....ตามที่ชื่อเรื่องว่า "ปัญหาการทุจริตในการปลูกป่า" นั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น จนกลายเป็นเรื่องปกติของสังคมไทย แน่นอนว่าเวลาเราไปสอบถามจากเจ้าหน้าที่ หรือผู้รับผิดชอบโครงการ คงจะได้คำตอบว่า ได้ดำเนินการปลูกป่าได้ดำเนินการไปโดยถุกต้องตามกฎหมาย ซึ่งแน่นอว่าไม่เป็นความจริง แล้วเราจะรู้ได้ว่ามีปัญหาการทุจริตนั้นอย่างไร กระบวนการทุจริตเรื่องการปลูกป่า หรือโครงการปลูกป่าของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งโดยหลักแล้วจะมีอยู่ ๓ กรมด้วยกัน คือ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติฯ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ส่วนการทุจริตจะเริ่มนั้น เมื่อได้รับงบประมาณมาจากหน่วยงานต้นสังกัด ก็อาจจะมีการกันเงินไว้สำหรับเจ้าหน้าที่สวนหนึ่ง สำหรับไปราชการ เรียกว่านำเงินหลวงไปกอง ให้ส่วน หรือกองนั้นใช้ (ในทางปฏิบัติเงินดังกล่าวก็เหมือนเงินสวนตัวของผู้อำนวยการ หรือหัวหน้าส่วนก็ไม่ปาน ถึงแม้ว่าจะได้ใช้เพื่อประโยชน์ในการไปราชการก็ตาม) เงินจำนวนนี้ประมาณ ๒-๕ เปอร์เซ็นต์ของงบปลูกป่า...(บางแห่งอาาจจะ ๑๐ เปอร์เซ็นต์) จากนั้น ก็นำงบประมาณที่ได้ไปจัดจ้างลูกจ้าง หรือพนักงานจ้างเหมาบริการ หรือลุกจ้างชั่วคราวแล้วแต่กรณี มาทำการกรอกถุงเพื่อใช้เพาะพันธ์ไม้ กระบวนการทุจริตในส่วนนี้ จะทำโดยการสวมชื่อลูกจ้างผี เข้าไปรวมกับลูกจ้างที่ปฏิบัติงานจริง หากมีการร้องเรียนเกิดขึ้น ก็จะตั้งข้าราชการ (ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว จะเป็นพวกเดียวกันและเป็นเพื่อนกันมาตรวจสอบ) คณะกรรมการชุดนี้เรียกว่า "คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ฯลฯ" ตาม พรบ.ระเบียบข้าราชการฯ ๒๕๕๑ ส่วนรูปแบบอื่นๆ ก็มีให้ลูกจ้างทำงาน ๓ เดือน เบิกเงิน ๖ เดือน โดยการลงลายมือชื่อไว้ล่วงหน้า หรือหลายครั้ง อาจปลอมลายมือชื่อของชาวบ้านที่มาสมัครงานเอง ดังนั้น หากต้องสมัครงานราชการ สิ่งที่ต้องทำ คือ ๑.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ตัองขีดฆ่าทุกครั้ง ๒.ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ๓.สำเนาฉบับนั้นเอาไว้เพื่อทำอะไร และ ๔.ลงวันที่ เดือน ปี พ.ศ.ที่ยื่นสมัครไว้ (ตัวใหญ่ๆ) ...แสดงว่า เงินที่นำไปเพาะชำนั้นก็หายไปแล้วในส่วนที่ ๒. (ส่วนที่ ๑ กันเงินไว้ใช้ส่วนกลาง ส่วนที่ ๒ หาเงินโดยทุจริต)
