัญของป่าในภาพรวม
❍
ในกาลครั้งหนึ่ง
การขาดฝนในพื้นที่ที่ปลูกต้นไม้ที่นี่
การเก็บเกี่ยวทำได้เพียงครั้งเดียวในรอบหนึ่งปี
แต่ตอนนี้มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์
ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวมากถึง 2-3 ครั้งต่อปี
“ ผมหวังว่า ผู้คนที่นี่จะมีชีวิตที่เจริญรุ่งเรือง
และอยู่กันอย่างมีความสุข
และอย่าเผาป่าซ้ำแล้วซ้ำเล่า ”
Sadiman กล่าวเสริมพร้อมแววตาที่เป็นประกาย
เรียบเรียง/ที่มา
https://reut.rs/3tSYm5t
https://bit.ly/2Qoqv63
❍
❍
❍
หมายเหตุ
เมืองไทยมี คนบ้าปลูกป่า
แต่ท่านเลือกปลูกตามริมถนน ไหล่ทาง ที่หลวง
แต่คิดเป็นต้นไม้ได้มากกว่า 3 ล้านต้น
ร.ต.ต.วิชัย สุริยุทธ อดีตนายตำรวจ
สภ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ หรือที่ใครหลายๆ คน
ให้ฉายา ดาบวิชัย คนบ้าปลูกต้นไม้ 3 ล้านต้น
❍
❍
ต้นไทรยัอย
❍
❍
❍
ไทรย้อย ชื่อสามัญ Golden Fig,
Weeping Fig, Weeping or Java Fig, Weeping Chinese Bonyan
Benjamin Tree Benjamin's fig Ficus tree
ไทรย้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus benjamina L.
จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
สมุนไพรไทรย้อย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า
ไทรพัน (ลำปาง) ไทร (นครศรีธรรมราช)
ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์)
ไฮ (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ)
ไทรย้อยใบแหลม (กรุงเทพฯ)
จาเรย (เขมร) ไซรย้อย เป็นต้น
ข้อควรทราบ : ต้นไทรย้อยใบแหลม
เป็นพันธุ์ไม้พระราชทาน
เพื่อปลูกเป็นไม้มงคลประจำกรุงเทพฯ
ลักษณะของไทรย้อย
ต้นไทรย้อย มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย อินเดีย และภูมิภาคมาเลเซีย
จัดเป็นไม้ยืนต้นหรือพุ่มไม้ผลัดใบขนาดกลาง
ที่มีความสูงได้ประมาณ 5-15 เมตร
ลำต้นแตกเป็นพุ่มหนาทึบ
และแผ่กิ่งก้านสาขาทิ้งใบห้อยย้อยลง
เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง
มีลำต้นที่สูงใหญ่
ตามลำต้นจะมีรากอากาศแตกย้อยลง
สู่พื้นดินเป็นจำนวนมากดูสวยงาม
รากอากาศเป็นรากขนาดเล็ก เป็นเส้นสีน้ำตาล
ลักษณะรากกลมยาวเหมือนเส้นลวดย้อยลงมาจากต้น
รากอากาศที่มีขนาดใหญ่
จะมีเนื้อไม้ด้วย มีรสจืดและฝาด
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำ
เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า
ชอบดินร่วนซุย ต้องการน้ำและความชุ่มชื้น
ในระดับปานกลาง
ไทรย้อยมีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง
ในประเทศเขตร้อน พบได้อินเดีย เนปาล
ปากีสถาน จีนตอนใต้ พม่า
ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย
ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ
โดยมักขึ้นกระจายในป่าดิบแล้ง
ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา
และบางครั้งอาจพบได้ตามเขาหินปูน
จนถึงระดับความสูงประมาณ 1,300 เมตร
© ต้นไทรย้อย
❍
ต้นกร่าง
❍
❍
❍
กร่าง ชื่อสามัญ Banyan tree,
Bar, East Indian Fig
กร่าง ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus benghalensis L.
(มักเขียนผิดเป็น Ficus bengalensis L.
จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
สมุนไพรกร่าง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า นิโครธ หรือ ไทรนิโครธ (กรุงเทพฯ)
ภาษาสันสกฤตเรียกว่า บันยัน (Banyan)
ในภาษาฮินดูเรียกว่า บาร์คาด (Bargad)
ส่วน กร่าง เป็นชื่อเรียกของคนภาคกลางทั่วไป
(ส่วนในวิกิพีเดียใช้ชื่อสมุนไพรชนิดนี้ว่า ไกร)
ลักษณะของต้นกร่าง
ต้นกร่าง หรือ ต้นนิโครธ เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา และปากีสถาน
และได้แพร่กระจายพันธุ์ไปทั่วใน
แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่
มีความสูงของต้นประมาณ 10-30 เมตร
ลำต้นตรงขึ้นเป็นพูพอน แตกกิ่งก้านหนาทึบ
ลักษณะเป็นเรือนยอดแผ่กว้างปลายกิ่งลู่ลง
เปลือกต้นเรียบเกลี้ยง ลำต้นและกิ่ง
มีรากอากาศห้อยย้อยลงมามากมาย
และเมื่อหยั่งถึงดินแล้วจะทำให้เกิดเป็นหลืบ
สลับซับซ้อน เป็นฉากเป็นห้อง
หรือเป็นลำต้นต่อไปได้อีก
ทุกส่วนของลำต้นมียางสีขาว
กิ่งอ่อนมีขนนุ่มอยู่หนาแน่น
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
หรือโดยวิธีทางธรรมชาติที่นกหรือค้างคาว
จะกินผลแล้วถ่ายมูลที่มีเมล็ดติดอยู่ไปยังที่ต่าง ๆ
จะขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ
หรือการตอนกิ่งก็ทำได้เช่นกัน
โดยสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด
ที่ค่อนข้างมีความชุ่มชื้น
© ต้นกร่าง
เรื่องเล่าไร้สาระ
ต้นไทร กับ ต้นกร่าง ถ้าอยู่ในป่าไม่เป็นไร
แต่ถ้าอยู่ในเมือง อยู่บนดาดฟ้าบ้านคน จะมีปัญหา
เพราะรากชอนไชไปไกลมาก จนเหลือเชื่อ
สามารถทำลายพื้นผิวปูนบนดาดฟ้า
ทำให้น้ำรั่วซึม หรือ แผ่นพื้นแตกได้
ขณะเดียวกันรากที่มีจำนวนมาก
คือ ตัวการที่นำไอน้ำ/น้ำจากใต้ดิน ขึ้นมาด้านบน
ทำให้พื้นที่โดยรอบรากต้นไทร ต้นกร่าง จะชุ่มชื้น
เพราะมีละอองไอน้ำที่ต้นไม้คายน้ำออกมา
เป็นประโยชน์กับพืชที่อยู่ใกล้เคียงเช่นกัน
การปลูกต้นไทร ต้นกร่างมีข้อดีอีกอย่าง
คือ เมล็ดที่งอกออกมาเป็นอาหารนก
นกกินแล้วถ่าย ก็จะกระจายพันธุ์ไปได้เร็วมาก
เป็นผลให้ต้นไม้อื่นมาขอเติบโตบ้าง
จากการนำมาของนกและสัตว์ต่าง ๆ
ทำให้พื้นที่ป่าขยายตัวได้เร็วกว่าเดิมมาก
แต่ในพื้นที่อินโดนีเซียที่เป็นเกาะ มีทะเลล้อมรอบ
จึงมีไอน้ำจากพื้นที่โดยรอบจำนวนมาก
ถ้ามีป่าชุ่มชื้นเพียงพอก็สามารถทำให้ฝนตกได้ง่าย
แบบภาคใต้ด้ามขวานของไทยที่ติดทะเลสองด้าน
มีป่าไม้จำนวนหนึ่งที่ทำให้ที่นี่มี ฝนแปด แดดสี่
ลองฝนไม่ตกสักอาทิตย์สองอาทิตย์
ชาวบ้านก็เริ่มบ่นว่า แล้งแล้ว
ต้นไม้ทั่วไปจะเก็บกักน้ำได้ราว 1 ปี๊บ(20 ลิตร)
ถ้าต้นไม้สัก 1.25 ล้านต้นก็ราว 2.5 ล้านลิตร
ปริมาตรน้ำเท่ากับสระว่ายน้ำในกีฬา
Olympic Swimming Pools
ถ้าไม่มีต้นไม้ หรือ เขาหัวโล้น
ลองจินตนาการถึงน้ำที่ไหลบ่าลงมาได้
พิ้นทึ่ปู่ Sadiman ปลูกป่า 1,542 ไร่
ประมาณต้นไม้ 6,000 ต้น/ 2.5 ไร่(1 เอเคอร์)
(ป่าแถบเมืองเหนือแคนาดา 4,000 ต้น)
ราว ๆ 3,700,800 ต้นกักน้ำได้เฉลี่ยต้นละ 5 ลิตร
ถ้ารวมวัชชพืชที่เหมือนผ้าขี้ริ้วซับน้ำไว้
จะได้ราว ๆ 18,504,000 ลิตร
การปลูกพืชเศรษฐกิจ
สวนยางพารา 44 ต้น/ไร่
มะพร้าว/ปาล์มน้ำมัน 22 ต้น/ไร่
เพราะเป็นพืชหัวร้อน ตีนเย็น อย่างแรง
ยูคาลิปตัส 400 ต้น/ไร่ แล้วตัดสางขาย
❍