เปิดคำแปล ศัพท์ยาก "พี่โทนี่" ที่ "ทักษิณ ชินวัตร" สปีกรัวๆ ใน Clubhouse
https://www.khaosod.co.th/politics/news_6068518
เปิดคำแปล ศัพท์ยาก “Tony Woodsome” ที่ “ทักษิณ ชินวัตร” สปีกรัวๆ ใน Clubhouse ที่มาร่วมพูดคุยในหัวข้อ “SMEs มีปัญหา ปรึกษา พี่โทนี่”
จากกรณี เมื่อวันที่ 2 มี.ค. กลุ่ม
CARE คิดเคลื่อนไทย เปิดห้องผ่านแอเพลิเคชั่น Clubhouse โดยได้เชิญ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาร่วมพูดคุยในหัวข้อ “
SMEs มีปัญหา ปรึกษา พี่โทนี่” โดยมีผู้รับฟังผ่านคลับเฮ้าส์ในห้องหลักกว่า 8 พันคนภายใน 2 นาที จากนั้นมีการถ่ายทอดเสียงไปยังห้องอื่นๆ รวมถึงในเฟซบุ๊ก ซึ่งมีผู้ร่วมรับฟังรวมกว่าแสนคน โดยมี โดยมี นพ.
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกฯ ,
ดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิกชื่อดัง ,
ธีรัตถ์ รัตนเสวี ร่วมเป็นพิธีกรดำเนินรายการ
ทั้งนี้ นาย
ทักษิณ ในชื่อแอคเคาน์ว่า Tony Woodsome เริ่มเล่าถึงชีวิตในอดีตจากการทำธุรกิจล้มเหลว พร้อมทั้งเปิดให้ถามตอบ เรื่องการทำธุรกิจ รวมถึงเรื่อง SMEs และประสบการณ์การทำธุรกิจที่ผ่านมา โดยมีผู้สนใจรับชม ในแพลตฟอร์มต่างๆ ทั้งคลับเฮาส์ เฟซบุ๊ก และยูทูป กว่าแสนคน โดยในระหว่างการสนทนานั้น พบว่า นาย
ทักษิณ มีการใช้คำศัพท์ทางธุรกิจ ที่เป็นภาษาอังกฤษ เป็นจำนวนมาก
ต่อมา เพจเฟซบุ๊ก
CARE คิดเคลื่อนไทย ได้รบรวมคำศัทพ์ต่างๆ ประมาณ 12 ภาพ พร้อมแปลเป็นภาษาไทยเพื่อให้เข้าใจง่าย พร้อมกับแคปชั่นอธิบาย โดยระบุว่า
ในระหว่างการพูดคุยใน Clubhouse วันก่อน จะเห็นว่าพี่โทนี่ได้ใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ไว้อยู่หลายจุดหลายคำ ซึ่งอาจจะยังมีเพื่อนสมาชิกของพวกเราหลายคนสับสนและอาจจะไม่เข้าใจ ว่า เอ๊ะ…!! มันหมายความว่าอะไร ซึ่งอาจจะรวมถึง…คนนั้นด้วย (ไม่พูดดีกว่า)
โอเค นัมเบอร์วัน!! ดังนั้น วันนี้พวกเรากลุ่มแคร์ เลยขอเลือกคำศัพท์และสำนวนภาษาอังกฤษที่น่าสนใจบางคำของพี่โทนี่มานำเสนอให้เพื่อนสมาชิกทุกๆ คน ได้ทำความเข้าใจกันว่า คำศัพท์ที่พี่โทนี่พูดในวันนั้นมีความหมายว่าอย่างไร
อ่านเต็มๆ ได้ที่ด้านล่าง
https://www.facebook.com/careorth/posts/276299637455067
วิกฤติอ้อย-น้ำตาลไทย ราคาร่วง ส่งออกวูบ ผลผลิตหายรุนแรง
https://www.thansettakij.com/content/columnist/470779
หลายคนตั้งคำถามถึงสถานการณ์อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยนับจากนี้ไปจะต้องเผชิญกับโจทย์หินด้านใดบ้าง ถือเป็นคำถามที่น่าติดตามและเป็นข้อกังวลของผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย “นายบัญชา คันธชุมภู” ที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2564 หลังจากผ่านประสบการณ์การทำงานที่สำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายมาตั้งแต่ปี 2530
3 ปัญหาน่าห่วง
นายบัญชา มองว่า ฤดูการผลิตอ้อยปี 2563/2564 มี 3 สิ่งหลักที่น่าห่วงคือ
1.
