โรคพาร์กินสัน เกิดจากการเสื่อมตายของเซลล์ในสมองที่มีส่วนในการผลิตสารเคมีในสมองที่ชื่อว่าโดปามีน
ส่งผลทำให้การทำงานที่ต่อเนื่องของสมองเกิดความผิดปกติ เกิดอาการสั่นและเคลื่อนไหวช้า
อาการส่วนใหญ่จะแสดงให้เห็นชัดเจนเมื่อจำนวนเซลล์ที่เสื่อมลดน้อยลงไปอย่างน้อย 60%จากปกติ
อาการและอาการแสดง
1. อาการสั่นขณะพัก การสั่นในผู้ป่วยพาร์กินสันจะมีลักษณะเฉพาะคือ สั่นมากเวลาอยู่นิ่งๆ
แต่หากมีการเคลื่อนไหว อาการสั่นจะลดลงหรือหายไป มักเกิดขึ้นที่มือข้างใดข้างหนึ่ง สังเกตได้จากมือจะสั่นเวลาเดิน
โดยที่มือจะมีลักษณะการสั่นเหมือนการปั้นยาเม็ดลูกกลอน
2. อาการแข็งเกร็ง มักมีอาการที่ข้อศอกที่งอขึ้นด้านใดด้านหนึ่ง มักจะเป็นด้านเดียวกันกับด้านที่มีอาการสั่น
3. การเคลื่อนไหวช้า ในช่วงแรกมักเกิดกับด้านเดียวกันกับด้านที่มีอาการสั่น มักเริ่มจากปลายนิ้วหรือ
ปลายเท้าก่อนแล้วค่อยๆมากลางลำตัว ผู้ป่วยจะเดินช้าและงุ่มง่าม
4. การทรงตัวไม่สมดุล มักไม่เกิดกับในผู้ป่วยระยะแรก แต่จะเกิดมีอาการแล้วประมาณ 2-5 ปี
ซึ่งผู้ป่วยจะมีการเดินหน้าแล้วถอยหลัง เดินเป็นก้าวเล็กๆ ซอยถี่ๆ ทำให้เสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่าย
การรักษาทางกายภาพบำบัด
การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยพาร์กินสัน จะเน้นให้ผู้ป่วยสามารถที่จะช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด
และมัลักษณะใกล้เคียงสภาวะปกติมากที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประวันแะสามารถเข้าสู่สังคมได้
ซึ่งการรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย เช่น การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว
การเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อในกรณีที่ผู้ป่วยมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ การเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวในระยางค์ต่างๆของร่างกาย
ในกรณีที่มีข้อติดแข็ง หรือจะเป็นการเพิ่มความสมดุลของร่างกายทั้งท่านั่งและท่ายืน เป็นต้น
บทความโดยฟิสิคอลคลินิก
การทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
ส่งผลทำให้การทำงานที่ต่อเนื่องของสมองเกิดความผิดปกติ เกิดอาการสั่นและเคลื่อนไหวช้า
อาการส่วนใหญ่จะแสดงให้เห็นชัดเจนเมื่อจำนวนเซลล์ที่เสื่อมลดน้อยลงไปอย่างน้อย 60%จากปกติ
อาการและอาการแสดง
1. อาการสั่นขณะพัก การสั่นในผู้ป่วยพาร์กินสันจะมีลักษณะเฉพาะคือ สั่นมากเวลาอยู่นิ่งๆ
แต่หากมีการเคลื่อนไหว อาการสั่นจะลดลงหรือหายไป มักเกิดขึ้นที่มือข้างใดข้างหนึ่ง สังเกตได้จากมือจะสั่นเวลาเดิน
โดยที่มือจะมีลักษณะการสั่นเหมือนการปั้นยาเม็ดลูกกลอน
2. อาการแข็งเกร็ง มักมีอาการที่ข้อศอกที่งอขึ้นด้านใดด้านหนึ่ง มักจะเป็นด้านเดียวกันกับด้านที่มีอาการสั่น
3. การเคลื่อนไหวช้า ในช่วงแรกมักเกิดกับด้านเดียวกันกับด้านที่มีอาการสั่น มักเริ่มจากปลายนิ้วหรือ
ปลายเท้าก่อนแล้วค่อยๆมากลางลำตัว ผู้ป่วยจะเดินช้าและงุ่มง่าม
4. การทรงตัวไม่สมดุล มักไม่เกิดกับในผู้ป่วยระยะแรก แต่จะเกิดมีอาการแล้วประมาณ 2-5 ปี
ซึ่งผู้ป่วยจะมีการเดินหน้าแล้วถอยหลัง เดินเป็นก้าวเล็กๆ ซอยถี่ๆ ทำให้เสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่าย
การรักษาทางกายภาพบำบัด
การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยพาร์กินสัน จะเน้นให้ผู้ป่วยสามารถที่จะช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด
และมัลักษณะใกล้เคียงสภาวะปกติมากที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประวันแะสามารถเข้าสู่สังคมได้
ซึ่งการรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย เช่น การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว
การเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อในกรณีที่ผู้ป่วยมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ การเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวในระยางค์ต่างๆของร่างกาย
ในกรณีที่มีข้อติดแข็ง หรือจะเป็นการเพิ่มความสมดุลของร่างกายทั้งท่านั่งและท่ายืน เป็นต้น
บทความโดยฟิสิคอลคลินิก