1. สงครามตีอาณาจักรล้านนาใน พ.ศ. 2306 ปรากฏในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า พม่ากวาดต้อนกษัตริย์เชียงใหม่และชาวเมืองไปอังวะจนหมดเมือง
“เถิงสก 1125 ตัว ปีก่าเม็ด เดือน 11 แรม 8 ค่ำ (1 กันยายน 2306) ม่านได้เชียงใหม่อยู่ได้สองสามวัน ละพูน บ้านสันทะกานแตก ม่านกวาดเอาเจ้าจันตนลูกเจ้าองค์คำและไพร่ไทชาวเชียงใหม่ไปอังวะนับเสี้ยง”
พม่าผนวกเชียงใหม่และล้านนาทั้ง 57 หัวเมืองกลับมาอยู่ภายใต้การปกครองของตนเองโดยตรง โดยแต่งตั้ง “โป่” (bo ဗိုလ်) หรือแม่ทัพพม่านามว่า อภยกามณิ (Abaya Kamani အဘယကါမဏိ) หรือ “โป่อพยะคามนี” เป็นผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่แทน
2.สงครามตีอาณาจักรมณีปุระใน พ.ศ. 2307-2308 พงศาวดารพม่าระบุว่าเมื่อพระเจ้ามังระทรงได้รับชัยชนะแล้ว ทรงกวาดต้อนประชากรในราชธานีของมณีปุระแทบทั้งหมด รวมทั้งผู้หญิงและเด็กกลับไปพม่า
3. สงครามตีอาณาจักรอะระกันใน พ.ศ. 2327 (ค.ศ. 1784) พระเจ้าโบดอพญา (Bodawpaya ဘိုးတော်ဘုရား) ทรงผนวกอะระกันมาอยู่ภายใต้การปกครองของราชสำนักกงบ่องโดยตรง ทรงแต่งตั้งข้าหลวงพม่าจากราชธานีเป็นผู้ปกครอง โดยมีทหาร 10,000 นายไว้รักษาเมือง กองทัพพม่ากวาดต้อนพระราชวงศ์ เสนาบดีข้าราชการ ครอบครัวตระกูลพราหมณ์ รวมจำนวนเชลยศึกทั้งหมด 20,000 หรือ 30,000 คน นอกจากนี้ยังให้ชะลอพระมหามัยมุนีที่เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอะระกันกลับมายังราชธานีอมระปุระของพม่า
4. “ครั้นถึง ณ วัน ๕ ๑๑ฯ ๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ พลทหารแลนายทัพนายกองทั้งปวงก็เข้าในกำแพงเมืองกรุงศรีอยุทธยาได้ เมื่อเข้าในกำแพงได้นั้น พลทหารพม่าทั้งปวงก็เที่ยวเอาไฟเผาบ้านเรือนของพลเมืองแลวัดวาอารามเสียสิ้น แล้วเที่ยวจับพลเมืองราษฎรชายหญิงทั้งปวง แลเที่ยวเก็บริบเงินทองทรัพย์สิ่งของต่างๆ เปนอันมาก...แล้วแม่ทัพจัดให้มีเต้นรำต่างๆ สมโภชกองทัพ ๑๒๙ ทัพนั้นทุกๆ ทัพคือ เต้นรำพม่า, เต้นรำมอญ, เต้นรำทวาย, เต้นรำตนาว, เต้นรำลาวญวน, เต้นรำอยุทธยา, และพร้อมด้วยเต้นรำต่างๆ ครั้นสมโภชเสร็จแล้ว สีหะปะเต๊ะแม่ทัพได้ทราบข่าวว่าจีนห้อมาติดกรุงอังวะ สีหะปะเต๊ะแม่ทัพจึงจัดพลทหารพลเมืองชายหญิง มอบให้นายทัพนายกอง ๔๐๖ คน ควบคุมรวบรวมทหารพลเมืองอยุทธยา ๑๐๖๑๐๐ คน มอบแบ่งให้นายทัพนายกองเสร็จแล้ว ครั้น ณ วัน ๙ฯ ๗ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ สีหะปะเต๊ะแม่ทัพได้ยกทัพออกจากกรุงศรีอยุทธยาไปยังกรุงรัตนบุระอังวะ...”
