เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทุกท่าน
จำวันสำคัญทางพุทธศาสนาได้แม่น
ผมขอย่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
เริ่มจาก กลางปี= เดือน๖
วันวิสาขบูชา วันเพ็ญ๑๕ค่ำเดือน๖
วันอาสาฬหบูชา วันเพ็ญ๑๕ค่ำเดือน๘
วันมาฆะบูชา วันเพ็ญขึ้น๑๕ค่ำเดือน๓
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
วันวิสาขบูชา
เป็นวันเพ็ญ ๑๕ค่ำ เดือน๖(วิสาขะ) เป็น วันสำคัญที่
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน
@ประสูติ
เป็นวันคล้ายวันประสูติ ของเจ้าชายสิทธัตถะ (พระเจ้า สุทโธทณะ เป็นพระราชบิดา และ พระนางสิริมหามายา เป็น พระราชมารดา ซึ่งปกครองกรุงกบิลพัสดุ์) ใต้ต้นสาละณ สวนลุมพินีวัน (ปัจจุบัน คือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน๖ก่อนพุทธศักราช๘๐ปี
@ ตรัสรู้
ณ ใต้ต้นอัสสตพฤกษ์(ปัจจุบันเรียกต้นโพธิ์) ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบัน คือพุทธคยา รัฐพิหาร)เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบรรลุ ญาณ๓
ปฐมยาม ทรงบรรลุ บุพเพนิวาสานุสสติญาณคือพระญาณที่ทำให้ระลึกอดีตชาติของพระองค์ได้
มัฌชิมยาม ทรงบรรลุ จุตูปปาตญาณ คือพระญาณที่ทำใหรู้จุติ(ตาย เคลื่อนที่) และอุบัติ(เกิด)ของสัตว์ทั้งหลาย
ปัจฉิมยาม ทรงบรรลุ อาสวักขยญาณ คือพระญาณ ที่ทำให้พระองค์ทรงสามารถทำลายกิเลสาสวะ กำจัดอวิชชาให้สิ้นไป
ได้แก่ทรงตรัสรู้ในอริยสัจ ๔ เป็นการตรัสรู้ความจริงอันประเสริฐ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค
และปฏิจสมุปปบาท
(อริยะสัจ๔ ความจริงอันประเสริฐ๔ประการ
๑.ทุกข์ คือความทนได้ยาก
ได้แก่ ชาติ(การเกิด) ชรา มรณะ โสกะ(ความแห้งใจ) ปริเทวะ(ความพร่ำ พิไรรำพัน) อุปยาสะ(ความทนได้ยาก)
การประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก
การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก
ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น
รวมว่าอุปาทาน ขันธ์๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)เป็นทุกข์
๒.สมุทัย เหตุแห่งทุกข์
-กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม
-ภวตัณหา ความทะยานอยากมีอยากเป็น
-วิภวตัณหา ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น
๓.นิโรธ ทางดับทุกข์ คือนิพพาน
๔.มรรค หรือ มรรคานิโรธคามินีปฏิปทา หนทางปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ มีองค์๘
- สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
(รู้ว่าทาน ยัญ การบูชามีผลจริง วิบากของกรรมดี กรรมชั่วมีผลจริง โลกนี้ โลกหน้า มีจริง พ่อ แม่มีพระคุณ สัตว์ผุดเกิดโตเต็มวัย(โอปปาติกะ)เช่นเทวดาและสัตว์นรกมีจริง อรหันต์ผู้รู้แจ้งในโลกนี้โลกหน้ามีจริง)
-สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
(การออกจากกาม การไม่พยาบาท การไม่เบียดเบียน)
-สัมมาวาจา การเจรจาชอบ
(การไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ)
-สัมมากัมมันตะ การงานชอบ
(ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม)
-สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ
(ไม่ประกอบอาชีพ ขายยาพิษ อาวุธ ค้าสัตว์ ไม่ทำมิจฉาชีพ)
-สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ(การเพียรละ เลิกอกุศลธรรม การเพียรเจริญ และรักษากุศลธรรม)
-สัมมาสติ ความระลึกชอบ
(หมั่นพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม)
-สัมมาสมาธิ การตั้งมั่นชอบ
(เจริญสมถะ และวิปัสสนา)
ปฏิจจสมุปบาท (/ปะติดจะสะหฺมุบบาด/) เรียกอีกอย่างว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปัจจยาการ เป็นหลักธรรมที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน,
การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น
เช่น ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย 12 เรื่องเกิดขึ้นสืบ ๆ เนื่องกันมาตามลำดับดังนี้ คือ
เพราะ อวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี
เพราะ สังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี
เพราะ วิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูป จึงมี
เพราะ นามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี
เพราะ สฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี
เพราะ ผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนา จึงมี
เพราะ เวทนา เป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี
เพราะ ตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะ อุปาทาน เป็นปัจจัย ภพ จึงมี
เพราะ ภพ เป็นปัจจัย ชาติ จึงมี
เพราะ ชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ
โสกะ(ความโศก ความแห้งใจ) ปริเทวะ,( ความคร่ำครวญ พิไร รำพัน)ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) ก็มีพร้อม
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี
การเทศนาปฏิจจสมุปบาท ดังแสดงไปแล้วข้างต้น เรียกว่า อนุโลมเทศนา
หากแสดงย้อนกลับจากปลายมาหาต้น จากผลไปหาเหตุปัจจัย
เช่น ชรามรณะเป็นต้น มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้ เรียกว่า ปฏิโลมเทศนา
*เมื่อพระองค์ตรัสรู้ กำจัด อวิชชาต้นเหตุแห่งการเกิดได้
ก็บรรลุนิพพาน(สอุปาทิเสสนิพพาน)
[***ปฏิจจสมุปบาท คือ คำอธิบาย การตรัสรู้
คือพระองค์ ต้องการขจัดทุกข์อย่างเด็ดขาด
และทรงพบว่าจะต้องไม่มีการเกิดอีก จึงจะไม่เกิดทุกข์ และย้อนกลับไปพบว่าการเกิดใหม่อีก เพราะยังมีสังขาร การปรุงแต่งจิต เพราะยังยึดติดกับตัวอวิชชา (การยึดมั่นในอัตตา ตัวตน)
ดังนั้นการใช้โพชฌงค์๗ และ ปัญญินทรีย์ พิจารณาว่า
๑.สรรพสังขารา อนิจจัง
๒สรรพสังขารา ทุกขัง
๓.สรรพธรรมา อนัตตา
การปล่อยว่างอัตตา ตัวตน ไม่ยึดมั่นถือมั่นอีก(ขจัดอวิชชา) ก็จะไม่มีสังขาร มาปรุงแต่งจิตอีก ก็จะไม่เกิด อีกเลย เป็นการขจัดทุกข์ได้เด็ดขาด
จะไม่เวียนว่ายในวัฏฏะอีกต่อไป***
**ปฏิจจสมุปบาท จึงเป็นการอธิบายจิตของภพชาติใหม่
จากจุติจิต(จิตที่ตาย) ต่อเนื่องทันทีเป็นอุบัติจิต(จิตที่เกิดใหม่)
เดิมเมื่อยังมีอวิชชา การยึดมั่นในตัวตนอยู่
ขณะจุติจิต สังขาร..เจตสิกก่อนตายจะมีผลทันทีต่ออุบัติจิต ว่าจะไปเกิดในภพภูมิอะไร(พรหม เทพ มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน อสูรกาย เปรต สัตว์นรก)
และวิบากดี หรือชั่วในภพชาติที่จุติ หรือภพชาติก่อนหน้านั้น จะปรุงแต่งให้มีวรรณะ ฐานะ ตามกฎแห่งกรรมในอุบัติจิต
เมื่อขจัดอวิชชาได้ จึงไม่เกิดอีก**
