การสอบขุนนาง (จีน: 科舉; พินอิน: Kējǔ; เวด-ไจลส์: K’o1-chü3; อังกฤษ: Imperial Examination) เป็นระบบการสอบคัดเลือกข้าราชการพลเรือนในประเทศจีนสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อสอบบรรจุข้าราชการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับระบบราชการของรัฐ ในการสอบ ใช้ข้อสอบแบบวัตถุวิสัย (objective) เพื่อประเมินการได้รับความรู้และคุณธรรมของผู้เข้าสอบ ผู้สอบได้จะได้รับวุฒิ จิ้นชื่อ (จีน: 進士; พินอิน: Jìnshì) แปลว่า “บัณฑิตชั้นสูง” (Advanced Scholar) รวมถึงปริญญาชั้นอื่น ๆ แล้วจะได้รับการประเมินเพื่อบรรจุเข้าดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ถ้าได้ปริญญาชั้นสูง ก็มีแนวโน้มว่าจะได้ตำแหน่งสูง การสอบขุนนางนี้โดยทฤษฎีแล้วมุ่งทดสอบและคัดเลือกบุคคลด้วยคุณธรรม จึงมีอิทธิพลต่อประเทศจีนทั้งในด้านสังคมและวัฒนธรรม ทั้งยังมีส่วนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการคานอำนาจช่วงราชวงศ์ถัง ราชวงศ์โจวของอู่ เจ๋อเทียน (Wu Zetian) และราชวงศ์ซ่ง ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังส่งผลเป็นการหลอมรวมโครงสร้างทางสังคมไว้เป็นเวลานาน อนึ่ง มีหลายครั้งที่การสอบทำให้อภิชนบางกลุ่มถูกแทนที่ด้วยบุคคลจากชั้นรากหญ้า หลายดินแดนในทวีปเอเชีย เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม และรีวกีว รับระบบการสอบนี้มาใช้เพื่อคัดเลือกบุคคลระดับหัวกะทิ เพื่อรักษาเป้าหมายทางอุดมคติและทรัพยากร กับทั้งเพื่อส่งเสริมวรรณกรรมและการเล่าเรียน นอกจากนี้ เนื่องจากการจัดการสอบเป็นส่วนหนึ่งของระบบทะเบียนหลวง วันที่ประสาทวุฒิจิ้นชื่อจึงมักเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับชีวิตประวัติบุคคลในราชวงศ์ถังและราชวงศ์ต่อ ๆ มา
ที่มา :
http://www.chatchawan.net/2014/03/imperial-examination/
[อยากรู้เรื่องจีนโบราณ] ข้อดี และข้อเสียของระบบสอบขุนนางจีนสมัยโบราณ หรือเคอจวี่ มีอะไรบ้างครับ?
ที่มา : http://www.chatchawan.net/2014/03/imperial-examination/