" Pisonia " ต้นไม้กับดักนก




(นก Black noddies ทำรังอยู่บนต้น Pisonia ในเกาะ Heron รัฐควีนส์แลนด์ /ภาพ: Christopheb / Dreamstime.com)


ในการกระจายเมล็ดพืชให้เติบโตในที่ต่างๆนั้น ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับนกและแมลง โดยพืชจะดึงดูดแมลงมาผสมเกสรโดยปล่อยสารประกอบอะโรมาติกในอากาศ หรือโดยการผลิตน้ำหวานที่นกและแมลงกิน  ซึ่งสายพันธุ์ของพืช Pisonia ก็ไม่แตกต่างกัน พวกมันจะล่อลวงนกตัวเล็ก ๆ ให้มาสร้างรังบนกิ่งก้านของมัน และเมื่อนกสะบัดขนกับกิ่งก้านที่เต็มไปด้วยเมล็ดเหล่านี้ เมล็ดเหนียวของ Pisonia ก็จะติดอยู่กับขนของนก

หลังจากนั้นไม่นาน เมล็ดพืชก็จะร่วงหล่นไปตามเกาะอื่นๆที่นกเดินทางไป แต่ที่ไหนสักแห่งตามประวัติศาสตร์ของวิวัฒนาการของ Pisonia มีบางอย่างผิดพลาดอย่างน่ากลัว นั่นคือ แทนที่จะใช้นกเป็นพาหะในการผสมเกสร  Pisonia กลับลงเอยด้วยการฆ่านกจำนวนมาก จากการบรรทุกเมล็ดพืชที่มากมายบนตัวจนนกที่น่าสงสารไม่สามารถบินไปได้ จนพวกมันหล่นลงกับพื้นและอดตาย

ต้นพิโซเนีย (Pisonia) มีชื่อเล่นว่า “bird-catchers” พบได้ในถิ่นอาศัยในเขตร้อนที่ส่วนใหญ่เป็นหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียนและอินโด - แปซิฟิก
ต้นไม้จะผลิตเมล็ดยาวที่ปกคลุมด้วยเมือกหนาและตะขอเล็ก ๆ ที่ยึดติดกับเกือบทุกอย่างที่เสียดสีกับพวกมัน โดยเมล็ดจะเติบโตเป็นช่อขนาดใหญ่ที่พันกันอยู่ ซึ่งแต่ละเมล็ดจะมีตั้งแต่ 12 ถึง 200 เมล็ด


เมล็ดของต้น Pisonia roqueae ภาพ: Christopheb / Dreamstime.com
ช่วงเวลาตามธรรมชาติตลอดหลายปีของการวิวัฒนาการของ Pisonia จะออกดอกปีละสองครั้ง โดยมีนกทะเลเข้ามาที่หมู่เกาะมากที่สุด โดยนกทะเล
เหล่านี้จะทำรังอยู่บนต้น Pisonia และเมื่อลูกตัวเล็ก ๆ ฟักออกเป็นตัว ลูกนกจะถูกผลของพืชพันไว้และติดอยู่ในพวงดอกที่มีความเหนียว ซึ่งแม้แต่เมล็ดพืชเพียงหยิบมือก็สามารถถ่วงนกจนทำให้บินไม่ได้

และเมื่อนกหล่นลงก็จะตายลงด้วยความอดอยาก ในที่สุดหรือกลายเป็นอาหารของสัตว์กินของเน่า แต่ในบางครั้งนกก็ตายอยู่บนต้นไม้โดยห้อยอยู่กับกิ่งไม้ที่เกาะ และพฤติกรรมที่น่าสยดสยองของต้น Pisonia มีผลร้ายแรงต่อประชากรนกอย่างมาก  โดยจากการศึกษาที่ดำเนินการเกี่ยวกับประชากรนกทะเลบนเกาะ Cousin ในหมู่เกาะ Seychelles ในมหาสมุทรอินเดียพบว่า ต้น Pisoniaได้ฆ่านก White Terns ถึงหนึ่งในสี่และนกทะเล Tropical Shearwaters เกือบหนึ่งในสิบ ผ่านการยึดเกาะที่ร้ายแรงของเมล็ดของมัน