*ไม่ใช่อธิบายการเกิดภพของจิตในชาติเดิมๆ ตามที่บางคนเข้าใจ...)(แก้ไขเพิ่มเติม๕กค..๒๕๖๓)*]
ทำให้วันนี้เป็น วันพระพุทธ เป็นวันที่มีพระพุทธเจ้าขึ้นบนโลก หรือเรียกว่า วันวิสาขบูชา
@ ปรินิพพาน
เมื่อพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ และทรงแสดงธรรม เป็นเวลายาวนานถึง ๔๕ ปี พระชนม์มายุ ๘๐พรรษา ได้ทรงปรินิพพาน(อนุปาทิเสสนิพพาน)ใต้ต้นสาละ ในสาลวโณทยานเมืองกุสินารา แค้วนมัลละ(ปัจจุบันคือ กุสินารา รัฐอุตตรประเทศ)
วันอาสาฬหบูชา(วันเพ็ญขึ้น๑๕ค่ำ เดือน๘)
เป็นวันพระธรรม
หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ เมื่อวันเพ็ญ๑๕ค่ำเดือน๖
ได้ทรงเสวยวิมุตติสุข ๗สัปดาห์
หลังจากนั้นได้พิจารณาสัตว์โลก ที่มีสติปัญญาพอที่จะบรรลุธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ได้
เปรียบสัตว์โลก ดังบัว๓เหล่า
๑.อุคฆฏิตัญญู (ดอกบัว ที่อยู่พ้นน้ำ )เป็นผู้ที่สติปัญญาฉลาด
สามารถรู้ และเข้าใจในธรรมในเวลาอันรวดเร็ว
๒.วิปจิตัญญู (ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ) เป็นผู้มีสติปัญญาปานกลาง เมื่อได้ฟังธรรม แล้วพิจารณาตาม และได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถเข้าใจ ได้ในเวลาไม่ช้า
๓.เนยยะ (ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ)
พวกมีสติปัญญาน้อย มีสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรม แล้วพิจารณา และได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มี่ความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่น ประกอบด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้ และเข้าใจได้ในชาติถัดๆไป
ส่วนพวกมิจฉาทิฏฐิ ไร้สติปัญญา ไม่อาจสั่งสอนให้เข้าใจได้ เปรียบเสมือนบัวที่อยู่ในโคลนตม(ปทปรมะ) ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา
ทรงดำริถึง อาจารย์ อาฬารดาบส และอุทกดาบส
แต่ท่านทั้งสอง ทำกาละไปแล้ว
จึงนึกถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง๕ ที่เคยมาปรนนิบัติ ช่วงที่พระองค์บำเพ็ญทุกรกิริยาร่วม๖ปี
ทรงทราบด้วยพระญาณว่า ปัจจวัคคีย์ทั้ง๕ ได้ไปอยู่ที่ป่าอิสิตนมฤคทายวัน
จึงได้เดินทางไปถึง
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในวันขึ้น๑๔ค่ำเดือน๘
และในวันเพ็ญขึ้น๑๕ค่ำ เดือน๘ (อาสาฬหปุรณมี)
พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมครั้งแรก ชื่อธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มีใจความย่อว่า
ภิกษุควรเว้นส่วนสุด ๒ อย่างอันบรรพชิตไม่ควรเสพ
๑.กามขัลลิกานุโยค คือการทำตนให้พัวพันด้วยความสุขทางกาม
๒.อัตตกิลมถานุโยค คือการทรมานตนให้ได้รับความลำบาก
โดยให้ปฏิบัติตามทางสายกลาง
คือมัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ มรรคอันมีองค์๘ แล้วทรงแสดงอริยสัจ๔ แก่ปัจจวัคคีย์ทั้ง๕(โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ)
เมื่อโกณฑัญญะ ได้ฟังพระธรรมคำสั่งสอน ก็ได้บรรลุธรรมเป็น พระโสดาบัน พระพุทธเจ้าก็ทราบด้วยญาณ จึงเปล่งวาจาว่าอัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ(โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ)
โกณฑัญญะจึงขอบรรพชา
พระพุทธเจ้าจึงได้ประทานบรรชา เป็นเอหิภิกขุอุปสมบท
