เริ่มต้นกันที่ เศรษฐกิจของ 2 ประเทศ มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ปี 2019 ประเทศไทยมีขนาดเศรษฐกิจ 16.4 ล้านล้านบาท ใหญ่เป็นอันดับที่ 22 ของโลก ประชากรมีรายได้เฉลี่ยคนละ 236,000 บาทต่อปี อยู่อันดับที่ 82 ของโลก
ขณะที่เวียดนาม ในปี 2019 มีขนาดเศรษฐกิจ 7.9 ล้านล้านบาท อยู่อันดับที่ 44 ของโลก ประชากรมีรายได้เฉลี่ยคนละ 82,000 บาท อยู่อันดับที่ 135 ของโลก
และด้วยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนไทยในระดับนี้ ทำให้ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง (Upper middle income country)
ขณะที่เวียดนาม ปัจจุบันยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับต่ำ (Lower middle income country)
สรุปแล้ว ในตอนนี้เศรษฐกิจไทยยังคงใหญ่กว่าเวียดนาม 2 เท่า
ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีของคนไทย ก็มากกว่าของเวียดนามเกือบ 3 เท่า
เห็นแบบนี้แล้ว เราอาจสรุปได้ว่า
เศรษฐกิจของประเทศไทยในตอนนี้
ยังนำหน้าเวียดนามอยู่พอสมควรเลยทีเดียว
แต่รู้ไหมว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม มากกว่าไทยถึง 2 เท่า
ในช่วงปี 2009-2019 เศรษฐกิจไทย เติบโตเฉลี่ยปีละ 3%
ขณะที่เศรษฐกิจของเวียดนามเติบโตเฉลี่ยปีละ 6%
สำหรับปีนี้ การระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ไทยและเวียดนาม
หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะติดลบประมาณ 6.4%
ส่วนเศรษฐกิจเวียดนาม จะยังคงเติบโตที่ 2.4%
แต่ถ้าสมมติว่า โรคระบาดนี้ผ่านพ้นไป
ถ้าเราให้เศรษฐกิจทั้ง 2 ประเทศ กลับมาเติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยเดิมเหมือนกับช่วงปี 2009-2019
คือไทยเติบโตเฉลี่ยปีละ 3% และเวียดนามเติบโตเฉลี่ยปีละ 6%
หมายความว่า กว่าที่ขนาดเศรษฐกิจเวียดนามจะแซงไทย ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 24 ปี จากวันนี้..
แต่ถ้าลองมองให้ลึกลงไปที่พื้นฐานเรื่องต่างๆ
ก็จะพบว่า เวียดนามกำลังเติบโตด้วยศักยภาพเพิ่มมากขึ้นทุกที
ปัจจุบัน เวียดนามมีประชากรกว่า 97 ล้านคน
มากเป็นอันดับที่ 15 ของโลก และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 111 ล้านคนในอีก 30 ปีข้างหน้า
ขณะที่ไทย มีประชากรประมาณ 69 ล้านคน
มากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก และคาดว่าประชากรไทยจะไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะอยู่ที่ 60-69 ล้านคน ในอีก 30 ปีข้างหน้า
ส่วนอายุเฉลี่ยของคนเวียดนามในวันนี้คือ 32 ปี ขณะที่อายุเฉลี่ยของคนไทยคือ 40 ปี
จำนวนประชากรในอนาคตของเวียดนามที่มากกว่าไทย
และอายุเฉลี่ยของคนเวียดนามที่น้อยกว่าไทย
อาจทำให้เวียดนามได้เปรียบกว่าประเทศไทยในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านแรงงานเพื่อการผลิต
ปี 2020 เวียดนามมีจำนวนแรงงานเท่ากับ 58 ล้านคน
ขณะที่ของประเทศไทยอยู่ที่ 38 ล้านคน
ปริมาณแรงงานที่อายุน้อยและมีจำนวนมาก จึงทำให้ต้นทุนค่าแรงของเวียดนามต่ำกว่า เมื่อเทียบกับประเทศไทย
ค่าแรงขั้นต่ำของเวียดนามอยู่ที่ประมาณ 132-190 บาทต่อวัน
ขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำของไทยอยู่ที่ประมาณ 313-336 บาทต่อวัน
ต้นทุนแรงงานที่ต่ำ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่ดึงดูดให้บริษัทต่างชาติย้ายฐานการผลิตไปลงในเวียดนามหลายรายในช่วงที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่น
Samsung บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่จากเกาหลีใต้
LG บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่จากเกาหลีใต้