5. สงครามเสียกรุงหงสาวดีใน พ.ศ. 2300 ปรากฏในหลักฐานฝ่ายพม่าว่า กองทัพพระเจ้าอลองพญาได้เผาทำลายอาคารบ้านเรือนและพระราชวังในกรุงหงสาวดี นายทหารและชาวเมืองหงสาวดีที่ต่อสู้ขัดขวางถูกสังหารจำนวนมาก จนพงศาวดารพม่าเปรียบว่าแม่น้ำลำคลองในกรุงหงสาวดีเปลี่ยนเป็นสีแดงดั่งสายโลหิต กองทหารฝ่ายพระเจ้าอลองพญายึดทรัพย์สมบัติในพระราชวัง สิ่งของมีค่า และอาวุธปืนไฟต่างๆ ทั้งที่เป็นของราชสำนักอังวะเดิมที่มอญยึดมาได้และของราชสำนักหงสาวดีจนหมดสิ้น พระเจ้าหงสาวดีและพระราชวงศ์ที่หนีไม่พ้นถูกจับมาถวายพระเจ้าอลองพญา
มาในยุคปดุง ตีได้ยะไข่อีก เหนือกว่า กรุงเทพ แบบคนละชั้นเลย ทั้งอาวุธ กำลังคน ทรัพยสิน ประสบการณ์รบ
ไม่น่าเสียเชียงใหม่ ตอนพระเจ้าตากสิน และแพ้สงครามเก้าทัพ สงครามดินแดน สามสบ รัชกาลที่ 1 ได้เลย
ต่อให้ประเทศราชแข็งเมือง ไม่ส่งทหารมาช่วย ก็ยังน่าชนะกรุงเทพได้อยู่ดี ทรัพยสิน อาวุธเพียบ คนลดยังไงก็น่าจะเยอะกว่ากรุงเทพ
พระเจ้าตากสิน รัชกาลที่ 1 เก่งมากเลย จากที่หมดตัวตอนเสียกรุง แถมตัวเองไม่มีประสบการณ์รบมาก
รวมประเทศ ทำให้พม่าขยาด ทั้งที่พร้อมขนาดนี้ จนต้องไปตีเมืองทางอินเดียแทน แล้วไปเจออังกฤษ ตกเป็นเมืองชึ้นอังกฤษแทนเลย
พม่ายุคมังระ รวมรวบทรัพย์สิน เชลย มาเยอะมาก ทำให้มีประสบการณ์ก็เยอะ ไม่น่าเสียเชียงใหม่ แพ้สงคราม 9 ทัพ ท่าดินแดนได้เลย
“เถิงสก 1125 ตัว ปีก่าเม็ด เดือน 11 แรม 8 ค่ำ (1 กันยายน 2306) ม่านได้เชียงใหม่อยู่ได้สองสามวัน ละพูน บ้านสันทะกานแตก ม่านกวาดเอาเจ้าจันตนลูกเจ้าองค์คำและไพร่ไทชาวเชียงใหม่ไปอังวะนับเสี้ยง”
พม่าผนวกเชียงใหม่และล้านนาทั้ง 57 หัวเมืองกลับมาอยู่ภายใต้การปกครองของตนเองโดยตรง โดยแต่งตั้ง “โป่” (bo ဗိုလ်) หรือแม่ทัพพม่านามว่า อภยกามณิ (Abaya Kamani အဘယကါမဏိ) หรือ “โป่อพยะคามนี” เป็นผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่แทน
2.สงครามตีอาณาจักรมณีปุระใน พ.ศ. 2307-2308 พงศาวดารพม่าระบุว่าเมื่อพระเจ้ามังระทรงได้รับชัยชนะแล้ว ทรงกวาดต้อนประชากรในราชธานีของมณีปุระแทบทั้งหมด รวมทั้งผู้หญิงและเด็กกลับไปพม่า
3. สงครามตีอาณาจักรอะระกันใน พ.ศ. 2327 (ค.ศ. 1784) พระเจ้าโบดอพญา (Bodawpaya ဘိုးတော်ဘုရား) ทรงผนวกอะระกันมาอยู่ภายใต้การปกครองของราชสำนักกงบ่องโดยตรง ทรงแต่งตั้งข้าหลวงพม่าจากราชธานีเป็นผู้ปกครอง โดยมีทหาร 10,000 นายไว้รักษาเมือง กองทัพพม่ากวาดต้อนพระราชวงศ์ เสนาบดีข้าราชการ ครอบครัวตระกูลพราหมณ์ รวมจำนวนเชลยศึกทั้งหมด 20,000 หรือ 30,000 คน นอกจากนี้ยังให้ชะลอพระมหามัยมุนีที่เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอะระกันกลับมายังราชธานีอมระปุระของพม่า
