เห็นหนังเรื่องนี้กำลังเป็นที่พูดถึงกันอยู่เยอะ จึงอยากจะโยงมาทางธรรมะได้อย่างไรบ้าง เพราะสื่อนั้นก็เป็นที่เข้าใจกันดีว่ามีอิทธิพลกับสังคมเราอย่างมาก ได้สื่อดีก็จะดีกับสังคมเรา เลยลองหาคำสอนทางธรรมะเกี่ยวกับเรื่อง “ความไว้ใจ” ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญจากในหนัง ก็ได้เจอตามข้างล่างนี้ ถีงแม้ว่าอาจจะไม่ได้อ้างอิงมาจากพระไตรปิฎกโดยตรงแต่อย่างน้อยถือว่าเป็นคำสอนทางธรรมที่ดีมากครับ
ข้างล่างนี้จาก
http://phusawan.com/webboard/index.php?topic=930.0
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
“ การที่เราไว้ใจบุคคลผู้อื่น ผู้หนึ่งผู้ใด แล้วเราก็ผิดหวังในความไว้ใจนั้น-- เราจะโทษเขา หรือโทษเราดี ? "
พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตาแสดงธรรมตอบกลับมา ดังนี้ว่า…
พระยาธรรมเอ๋ย.. การที่เราไว้ใจบุคคลผู้อื่น ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม หากเราได้ไว้ใจใครคนใดคนหนึ่งไปแล้ว
ให้จงระลึกรู้เสมอว่า "ความไว้ใจก็อยู่บนความไม่เที่ยงแท้" อยู่ดี.. ลูกเอ๋ย
ฉะนั้น.. เราก็ไว้ใจเพื่ออยู่ด้วยกันได้ ไว้ใจเพื่อทำงานด้วยกันได้ ไว้ใจก็สักแต่ว่าไว้ใจเท่านั้นก็พอ.. ลูกเอ๋ย
แต่ว่าเราจะอย่าไปทุ่มเทความไว้ใจ จนทำให้เราเกิดความหวังในความไว้ใจนั้น-- จนเกินคำว่าพอดี จนทำให้เรานั้นต้องกลับกลายเป็นทุกข์กลับมา
ลูกเอ๋ย.. สรรพสิ่งนั้นไม่เที่ยงแท้
ลูกเอ๋ย.. ไม่ว่าอะไรก็ตาม **หากมันมีวันเกิดขึ้น มันก็ต้องย่อมมีวันดับไป**
การไว้ใจบุคคลผู้อื่น วันหนึ่งก็ต้องสลายไปอยู่ดี
-- เพราะชีวิตของคนเรานั้น **ไม่มีความแน่นอนในชีวิตเลย**
พรุ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้น ก็ไม่มีใครรู้
ฉะนั้น.. เราอย่าไปไว้ใจบุคคลผู้อื่น มาก..จนทำให้เราต้องมาผิดหวังในภายหลังเลย
คนเราอาจจะจากกันด้วย "จากเป็น" หรือว่า "จากตาย "
ถ้าเกิดว่า เราไว้ใจใครคนหนึ่งมาก ทำทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วก็เอามาฝากไว้กับบุคคลผู้นั้น
ถ้าแล้ววันหนึ่ง เขาจากเราไป ด้วยการจากตายล่ะลูก
ถ้าเกิดเขาจากตายเราไป เรานั้นก็สิ้นความหวัง ไม่รู้จะเอาใครเป็นที่พึ่ง ทำให้ตนเป็นทุกข์อยู่ดี
...
ฉะนั้น ลูกเอ๋ย.. การไว้ใจบุคคลผู้อื่น-- ก็ควรจะไว้ใจแต่เพียงพอดี
พอให้อยู่ด้วยกันได้ พอให้ทำงานด้วยกันได้ ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้ ก็พอ.. ลูกเอ๋ย
เพราะในความเป็นจริงแล้ว **ความไว้ใจนั้น อยู่บนความไม่เที่ยงแท้เสมอ** เช่นเดียวกันกับสิ่งอื่นๆ.. ลูกเอ๋ย
และถ้าเกิดถามว่า จะโทษเขา หรือว่าโทษเราดีนั้น..
