ทูตพม่า ชู 3 นิ้ว กลางที่ประชุมยูเอ็น เรียกร้องประชาคมโลก ต้านรัฐประหาร
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2599231
ทูตพม่า ชู 3 นิ้ว กลางที่ประชุมยูเอ็น เรียกร้องประชาคมโลก ต้านรัฐประหาร
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เรื่องรัฐประหารในพม่า ที่มีตัวแทนเข้าร่วม 193 ประเทศ ที่ เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ โดย
คริสตีน ชราเนอร์ เบอร์เกอร์เนอร์ ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติในประเด็นพม่า ได้กล่าวรายงานถึงสถานการณ์ต่างๆ ทั้งการตัดอินเตอร์เนต และสิทธิมนุษยชนต่างๆ ที่มีการจับกุมประชาชนที่ออกมาประท้วง อย่างสันติ และแสดงความไม่พอใจต่อการรัฐประหาร ทั้งยังจับกุมผู้นำรัฐบาลพลเรือน หลายคนถูกกักบริเวณ รวมถึงการตัดอินเตอร์เนต และละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ
ต่อมา นาย
จอ โม ตุน ผู้แทนถาวรของรัฐบาลพม่าประจำสหประชาชาติ ได้กล่าวต่อที่ประชุมสหประชาชาติ เริ่มต้นด้วยการย้ำว่า เขาเป็นตัวแทนของรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งจากพรรค NLD ประชาธิปไตยในพม่านั้นกำลังเริ่มต้นใหม่ การเลือกตั้งในรอบที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ปีที่แล้ว ถือเป็นการเลือกตั้งที่สำเร็จ เสรี และยุติธรรม ถือเป็นก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์ของเมียนมา ที่ถูกจัดขึ้นโดยประชาชน
“
ในช่วงวิกฤตที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ เมียนมาต้องการการสนับสนุนอย่างสำคัญ ของประชาคมโลก ที่แรงสำคัญในการช่วยชาวพม่าในการต่อสู้กับระบอบของกองทัพ เราต้องการที่จะให้ประชาคมระหว่างประเทศ ปฏิบัติอย่างแข็งกร้าวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อยุติการก่อรัฐประหารของกองทัพโดยเร็วที่สุด หยุดการกดขี่ข่มเหงประชาชนผู้บริสุทธิ์ คืนอำนาจสู่ประชาชน และ ดึงประชาธิปไตยกลับคืนมา”
ทั้งนี้ เขายังได้ยื่นขอเรียกร้องต่อสหประชาชาติ ดังนี้
1. ออกแถลงการณ์ประณามการทำรัฐประหาร
2. ไม่รับรองสภา SAC และรัฐบาลทหารพม่า
3. เรียกร้องให้รัฐบาลทหาร เคารพผลการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรม ในปี 2020
4. ไม่ร่วมมือกับกองทัพพม่า จนกว่าจะคืนอำนาจให้ประชาชนผ่านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
5. ใช้เครื่องมือ มาตรการต่างๆ ที่แข็งขันที่สุดทุกหนทาง ที่จะหยุดความรุนแรง และ การกระทำที่โหดร้ายของเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของพม่า ในการกระทำต่อผู้ประท้วงที่สันติ และยุติการรัฐประหารทันที
6. สนับสนุนสภา CRPH ที่มาจากผู้แทนราษฎรพม่าที่มาจากการเลือกตั้ง
ในช่วงท้ายของการอ่านถ้อยแถลงนี้ จอโมตุน ยังได้อ่านข้อความเป็นภาษาพม่า และได้ชู 3 นิ้ว เป็นสัญลักษณ์อารยะขัดขืน โดยหลังจากเขาได้กล่าวจบ ผู้แทนประเทศต่างๆ ในห้องประชุม ได้ปรบมือให้กับผู้แทนจากพม่า
รัฐวิสาหกิจกระอักพิษ “โควิด” รายได้นำส่งวูบหนัก-คลังกู้โปะขาดดุลพุ่ง
https://www.prachachat.net/finance/news-618951
รัฐวิสาหกิจอ่วม “โควิด-19” กระทบรายได้ส่งคลัง เผยไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2564 ต่ำเป้า 2 หมื่นล้านบาท ฉุดภาพรวมรายได้รัฐบาลวูบเฉียด 4 หมื่นล้านบาท ต้องกู้ชดเชยขาดดุลสูงกว่าปีก่อนกว่า 1,000% สคร.เร่งนัดบอร์ด คนร.ถกนโยบายดำเนินงานรัฐวิสาหกิจปี’64 ลุยแผนฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจ 7 แห่งต่อ พร้อมเร่งเบิกจ่ายงบฯลงทุนตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3.07 แสนล้านบาท
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผย “
ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ช่วงไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2564 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) รัฐวิสาหกิจมีรายได้นำส่งเข้าคลังทั้งสิ้น 30,711 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ที่ 50,990 ล้านบาทไปทั้งสิ้น 20,279 ล้านบาท หรือต่ำกว่าเป้า 39.8% และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีงบประมาณก่อนที่มีรายได้นำส่ง 72,387 ล้านบาท พบว่าการนำส่งรายได้ในปีนี้ต่ำกว่าปีก่อนถึง 41,676 ล้านบาท หรือ 57.6%
โดยภาพรวมการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในไตรมาสแรกอยู่ที่ 515,749 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการไป 39,998 ล้านบาท หรือ 7.2% และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 32,225 ล้านบาท หรือ 15.2%
ทั้งนี้ นอกจากรัฐวิสาหกิจที่มีรายได้หดตัวลงไปมากแล้ว รายได้ของ 3 กรมภาษีก็จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการไป 23,063 ล้านบาท หรือ 4.2% และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 53,389 ล้านบาท หรือ 9.3% โดยกรมสรรพากรจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการไป 18,460 ล้านบาท หรือ 5% และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 40,258 ล้านบาท หรือ 10.2%
ขณะที่ฐานะการคลังในช่วงไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2564 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 605,797 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 1,018,301 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้กู้ชดเชยการขาดดุลไปทั้งสิ้น 340,810 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนที่กู้เพียง 26,314 ล้านบาท ถึง 1,195.2% ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2563 อยู่ที่ 473,001 ล้านบาท
“
ผลกระทบมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบกับการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจหลายแห่งยังมีภารกิจช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชนในช่วงที่ได้รับผลกระทบจากโควิดด้วย ทั้งการประปาฯ และการไฟฟ้าฯ” แหล่งข่าวกล่าว
นาง
ปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า สคร.จะหารือร่วมกับสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อกำหนดวันเวลาการประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน เพื่อรับทราบนโยบายการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจปี 2564 ขณะเดียวกัน สคร.จะรายงานให้ที่ประชุมได้รับทราบถึงการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบฯลงทุนของรัฐวิสาหกิจ รวมถึงความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจ 7 แห่งตามนโยบายของ คนร.ก่อนหน้านี้ด้วย
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา สคร.ได้เร่งรัดการเบิกจ่ายงบฯลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายมากที่สุด โดยรัฐวิสาหกิจที่เบิกจ่ายตามปีงบประมาณ 2564 มีจำนวน 34 แห่ง มีกรอบการเบิกจ่ายรวม 307,963 ล้านบาท โดยในช่วง 3 เดือนของปีงบประมาณ 2564 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) เบิกจ่ายแล้ว 60,799 ล้านบาท ส่วนรัฐวิสาหกิจตามปีปฏิทินอีก 10 แห่ง อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล
“
การเร่งรัดเบิกจ่ายงบฯลงทุนของรัฐวิสาหกิจจะต้องให้เป็นไปตามเป้ามากที่สุด เพราะการลงทุนของรัฐวิสาหกิจจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย” นาง
ปานทิพย์กล่าว
ส่วนการดำเนินการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจตามนโยบาย คนร.นั้น นางปานทิพย์กล่าวว่า ปัจจุบันเนื่องจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการซึ่งเป็นกระบวนการของศาลล้มละลายไปแล้ว ขณะที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ก็ได้ดำเนินการควบรวมเป็นบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (เอ็นที) ไปแล้ว ส่วนธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ก็ผ่านการฟื้นฟูไปแล้ว
“ขณะนี้เหลืออีก 2 แห่ง คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่ต้องเร่งแผนฟื้นฟูกิจการให้มีความชัดเจน” นางปานทิพย์กล่าว
รายงานจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า บอร์ด คนร. มีการประชุมครั้งสุดท้ายไปตั้งแต่เมื่อเดือน มิ.ย. 2563 จากปกติที่จะต้องมีการประชุมเพื่อติดตามการทำงานของรัฐวิสาหกิจทุกเดือน แต่เนื่องจากที่ผ่านมา มีทั้งการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรี (ครม.) รวมถึงเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องเลื่อนการประชุมออกมาเป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้ว
JJNY : ทูตพม่าชู3นิ้วเรียกร้องต้านรปห.│รัฐวิสาหกิจรายได้นำส่งวูบ│ธีรัจชัยซัด สกัดตัวแทนปชช.│กทม.-ปริมณฑลฝุ่นพุ่ง! 33พท.