Foxconn บริษัทผู้ผลิตและรับผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้กับ Apple
Panasonic บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่จากญี่ปุ่น
ซึ่งนอกจากปัจจัยเรื่องค่าแรงแล้ว ยังอาจมีอีกหลายๆ ปัจจัย ที่ทำให้เวียดนามสามารถดึงดูดเงินลงทุนเข้าประเทศได้ เช่น ทักษะแรงงาน และกฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เอื้อต่อการย้ายฐานการผลิตเข้ามาลงทุนในประเทศ
ส่วนเรื่องการไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ หรือ Foreign direct investment (FDI) อย่างเช่นเงินลงทุนสำหรับตั้งโรงงานการผลิต ก็เป็นอีกตัวเลขที่น่าสนใจ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ไหลไปยังเวียดนาม
ในปี 2011 อยู่ที่ 222,000 ล้านบาท
ในปี 2019 อยู่ที่ 465,000 ล้านบาท
ขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ไหลเข้ามาประเทศไทย
ในปี 2011 อยู่ที่ 74,100 ล้านบาท
ในปี 2019 อยู่ที่ 189,000 ล้านบาท
ขณะที่ของประเทศไทย หลังจากที่ยอด FDI เคยขึ้นไปสูงสุดที่ 477,000 ล้านบาท ในปี 2013 ก็ยังไม่เคยกลับไปจุดนั้นอีกเลยจนถึงวันนี้
มาถึงตรงนี้ ก็ต้องบอกว่า มีโอกาสไม่น้อยที่เวียดนามจะเติบโตต่อเนื่องอีกนานพอสมควร และยังอาจโตด้วยอัตราเฉลี่ยประมาณ 6% ต่อปี
และถ้าเศรษฐกิจไทยโตด้วยอัตราเฉลี่ยที่น้อยกว่าเดิม
เศรษฐกิจเวียดนาม อาจไล่ตามไทย ได้เร็วมากขึ้น
เช่น จาก 24 ปี เหลือ 20 ปี หรืออาจใช้เวลาน้อยกว่านั้น ถ้าเศรษฐกิจไทยอยู่กับที่..
ซึ่งคำถามที่ว่า เศรษฐกิจเวียดนาม จะแซงไทย จริงหรือ?
คำตอบคือ ถ้าช่วง 5-10 ปีนี้ ก็คงจะยังเป็นเรื่องยาก
แต่ถ้าในระยะยาว 20-30 ปี ข้างหน้า ก็ต้องยอมรับว่า “มีความเป็นได้” เหมือนกัน..
อ้างอิง
https://www.longtunman.com/26642
เศรษฐกิจเวียดนาม จะแซงไทย จริงหรือ?
ปี 2019 ประเทศไทยมีขนาดเศรษฐกิจ 16.4 ล้านล้านบาท ใหญ่เป็นอันดับที่ 22 ของโลก ประชากรมีรายได้เฉลี่ยคนละ 236,000 บาทต่อปี อยู่อันดับที่ 82 ของโลก
ขณะที่เวียดนาม ในปี 2019 มีขนาดเศรษฐกิจ 7.9 ล้านล้านบาท อยู่อันดับที่ 44 ของโลก ประชากรมีรายได้เฉลี่ยคนละ 82,000 บาท อยู่อันดับที่ 135 ของโลก
และด้วยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนไทยในระดับนี้ ทำให้ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง (Upper middle income country)
ขณะที่เวียดนาม ปัจจุบันยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับต่ำ (Lower middle income country)
สรุปแล้ว ในตอนนี้เศรษฐกิจไทยยังคงใหญ่กว่าเวียดนาม 2 เท่า
ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีของคนไทย ก็มากกว่าของเวียดนามเกือบ 3 เท่า
เห็นแบบนี้แล้ว เราอาจสรุปได้ว่า
เศรษฐกิจของประเทศไทยในตอนนี้
ยังนำหน้าเวียดนามอยู่พอสมควรเลยทีเดียว
แต่รู้ไหมว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม มากกว่าไทยถึง 2 เท่า
ในช่วงปี 2009-2019 เศรษฐกิจไทย เติบโตเฉลี่ยปีละ 3%
ขณะที่เศรษฐกิจของเวียดนามเติบโตเฉลี่ยปีละ 6%
สำหรับปีนี้ การระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ไทยและเวียดนาม
หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะติดลบประมาณ 6.4%
ส่วนเศรษฐกิจเวียดนาม จะยังคงเติบโตที่ 2.4%
แต่ถ้าสมมติว่า โรคระบาดนี้ผ่านพ้นไป
ถ้าเราให้เศรษฐกิจทั้ง 2 ประเทศ กลับมาเติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยเดิมเหมือนกับช่วงปี 2009-2019
คือไทยเติบโตเฉลี่ยปีละ 3% และเวียดนามเติบโตเฉลี่ยปีละ 6%
หมายความว่า กว่าที่ขนาดเศรษฐกิจเวียดนามจะแซงไทย ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 24 ปี จากวันนี้..