ปัญหาเรื่องภาระหนี้เงินชดเชยฤดูการผลิตปี 2561/2562 จำนวน 3,948.91 ล้านบาท หากยังไม่มีข้อยุติจะส่งผลกระทบต่อการบริหารรายได้ของกองทุนที่จะเรียกเก็บจากระบบ
2.
การลดลงของปริมาณอ้อย ประเทศไทยเคยมีปริมาณอ้อยเข้าหีบสู่โรงงานน้ำตาลสูงสุดในปี 2560/2561 ถึง 134.93 ล้านตัน หลังจากนั้นก็ลดต่ำลงตามลำดับ ดังนี้ ฤดูการผลิตปี 2561/2562 ปริมาณอ้อยลดลง เหลือ130.97 ล้านตัน ฤดูการผลิตปี 2562/2563 เหลือ 74.89 ล้านตัน และฤดูการผลิตปี 2563/2564 ประมาณการว่าจะลดลงมาเหลือเพียง 65.00 ล้านตัน
“
ปัญหาที่ปริมาณอ้อยลดลงอย่างต่อนื่อง มีปัจจัยสำคัญจากปัญหาภัยแล้งรุนแรงซ้ำเติมด้วยราคาอ้อยตกต่ำมาตั้งแต่ปี 2560/2561 ราคา 790.62 บาทต่อตัน และปี 2561/2562 ลดลงเหลือ 680.44 บาทต่อตัน (ราคาที่ 10 C.C.S) มีส่วนทำให้ชาวไร่อ้อยส่วนหนึ่งไม่มั่นใจและหันไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า”
3.
ปริมาณอ้อยที่ลดลงผลกระทบที่ตามมาคือเมื่อปริมาณอ้อยลดลงเราก็ผลิตน้ำตาลได้น้อยลง รายได้ของระบบก็ลดลงส่งผลให้รายได้ของกองทุนลดลงตามไปด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินด้วย ที่น่าจับตาไทยเคยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก แต่การส่งออกน้ำตาลของไทยย้อนหลัง 5 ปี ลดลงต่อเนื่องปริมาณอ้อยลดลงรุนแรง
จากปริมาณ 130.97 ล้านตัน ในปี 2561/2562 เหลือ 74.89 ล้านตัน ในปี 2562/2563 และในปี 2563/2564 น่าจะอยู่ราว ๆ 65 ล้านตัน ต้องถือว่าเป็นการลดลงในระดับที่รุนแรงมาก และจากการได้พบปะพูดคุยกับผู้นำชาวไร่อ้อยหลายๆ คน เห็นว่าอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป ในการเรียกความมั่นใจของชาวไร่อ้อยคืนมาเพื่อให้มีอ้อยเข้าหีบในระดับ 100 ล้านตันต่อปี
อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวเห็นว่าจำนวนโรงงานน้ำตาลในขณะนี้ 57 โรงงานเพียงพอแล้ว ปริมาณอ้อยที่ลดลงจะส่งผลให้มีปริมาณอ้อยไม่เพียงพอต่อกำลังหีบของโรงงานและจะเกิดการแย่งอ้อยกัน ซึ่งไม่เป็นผลดีกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ดังนั้นการแก้ปัญหาต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือต้องสร้างความมั่นใจให้กับชาวไร่อ้อยโดยเฉพาะเรื่องของราคาอ้อยซึ่งต้องคุ้มกับต้นทุน ความมั่นคงของอาชีพการเกษตรชาวไร่อ้อย ความมั่นคงของระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และความมีเสถียรภาพของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย เมื่อชาวไร่อ้อยมีความมั่นใจ ในอาชีพนี้ก็จะมีปริมาณอ้อยเข้าหีบมากเช่นหลายปีก่อน
เร่งจ่ายชดเชยส่วนต่าง
นาย
บัญชา กล่าวถึง ภารกิจที่ต้องเร่งสานต่อนับจากนี้ คือ