เป็นพระสงฆ์รูปแรกแห่งพระพุทธศาสนา
ในวันนี้ วันเพ็ญขึ้น๑๕ค่ำเดือน๘ จึงมีพระรัตนตรัยครบ๓ มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เรียกวันอาสาฬหบูชา (หรือ เรียก วันพระธรรม)
หลังจากนั้นวัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ก็บรรลุธรรมและขอบรรพชาตามลำดับ
พระพุทธเจ้าจึงแสดงธรรม อนันตลักขณสูตร
ปัจจวัคคีย์ทั้ง๕ ก็บรรลุอรหันต์
หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็แสดงธรรมโปรดยสกุลบุตรและบิดา แม่ และภรรยาเก่าของยสกุลบุตร
ยสกุลบุตรได้บรรพชา และสำเร็จเป็นอรหันต์เพื่อนๆ ของยสกุลบุตรอีก๕๔คน ก็มาบวช ได้ฟังพระธรรมก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์
พระพุทธเจ้าได้ส่งสงฆ์ที่บรรพชาทั้ง๖๐รูปไปเผยแผ่พุทธศาสนา
(แก้ไข๒๕กพ.๒๕๖๔)
และพระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมแก่ภัทวัคคีย์๓๐ ซึ่งได้บรรลุธรรมและขอบรรพชา
และพระองค์ได้เสด็จกลับไปอุรุเวลาเสนานิคม ไปโปรด ชฎิล ๓พี่น้อง
อุรุเวลกัสสปะ. พร้อมบริวาร รวม๕๐๐คน
นทีกัสสปะพร้อมบริวารรวม๓๐๐คน
คยากัสสปะพร้อมบริวาร๒๐๐คน
ทั้ง๑๐๐๐คนได้ขอบรรพชา พระพุทธองค์ได้แสดงธรรม อาทิตตปริยายสูตร
ภิกษุทั้ง๑๐๐๐รูป สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ครั้งนั้น มีมาณพ๒สหาย ชื่ออุปติสสะ และโกลิตะ พร้อมทั้งบริวารบวชอยู่ในสำนัก สัญชัยปริพาชก ณ กรุงราชคฤห์ สองสหายสัญญากันว่า ผู้ใดได้บรรลุธรรมก่อน ผู้นั้นจงบอกอีกคนด้วย
วันหนึ่งพระอัสสชิ หนึ่งในพระปัญจวัคีย์ได้เข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ อุปติสสปริพาชกเห็นอาการน่าเลื่อมใส หลังจากท่านกลับจากบิณฑบาต ก็เข้าไปปราศรัยถามว่า "ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบใจธรรมของใคร" พระอัสสชิตอบว่า "เราบวชจำเพาะพระมหาสมณะ ผู้เป็นโอรสแห่งศากยะ ท่านเป็นศาสดาของเรา เราชอบใจธรรมของท่าน"
อุปติสสะ ถามว่า"ศาสดาของท่านสอนว่าอย่างไร"
พระอัสสชิตอบว่า "ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น และความดับแห่งธรรมนั้น พระศาสดาทรงสั่งสอนอย่างนี้
อุปติสสะได้ฟัง ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน
จึงนำข่าวนี้ไปบอกโกลิตะ แสดงธรรมให้ฟัง โกลิตะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม
สองสหายจึงมาชวนสัญชัยผู้เป็นอาจารย์ ไปเข้าเฝ้าพระศาสดาที่เวฬุวัน แต่สัญชัยไม่ไป
สองสหายจึงชวนบริวารรวมกัน๒๕๐คนไปเข้าเฝ้าพระศาสดา ทูลขออุปสมบท
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม พระบริวารทั้ง๒๔๘รูปบรรลุอรหันต์
โกลิตะ บำเพ็ญเพียร๗วันจึงบรรลุอรหันต์
ส่วนอุปติสสะบำเพ็ญเพียร๑๕วัน เมื่อฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าเทศนาแก่ทีฆนขปริพาชก ที่ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ ก็บรรลุอรหันต์
วันมาฆะบูา
ในวันเพ็ญขึ้น๑๕ค่ำเดือน๓ (มาฆะ) พระศาสดาได้มีประชุมสงฆ์ครั้งแรก จึงเรียกว่าวันพระสงฆ์
เกิด จาตุรงคสันนิบาต แปลว่าการประชุมประกอบด้วยองค์๔ ได้แก่
๑.วันเพ็ญ ๑๕ค่ำ เดือน๓ (มาฆะ)
๒.ภิกษุ ๑๒๕๐รูป มาประชุมโดยมิได้นัดหมาย
(..ภิกษุชฎิลดาบลทั้ง3และบริวาร รวม ๑๐๐๐รูป ร่วมกับ อุปติสสะ โกลิตะ และบริวารรวม๒๕๐รูป ..)
