สู้ได้ แต่ อย่าดันทุรัง | วิธีหาเงินและทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ


สู้ได้ แต่ อย่าดันทุรัง | วิธีหาเงินและทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ


การที่คุณจะทำอะไรให้ประสบความสำเร็จนั้น ในความคิดคุณจะต้อง “สู้” จึงจะชนะ ใช่หรือไม่?!
แต่คุณรู้ไหมว่า คนสู้แล้ว “แพ้” ก็มีถมไป เพราะว่าสู้ผิดวิธีหรือสู้ในสถานการณ์ที่ไม่มีวันชนะ
หรือเรียกว่า สู้แบบ "ดันทุรัง" นั่นเอง หากเป็นเช่นนั้นต้องแก้ไขอย่างไร?!
เปลี่ยนแนวคิดดีไหมหรือเปลี่ยนเป้าหมายไปเลยดี…

เพี้ยนเพลีย
 

 เชื่อว่าการที่คนเรามีชีวิตมาได้จนถึงทุกวันนี้ อย่างน้อย ๆ คุณต้องเคยเป็นนักสู้หรือฝ่าฟันอะไรมาบ้างสักอย่างนึง โดยเฉพาะใครที่มีความคิดที่อยากจะประสบความสำเร็จในธุรกิจหรือการทำงาน คุณต้องคิดอยู่เสมอว่า “คุณต้องเป็นนักสู้ที่สามารถปรับตัวได้” ไม่ใช่ “นักสู้ที่ไม่ยอมปรับตัว” 
           

 วันนี้ผมเลยมีไอเดียอยากจะหยิบยกหัวข้อที่ว่า “สู้ได้แต่อย่าดันทุรัง” ซึ่งความหมายในเชิงการทำธุรกิจ  แน่นอนว่าเราต้องเจอปัญหาอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่อง คน ต้นทุน การวางแผนหรืออะไรก็ตาม แต่การที่คุณมีหัวใจเป็นนักสู้อยู่แล้ว ผมถือว่า เป็นสิ่งที่ดีและเป็นพื้นฐานของความสำเร็จ เมื่อคุณเจอปัญหาอะไรเข้ามาคุณก็มักจะไม่ยอมแพ้ ถึงแม้ว่าคุณจะล้มบ้าง เจ็บบ้าง แต่คุณก็ยังลุกขึ้นมาเดินต่อได้
           

 แต่ถ้าหากคุณ “ดันทุรัง” ไม่ยอมปรับตัว เช่น ตอนนี้กระแสความต้องการของคนส่วนใหญ่ต้องไปทางนี้  แต่คุณกลับเห็นตรงกันข้ามกับคนส่วนใหญ่แลปฏิเสธว่ามันไม่ใช่ “ฉันจะต้องไปอีกทาง” หรือ “สู้แต่ดันทุรัง” ซึ่งการสู้แบบนี้จะทำให้คุณเหนื่อยฟรีและคุณก็จะล้มเหลวไม่ประสบความสำเร็จสักที
           

 ฉะนั้น ผมจึงอยากจะยกตัวอย่างธุรกิจนึง ที่เป็นธุรกิจแอปพลิเคชั่นขายของออนไลน์ขนาดใหญ่ในประเทศจีนที่มีชื่อว่า Taobao (เถาเป่า) ซึ่งเป็นบริษัทของกลุ่ม Alibaba (อาลีบาบา)  โดย แจ็ค หม่า นั่นเอง และยังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Lazada ที่เป็นแอปพลิเคชั่นขายของออนไลน์อันดับหนึ่งในประเทศไทยอีกด้วย  เมื่อคุณได้ยินอย่างนี้แล้ว  ก็คงคิดว่าไม่มีใครที่จะเอาชนะหรือไปแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดของ Taobao (เถาเป่า) ได้อย่างแน่นอน