ต่อมาก็เป็นการทุจริตในเรื่องการพื้นที่ดำเนินการ คือ ในการปลูกป่าจะต้องมีพื้นที่แปลงปลูก สมมติว่า ๑๐๐ ไร่ (สมมติว่าต้องใช้กล้าไม้ ๑๐๐,๐๐๐ ต้น) ปัญหาการทุจริตส่วนนี้ จะประกอบด้วย ๑.ไม่มีการรังวัดพื้นที่เพื่อดำเนินการจริง แต่เป็นการเขียนแผนที่ในแผนที่ทหาร (วาดแผนที่โดยการคาดคะเน) ซึ่งผลคือทำให้พื้นที่ปลูกกับพื้นที่จริงไม่ตรงกัน และได้จำนวนเนื้อที่น้อยกว่าที่เป็นจริง จากนั้นก็ปลูกพื้นที่จริงๆ ซึ่งหลายปีที่ผ่านมาปรากว่าเคยปรากฎว่า มีการปลูกเนื้อที่จริงประมาณ ๑๐-๒๐ ไร่เท่านั้น (แต่พื้นที่ในโครงการ ๑๐๐ ไร่) และในทางปฏิบัติจะมีบางส่วนเป็นพื้นที่ป่า มีสภาพอุดมสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้ว ทำให้เห็นว่าพื้นที่จริงที่ต้องปลูกอาจมีพื้นที่เพียง ๑๐-๒๐ ไร่ แต่ในการจัดทำแผนที่กลับวาดทับในพื้นที่ที่สภาพป่าอุดมสมบูรณ์...(ส่วนนี้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน) จะพบว่าตรวจสอบเพียงเอกสารที่เกี่ยวข้องเท่านั้น โดยไม่ตรวจสอบเข้าไปถึงข้อเท็จจริงและสภาพพื้นที่จริง ทำให้เงินหลวงสูญหายระหว่างทางเป็นจำนวนมาก ...ปัญหาทำนองนี้ หากมีหนังสือให้ราษฎรทราบ และทำประชาคมจะทำให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการตรวจสอบมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นนักเคลื่อนไหวในชุมชน แกนนำ
แล้วต้นไม้ ๑๐๐,๐๐๐ ต้น ซึ่งปลูกไป ๑๐-๒๐ ไร่ (สมมติว่าปลูกไป ๒๐,๐๐๐ ต้น) คงเหลือประมาณ ๘๐,๐๐๐ ต้น จึงกลายเป็นช่องทางการทุจริต (ในทางปฏิบัติท่านจะได้รับคำชี้แจงว่า ใช้ในการเพาะชำกล้าไม้ใหญ่ต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เป็นความจริง เพราะทุกปีงบประมาณ จะมีการเพาะกล้าไม้ใหม่อีก ๑๐๐,๐๐๐ ต้น เพื่อเตรียมปลูกซ่อมในปีงบประมาณต่อไปอยู่แล้ว)...ในข้อเท็จจริงนั้น กล้าไม้จำนวน ๘๐,๐๐๐ ต้น จะถูกขโมยไปโดยผู้มีอำนาจ เช่น ขายต้นละ ๔-๕ บาท ให้กับหัวหน้าโครงการปลูกป่า ...กระบวนการนี้ จะพบหรือสังเกตได้ จากหน่วยงานภาคสนาม เช่น หน่วยจัดการต้นน้ำ ศูนย์เพาะชำหญ้าแฝก ศูนย์เพาะพันธ์กล้าไม้ ฯลฯ ถ้าหากปรากฎว่ามีการเคลื่อนย้ายกล้าไม้ออกนอกพื้นที่รับผิดชอบ และไม่ใช่คนในพื้นที่ นั้นและเป็นพยานหลักฐานสำคัญว่า มีการทุจริตกล้าไม้แล้ว
ประการต่อไป คือการจัดจ้างซึ่งเป็นเครือญาติของตนเอง โดยไม่มีการประกาศรับสมัครบุคคล และไม่มีคุณสมบัติซึ่งใช้เป็นหลักเกณฑ์ในรับสมัครอย่างแน่นอน ไมประชาสัมพันธ์ให้ทราบ อย่างน้อยๆ ๑๕ วันก่อนการเปิดรับสมัครงาน และระยะเวลารับสมัครงานอีก ๑๕ วัน (รวมอย่างน้อย ๓๐ วัน) ให้สันนิษฐานไว้ว่า ใช้เส้นสาย พรรคพวกตนเอง เพื่อใช้ตรวจสอบข่าวสารจากชาวบ้านในพื้นที่ และในทางกลับกันก็เป็นการทุจริต ที่พบเป็นประจำเป็นเรื่องของการ ให้ลูกจ้างตนเองมาฝึกงาน (ไม่มีความรู้ในการทำงาน แต่ได้รับทำงาน เพื่อให้ได้ค่าจ้าง อ้างว่าเป็นการช่วยเหลือคนอื่น ซึ่งในทางปฏิบัติไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเป็นการง่ายต่อการทุจริต) แล้วจะนำมาเล่าสู่กันฟังต่อไป....