1.การจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างราคาอ้อยและผลตอบแทนการผลิตฯ ฤดูการผลิตปี 2560/2561-2561/2562 ให้แก่โรงงานน้ำตาล ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 56 กรณีที่ราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและการจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้ายต่ำกว่าราคาอ้อยขั้นต้น และผลตอบแทนการผลิตและการจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย จ่ายเงินชดเชยให้แก่โรงงานน้ำตาลเท่ากับส่วนต่างดังกล่าว แต่ชาวไร่อ้อยไม่ต้องส่งคืนค่าอ้อยที่ได้รับเกินในฤดูการผลิตปี 2560/2561-2561/2562 ที่กองทุนมีภาระตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายชดเชยส่วนต่างดังกล่าวให้แก่โรงงานน้ำตาล 57 บริษัททั่วประเทศ ในวงเงินรวมทั้ง 2 ปี สูงถึง 23,880.21 ล้านบาท
“
ขณะนี้ได้ดำเนินการจ่ายเงินชดเชยไปแล้ว 19,931.30 ล้านบาท คงเหลืออีก 3,948.91 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินชดเชยของฤดูการผลิตปี 2561/2562 อยู่ระหว่างนำเสนอต่อคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (บอร์ด กอน.) พิจารณาเพื่อเสนอต่อ ครม.อนุมัติให้กองทุนกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ มาจ่ายหรือให้เป็นเครดิตโรงงาน โดยใช้เงินรายได้ของกองทุนในอนาคตทยอยจ่ายเป็นปีๆ ไปจนกว่าจะเสร็จสิ้น
2.
ภาระหนี้เงินกู้ที่มีต่อ บมจ. ธนาคารกรุงไทย เป็นภาระหนี้ที่เกิดขึ้นตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 ที่ได้อนุมัติให้กองทุนกู้เงินจาก บมจ. ธนาคารกรุงไทย จำนวน 15,047.53 ล้านบาท เพื่อนำมาช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อยจากสภาวะภัยแล้งในฤดูการผลิตปี 2558/2559 ในอัตรา 160 บาทต่อตัน โดยใช้รายได้ของกองทุนที่ได้รับจากการจำหน่ายน้ำตาลทรายในประเทศ (โควตา ก.) 5 บาทต่อกิโลกรัม เป็นรายได้ในการชำระหนี้ ต่อมาเมื่อ 15 มกราคม 2561 รัฐบาลลอยตัวราคาน้ำตาลทรายและยกเลิกระบบโควตาน้ำตาลทั้งหมด จึงไม่มีรายได้ส่วนนี้เข้ากองทุนอีก กองทุนจึงต้องใช้รายได้ส่วนอื่นชำระหนี้ไปก่อน และได้ขอรัฐบาลอุดหนุน
โดยเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ครม.มีมติสนับสนุนงบประมาณให้กองทุนฯผ่านกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อการชำระหนี้ส่วนที่เหลือจำนวน 2,085.16 ล้านบาท โดยการจัดสรรงบประมาณให้ปีละ 350 ล้านบาท ซึ่งจะสามารถชำระหนี้เงินกู้ได้เสร็จสิ้นในปี 2569 ภาระหนี้ข้างต้นกองทุนจะต้องรับภาระในส่วนของดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี ตลอดทั้งสัญญา (ปี 2564-2569) เป็นเงินประมาณ 255 ล้านบาท