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2599231
ทูตพม่า ชู 3 นิ้ว กลางที่ประชุมยูเอ็น เรียกร้องประชาคมโลก ต้านรัฐประหาร
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เรื่องรัฐประหารในพม่า ที่มีตัวแทนเข้าร่วม 193 ประเทศ ที่ เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ โดย คริสตีน ชราเนอร์ เบอร์เกอร์เนอร์ ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติในประเด็นพม่า ได้กล่าวรายงานถึงสถานการณ์ต่างๆ ทั้งการตัดอินเตอร์เนต และสิทธิมนุษยชนต่างๆ ที่มีการจับกุมประชาชนที่ออกมาประท้วง อย่างสันติ และแสดงความไม่พอใจต่อการรัฐประหาร ทั้งยังจับกุมผู้นำรัฐบาลพลเรือน หลายคนถูกกักบริเวณ รวมถึงการตัดอินเตอร์เนต และละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ
ต่อมา นายจอ โม ตุน ผู้แทนถาวรของรัฐบาลพม่าประจำสหประชาชาติ ได้กล่าวต่อที่ประชุมสหประชาชาติ เริ่มต้นด้วยการย้ำว่า เขาเป็นตัวแทนของรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งจากพรรค NLD ประชาธิปไตยในพม่านั้นกำลังเริ่มต้นใหม่ การเลือกตั้งในรอบที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ปีที่แล้ว ถือเป็นการเลือกตั้งที่สำเร็จ เสรี และยุติธรรม ถือเป็นก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์ของเมียนมา ที่ถูกจัดขึ้นโดยประชาชน
“ในช่วงวิกฤตที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ เมียนมาต้องการการสนับสนุนอย่างสำคัญ ของประชาคมโลก ที่แรงสำคัญในการช่วยชาวพม่าในการต่อสู้กับระบอบของกองทัพ เราต้องการที่จะให้ประชาคมระหว่างประเทศ ปฏิบัติอย่างแข็งกร้าวที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อยุติการก่อรัฐประหารของกองทัพโดยเร็วที่สุด หยุดการกดขี่ข่มเหงประชาชนผู้บริสุทธิ์ คืนอำนาจสู่ประชาชน และ ดึงประชาธิปไตยกลับคืนมา”
ทั้งนี้ เขายังได้ยื่นขอเรียกร้องต่อสหประชาชาติ ดังนี้
1. ออกแถลงการณ์ประณามการทำรัฐประหาร
2. ไม่รับรองสภา SAC และรัฐบาลทหารพม่า
3. เรียกร้องให้รัฐบาลทหาร เคารพผลการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรม ในปี 2020
4. ไม่ร่วมมือกับกองทัพพม่า จนกว่าจะคืนอำนาจให้ประชาชนผ่านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
5. ใช้เครื่องมือ มาตรการต่างๆ ที่แข็งขันที่สุดทุกหนทาง ที่จะหยุดความรุนแรง และ การกระทำที่โหดร้ายของเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของพม่า ในการกระทำต่อผู้ประท้วงที่สันติ และยุติการรัฐประหารทันที
6. สนับสนุนสภา CRPH ที่มาจากผู้แทนราษฎรพม่าที่มาจากการเลือกตั้ง
ในช่วงท้ายของการอ่านถ้อยแถลงนี้ จอโมตุน ยังได้อ่านข้อความเป็นภาษาพม่า และได้ชู 3 นิ้ว เป็นสัญลักษณ์อารยะขัดขืน โดยหลังจากเขาได้กล่าวจบ ผู้แทนประเทศต่างๆ ในห้องประชุม ได้ปรบมือให้กับผู้แทนจากพม่า
รัฐวิสาหกิจกระอักพิษ “โควิด” รายได้นำส่งวูบหนัก-คลังกู้โปะขาดดุลพุ่ง
https://www.prachachat.net/finance/news-618951
รัฐวิสาหกิจอ่วม “โควิด-19” กระทบรายได้ส่งคลัง เผยไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2564 ต่ำเป้า 2 หมื่นล้านบาท ฉุดภาพรวมรายได้รัฐบาลวูบเฉียด 4 หมื่นล้านบาท ต้องกู้ชดเชยขาดดุลสูงกว่าปีก่อนกว่า 1,000% สคร.เร่งนัดบอร์ด คนร.ถกนโยบายดำเนินงานรัฐวิสาหกิจปี’64 ลุยแผนฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจ 7 แห่งต่อ พร้อมเร่งเบิกจ่ายงบฯลงทุนตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3.07 แสนล้านบาท
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ช่วงไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2564 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) รัฐวิสาหกิจมีรายได้นำส่งเข้าคลังทั้งสิ้น 30,711 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ที่ 50,990 ล้านบาทไปทั้งสิ้น 20,279 ล้านบาท หรือต่ำกว่าเป้า 39.8% และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีงบประมาณก่อนที่มีรายได้นำส่ง 72,387 ล้านบาท พบว่าการนำส่งรายได้ในปีนี้ต่ำกว่าปีก่อนถึง 41,676 ล้านบาท หรือ 57.6%
โดยภาพรวมการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในไตรมาสแรกอยู่ที่ 515,749 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการไป 39,998 ล้านบาท หรือ 7.2% และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 32,225 ล้านบาท หรือ 15.2%
ทั้งนี้ นอกจากรัฐวิสาหกิจที่มีรายได้หดตัวลงไปมากแล้ว รายได้ของ 3 กรมภาษีก็จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการไป 23,063 ล้านบาท หรือ 4.2% และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 53,389 ล้านบาท หรือ 9.3% โดยกรมสรรพากรจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการไป 18,460 ล้านบาท หรือ 5% และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 40,258 ล้านบาท หรือ 10.2%
ขณะที่ฐานะการคลังในช่วงไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2564 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 605,797 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 1,018,301 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้กู้ชดเชยการขาดดุลไปทั้งสิ้น 340,810 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนที่กู้เพียง 26,314 ล้านบาท ถึง 1,195.2% ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2563 อยู่ที่ 473,001 ล้านบาท
“ผลกระทบมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบกับการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจหลายแห่งยังมีภารกิจช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชนในช่วงที่ได้รับผลกระทบจากโควิดด้วย ทั้งการประปาฯ และการไฟฟ้าฯ” แหล่งข่าวกล่าว
นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า สคร.จะหารือร่วมกับสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อกำหนดวันเวลาการประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน เพื่อรับทราบนโยบายการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจปี 2564 ขณะเดียวกัน สคร.จะรายงานให้ที่ประชุมได้รับทราบถึงการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบฯลงทุนของรัฐวิสาหกิจ รวมถึงความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจ 7 แห่งตามนโยบายของ คนร.ก่อนหน้านี้ด้วย
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา สคร.ได้เร่งรัดการเบิกจ่ายงบฯลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายมากที่สุด โดยรัฐวิสาหกิจที่เบิกจ่ายตามปีงบประมาณ 2564 มีจำนวน 34 แห่ง มีกรอบการเบิกจ่ายรวม 307,963 ล้านบาท โดยในช่วง 3 เดือนของปีงบประมาณ 2564 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) เบิกจ่ายแล้ว 60,799 ล้านบาท ส่วนรัฐวิสาหกิจตามปีปฏิทินอีก 10 แห่ง อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล
“การเร่งรัดเบิกจ่ายงบฯลงทุนของรัฐวิสาหกิจจะต้องให้เป็นไปตามเป้ามากที่สุด เพราะการลงทุนของรัฐวิสาหกิจจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย” นางปานทิพย์กล่าว
ส่วนการดำเนินการฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจตามนโยบาย คนร.นั้น นางปานทิพย์กล่าวว่า ปัจจุบันเนื่องจากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการซึ่งเป็นกระบวนการของศาลล้มละลายไปแล้ว ขณะที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ก็ได้ดำเนินการควบรวมเป็นบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (เอ็นที) ไปแล้ว ส่วนธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ก็ผ่านการฟื้นฟูไปแล้ว
“ขณะนี้เหลืออีก 2 แห่ง คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่ต้องเร่งแผนฟื้นฟูกิจการให้มีความชัดเจน” นางปานทิพย์กล่าว
รายงานจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า บอร์ด คนร. มีการประชุมครั้งสุดท้ายไปตั้งแต่เมื่อเดือน มิ.ย. 2563 จากปกติที่จะต้องมีการประชุมเพื่อติดตามการทำงานของรัฐวิสาหกิจทุกเดือน แต่เนื่องจากที่ผ่านมา มีทั้งการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรี (ครม.) รวมถึงเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องเลื่อนการประชุมออกมาเป็นเวลากว่า 6 เดือนแล้ว