สงสัยเกี่ยวกับคำว่าขุนนาง กับข้าหลวงค่ะ

*เพิ่งเคยตั้งกระทู้ครั้งแรกนะคะ แท็กผิดขออภัยด้วย*
สวัสดีค่ะชาวพันทิป
คือจริงๆ กำลังศึกษาเกี่ยวกับตำแหน่งขุนนางสมัยจีนโบราณน่ะค่ะ
เริ่มงงๆ ถึงความแตกต่างระหว่างคำว่าขุนนางกับข้าหลวง
ขุนนางจะใช้วิธีการสอบเพื่อเข้ารับราชการใช่ไหมคะ (พอมาจุดนี้แล้วด็สงสัยอีกว่าแล้วขุนนางข้าราชการชั้นผู้น้อยเป็นมายังไง เพราะส่วนใหญ่จะรู้จักแต่พงกบัณทิตระดับ 1 2 3 และพวกที่สอบผ่านไปถึงการสอบหน้าพระที่นั่ง)
ส่วนข้าหลวงนี้คือคนที่ถวายตัวเข้ารับใช้ใช่ไหมคะ? ขันที นางกำนันก็เป็นข้าหลวงใช่ไหม? แล้วมีปัจจัยอะไรบ้างถึงเรียกว่าข้าหลวงบ้าง

อยากให้ช่วงชี้แนะค่ะ (ปล.ศึกษายุคราชวงศ์หมิงชิงค่ะ แต่ถ้ามีของราชวงศ์อื่นๆ ด้วยก็ได้นะคะ)
ขอบคุณค่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
แรกเริ่มเดิมที ขุนนางก็คือข้าหลวงนั่นแหละครับ เรียกแบบไหนก็ได้เพราะความหมายเดียวกันคือ เป็นผู้ที่ทำงานในรั้วในวังและทำหน้าที่รับใช้กษัตริย์และเชื้อพระวงศ์

แต่ในเวลาต่อมาได้เริ่มมีการใช้คำสองคำนี้แบบแบ่งแยกออกจากกันครับ โดย...

ขุนนาง คือ อาชีพ / ชนชั้น ผู้ที่เข้ารับราชการ มีหน้าที่การงานในกรมกองต่างๆ ก็คือขุนนางทั้งสิ้น

ข้าหลวง คือ ตำแหน่งผู้แทนพระองค์ หรือผู้ว่าราชการแทน เป็นคนที่กษัตริย์หรือเชื้อพระวงศ์แต่งตั้งและมอบอำนาจให้ทำหน้าที่บางอย่างในฐานะผู้แทนพระองค์ มักจะเป็นตำแหน่งชั่วคราวหรือตำแหน่งเฉพาะกิจ พอคนที่ได้รับมอบอำนาจทำภารกิจที่ได้รับมอบหมายเสร็จสิ้นแล้ว ตำแหน่งข้าหลวงที่ได้รับมาก็ถือเป็นอันสิ้นสุด ยกตัวอย่างเช่น ขุนนางคนหนึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าหลวง (ผู้แทนพระองค์ หรือ ผู้ว่าราชการแทนกษัตริย์) นำเสบียงอาหารไปแจกจ่ายราษฎรที่กำลังอดอยาก ซึ่งพอแจกเสบียงอาหารหมดจบภารกิจแล้ว ตำแหน่งข้าหลวงของขุนนางคนนี้ก็ถือว่าเป็นอันสิ้นสุด

แต่คำว่าข้าหลวงก็มักถูกนำมาใช้เรียกแบบไม่เป็นทางการกับการเรียกเหล่าข้าราชบริพารอย่างพวกขันทีหรือนางในที่รับใช้ใกล้ชิดเชื้อพระวงศ์ด้วย ยกตัวอย่างเช่น นางข้าหลวง หรือถ้าจะเรียกแบบหรูๆ หน่อยก็ นางสนองพระโอษฐ์  ซึ่งเป็นนางในที่รับใช้ใกล้ชิดพระราชินีหรือเชื้อพระวงศ์ผู้หญิง ทั้งนี้ ก็เพราะขันทีและนางในพวกนี้มักถูกกษัตริย์หรือเชื้อพระวงศ์เรียกใช้ให้เป็นคนนำคำสั่งหรือราชโองการไปประกาศต่ออีกที ซึ่งนั่นก็เหมือนกับว่าพวกเขาและเธอได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าหลวง (ผู้แทนพระองค์) แบบกลายๆ ไปแล้วนั่นเอง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่