“นอกจากนี้เป็นเรื่องการบริหารรายได้รายจ่ายของกองทุน กองทุนอ้อยและน้ำตาลเพื่อศึกษา วิจัย พัฒนา และส่งเสริมการผลิตการใช้และการจำหน่าย การรักษาเสถียรภาพอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อผลประโยชน์ของชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล ซึ่งตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2542/2543 เป็นต้นมาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องพร้อม ๆ กับการขยายตัวของอุตสาห กรรมนี้ โดยปัจจุบันรายได้ไม่สมดุลกับรายจ่าย แค่ภาระในการจ่ายเงินชดเชยแค่รายการเดียวที่สูงถึงสองหมื่นกว่าล้านบาท ขณะที่รายได้ต่อปีของกองทุนได้รับอยู่ประมาณ 2,500 ล้านบาท จากการเรียกเก็บเงินตามมาตรา 57 เงินค่าธรรมเนียมการวิจัย และเงินตามระเบียบ กอน. 20 บาทต่อตัน ทั้งนี้สาเหตุที่เรียกเก็บได้น้อยเพราะปริมาณอ้อยเข้าหีบน้อยลง
“
สรุปสถานะของกองทุนในปัจจุบันเป็นลูกหนี้เงินกู้ บมจ. ธนาคารกรุงไทย 2,085.16 ล้านบาท และเป็นลูกหนี้เงินชดเชยโรงงานน้ำตาล 3,948.91 ล้านบาท โดยภาระหนี้ส่วนแรก รัฐสนับสนุนงบประมาณเพื่อการชำระหนี้ให้แล้วปีละ 350 ล้านบาท และภาระหนี้ส่วนที่สอง อยู่ระหว่างเสนอ กอน. เพื่อพิจารณาแนวทางการชำระหนี้ว่าจะกู้จากธนาคารพาณิชย์หรือให้เป็นเครดิตโรงงาน อย่างไรก็ตามในปี 2564 กองทุนยังมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอต่อการใช้จ่ายในการบริหารงานของสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.)”
แห่อาลัย แจ่สิ่น สาวเมียนมาอายุ 19 ถูกยิงดับขณะชุมนุม พบป้ายขอบริจาคร่างกายทุกส่วน
https://www.sanook.com/news/8353670/
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเมียนมาและต่างประเทศ ร่วมไว้อาลัยให้กับนางสาว
แจ่ สิ่น อายุ 19 ปี ที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐยิงเสียชีวิต ขณะชุมนุมต่อต้านรัฐประหารในเมืองมัณฑะเลย์ของเมียนมา เมื่อวันพุธ (3 มี.ค.)
นอกจากนี้ ยังพบป้ายที่นางสาว
แจ่ สิ่น เขียนระบุกรุ๊ปเลือดของตน ส่วนอีกด้านหนึ่งของป้ายระบุว่า ถ้าตนไม่มีชีวิตแล้ว ก็ขอบริจาคร่างกายทุกส่วน
นางสาว
แจ่ สิ่น เป็นหนึ่งใน 38 คน ที่องค์การสหประชาชาติระบุว่าเสียชีวิตระหว่างการชุมนุมในหลายเมืองทั่วประเทศเฉพาะเมื่อวันพุธ (3 มี.ค.) เพียงวันเดียว ส่วนผู้อยู่ในเหตุการณ์หลายคน เผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ตำรวจใช้กระสุนจริงสลายการชุมนุมและแทบไม่ได้เตือนว่าจะใช้กระสุนจริงเลย
ส่วนเมื่อวันพฤหัสบดี (4 มี.ค.) ผู้ชุมนุมหลายคน ก็ร่วมเดินขบวนขนย้ายโลงศพของนางสาว
แจ่ สิ่น ไปยังสถานฌาปกิจเอเย่เหง่งในนครมัณฑะเลย์ ซึ่งระหว่างทางมีประชาชนตาม 2 ข้างทางมายืนชู 3 นิ้วและปรบมือให้เป็นระยะ
JJNY : 5in1 แปลศัพท์ยาก"พี่โทนี่"│วิกฤติอ้อย-น้ำตาล│แห่อาลัยแจ่สิ่น สาวเมียนมา│ภท.ชำแหละค่ารถไฟฟ้า│ชินวรณ์เปรียบแก้รธน.