ซึ่งในการวิจัย นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่ามีประโยชน์ทางวิวัฒนาการที่จะได้รับจากต้น Pisonia โดยการฆ่านกหรือไม่ สมมติฐานหนึ่งระบุว่า ต้นไม้ได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้นจากการสลายตัวของซากนกที่ตกลงมาที่เชิงต้นไม้ แต่เมื่อ Alan Burger นักนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Victoria วิเคราะห์ต้นกล้าที่งอกขึ้นใกล้ซากนกบนเกาะ Cousin Island เขาก็ไม่พบหลักฐานใด ๆ ที่ดูเหมือนจะบ่งชี้ว่าเมล็ดงอกได้ดีขึ้น แต่กลายเป็นว่ามูลของนกและไข่ที่ร่วงหล่นจากรัง
เป็นปุ๋ยให้ต้นไม้มากกว่า ซึ่งบ่งชี้ว่าพวกนกมีค่าต่อต้นไม้ที่มีชีวิตมากกว่าซากที่ตายไปแล้ว


เมล็ดของต้น Pisonia ที่ปกคลุมด้วยเรซินเหนียว ภาพ: Scott Zona / Flickr


นก wedge-tailed shearwater ที่ถูกความเหนียวของเมล็ด Pisonia grandis เกาะติดอยู่กับขน
ในเกาะ Tiam'Bouene ใน New-Caledonia"อาณานิคมพิเศษ" ของประเทศฝรั่งเศส 
Cr.ภาพ: Tristan Berr / Twitter


ต่อมา มีอีกสมมติฐานหนึ่งของกระจายเมล็ดพันธุ์ที่ว่า ซากนกที่มีเมล็ดพันธุ์ติดอยู่อาจลอยไปขึ้นฝั่งบนเกาะอื่นทำให้เมล็ดพันธุ์กระจายไปในที่ต่างๆ  เพื่อทดสอบทฤษฎีนี้ Burger ได้ลองนำเมล็ด Pisonia ไปแช่ในน้ำทะเล พบว่าเพียง 5 วัน หลังจากนั้นเมล็ดจะเน่าเสีย ต่อมาเขาก็ทดสอบพ่นน้ำใส่เมล็ดพืช เป็นเวลาหลายสัปดาห์ ปรากฏว่าเมล็ดยังสามารถเติบโตได้ตามปกติ

ซึ่งผลจากการทดลองของเขาแสดงให้เห็นค่อนข้างน่าเชื่อว่า เมล็ด Pisonia ไม่ได้รับประโยชน์อย่างชัดเจนจากนกที่ตาย โดยผลรายงานการศึกษาของ Burger ปรากฏอยู่ในวารสารนิเวศวิทยาเขตร้อน Journal of Tropical Ecology ในปี 2005

จริงๆแล้ว ขนนกจะมีความลื่นระดับหนึ่ง ซึ่งเมล็ดพืชที่จะยึดเกาะอยู่บนตัวนกเป็นเวลาหลายสัปดาห์ได้ จะต้องมีความเหนียวอย่างมากเพื่อไม่ให้หลุดออกจากนก และเนื่องจากนานๆไปความเหนียวจะค่อยๆคลายลง แต่หากนกตกลงไปในในน้ำทะเลเมล็ดที่เกาะอยู่จะเริ่มเหนียวขึ้นอีกมาก ส่งผลให้นกทะเลหลายแสนตัวตายทุกปี

อย่างไรก็ตาม นกที่ยังมีชีวิตอยู่ที่สามารถบินไปได้ น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้น Pisonia มีการแพร่พันธุ์ แต่น่าเสียดายที่เมล็ดของมันมีความเหนียวและมีการผลิตเมล็ดพันธุ์จำนวนมากเกินไป ทำให้นกบางชนิดมาบินมาติดจนไม่สามารถบินออกไปได้ ดังนั้น การที่ต้นไม้ฆ่านกนับไม่ถ้วนนั้นเป็นเพียงความไม่ตั้งใจเท่านั้น แต่ตราบเท่าที่เมล็ดยังอยู่บนต้น มันจะยังคงเจริญเติบโตได้ตามปกติ 