ปัญหาการทุจริตในการปลูกป่า
ต่อมาก็เป็นการทุจริตในเรื่องการพื้นที่ดำเนินการ คือ ในการปลูกป่าจะต้องมีพื้นที่แปลงปลูก สมมติว่า ๑๐๐ ไร่ (สมมติว่าต้องใช้กล้าไม้ ๑๐๐,๐๐๐ ต้น) ปัญหาการทุจริตส่วนนี้ จะประกอบด้วย ๑.ไม่มีการรังวัดพื้นที่เพื่อดำเนินการจริง แต่เป็นการเขียนแผนที่ในแผนที่ทหาร (วาดแผนที่โดยการคาดคะเน) ซึ่งผลคือทำให้พื้นที่ปลูกกับพื้นที่จริงไม่ตรงกัน และได้จำนวนเนื้อที่น้อยกว่าที่เป็นจริง จากนั้นก็ปลูกพื้นที่จริงๆ ซึ่งหลายปีที่ผ่านมาปรากว่าเคยปรากฎว่า มีการปลูกเนื้อที่จริงประมาณ ๑๐-๒๐ ไร่เท่านั้น (แต่พื้นที่ในโครงการ ๑๐๐ ไร่) และในทางปฏิบัติจะมีบางส่วนเป็นพื้นที่ป่า มีสภาพอุดมสมบูรณ์อยู่ก่อนแล้ว ทำให้เห็นว่าพื้นที่จริงที่ต้องปลูกอาจมีพื้นที่เพียง ๑๐-๒๐ ไร่ แต่ในการจัดทำแผนที่กลับวาดทับในพื้นที่ที่สภาพป่าอุดมสมบูรณ์...(ส่วนนี้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน) จะพบว่าตรวจสอบเพียงเอกสารที่เกี่ยวข้องเท่านั้น โดยไม่ตรวจสอบเข้าไปถึงข้อเท็จจริงและสภาพพื้นที่จริง ทำให้เงินหลวงสูญหายระหว่างทางเป็นจำนวนมาก ...ปัญหาทำนองนี้ หากมีหนังสือให้ราษฎรทราบ และทำประชาคมจะทำให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการตรวจสอบมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นนักเคลื่อนไหวในชุมชน แกนนำ
แล้วต้นไม้ ๑๐๐,๐๐๐ ต้น ซึ่งปลูกไป ๑๐-๒๐ ไร่ (สมมติว่าปลูกไป ๒๐,๐๐๐ ต้น) คงเหลือประมาณ ๘๐,๐๐๐ ต้น จึงกลายเป็นช่องทางการทุจริต (ในทางปฏิบัติท่านจะได้รับคำชี้แจงว่า ใช้ในการเพาะชำกล้าไม้ใหญ่ต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เป็นความจริง เพราะทุกปีงบประมาณ จะมีการเพาะกล้าไม้ใหม่อีก ๑๐๐,๐๐๐ ต้น เพื่อเตรียมปลูกซ่อมในปีงบประมาณต่อไปอยู่แล้ว)...ในข้อเท็จจริงนั้น กล้าไม้จำนวน ๘๐,๐๐๐ ต้น จะถูกขโมยไปโดยผู้มีอำนาจ เช่น ขายต้นละ ๔-๕ บาท ให้กับหัวหน้าโครงการปลูกป่า ...กระบวนการนี้ จะพบหรือสังเกตได้ จากหน่วยงานภาคสนาม เช่น หน่วยจัดการต้นน้ำ ศูนย์เพาะชำหญ้าแฝก ศูนย์เพาะพันธ์กล้าไม้ ฯลฯ ถ้าหากปรากฎว่ามีการเคลื่อนย้ายกล้าไม้ออกนอกพื้นที่รับผิดชอบ และไม่ใช่คนในพื้นที่ นั้นและเป็นพยานหลักฐานสำคัญว่า มีการทุจริตกล้าไม้แล้ว
ประการต่อไป คือการจัดจ้างซึ่งเป็นเครือญาติของตนเอง โดยไม่มีการประกาศรับสมัครบุคคล และไม่มีคุณสมบัติซึ่งใช้เป็นหลักเกณฑ์ในรับสมัครอย่างแน่นอน ไมประชาสัมพันธ์ให้ทราบ อย่างน้อยๆ ๑๕ วันก่อนการเปิดรับสมัครงาน และระยะเวลารับสมัครงานอีก ๑๕ วัน (รวมอย่างน้อย ๓๐ วัน) ให้สันนิษฐานไว้ว่า ใช้เส้นสาย พรรคพวกตนเอง เพื่อใช้ตรวจสอบข่าวสารจากชาวบ้านในพื้นที่ และในทางกลับกันก็เป็นการทุจริต ที่พบเป็นประจำเป็นเรื่องของการ ให้ลูกจ้างตนเองมาฝึกงาน (ไม่มีความรู้ในการทำงาน แต่ได้รับทำงาน เพื่อให้ได้ค่าจ้าง อ้างว่าเป็นการช่วยเหลือคนอื่น ซึ่งในทางปฏิบัติไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเป็นการง่ายต่อการทุจริต) แล้วจะนำมาเล่าสู่กันฟังต่อไป....