https://www.khaosod.co.th/politics/news_6068518
เปิดคำแปล ศัพท์ยาก “Tony Woodsome” ที่ “ทักษิณ ชินวัตร” สปีกรัวๆ ใน Clubhouse ที่มาร่วมพูดคุยในหัวข้อ “SMEs มีปัญหา ปรึกษา พี่โทนี่”
จากกรณี เมื่อวันที่ 2 มี.ค. กลุ่ม CARE คิดเคลื่อนไทย เปิดห้องผ่านแอเพลิเคชั่น Clubhouse โดยได้เชิญ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาร่วมพูดคุยในหัวข้อ “SMEs มีปัญหา ปรึกษา พี่โทนี่” โดยมีผู้รับฟังผ่านคลับเฮ้าส์ในห้องหลักกว่า 8 พันคนภายใน 2 นาที จากนั้นมีการถ่ายทอดเสียงไปยังห้องอื่นๆ รวมถึงในเฟซบุ๊ก ซึ่งมีผู้ร่วมรับฟังรวมกว่าแสนคน โดยมี โดยมี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกฯ , ดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิกชื่อดัง ,
ธีรัตถ์ รัตนเสวี ร่วมเป็นพิธีกรดำเนินรายการ
ทั้งนี้ นายทักษิณ ในชื่อแอคเคาน์ว่า Tony Woodsome เริ่มเล่าถึงชีวิตในอดีตจากการทำธุรกิจล้มเหลว พร้อมทั้งเปิดให้ถามตอบ เรื่องการทำธุรกิจ รวมถึงเรื่อง SMEs และประสบการณ์การทำธุรกิจที่ผ่านมา โดยมีผู้สนใจรับชม ในแพลตฟอร์มต่างๆ ทั้งคลับเฮาส์ เฟซบุ๊ก และยูทูป กว่าแสนคน โดยในระหว่างการสนทนานั้น พบว่า นายทักษิณ มีการใช้คำศัพท์ทางธุรกิจ ที่เป็นภาษาอังกฤษ เป็นจำนวนมาก
ต่อมา เพจเฟซบุ๊ก CARE คิดเคลื่อนไทย ได้รบรวมคำศัทพ์ต่างๆ ประมาณ 12 ภาพ พร้อมแปลเป็นภาษาไทยเพื่อให้เข้าใจง่าย พร้อมกับแคปชั่นอธิบาย โดยระบุว่า
ในระหว่างการพูดคุยใน Clubhouse วันก่อน จะเห็นว่าพี่โทนี่ได้ใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ไว้อยู่หลายจุดหลายคำ ซึ่งอาจจะยังมีเพื่อนสมาชิกของพวกเราหลายคนสับสนและอาจจะไม่เข้าใจ ว่า เอ๊ะ…!! มันหมายความว่าอะไร ซึ่งอาจจะรวมถึง…คนนั้นด้วย (ไม่พูดดีกว่า)
โอเค นัมเบอร์วัน!! ดังนั้น วันนี้พวกเรากลุ่มแคร์ เลยขอเลือกคำศัพท์และสำนวนภาษาอังกฤษที่น่าสนใจบางคำของพี่โทนี่มานำเสนอให้เพื่อนสมาชิกทุกๆ คน ได้ทำความเข้าใจกันว่า คำศัพท์ที่พี่โทนี่พูดในวันนั้นมีความหมายว่าอย่างไร
อ่านเต็มๆ ได้ที่ด้านล่าง
https://www.facebook.com/careorth/posts/276299637455067
วิกฤติอ้อย-น้ำตาลไทย ราคาร่วง ส่งออกวูบ ผลผลิตหายรุนแรง
https://www.thansettakij.com/content/columnist/470779
หลายคนตั้งคำถามถึงสถานการณ์อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยนับจากนี้ไปจะต้องเผชิญกับโจทย์หินด้านใดบ้าง ถือเป็นคำถามที่น่าติดตามและเป็นข้อกังวลของผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย “นายบัญชา คันธชุมภู” ที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2564 หลังจากผ่านประสบการณ์การทำงานที่สำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายมาตั้งแต่ปี 2530