             ขอบคุณรูปภาพจาก Shutterstock

แต่คุณเชื่อหรือไม่ว่า ยังมีอีกบริษัทหนึ่งที่เขารู้ว่าจะสู้หรือรับมืออย่างไรให้ได้ส่วนแบ่งการตลาดของ Marketplace หรือว่าห้างสรรพสินค้าออนไลน์นี้มาได้ นั่นก็คือบริษัท Pinduoduo (พินตัวตัว) และต้องบอกก่อนเลยว่าเขาไม่ได้ต่อสู้กับ Taobao (เถาเป่า) หรือ ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ ที่มีขนาดใหญ่แบบดันทุรังนะครับ แต่เขาสู้ “แบบปรับตัวโดยศึกษาจากพฤติกรรมของผู้บริโภค” ซึ่งเมื่อ Pinduoduo (พินตัวตัว) ได้ออกตัวแอปพลิเคชั่นออกมาเรียบร้อยแล้ว ลักษณะรูปแบบของแพลตฟอร์มก็ไม่ได้มีความโดดเด่นอะไรมากมาย  แต่ทว่ากลยุทธ์ของ Pinduoduo (พินตัวตัว) เป็นการซื้อของแบบแชร์กันซื้อ โดยเวลาปกติที่คุณจะซื้อของ คุณมักจะซื้อคนเดียวหรือชิ้นเดียว แต่ของ Pinduoduo (พินตัวตัว) เวลาที่คุณจะซื้อ คุณจะต้องไปแชร์ให้คนอื่นก่อน

เพี้ยนแคปเจอร์
ยกตัวอย่างเช่น ร้านค้าตั้งว่าซื้อ 10 คน ได้ราคา 5 บาท แล้วถ้าคุณแชร์ให้กับคนอื่นครบตามที่ร้านค้ากำหนด ราคาสินค้าก็จะเข้าไปในลิงก์เดียวกัน แล้วคุณก็จะได้ราคาสินค้าในราคา 5 บาท นั่นหมายความว่า คุณซื้อสินค้าแค่ชิ้นเดียวแต่กลับได้สินค้าในราคาส่ง ซึ่งทำให้เห็นราคาที่แตกต่างหรือถูกกว่า Taobao (เถาเป่า) เพราะTaobao (เถาเป่า) เป็นแอปพลิเคชั่นขายของออนไลน์แบบขายปลีก ส่วน Alibaba (อาลีบาบา) เป็นแอปพลิเคชั่นขายของออนไลน์แบบขายส่ง แต่ก็กำหนดจำนวนการซื้อของลูกค้าให้ซื้อในจำนวนที่ค่อนข้างมาก

ดังนั้น Pinduoduo (พินตัวตัว) จึงเข้ามาแก้ปัญหาระหว่าง Taobao (เถาเป่า) กับ Alibaba (อาลีบาบา) เพื่อที่คุณจะได้ ซื้อสินค้า 1 ชิ้นในราคาส่ง แต่ข้อเสียก็คือจะมีข้อบังคับให้คุณแชร์ให้คนอื่น ๆ เหมือนกับวเป็นการทำการตลาดไปในตัว และจุดที่พีคไปกว่านั้น บริษัท Pinduoduo (พินตัวตัว)  ทำมาได้เพียงแค่ 3 ปีมูลค่าบริษัทรวมได้เป็น 2 แสนล้าน สิ่งนี้แหละครับที่ผมเรียกว่า การสู้แบบมีชั้นเชิง การสู้แบบปรับตัว แล้วดูการตลาดเป็นว่าต้องไปในทิศทางไหน…


อย่างตอนนี้เอง กระแสออนไลน์มาแรงมาก ๆ ซึ่งถ้าหากคุณขยายธุรกิจแบบออฟไลน์ คุณอาจจะกลายเป็น “นักสู้ที่ไม่ยอมปรับตัว” หรือ “ดันทุรัง” ถ้าคุณฝืนทำไปอีกไม่นานก็จะเกิดปัญหาตามมาแน่นอนครับ เพราะยังไงตอนนี้เราก็อยู่ในยุคที่ว่า “ออนไลน์ก็ยังเป็นขาขึ้น ออฟไลน์เป็นขาลง” เวลาที่คุณจะต่อสู้ ก็ต้องสู้อะไรที่เป็นกระแสหรือว่าเป็นขาขึ้น และ พยายามที่อย่าหลอกตัวเอง เพราะมันจะกลายเป็นดันทุรังหรือคุณคิดว่าอย่างไร สามารถคอมเมนต์มาได้ตามด้านล่างนี้เลยนะครับ
 
เพี้ยนจงเงย

=================================================================

สำหรับใครที่อยากได้รับอรรถรสเพิ่มมากขึ้น สามารถคลิกวีดีโอได้ตามด้านล่างนี้นะครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่