4. “ครั้นถึง ณ วัน ๕ ๑๑ฯ ๕ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ พลทหารแลนายทัพนายกองทั้งปวงก็เข้าในกำแพงเมืองกรุงศรีอยุทธยาได้ เมื่อเข้าในกำแพงได้นั้น พลทหารพม่าทั้งปวงก็เที่ยวเอาไฟเผาบ้านเรือนของพลเมืองแลวัดวาอารามเสียสิ้น แล้วเที่ยวจับพลเมืองราษฎรชายหญิงทั้งปวง แลเที่ยวเก็บริบเงินทองทรัพย์สิ่งของต่างๆ เปนอันมาก...แล้วแม่ทัพจัดให้มีเต้นรำต่างๆ สมโภชกองทัพ ๑๒๙ ทัพนั้นทุกๆ ทัพคือ เต้นรำพม่า, เต้นรำมอญ, เต้นรำทวาย, เต้นรำตนาว, เต้นรำลาวญวน, เต้นรำอยุทธยา, และพร้อมด้วยเต้นรำต่างๆ ครั้นสมโภชเสร็จแล้ว สีหะปะเต๊ะแม่ทัพได้ทราบข่าวว่าจีนห้อมาติดกรุงอังวะ สีหะปะเต๊ะแม่ทัพจึงจัดพลทหารพลเมืองชายหญิง มอบให้นายทัพนายกอง ๔๐๖ คน ควบคุมรวบรวมทหารพลเมืองอยุทธยา ๑๐๖๑๐๐ คน มอบแบ่งให้นายทัพนายกองเสร็จแล้ว ครั้น ณ วัน ๙ฯ ๗ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ สีหะปะเต๊ะแม่ทัพได้ยกทัพออกจากกรุงศรีอยุทธยาไปยังกรุงรัตนบุระอังวะ...”
5. สงครามเสียกรุงหงสาวดีใน พ.ศ. 2300 ปรากฏในหลักฐานฝ่ายพม่าว่า กองทัพพระเจ้าอลองพญาได้เผาทำลายอาคารบ้านเรือนและพระราชวังในกรุงหงสาวดี นายทหารและชาวเมืองหงสาวดีที่ต่อสู้ขัดขวางถูกสังหารจำนวนมาก จนพงศาวดารพม่าเปรียบว่าแม่น้ำลำคลองในกรุงหงสาวดีเปลี่ยนเป็นสีแดงดั่งสายโลหิต กองทหารฝ่ายพระเจ้าอลองพญายึดทรัพย์สมบัติในพระราชวัง สิ่งของมีค่า และอาวุธปืนไฟต่างๆ ทั้งที่เป็นของราชสำนักอังวะเดิมที่มอญยึดมาได้และของราชสำนักหงสาวดีจนหมดสิ้น พระเจ้าหงสาวดีและพระราชวงศ์ที่หนีไม่พ้นถูกจับมาถวายพระเจ้าอลองพญา
มาในยุคปดุง ตีได้ยะไข่อีก เหนือกว่า กรุงเทพ แบบคนละชั้นเลย ทั้งอาวุธ กำลังคน ทรัพยสิน ประสบการณ์รบ
ไม่น่าเสียเชียงใหม่ ตอนพระเจ้าตากสิน และแพ้สงครามเก้าทัพ สงครามดินแดน สามสบ รัชกาลที่ 1 ได้เลย
ต่อให้ประเทศราชแข็งเมือง ไม่ส่งทหารมาช่วย ก็ยังน่าชนะกรุงเทพได้อยู่ดี ทรัพยสิน อาวุธเพียบ คนลดยังไงก็น่าจะเยอะกว่ากรุงเทพ
พระเจ้าตากสิน รัชกาลที่ 1 เก่งมากเลย จากที่หมดตัวตอนเสียกรุง แถมตัวเองไม่มีประสบการณ์รบมาก
รวมประเทศ ทำให้พม่าขยาด ทั้งที่พร้อมขนาดนี้ จนต้องไปตีเมืองทางอินเดียแทน แล้วไปเจออังกฤษ ตกเป็นเมืองชึ้นอังกฤษแทนเลย