3 ปัญหาน่าห่วง
นายบัญชา มองว่า ฤดูการผลิตอ้อยปี 2563/2564 มี 3 สิ่งหลักที่น่าห่วงคือ
1. ปัญหาเรื่องภาระหนี้เงินชดเชยฤดูการผลิตปี 2561/2562 จำนวน 3,948.91 ล้านบาท หากยังไม่มีข้อยุติจะส่งผลกระทบต่อการบริหารรายได้ของกองทุนที่จะเรียกเก็บจากระบบ
2. การลดลงของปริมาณอ้อย ประเทศไทยเคยมีปริมาณอ้อยเข้าหีบสู่โรงงานน้ำตาลสูงสุดในปี 2560/2561 ถึง 134.93 ล้านตัน หลังจากนั้นก็ลดต่ำลงตามลำดับ ดังนี้ ฤดูการผลิตปี 2561/2562 ปริมาณอ้อยลดลง เหลือ130.97 ล้านตัน ฤดูการผลิตปี 2562/2563 เหลือ 74.89 ล้านตัน และฤดูการผลิตปี 2563/2564 ประมาณการว่าจะลดลงมาเหลือเพียง 65.00 ล้านตัน
“ปัญหาที่ปริมาณอ้อยลดลงอย่างต่อนื่อง มีปัจจัยสำคัญจากปัญหาภัยแล้งรุนแรงซ้ำเติมด้วยราคาอ้อยตกต่ำมาตั้งแต่ปี 2560/2561 ราคา 790.62 บาทต่อตัน และปี 2561/2562 ลดลงเหลือ 680.44 บาทต่อตัน (ราคาที่ 10 C.C.S) มีส่วนทำให้ชาวไร่อ้อยส่วนหนึ่งไม่มั่นใจและหันไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า”
3. ปริมาณอ้อยที่ลดลงผลกระทบที่ตามมาคือเมื่อปริมาณอ้อยลดลงเราก็ผลิตน้ำตาลได้น้อยลง รายได้ของระบบก็ลดลงส่งผลให้รายได้ของกองทุนลดลงตามไปด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินด้วย ที่น่าจับตาไทยเคยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก แต่การส่งออกน้ำตาลของไทยย้อนหลัง 5 ปี ลดลงต่อเนื่องปริมาณอ้อยลดลงรุนแรง
จากปริมาณ 130.97 ล้านตัน ในปี 2561/2562 เหลือ 74.89 ล้านตัน ในปี 2562/2563 และในปี 2563/2564 น่าจะอยู่ราว ๆ 65 ล้านตัน ต้องถือว่าเป็นการลดลงในระดับที่รุนแรงมาก และจากการได้พบปะพูดคุยกับผู้นำชาวไร่อ้อยหลายๆ คน เห็นว่าอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป ในการเรียกความมั่นใจของชาวไร่อ้อยคืนมาเพื่อให้มีอ้อยเข้าหีบในระดับ 100 ล้านตันต่อปี
อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวเห็นว่าจำนวนโรงงานน้ำตาลในขณะนี้ 57 โรงงานเพียงพอแล้ว ปริมาณอ้อยที่ลดลงจะส่งผลให้มีปริมาณอ้อยไม่เพียงพอต่อกำลังหีบของโรงงานและจะเกิดการแย่งอ้อยกัน ซึ่งไม่เป็นผลดีกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ดังนั้นการแก้ปัญหาต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือต้องสร้างความมั่นใจให้กับชาวไร่อ้อยโดยเฉพาะเรื่องของราคาอ้อยซึ่งต้องคุ้มกับต้นทุน ความมั่นคงของอาชีพการเกษตรชาวไร่อ้อย ความมั่นคงของระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และความมีเสถียรภาพของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย เมื่อชาวไร่อ้อยมีความมั่นใจ ในอาชีพนี้ก็จะมีปริมาณอ้อยเข้าหีบมากเช่นหลายปีก่อน
เร่งจ่ายชดเชยส่วนต่าง