ในความเป็นจริงแล้ว..ลูกเอ๋ย หากจะถามหาจุดที่มาของสิ่งที่ผิดพลาด-- ก็คงจะเป็นตัวของเรานี้ **
หากว่าเราไม่ต้องไปไว้ใจใคร จนเกินความพอดี จนทำให้ลืมความพอดีนั้น ก็คงจะไม่ทำให้เราผิดหวังมากมาย
ฉะนั้น เราอย่าไปไว้ใจใคร จนมากเกินไปเลย-- จะดีที่สุด
ให้ทุกสิ่งทุกอย่าง อยู่ในความเป็นกลางๆ
ให้เราอยู่บนความไม่เที่ยงแท้.. ยอมรับความเป็นจริงของชีวิตว่า "สรรพสิ่งนั้นไม่เที่ยงแท้ "
-- อย่าไปตั้งมั่น ตั้งจิตตั้งใจไว้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งมันยังไม่มีความแน่นอนเลย.. จะดีกว่า --
เมื่อเราไม่ไว้ใจใครจนมากเกินความพอดี เราก็จะไม่ทุกข์ ใช่มั้ยลูก
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราก็จะไม่ทุกข์กับมันเท่าไหร่ …
/ เพราะว่า เราได้ปล่อยวางแล้ว
/ เพราะว่า เราได้เตรียมใจเอาไว้แล้ว
/ เพราะวา เรารู้แล้ว ว่ามันอาจต้องเป็นเช่นนั้น
แต่ก็อย่าโทษตนเองเลย เพราะในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีผิด ไม่มีถูก-- มีแต่การเรียนรู้เท่านั้นเอง.. ลูกเอ๋ย
สิ่งใดที่ผิดพลาดไปแล้ว เราก็อย่าเอาสิ่งที่ผิดพลาดนั้น มาทับถมเรา
เราจงเลือกเอาสิ่งผิดพลาด ที่มันมีบทเรียน มีสิ่งที่สอน ที่ซ่อนอยู่ในความผิดพลาดนั้น-- กลับมาเตือนตนเอง
แล้วบอกตนให้จงสร้าง จงทำแต่คุณงามความดี อยู่ในกรอบขอบเขตของการรู้จักปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น
ไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนมากเกินไป เพื่อตนนั้นจะได้ไม่ต้องผิดพลาดอีก จะได้ไม่ต้องทุกข์อีก.. ลูกเอ๋ย
ความเป็นจริงแล้วลูก แม้แต่ตัวเราเอง.. เราก็ยังไว้ใจเราไม่ได้เลย
เดี๋ยวก็วอกแวกไปทางนั้น.. เดี๋ยวก็วอกแวกไปทางนี้
... จิตใจนั้น วิ่งไปตามกระแสที่กระทบจากภายนอกมา อยู่เสมอๆ
ตัวเราเองบางที ยังไว้ใจเราไม่ได้เลย..ลูกเอ๋ย
มีอะไรเข้ามาสอบหน่อย ก็พลอยจะวิ่งตามสิ่งสอบนั้น-- จนทำให้เรายังไม่มีความแน่นอน แน่ใจในตนเองเลย
ฉะนั้น.. เราก็จงอย่าไว้ใจบุคคลผู้อื่น จนทำให้เราผิดหวัง ก็แล้วกัน
… เพราะเขาก็เหมือนกันกับเรานั่นแหละลูก.. ไม่มีอะไรเที่ยงแท้และแน่นอนหรอก
เขาก็เป็นดวงจิตที่ยังมีเชื้อของกิเลสและตัณหา ครอบงำอยู่ - เต็มอัตรา
เขาก็ย่อมต้องโลเล เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา พลิกแพลงได้ วิ่งตามสิ่งทดสอบได้ -- ด้วยจิตที่ยังไม่ฟอกจากกิเลส ตัณหานั้น เป็นธรรมดาอยู่แล้ว.. ลูกเอ๋ย
ฉะนั้นเรา.. ถ้าผิดหวังแล้ว เราก็เปลี่ยนใหม่ ทำใหม่
ให้มองให้เห็นความไม่เที่ยงแท้ แล้วเลิกไว้ใจบุคคลผู้อื่น..จนเกินความพอดี
คำว่า "เกินความพอดี" ก็คือ ไว้ใจแบบ...