แต่ถ้าลองมองให้ลึกลงไปที่พื้นฐานเรื่องต่างๆ
ก็จะพบว่า เวียดนามกำลังเติบโตด้วยศักยภาพเพิ่มมากขึ้นทุกที
ปัจจุบัน เวียดนามมีประชากรกว่า 97 ล้านคน
มากเป็นอันดับที่ 15 ของโลก และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 111 ล้านคนในอีก 30 ปีข้างหน้า
ขณะที่ไทย มีประชากรประมาณ 69 ล้านคน
มากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก และคาดว่าประชากรไทยจะไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะอยู่ที่ 60-69 ล้านคน ในอีก 30 ปีข้างหน้า
ส่วนอายุเฉลี่ยของคนเวียดนามในวันนี้คือ 32 ปี ขณะที่อายุเฉลี่ยของคนไทยคือ 40 ปี
จำนวนประชากรในอนาคตของเวียดนามที่มากกว่าไทย
และอายุเฉลี่ยของคนเวียดนามที่น้อยกว่าไทย
อาจทำให้เวียดนามได้เปรียบกว่าประเทศไทยในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านแรงงานเพื่อการผลิต
ปี 2020 เวียดนามมีจำนวนแรงงานเท่ากับ 58 ล้านคน
ขณะที่ของประเทศไทยอยู่ที่ 38 ล้านคน
ปริมาณแรงงานที่อายุน้อยและมีจำนวนมาก จึงทำให้ต้นทุนค่าแรงของเวียดนามต่ำกว่า เมื่อเทียบกับประเทศไทย
ค่าแรงขั้นต่ำของเวียดนามอยู่ที่ประมาณ 132-190 บาทต่อวัน
ขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำของไทยอยู่ที่ประมาณ 313-336 บาทต่อวัน
ต้นทุนแรงงานที่ต่ำ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่ดึงดูดให้บริษัทต่างชาติย้ายฐานการผลิตไปลงในเวียดนามหลายรายในช่วงที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่น
Samsung บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่จากเกาหลีใต้
LG บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่จากเกาหลีใต้
Foxconn บริษัทผู้ผลิตและรับผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้กับ Apple
Panasonic บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่จากญี่ปุ่น
ซึ่งนอกจากปัจจัยเรื่องค่าแรงแล้ว ยังอาจมีอีกหลายๆ ปัจจัย ที่ทำให้เวียดนามสามารถดึงดูดเงินลงทุนเข้าประเทศได้ เช่น ทักษะแรงงาน และกฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เอื้อต่อการย้ายฐานการผลิตเข้ามาลงทุนในประเทศ
ส่วนเรื่องการไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ หรือ Foreign direct investment (FDI) อย่างเช่นเงินลงทุนสำหรับตั้งโรงงานการผลิต ก็เป็นอีกตัวเลขที่น่าสนใจ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ไหลไปยังเวียดนาม
ในปี 2011 อยู่ที่ 222,000 ล้านบาท
ในปี 2019 อยู่ที่ 465,000 ล้านบาท
ขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ไหลเข้ามาประเทศไทย
ในปี 2011 อยู่ที่ 74,100 ล้านบาท
ในปี 2019 อยู่ที่ 189,000 ล้านบาท
ขณะที่ของประเทศไทย หลังจากที่ยอด FDI เคยขึ้นไปสูงสุดที่ 477,000 ล้านบาท ในปี 2013 ก็ยังไม่เคยกลับไปจุดนั้นอีกเลยจนถึงวันนี้
มาถึงตรงนี้ ก็ต้องบอกว่า มีโอกาสไม่น้อยที่เวียดนามจะเติบโตต่อเนื่องอีกนานพอสมควร และยังอาจโตด้วยอัตราเฉลี่ยประมาณ 6% ต่อปี
และถ้าเศรษฐกิจไทยโตด้วยอัตราเฉลี่ยที่น้อยกว่าเดิม
เศรษฐกิจเวียดนาม อาจไล่ตามไทย ได้เร็วมากขึ้น
เช่น จาก 24 ปี เหลือ 20 ปี หรืออาจใช้เวลาน้อยกว่านั้น ถ้าเศรษฐกิจไทยอยู่กับที่..
ซึ่งคำถามที่ว่า เศรษฐกิจเวียดนาม จะแซงไทย จริงหรือ?
คำตอบคือ ถ้าช่วง 5-10 ปีนี้ ก็คงจะยังเป็นเรื่องยาก
แต่ถ้าในระยะยาว 20-30 ปี ข้างหน้า ก็ต้องยอมรับว่า “มีความเป็นได้” เหมือนกัน..
อ้างอิง https://www.longtunman.com/26642