นายบัญชา กล่าวถึง ภารกิจที่ต้องเร่งสานต่อนับจากนี้ คือ
1.การจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างราคาอ้อยและผลตอบแทนการผลิตฯ ฤดูการผลิตปี 2560/2561-2561/2562 ให้แก่โรงงานน้ำตาล ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 56 กรณีที่ราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและการจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้ายต่ำกว่าราคาอ้อยขั้นต้น และผลตอบแทนการผลิตและการจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย จ่ายเงินชดเชยให้แก่โรงงานน้ำตาลเท่ากับส่วนต่างดังกล่าว แต่ชาวไร่อ้อยไม่ต้องส่งคืนค่าอ้อยที่ได้รับเกินในฤดูการผลิตปี 2560/2561-2561/2562 ที่กองทุนมีภาระตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายชดเชยส่วนต่างดังกล่าวให้แก่โรงงานน้ำตาล 57 บริษัททั่วประเทศ ในวงเงินรวมทั้ง 2 ปี สูงถึง 23,880.21 ล้านบาท
“ขณะนี้ได้ดำเนินการจ่ายเงินชดเชยไปแล้ว 19,931.30 ล้านบาท คงเหลืออีก 3,948.91 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินชดเชยของฤดูการผลิตปี 2561/2562 อยู่ระหว่างนำเสนอต่อคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (บอร์ด กอน.) พิจารณาเพื่อเสนอต่อ ครม.อนุมัติให้กองทุนกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์ มาจ่ายหรือให้เป็นเครดิตโรงงาน โดยใช้เงินรายได้ของกองทุนในอนาคตทยอยจ่ายเป็นปีๆ ไปจนกว่าจะเสร็จสิ้น
2. ภาระหนี้เงินกู้ที่มีต่อ บมจ. ธนาคารกรุงไทย เป็นภาระหนี้ที่เกิดขึ้นตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 ที่ได้อนุมัติให้กองทุนกู้เงินจาก บมจ. ธนาคารกรุงไทย จำนวน 15,047.53 ล้านบาท เพื่อนำมาช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อยจากสภาวะภัยแล้งในฤดูการผลิตปี 2558/2559 ในอัตรา 160 บาทต่อตัน โดยใช้รายได้ของกองทุนที่ได้รับจากการจำหน่ายน้ำตาลทรายในประเทศ (โควตา ก.) 5 บาทต่อกิโลกรัม เป็นรายได้ในการชำระหนี้ ต่อมาเมื่อ 15 มกราคม 2561 รัฐบาลลอยตัวราคาน้ำตาลทรายและยกเลิกระบบโควตาน้ำตาลทั้งหมด จึงไม่มีรายได้ส่วนนี้เข้ากองทุนอีก กองทุนจึงต้องใช้รายได้ส่วนอื่นชำระหนี้ไปก่อน และได้ขอรัฐบาลอุดหนุน
โดยเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ครม.มีมติสนับสนุนงบประมาณให้กองทุนฯผ่านกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อการชำระหนี้ส่วนที่เหลือจำนวน 2,085.16 ล้านบาท โดยการจัดสรรงบประมาณให้ปีละ 350 ล้านบาท ซึ่งจะสามารถชำระหนี้เงินกู้ได้เสร็จสิ้นในปี 2569 ภาระหนี้ข้างต้นกองทุนจะต้องรับภาระในส่วนของดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี ตลอดทั้งสัญญา (ปี 2564-2569) เป็นเงินประมาณ 255 ล้านบาท
