ตอนนี้เรากำลังสนใจศึกษาเรื่องการเลือกซื้อจิวเวลรี่เพราะกำลังจะเลือกซื้อแหวน จึงมีความรู้เล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับการฝังไร้หนาม (invisible setting) เพราะเราชอบรูปแบบการฝังแบบนี้มาก เห็นว่าน่าสนใจจึงอยากเขียนบทความมาแบ่งปันให้กับคนที่กำลังเลือกซื้อจิวเวลรี่ค่ะ ซึ่งความรู้พวกนี้เราก็อ่านจากในเนตและถามจากร้านเพชร ถามจากช่างอัญมณีที่ชำนาญค่ะ
สำหรับแหวนหมั้นหรือแหวนแต่งงานตอนนี้นิยมแบบการฝังอัญมณีไร้หนามเป็นการฝังแบบมองไม่เห็นหนามค่ะ โดยทั่วไปแล้วการฝังอัญมณีมักจะต้องใช้ขอบของตัวเรือนโลหะในการยึดอัญมณีไว้ เช่น การฝังหนามเตยหรือการฝังหุ้ม แต่การฝังไร้หนามเป็นการฝังอัญมณีโดยไม่เหลือขอบโลหะคั่นระหว่างอัญมณีเลย การฝังในรูปแบบนี้ถูกคิดค้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศฝรั่งเศสในปี 1933 โดยบริษัท แวน คลีฟ แอนด์ อาร์เปลส์ หรือที่ถูกเรียกว่า The Mystery Setting คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยการฝังแบบหนามเตยใช่ไหมคะ การฝังไร้หนามจะทำให้เครื่องประดับมีความลึกลับและทำให้คนเห็นแล้วอยากดูใกล้ ๆ
ข้อดีของการฝังแบบไร้หนาม
หนึ่งในข้อดีที่เห็นได้ชัดที่สุดของการฝังไร้หนามคือทำให้อัญมณีเม็ดเล็กดูใหญ่ขึ้น โครงสร้างแบบนี้จะเปิดเผยหน้าอัญมณีทั้งหมดและซ่อนส่วนอื่น ๆ ของเม็ดอัญมณีไว้ในโครงเครื่องประดับ การเลือกฝังแบบไร้หนามจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่จะทำให้อัญมณีเม็ดเล็ก ดูมีราคาแพงขึ้นเมื่ออยู่บนเครื่องประดับ
การฝังแบบไร้หนามเป็นการฝังที่ยากและต้องใช้เทคนิคอย่างมาก ช่างอัญมณีจึงต้องมีความเชี่ยวชาญมากพอที่จะฝังอัญมณีได้พอดีกับโครงเครื่องประดับ เครื่องประดับแบบไร้หนามจึงมีคุณค่าและมีความพิเศษเฉพาะตัว เหมาะสำหรับเครื่องประดับชิ้นพิเศษอย่างเช่น แต่งงาน หรือ แหวนครบรอบแต่งงาน เป็นอย่างยิ่ง
ข้อเสียของการฝังแบบไร้หนาม
เครื่องประดับที่ฝังแบบไร้หนามควรจะได้รับการบำรุงรักษาจากผู้เชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอ เพราะถึงแม้ว่าอัญมณีจะถูกตรึงอยู่กับที่อย่างแน่นหนา ก็มีโอกาสที่มันจะหลวมและหลุดออกมาได้เช่นกัน จึงต้องคอยตรวจเช็คให้แน่ใจว่าอัญมณีทุกเม็ดแนบสนิทเข้ากับที่ของตัวเองอย่างพอดี
ไม่แนะนำให้ใส่เครื่องประดับที่ฝังแบบไร้หนามทำกิจกรรมหนัก ๆ หรือที่ต้องรับแรงกระแทกแรง ๆ ควรถอดเครื่องประดับออกก่อนทุกครั้ง เพราะอัญมณีอาจจะหลุดออกจากตัวเรือนได้ และในการเลือกเครื่องระดับชนิดนี้ควรที่จะมั่นใจว่าเลือกขนาดได้อย่างเหมาะสมแล้ว เพราะการจะปรับขยายหรือลดไซส์เครื่องประดับที่ฝังแบบไร้หนาม โดยเฉพาะพวกแหวนทำได้ยาก เพราะจะต้องปรับโครงที่รองรับอัญมณีใหม่ทั้งหมด