- ไม่มีเบรคเลย
- ไม่มีเตือนตนเองเลย
- ไม่มีเผื่อใจเอาไว้เลย
... ถ้าเกิดว่าเราทำเช่นนั้น เราก็จะเป็นทุกข์
แต่คนเรา การอยู่ร่วมกัน-- ก็ต้องมีการไว้ใจกัน
การใช้ชีวิต หรือทำงานร่วมกัน อะไรก็ตาม-- ก็ต้องมีการไว้ใจซึ่งกันและกัน เป็นธรรมดา
แต่ถ้าเกิดเราไว้ใจกัน ก็ให้มีขอบเขตในการไว้ใจ คือ รู้จักปล่อยวางด้วย...
ไม่ใช่ไว้ใจ แล้วก็ไปยึดติดลุ่มหลงเอาไว้เช่นนั้น อย่างนั้น -- ก็อาจทำให้เราต้องกลับมาผิดหวังในภายหลัง
ลูกเอ๋ย.. สรรพสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงแท้ เชื้อกิเลสและตัณหานั้น ยังทำงานอยู่ในเราอยู่ในเขา ตลอดเวลา
ก็อาจโยกเยก เปลี่ยนแปลงได้ และที่สำคัญก็คือ **เราทุกคน-- ก็เกิดมาตามกรรมของตน**
บางทีเขาหมดรอบที่จะอยู่กับเรา หมดรอบที่จะร่วมงานกับเรา
เขาก็ต้องไปตามทางของเขา
เขาก็ต้องไปตามสิ่งที่เขาควรจะไป
-- ทีนี้เราจะโทษเขาก็ไม่ได้ โทษเราก็ไม่ได้ --
... ปล่อยทุกอย่างให้มันเป็นไปตามเหตุของเขาเถิดลูก
เราอย่าไปวิ่งตามเขาเลย อย่าไปดึงเอาไว้ให้ต้องเป็นอย่างเดิมเลย
จงอยู่กับปัจจุบัน อย่างมีสติ เถิดลูก..
/ อดีตผ่านไปแล้ว แก้ไขไม่ได้
/ อดีตผ่านไปแล้ว ช่างมันเถิด
... และสิ่งที่กำลังจะผ่านไป เราก็ยื้อเอาไว้ไม่ได้ ให้เหมือนเดิม คงเดิมตลอดไป
อนาคต.. เราก็เริ่มทำใหม่
ถ้าเกิดว่า เราเคยผิดพลาดมาในเรื่องใดแล้ว เราก็ริเริ่มใหม่ เริ่มต้นใหม่-- ในความผิดพลาดนั้น ที่เราเคยผิดพลาดไป
เราก็กลับมามีสติอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับปัจจุบัน ให้ระลึกรู้ถึงการปล่อยวางให้มากที่สุด
ฝึกฝนตน..