นก white capped noddy ที่ติดเมล็ด Pisonia ในเกาะ Heron Island,ควีนส์แลนด์, ออสเตรเลีย
ภาพ: Christopheb / Dreamstime.com

ปัจจุบัน นักอนุรักษ์บนเกาะ Cousin กำลังทำงานด้วยการนำต้นไม้พื้นเมืองอื่น ๆมาแทนที่ต้น Pisonia เพื่อช่วยให้ประชากรนกทะเลฟื้นตัว พวกเขาได้ตามหานกที่กำลังถูกเมล็ดพืชติดอยู่และทำความสะอาดพวกมันอย่างระมัดระวังก่อนที่จะนำพวกมันกลับไปไว้บนต้นไม้อื่น

แต่น่าแปลกใจที่นกทะเลหลายตัวดูเหมือนจะชอบต้น Pisonia และเป็นเรื่องยากที่จะเห็นต้น Pisonia ไม่มีนกทะเลอยู่  ซึ่ง Beth Flint นักชีววิทยาสัตว์ป่าของหน่วยบริการ U.S. Fish and Wildlife Service แห่งสหรัฐอเมริกา และเพื่อนร่วมงานของเธอกำลังทำงานเพื่อส่งเสริมให้ป่า Pisonia เป็นแหล่งทำรังที่สำคัญของนก red-footed boobies, นก frigatebirds และนก black noddies

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังได้ค้นพบพืชอีกสายพันธุ์หนึ่งของพืชที่เรียกว่า “bird-catcher” โดยถูกอธิบายไว้ในวารสาร Phytokeys ว่ามีการพบต้นไม้ขนาดใหญ่สองต้นซ่อนตัวอยู่ในป่าของเปอร์โตริโก ซึ่งพืชขนาดใหญ่สองต้นนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักทางวิทยาศาสตร์ แต่ได้มีการศึกษามาเป็นเวลานานทำให้การค้นพบของนักวิทยาศาสตร์น่าตื่นเต้นยิ่งขึ้น

Pisonia horneae ตั้งชื่อตาม Frances W. Horne 
ซึ่งทั้งสองต้นอยู่ในกลุ่มของ Pisonia โดยที่โคนต้นไม้บนพื้นดินมีกระดูกบางชิ้นเล็ก ๆ ทิ้งเกลื่อนกลาดอยู่รอบๆซึ่งน่าจะเป็นเหยื่อของพวกมัน 
โดยสายพันธุ์ทั้งสองนี้ได้รับการขนานนามว่า Pisonia horneae และ Pisonia roqueae เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้หญิงที่ไม่ธรรมดาสองคนคือ Frances W Horne และ Dr Ana Roqué de Duprey ซึ่งทั้งคู่ใช้ชีวิตอุทิศตนเพื่อการศึกษาต่อและพฤกษศาสตร์

( - Pisonia horneae ตั้งขึ้นเพื่ออุทิศให้กับ Frances W. Horne (2416-2510) นักวาดภาพประกอบชาวอเมริกันที่ใช้เวลา 45 ปีในการวาดภาพสีน้ำ
750 สีของพืชจากเปอร์โตริโก ซึ่งมีการตีพิมพ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
 
- Pisonia roqueae ได้รับการตั้งชื่อตาม Dr. Ana Roqué de Duprey (1853-1933) นักการศึกษา นักเขียน และนักวิชาการชาวเปอร์โตริโก ในฐานะ
นักชาติพันธุ์วิทยาสมัครเล่น ที่ใช้เวลากว่าสามทศวรรษในการจัดทำต้นฉบับ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงพฤกษศาสตร์ที่ไม่เคยเผยแพร่ได้)
 




ภาพ: BBC



References:
# Alan E. Burger, Dispersal and Germination of Seeds of Pisonia grandis, an Indo-Pacific Tropical Tree Associated with Insular Seabird Colonies, Journal of Tropical Ecology
# Pisonia grandis…A grand problem?, Seychelles Seabird Group
# Jason Bittel, This tree lures birds with a free lunch and then kills them, Washington Post
# The island paradise with a dark heart, BBC


(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่