การฝังจิวเวลรี่แบบไร้หนามบนเครื่องประดับ
สำหรับแหวนหมั้นหรือแหวนแต่งงานตอนนี้นิยมแบบการฝังอัญมณีไร้หนามเป็นการฝังแบบมองไม่เห็นหนามค่ะ โดยทั่วไปแล้วการฝังอัญมณีมักจะต้องใช้ขอบของตัวเรือนโลหะในการยึดอัญมณีไว้ เช่น การฝังหนามเตยหรือการฝังหุ้ม แต่การฝังไร้หนามเป็นการฝังอัญมณีโดยไม่เหลือขอบโลหะคั่นระหว่างอัญมณีเลย การฝังในรูปแบบนี้ถูกคิดค้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศฝรั่งเศสในปี 1933 โดยบริษัท แวน คลีฟ แอนด์ อาร์เปลส์ หรือที่ถูกเรียกว่า The Mystery Setting คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยการฝังแบบหนามเตยใช่ไหมคะ การฝังไร้หนามจะทำให้เครื่องประดับมีความลึกลับและทำให้คนเห็นแล้วอยากดูใกล้ ๆ
ข้อดีของการฝังแบบไร้หนาม
หนึ่งในข้อดีที่เห็นได้ชัดที่สุดของการฝังไร้หนามคือทำให้อัญมณีเม็ดเล็กดูใหญ่ขึ้น โครงสร้างแบบนี้จะเปิดเผยหน้าอัญมณีทั้งหมดและซ่อนส่วนอื่น ๆ ของเม็ดอัญมณีไว้ในโครงเครื่องประดับ การเลือกฝังแบบไร้หนามจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่จะทำให้อัญมณีเม็ดเล็ก ดูมีราคาแพงขึ้นเมื่ออยู่บนเครื่องประดับ
การฝังแบบไร้หนามเป็นการฝังที่ยากและต้องใช้เทคนิคอย่างมาก ช่างอัญมณีจึงต้องมีความเชี่ยวชาญมากพอที่จะฝังอัญมณีได้พอดีกับโครงเครื่องประดับ เครื่องประดับแบบไร้หนามจึงมีคุณค่าและมีความพิเศษเฉพาะตัว เหมาะสำหรับเครื่องประดับชิ้นพิเศษอย่างเช่น แต่งงาน หรือ แหวนครบรอบแต่งงาน เป็นอย่างยิ่ง
ข้อเสียของการฝังแบบไร้หนาม
เครื่องประดับที่ฝังแบบไร้หนามควรจะได้รับการบำรุงรักษาจากผู้เชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอ เพราะถึงแม้ว่าอัญมณีจะถูกตรึงอยู่กับที่อย่างแน่นหนา ก็มีโอกาสที่มันจะหลวมและหลุดออกมาได้เช่นกัน จึงต้องคอยตรวจเช็คให้แน่ใจว่าอัญมณีทุกเม็ดแนบสนิทเข้ากับที่ของตัวเองอย่างพอดี
ไม่แนะนำให้ใส่เครื่องประดับที่ฝังแบบไร้หนามทำกิจกรรมหนัก ๆ หรือที่ต้องรับแรงกระแทกแรง ๆ ควรถอดเครื่องประดับออกก่อนทุกครั้ง เพราะอัญมณีอาจจะหลุดออกจากตัวเรือนได้ และในการเลือกเครื่องระดับชนิดนี้ควรที่จะมั่นใจว่าเลือกขนาดได้อย่างเหมาะสมแล้ว เพราะการจะปรับขยายหรือลดไซส์เครื่องประดับที่ฝังแบบไร้หนาม โดยเฉพาะพวกแหวนทำได้ยาก เพราะจะต้องปรับโครงที่รองรับอัญมณีใหม่ทั้งหมด