// อย่าไปฝากความหวังไว้กับสิ่งใด จนมากเกินไป
// อย่าไปฝากความไว้ใจกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด จนมากเกินไป
-- ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น ก็ล้วนแล้วแต่มีมา และมีไป.. เป็นธรรมดา --
แม้ตัวของเรานี้ ก็ยังไว้ใจไม่ได้เลย.. มันจะเสื่อมไป ดับไปวันไหนก็ไม่รู้
บางทีเราก็ว่า เราจะทำสิ่งนี้ให้ดีที่สุดเลย -- แต่พอถึงเวลานั้น เราก็ยังทำไม่ได้.. ใช่มั้ยลูก
ฉะนั้น.. แปลว่าตัวเราเอง ก็ยังไว้ใจตัวเราไม่ได้ --
อย่าไปโทษผู้อื่นแล้วทำให้เราเกิดกรรมเกิดความทุกข์ มีแต่คำว่า ทำไมๆ อยู่ในใจของเราเลย
ทุกสิ่งทุกอย่างมันมีความเป็นธรรมดา ความเป็นธรรมชาติของมันอยู่ในตัวของมันอยู่แล้ว
... เพียงแต่ว่าเราไม่ยอมรับความเป็นจริงต่างหากเล่า
ตัวเรานี้ก็เหมือนกัน.. ลูกเอ๋ย อย่าโทษเราเลย
สรรพสิ่งในเราก็ไม่นิ่ง ก็ไม่เที่ยงแท้ ก็มีตั้งขึ้นอยู่ และดับไปเหมือนกัน
สิ่งผิดพลาดไปแล้ว จงนำมาเป็น "บทเรียน"
จากนี้ไป เราเคยทุกข์เพราะเรื่องอะไร-- เราก็ละเลิกต่อเรื่องนั้น.. อย่าทำอีก
...ไม่ว่าจะเป็นการไว้ใจบุคคลผู้อื่นก็ตาม …
แล้วริเริ่มทำใหม่ เริ่มต้นชีวิตของเราในแบบใหม่ไป
โดยที่เรานี้อยู่กับปัจจุบัน อย่างมีสติ ไม่ไว้ใจอะไรจนมากเกินไป จนก่อเกิดความทุกข์ให้กับเราอีก
-- ชีวิตของเรา ก็จะได้ไม่ต้องกลับมาทุกข์อีก ลูกเอ๋ย –
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สรุปโดยจขกท. หลักๆก็อยู่ที่ความพอดี ไม่ไว้ใจมากไปหรือน้อยไป จนสร้างปัญหาและเป็นทุกข์ขึ้นมาได้
และถ้าจะโทษใครก็ไม่ควรไปโทษทั้งเขาหรือเราอันทำให้เกิดทุกข์อีก ให้นำสิ่งนั้นมาเป็นบทเรียน แก้ไข เปลี่ยนใหม่ ทำใหม่ ไม่ให้ทุกข์อีก ทางธรรมก็จะเน้นเรื่องการมีสติอยู่กับปัจจุบัน ระลึกรู้ถึงการปล่อยวางให้มากๆ การให้อภัย
Raya and the Last Dragon จริงแล้วเราควรจะไว้ใจเช่นไร(ในแง่ธรรมะ)
ข้างล่างนี้จาก http://phusawan.com/webboard/index.php?topic=930.0
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
“ การที่เราไว้ใจบุคคลผู้อื่น ผู้หนึ่งผู้ใด แล้วเราก็ผิดหวังในความไว้ใจนั้น-- เราจะโทษเขา หรือโทษเราดี ? "
พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตาแสดงธรรมตอบกลับมา ดังนี้ว่า…
พระยาธรรมเอ๋ย.. การที่เราไว้ใจบุคคลผู้อื่น ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม หากเราได้ไว้ใจใครคนใดคนหนึ่งไปแล้ว
ให้จงระลึกรู้เสมอว่า "ความไว้ใจก็อยู่บนความไม่เที่ยงแท้" อยู่ดี.. ลูกเอ๋ย
ฉะนั้น.. เราก็ไว้ใจเพื่ออยู่ด้วยกันได้ ไว้ใจเพื่อทำงานด้วยกันได้ ไว้ใจก็สักแต่ว่าไว้ใจเท่านั้นก็พอ.. ลูกเอ๋ย
แต่ว่าเราจะอย่าไปทุ่มเทความไว้ใจ จนทำให้เราเกิดความหวังในความไว้ใจนั้น-- จนเกินคำว่าพอดี จนทำให้เรานั้นต้องกลับกลายเป็นทุกข์กลับมา
ลูกเอ๋ย.. สรรพสิ่งนั้นไม่เที่ยงแท้
ลูกเอ๋ย.. ไม่ว่าอะไรก็ตาม **หากมันมีวันเกิดขึ้น มันก็ต้องย่อมมีวันดับไป**
การไว้ใจบุคคลผู้อื่น วันหนึ่งก็ต้องสลายไปอยู่ดี
-- เพราะชีวิตของคนเรานั้น **ไม่มีความแน่นอนในชีวิตเลย**
พรุ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้น ก็ไม่มีใครรู้
ฉะนั้น.. เราอย่าไปไว้ใจบุคคลผู้อื่น มาก..จนทำให้เราต้องมาผิดหวังในภายหลังเลย
คนเราอาจจะจากกันด้วย "จากเป็น" หรือว่า "จากตาย "
ถ้าเกิดว่า เราไว้ใจใครคนหนึ่งมาก ทำทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วก็เอามาฝากไว้กับบุคคลผู้นั้น
ถ้าแล้ววันหนึ่ง เขาจากเราไป ด้วยการจากตายล่ะลูก
ถ้าเกิดเขาจากตายเราไป เรานั้นก็สิ้นความหวัง ไม่รู้จะเอาใครเป็นที่พึ่ง ทำให้ตนเป็นทุกข์อยู่ดี
...
