ครึ่งปีหลังอ้อยล้นราคาดิ่ง จี้รัฐแก้ปมชดเชยส่วนต่างค่าอ้อย หวั่น พ.ร.บ.อ้อยฯ คลอดไม่ทันเปิดหีบปี’61/62 ต้องใช้กฎหมายเก่า เสี่ยงถูกฟ้อง WTO ซ้ำอีก
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการ บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) ในฐานะนายกสมาคมผู้ผลิตเอทานอลไทย และประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาล เปิดเผยว่า แนวโน้มน้ำตาลโลกครึ่งปีหลัง (ก.ค.-ธ.ค. 2561) จะมีผลผลิต 45 ล้านตัน มากกว่าความต้องการ (over supply) ส่งผลให้ราคามีแนวโน้มลดลง
พร้อมกันนี้ 3 สมาคมขอให้รัฐหาแนวทางชดเชยส่วนต่างราคาอ้อย หลังจากประกาศลอยตัวน้ำตาลเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2561 ราคาอ้อยขั้นสุดท้ายที่ตันละ 780 บาท แต่ราคาอ้อยปีการผลิต “60/61 ที่ประกาศตันละ 880 บาท ทำให้มีส่วนต่างราคาตันละ 100 บาท หากคิดรวมมูลค่าส่วนต่างจากปริมาณอ้อยที่เข้าหีบทั้งฤดูกาล จะมีส่วนต่างถึง 13,489 ล้านบาท ขณะที่เงินกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายมีเพียง 9,000 ล้านบาทเท่านั้นดังนั้น อาจต้องใช้วิธีกู้จากธนาคารกรุงไทย หรือออกพันธบัตร เพื่อนำมาชดเชยคืนให้กับโรงงานน้ำตาล
ส่วนความคืบหน้าของ ร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย แม้ว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของกฤษฎีกาแล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่อง “ผลพลอยได้” อาจทำให้กฎหมายเสร็จไม่ทันฤดูการผลิตเปิดหีบปี”61/62 ต้องกลับไปใช้ พ.ร.บ.อ้อยฯ ฉบับเก่า ซึ่งรัฐต้องกลับมาอุดหนุน โดยให้กลไกของกองทุนอ้อยฯ นำเงินมาชดเชยให้กับโรงงาน เสี่ยงที่บราซิลรวมถึงออสเตรเลีย และกัวเตมาลาจะร่วมฟ้องไทยต่อองค์การการค้าโลก (WTO)
“ไม่แน่ใจว่าสุดท้าย ร่าง พ.ร.บ.อ้อยฯ จะเป็นแบบไหน สมาคมยอมรับได้ทุกเรื่องยกเว้นเรื่องผลพลอยได้ เพราะไม่ใช่แค่อ้อยที่ได้เป็นน้ำตาล แต่ชาวไร่ยังขอปันผลประโยชน์จากผลพลอยได้ที่มาจากกากน้ำตาล ซึ่งเราจะไม่ยอมหากกฤษฎีกาตีความให้เป็นไปตามที่ชาวไร่ขอ ก็จะขอไปสู้คัดค้านตอนที่เรียกชี้แจง”
นายวิบูลย์ ผาณิตวงศ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัทไทยชูการ์ฯ กล่าวว่า ขณะนี้ยังเหลือโรงงานอ้อยสระบุรีเพียง 1 โรง จากทั้งหมด 54 โรงที่ยังไม่ปิดหีบ หากครบทั้งหมดปีนี้ฤดูกาล ’60/61 จะมีอ้อยเข้าหีบถึง 134.89 ล้านตันอ้อย เพิ่มขึ้น 40-45% จากปีก่อนที่มีอ้อยเข้าหีบ 93 ล้านตันอ้อย สามารถผลิตน้ำตาลได้ 15 ล้านตัน แบ่งเป็นบริโภคในประเทศ 3 ล้านตัน ส่งออก 12 ล้านตัน เพิ่มจากปีก่อน 9 ล้านตันเท่านั้น และ ณ ขณะนี้ราคาน้ำตาลโลก (4 มิ.ย. 2561) ตลาดลอนดอน NO.5 ปอนด์ละ 12-15 เซนต์ ราคาหน้าโรงงานในประเทศ กก.ละ 17-18 บาท
“ปริมาณฝนปีนี้ดี แม้เดือนหน้าอาจฝนทิ้งช่วงบ้างแต่คงไม่นาน ปริมาณอ้อยเข้าหีบปีหน้าคงไม่ต่ำกว่าปีนี้เท่าไร”
นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ประธานกรรมการ บริษัทไทยชูการ์ฯ กล่าวว่า วันที่ 14 มิ.ย. 2561 บริษัทไทยชูการ์ฯ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมจัดงาน “Thai Sugar Dinner 2018” เพื่อหารือถึงสถานการณ์อ้อยและน้ำตาล และแนวทางการดำเนินการหลังการเปลี่ยนระบบจัดการอ้อยและน้ำตาลใหม่ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาต่อยอด