“นอกจากนี้เป็นเรื่องการบริหารรายได้รายจ่ายของกองทุน กองทุนอ้อยและน้ำตาลเพื่อศึกษา วิจัย พัฒนา และส่งเสริมการผลิตการใช้และการจำหน่าย การรักษาเสถียรภาพอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อผลประโยชน์ของชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล ซึ่งตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2542/2543 เป็นต้นมาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องพร้อม ๆ กับการขยายตัวของอุตสาห กรรมนี้ โดยปัจจุบันรายได้ไม่สมดุลกับรายจ่าย แค่ภาระในการจ่ายเงินชดเชยแค่รายการเดียวที่สูงถึงสองหมื่นกว่าล้านบาท ขณะที่รายได้ต่อปีของกองทุนได้รับอยู่ประมาณ 2,500 ล้านบาท จากการเรียกเก็บเงินตามมาตรา 57 เงินค่าธรรมเนียมการวิจัย และเงินตามระเบียบ กอน. 20 บาทต่อตัน ทั้งนี้สาเหตุที่เรียกเก็บได้น้อยเพราะปริมาณอ้อยเข้าหีบน้อยลง
“สรุปสถานะของกองทุนในปัจจุบันเป็นลูกหนี้เงินกู้ บมจ. ธนาคารกรุงไทย 2,085.16 ล้านบาท และเป็นลูกหนี้เงินชดเชยโรงงานน้ำตาล 3,948.91 ล้านบาท โดยภาระหนี้ส่วนแรก รัฐสนับสนุนงบประมาณเพื่อการชำระหนี้ให้แล้วปีละ 350 ล้านบาท และภาระหนี้ส่วนที่สอง อยู่ระหว่างเสนอ กอน. เพื่อพิจารณาแนวทางการชำระหนี้ว่าจะกู้จากธนาคารพาณิชย์หรือให้เป็นเครดิตโรงงาน อย่างไรก็ตามในปี 2564 กองทุนยังมีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอต่อการใช้จ่ายในการบริหารงานของสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.)”
แห่อาลัย แจ่สิ่น สาวเมียนมาอายุ 19 ถูกยิงดับขณะชุมนุม พบป้ายขอบริจาคร่างกายทุกส่วน
https://www.sanook.com/news/8353670/
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเมียนมาและต่างประเทศ ร่วมไว้อาลัยให้กับนางสาวแจ่ สิ่น อายุ 19 ปี ที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐยิงเสียชีวิต ขณะชุมนุมต่อต้านรัฐประหารในเมืองมัณฑะเลย์ของเมียนมา เมื่อวันพุธ (3 มี.ค.)
นอกจากนี้ ยังพบป้ายที่นางสาวแจ่ สิ่น เขียนระบุกรุ๊ปเลือดของตน ส่วนอีกด้านหนึ่งของป้ายระบุว่า ถ้าตนไม่มีชีวิตแล้ว ก็ขอบริจาคร่างกายทุกส่วน
นางสาวแจ่ สิ่น เป็นหนึ่งใน 38 คน ที่องค์การสหประชาชาติระบุว่าเสียชีวิตระหว่างการชุมนุมในหลายเมืองทั่วประเทศเฉพาะเมื่อวันพุธ (3 มี.ค.) เพียงวันเดียว ส่วนผู้อยู่ในเหตุการณ์หลายคน เผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ตำรวจใช้กระสุนจริงสลายการชุมนุมและแทบไม่ได้เตือนว่าจะใช้กระสุนจริงเลย
ส่วนเมื่อวันพฤหัสบดี (4 มี.ค.) ผู้ชุมนุมหลายคน ก็ร่วมเดินขบวนขนย้ายโลงศพของนางสาวแจ่ สิ่น ไปยังสถานฌาปกิจเอเย่เหง่งในนครมัณฑะเลย์ ซึ่งระหว่างทางมีประชาชนตาม 2 ข้างทางมายืนชู 3 นิ้วและปรบมือให้เป็นระยะ