ฉะนั้น ลูกเอ๋ย.. การไว้ใจบุคคลผู้อื่น-- ก็ควรจะไว้ใจแต่เพียงพอดี
พอให้อยู่ด้วยกันได้ พอให้ทำงานด้วยกันได้ ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันได้ ก็พอ.. ลูกเอ๋ย
เพราะในความเป็นจริงแล้ว **ความไว้ใจนั้น อยู่บนความไม่เที่ยงแท้เสมอ** เช่นเดียวกันกับสิ่งอื่นๆ.. ลูกเอ๋ย
และถ้าเกิดถามว่า จะโทษเขา หรือว่าโทษเราดีนั้น..
ในความเป็นจริงแล้ว..ลูกเอ๋ย หากจะถามหาจุดที่มาของสิ่งที่ผิดพลาด-- ก็คงจะเป็นตัวของเรานี้ **
หากว่าเราไม่ต้องไปไว้ใจใคร จนเกินความพอดี จนทำให้ลืมความพอดีนั้น ก็คงจะไม่ทำให้เราผิดหวังมากมาย
ฉะนั้น เราอย่าไปไว้ใจใคร จนมากเกินไปเลย-- จะดีที่สุด
ให้ทุกสิ่งทุกอย่าง อยู่ในความเป็นกลางๆ
ให้เราอยู่บนความไม่เที่ยงแท้.. ยอมรับความเป็นจริงของชีวิตว่า "สรรพสิ่งนั้นไม่เที่ยงแท้ "
-- อย่าไปตั้งมั่น ตั้งจิตตั้งใจไว้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งมันยังไม่มีความแน่นอนเลย.. จะดีกว่า --
เมื่อเราไม่ไว้ใจใครจนมากเกินความพอดี เราก็จะไม่ทุกข์ ใช่มั้ยลูก
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราก็จะไม่ทุกข์กับมันเท่าไหร่ …
/ เพราะว่า เราได้ปล่อยวางแล้ว
/ เพราะว่า เราได้เตรียมใจเอาไว้แล้ว
/ เพราะวา เรารู้แล้ว ว่ามันอาจต้องเป็นเช่นนั้น
แต่ก็อย่าโทษตนเองเลย เพราะในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีผิด ไม่มีถูก-- มีแต่การเรียนรู้เท่านั้นเอง.. ลูกเอ๋ย
สิ่งใดที่ผิดพลาดไปแล้ว เราก็อย่าเอาสิ่งที่ผิดพลาดนั้น มาทับถมเรา
เราจงเลือกเอาสิ่งผิดพลาด ที่มันมีบทเรียน มีสิ่งที่สอน ที่ซ่อนอยู่ในความผิดพลาดนั้น-- กลับมาเตือนตนเอง
แล้วบอกตนให้จงสร้าง จงทำแต่คุณงามความดี อยู่ในกรอบขอบเขตของการรู้จักปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น
ไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนมากเกินไป เพื่อตนนั้นจะได้ไม่ต้องผิดพลาดอีก จะได้ไม่ต้องทุกข์อีก.. ลูกเอ๋ย
ความเป็นจริงแล้วลูก แม้แต่ตัวเราเอง.. เราก็ยังไว้ใจเราไม่ได้เลย