JJNY : ปฏิรูป เสดตะกิดดี๊ดี...ซี้จุกสูญ หวั่นครึ่งปีหลังน้ำตาลดิ่งเหว 3 ส.ขอส่วนต่างราคาอ้อยคืน
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการ บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) ในฐานะนายกสมาคมผู้ผลิตเอทานอลไทย และประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาล เปิดเผยว่า แนวโน้มน้ำตาลโลกครึ่งปีหลัง (ก.ค.-ธ.ค. 2561) จะมีผลผลิต 45 ล้านตัน มากกว่าความต้องการ (over supply) ส่งผลให้ราคามีแนวโน้มลดลง
พร้อมกันนี้ 3 สมาคมขอให้รัฐหาแนวทางชดเชยส่วนต่างราคาอ้อย หลังจากประกาศลอยตัวน้ำตาลเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2561 ราคาอ้อยขั้นสุดท้ายที่ตันละ 780 บาท แต่ราคาอ้อยปีการผลิต “60/61 ที่ประกาศตันละ 880 บาท ทำให้มีส่วนต่างราคาตันละ 100 บาท หากคิดรวมมูลค่าส่วนต่างจากปริมาณอ้อยที่เข้าหีบทั้งฤดูกาล จะมีส่วนต่างถึง 13,489 ล้านบาท ขณะที่เงินกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายมีเพียง 9,000 ล้านบาทเท่านั้นดังนั้น อาจต้องใช้วิธีกู้จากธนาคารกรุงไทย หรือออกพันธบัตร เพื่อนำมาชดเชยคืนให้กับโรงงานน้ำตาล
ส่วนความคืบหน้าของ ร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย แม้ว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของกฤษฎีกาแล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่อง “ผลพลอยได้” อาจทำให้กฎหมายเสร็จไม่ทันฤดูการผลิตเปิดหีบปี”61/62 ต้องกลับไปใช้ พ.ร.บ.อ้อยฯ ฉบับเก่า ซึ่งรัฐต้องกลับมาอุดหนุน โดยให้กลไกของกองทุนอ้อยฯ นำเงินมาชดเชยให้กับโรงงาน เสี่ยงที่บราซิลรวมถึงออสเตรเลีย และกัวเตมาลาจะร่วมฟ้องไทยต่อองค์การการค้าโลก (WTO)
“ไม่แน่ใจว่าสุดท้าย ร่าง พ.ร.บ.อ้อยฯ จะเป็นแบบไหน สมาคมยอมรับได้ทุกเรื่องยกเว้นเรื่องผลพลอยได้ เพราะไม่ใช่แค่อ้อยที่ได้เป็นน้ำตาล แต่ชาวไร่ยังขอปันผลประโยชน์จากผลพลอยได้ที่มาจากกากน้ำตาล ซึ่งเราจะไม่ยอมหากกฤษฎีกาตีความให้เป็นไปตามที่ชาวไร่ขอ ก็จะขอไปสู้คัดค้านตอนที่เรียกชี้แจง”
นายวิบูลย์ ผาณิตวงศ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัทไทยชูการ์ฯ กล่าวว่า ขณะนี้ยังเหลือโรงงานอ้อยสระบุรีเพียง 1 โรง จากทั้งหมด 54 โรงที่ยังไม่ปิดหีบ หากครบทั้งหมดปีนี้ฤดูกาล ’60/61 จะมีอ้อยเข้าหีบถึง 134.89 ล้านตันอ้อย เพิ่มขึ้น 40-45% จากปีก่อนที่มีอ้อยเข้าหีบ 93 ล้านตันอ้อย สามารถผลิตน้ำตาลได้ 15 ล้านตัน แบ่งเป็นบริโภคในประเทศ 3 ล้านตัน ส่งออก 12 ล้านตัน เพิ่มจากปีก่อน 9 ล้านตันเท่านั้น และ ณ ขณะนี้ราคาน้ำตาลโลก (4 มิ.ย. 2561) ตลาดลอนดอน NO.5 ปอนด์ละ 12-15 เซนต์ ราคาหน้าโรงงานในประเทศ กก.ละ 17-18 บาท
“ปริมาณฝนปีนี้ดี แม้เดือนหน้าอาจฝนทิ้งช่วงบ้างแต่คงไม่นาน ปริมาณอ้อยเข้าหีบปีหน้าคงไม่ต่ำกว่าปีนี้เท่าไร”
นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ประธานกรรมการ บริษัทไทยชูการ์ฯ กล่าวว่า วันที่ 14 มิ.ย. 2561 บริษัทไทยชูการ์ฯ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมจัดงาน “Thai Sugar Dinner 2018” เพื่อหารือถึงสถานการณ์อ้อยและน้ำตาล และแนวทางการดำเนินการหลังการเปลี่ยนระบบจัดการอ้อยและน้ำตาลใหม่ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาต่อยอด