เดี๋ยวก็วอกแวกไปทางนั้น.. เดี๋ยวก็วอกแวกไปทางนี้
... จิตใจนั้น วิ่งไปตามกระแสที่กระทบจากภายนอกมา อยู่เสมอๆ
ตัวเราเองบางที ยังไว้ใจเราไม่ได้เลย..ลูกเอ๋ย
มีอะไรเข้ามาสอบหน่อย ก็พลอยจะวิ่งตามสิ่งสอบนั้น-- จนทำให้เรายังไม่มีความแน่นอน แน่ใจในตนเองเลย
ฉะนั้น.. เราก็จงอย่าไว้ใจบุคคลผู้อื่น จนทำให้เราผิดหวัง ก็แล้วกัน
… เพราะเขาก็เหมือนกันกับเรานั่นแหละลูก.. ไม่มีอะไรเที่ยงแท้และแน่นอนหรอก
เขาก็เป็นดวงจิตที่ยังมีเชื้อของกิเลสและตัณหา ครอบงำอยู่ - เต็มอัตรา
เขาก็ย่อมต้องโลเล เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา พลิกแพลงได้ วิ่งตามสิ่งทดสอบได้ -- ด้วยจิตที่ยังไม่ฟอกจากกิเลส ตัณหานั้น เป็นธรรมดาอยู่แล้ว.. ลูกเอ๋ย
ฉะนั้นเรา.. ถ้าผิดหวังแล้ว เราก็เปลี่ยนใหม่ ทำใหม่
ให้มองให้เห็นความไม่เที่ยงแท้ แล้วเลิกไว้ใจบุคคลผู้อื่น..จนเกินความพอดี
คำว่า "เกินความพอดี" ก็คือ ไว้ใจแบบ...
- ไม่มีเบรคเลย
- ไม่มีเตือนตนเองเลย
- ไม่มีเผื่อใจเอาไว้เลย
... ถ้าเกิดว่าเราทำเช่นนั้น เราก็จะเป็นทุกข์
แต่คนเรา การอยู่ร่วมกัน-- ก็ต้องมีการไว้ใจกัน
การใช้ชีวิต หรือทำงานร่วมกัน อะไรก็ตาม-- ก็ต้องมีการไว้ใจซึ่งกันและกัน เป็นธรรมดา
แต่ถ้าเกิดเราไว้ใจกัน ก็ให้มีขอบเขตในการไว้ใจ คือ รู้จักปล่อยวางด้วย...
ไม่ใช่ไว้ใจ แล้วก็ไปยึดติดลุ่มหลงเอาไว้เช่นนั้น อย่างนั้น -- ก็อาจทำให้เราต้องกลับมาผิดหวังในภายหลัง
ลูกเอ๋ย.. สรรพสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงแท้ เชื้อกิเลสและตัณหานั้น ยังทำงานอยู่ในเราอยู่ในเขา ตลอดเวลา
ก็อาจโยกเยก เปลี่ยนแปลงได้ และที่สำคัญก็คือ **เราทุกคน-- ก็เกิดมาตามกรรมของตน**
บางทีเขาหมดรอบที่จะอยู่กับเรา หมดรอบที่จะร่วมงานกับเรา
เขาก็ต้องไปตามทางของเขา
เขาก็ต้องไปตามสิ่งที่เขาควรจะไป
-- ทีนี้เราจะโทษเขาก็ไม่ได้ โทษเราก็ไม่ได้ --
... ปล่อยทุกอย่างให้มันเป็นไปตามเหตุของเขาเถิดลูก
เราอย่าไปวิ่งตามเขาเลย อย่าไปดึงเอาไว้ให้ต้องเป็นอย่างเดิมเลย
จงอยู่กับปัจจุบัน อย่างมีสติ เถิดลูก..
/ อดีตผ่านไปแล้ว แก้ไขไม่ได้
/ อดีตผ่านไปแล้ว ช่างมันเถิด
... และสิ่งที่กำลังจะผ่านไป เราก็ยื้อเอาไว้ไม่ได้ ให้เหมือนเดิม คงเดิมตลอดไป
อนาคต.. เราก็เริ่มทำใหม่
ถ้าเกิดว่า เราเคยผิดพลาดมาในเรื่องใดแล้ว เราก็ริเริ่มใหม่ เริ่มต้นใหม่-- ในความผิดพลาดนั้น ที่เราเคยผิดพลาดไป
เราก็กลับมามีสติอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับปัจจุบัน ให้ระลึกรู้ถึงการปล่อยวางให้มากที่สุด
ฝึกฝนตน..
// อย่าไปฝากความหวังไว้กับสิ่งใด จนมากเกินไป
// อย่าไปฝากความไว้ใจกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด จนมากเกินไป
-- ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น ก็ล้วนแล้วแต่มีมา และมีไป.. เป็นธรรมดา --
แม้ตัวของเรานี้ ก็ยังไว้ใจไม่ได้เลย.. มันจะเสื่อมไป ดับไปวันไหนก็ไม่รู้
บางทีเราก็ว่า เราจะทำสิ่งนี้ให้ดีที่สุดเลย -- แต่พอถึงเวลานั้น เราก็ยังทำไม่ได้.. ใช่มั้ยลูก
ฉะนั้น.. แปลว่าตัวเราเอง ก็ยังไว้ใจตัวเราไม่ได้ --
อย่าไปโทษผู้อื่นแล้วทำให้เราเกิดกรรมเกิดความทุกข์ มีแต่คำว่า ทำไมๆ อยู่ในใจของเราเลย
ทุกสิ่งทุกอย่างมันมีความเป็นธรรมดา ความเป็นธรรมชาติของมันอยู่ในตัวของมันอยู่แล้ว
... เพียงแต่ว่าเราไม่ยอมรับความเป็นจริงต่างหากเล่า
ตัวเรานี้ก็เหมือนกัน.. ลูกเอ๋ย อย่าโทษเราเลย
สรรพสิ่งในเราก็ไม่นิ่ง ก็ไม่เที่ยงแท้ ก็มีตั้งขึ้นอยู่ และดับไปเหมือนกัน
สิ่งผิดพลาดไปแล้ว จงนำมาเป็น "บทเรียน"
จากนี้ไป เราเคยทุกข์เพราะเรื่องอะไร-- เราก็ละเลิกต่อเรื่องนั้น.. อย่าทำอีก
...ไม่ว่าจะเป็นการไว้ใจบุคคลผู้อื่นก็ตาม …
แล้วริเริ่มทำใหม่ เริ่มต้นชีวิตของเราในแบบใหม่ไป
โดยที่เรานี้อยู่กับปัจจุบัน อย่างมีสติ ไม่ไว้ใจอะไรจนมากเกินไป จนก่อเกิดความทุกข์ให้กับเราอีก
-- ชีวิตของเรา ก็จะได้ไม่ต้องกลับมาทุกข์อีก ลูกเอ๋ย –
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สรุปโดยจขกท. หลักๆก็อยู่ที่ความพอดี ไม่ไว้ใจมากไปหรือน้อยไป จนสร้างปัญหาและเป็นทุกข์ขึ้นมาได้
และถ้าจะโทษใครก็ไม่ควรไปโทษทั้งเขาหรือเราอันทำให้เกิดทุกข์อีก ให้นำสิ่งนั้นมาเป็นบทเรียน แก้ไข เปลี่ยนใหม่ ทำใหม่ ไม่ให้ทุกข์อีก ทางธรรมก็จะเน้นเรื่องการมีสติอยู่กับปัจจุบัน ระลึกรู้ถึงการปล่อยวางให้มากๆ การให้อภัย