๓.ภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ได้อภิญญา๖
๔.ภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา(พระพุทธเจ้า เป็นผู้บวชให้)
วันนั้นพระพุทธองค์ได้แสดง โอวาทปาฎิโมกข์ อันถือว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
"ขันติ ความอดทนเป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวนิพพานเป็นธรรมอันสูงสุด
ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
ผู้เบียดเบียนผู้อื่นไม่ชื่อว่าสมณะ
การไม่ทำบาปทั้งปวง
การยังกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตให้ผ่องใส
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย ความสำรวมในพระปาฎิโมกข์
ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค
การเสพที่นอนอันสงัด
การประกอบความเพียรในอธิจิต นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ได้ทรงตั้งอุปติสสะ เป็นอัครสาวกเบื้องขวา ผู้เป็นเลิศทางปัญญา เรียกว่า พระสารีบุตร
และตั้งโกลิตะ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ผู้เป็นเลิศทางฤทธิ์
เรียกว่าพระโมคคัลลานะ
(เรียบเรียงโดย นพ.สุทธิศักดิ์ วุฒิพันธ์เรืองชัย๑๐ กพ.๒๕๖๐)
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
จำวันสำคัญทางพุทธศาสนาได้แม่น
ผมขอย่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
เริ่มจาก กลางปี= เดือน๖
วันวิสาขบูชา วันเพ็ญ๑๕ค่ำเดือน๖
วันอาสาฬหบูชา วันเพ็ญ๑๕ค่ำเดือน๘
วันมาฆะบูชา วันเพ็ญขึ้น๑๕ค่ำเดือน๓
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
วันวิสาขบูชา
เป็นวันเพ็ญ ๑๕ค่ำ เดือน๖(วิสาขะ) เป็น วันสำคัญที่
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน
@ประสูติ
เป็นวันคล้ายวันประสูติ ของเจ้าชายสิทธัตถะ (พระเจ้า สุทโธทณะ เป็นพระราชบิดา และ พระนางสิริมหามายา เป็น พระราชมารดา ซึ่งปกครองกรุงกบิลพัสดุ์) ใต้ต้นสาละณ สวนลุมพินีวัน (ปัจจุบัน คือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน๖ก่อนพุทธศักราช๘๐ปี
@ ตรัสรู้
ณ ใต้ต้นอัสสตพฤกษ์(ปัจจุบันเรียกต้นโพธิ์) ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบัน คือพุทธคยา รัฐพิหาร)เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบรรลุ ญาณ๓
ปฐมยาม ทรงบรรลุ บุพเพนิวาสานุสสติญาณคือพระญาณที่ทำให้ระลึกอดีตชาติของพระองค์ได้
มัฌชิมยาม ทรงบรรลุ จุตูปปาตญาณ คือพระญาณที่ทำใหรู้จุติ(ตาย เคลื่อนที่) และอุบัติ(เกิด)ของสัตว์ทั้งหลาย
ปัจฉิมยาม ทรงบรรลุ อาสวักขยญาณ คือพระญาณ ที่ทำให้พระองค์ทรงสามารถทำลายกิเลสาสวะ กำจัดอวิชชาให้สิ้นไป
ได้แก่ทรงตรัสรู้ในอริยสัจ ๔ เป็นการตรัสรู้ความจริงอันประเสริฐ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค
และปฏิจสมุปปบาท
(อริยะสัจ๔ ความจริงอันประเสริฐ๔ประการ
๑.ทุกข์ คือความทนได้ยาก
ได้แก่ ชาติ(การเกิด) ชรา มรณะ โสกะ(ความแห้งใจ) ปริเทวะ(ความพร่ำ พิไรรำพัน) อุปยาสะ(ความทนได้ยาก)
การประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก
การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก
ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น
รวมว่าอุปาทาน ขันธ์๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)เป็นทุกข์
๒.สมุทัย เหตุแห่งทุกข์
-กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม
-ภวตัณหา ความทะยานอยากมีอยากเป็น
-วิภวตัณหา ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น
๓.นิโรธ ทางดับทุกข์ คือนิพพาน
๔.มรรค หรือ มรรคานิโรธคามินีปฏิปทา หนทางปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ มีองค์๘
- สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
(รู้ว่าทาน ยัญ การบูชามีผลจริง วิบากของกรรมดี กรรมชั่วมีผลจริง โลกนี้ โลกหน้า มีจริง พ่อ แม่มีพระคุณ สัตว์ผุดเกิดโตเต็มวัย(โอปปาติกะ)เช่นเทวดาและสัตว์นรกมีจริง อรหันต์ผู้รู้แจ้งในโลกนี้โลกหน้ามีจริง)
-สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
(การออกจากกาม การไม่พยาบาท การไม่เบียดเบียน)
-สัมมาวาจา การเจรจาชอบ
(การไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ)
-สัมมากัมมันตะ การงานชอบ
(ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม)
-สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ
(ไม่ประกอบอาชีพ ขายยาพิษ อาวุธ ค้าสัตว์ ไม่ทำมิจฉาชีพ)
-สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ(การเพียรละ เลิกอกุศลธรรม การเพียรเจริญ และรักษากุศลธรรม)
-สัมมาสติ ความระลึกชอบ
(หมั่นพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม)
-สัมมาสมาธิ การตั้งมั่นชอบ
(เจริญสมถะ และวิปัสสนา)
ปฏิจจสมุปบาท (/ปะติดจะสะหฺมุบบาด/) เรียกอีกอย่างว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปัจจยาการ เป็นหลักธรรมที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน,
การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น
เช่น ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย 12 เรื่องเกิดขึ้นสืบ ๆ เนื่องกันมาตามลำดับดังนี้ คือ
เพราะ อวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี
เพราะ สังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี
เพราะ วิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูป จึงมี
เพราะ นามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี
เพราะ สฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี
เพราะ ผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนา จึงมี
เพราะ เวทนา เป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี
เพราะ ตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
เพราะ อุปาทาน เป็นปัจจัย ภพ จึงมี
เพราะ ภพ เป็นปัจจัย ชาติ จึงมี
เพราะ ชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ
โสกะ(ความโศก ความแห้งใจ) ปริเทวะ,( ความคร่ำครวญ พิไร รำพัน)ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) ก็มีพร้อม
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี
การเทศนาปฏิจจสมุปบาท ดังแสดงไปแล้วข้างต้น เรียกว่า อนุโลมเทศนา
หากแสดงย้อนกลับจากปลายมาหาต้น จากผลไปหาเหตุปัจจัย
เช่น ชรามรณะเป็นต้น มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้ เรียกว่า ปฏิโลมเทศนา
*เมื่อพระองค์ตรัสรู้ กำจัด อวิชชาต้นเหตุแห่งการเกิดได้
ก็บรรลุนิพพาน(สอุปาทิเสสนิพพาน)
[***ปฏิจจสมุปบาท คือ คำอธิบาย การตรัสรู้
คือพระองค์ ต้องการขจัดทุกข์อย่างเด็ดขาด
และทรงพบว่าจะต้องไม่มีการเกิดอีก จึงจะไม่เกิดทุกข์ และย้อนกลับไปพบว่าการเกิดใหม่อีก เพราะยังมีสังขาร การปรุงแต่งจิต เพราะยังยึดติดกับตัวอวิชชา (การยึดมั่นในอัตตา ตัวตน)
ดังนั้นการใช้โพชฌงค์๗ และ ปัญญินทรีย์ พิจารณาว่า
๑.สรรพสังขารา อนิจจัง
๒สรรพสังขารา ทุกขัง
๓.สรรพธรรมา อนัตตา
การปล่อยว่างอัตตา ตัวตน ไม่ยึดมั่นถือมั่นอีก(ขจัดอวิชชา) ก็จะไม่มีสังขาร มาปรุงแต่งจิตอีก ก็จะไม่เกิด อีกเลย เป็นการขจัดทุกข์ได้เด็ดขาด
จะไม่เวียนว่ายในวัฏฏะอีกต่อไป***
**ปฏิจจสมุปบาท จึงเป็นการอธิบายจิตของภพชาติใหม่
จากจุติจิต(จิตที่ตาย) ต่อเนื่องทันทีเป็นอุบัติจิต(จิตที่เกิดใหม่)
เดิมเมื่อยังมีอวิชชา การยึดมั่นในตัวตนอยู่
ขณะจุติจิต สังขาร..เจตสิกก่อนตายจะมีผลทันทีต่ออุบัติจิต ว่าจะไปเกิดในภพภูมิอะไร(พรหม เทพ มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน อสูรกาย เปรต สัตว์นรก)
และวิบากดี หรือชั่วในภพชาติที่จุติ หรือภพชาติก่อนหน้านั้น จะปรุงแต่งให้มีวรรณะ ฐานะ ตามกฎแห่งกรรมในอุบัติจิต
เมื่อขจัดอวิชชาได้ จึงไม่เกิดอีก**
*ไม่ใช่อธิบายการเกิดภพของจิตในชาติเดิมๆ ตามที่บางคนเข้าใจ...)(แก้ไขเพิ่มเติม๕กค..๒๕๖๓)*]
ทำให้วันนี้เป็น วันพระพุทธ เป็นวันที่มีพระพุทธเจ้าขึ้นบนโลก หรือเรียกว่า วันวิสาขบูชา
@ ปรินิพพาน
เมื่อพระพุทธองค์ ได้ตรัสรู้ และทรงแสดงธรรม เป็นเวลายาวนานถึง ๔๕ ปี พระชนม์มายุ ๘๐พรรษา ได้ทรงปรินิพพาน(อนุปาทิเสสนิพพาน)ใต้ต้นสาละ ในสาลวโณทยานเมืองกุสินารา แค้วนมัลละ(ปัจจุบันคือ กุสินารา รัฐอุตตรประเทศ)
วันอาสาฬหบูชา(วันเพ็ญขึ้น๑๕ค่ำ เดือน๘)
เป็นวันพระธรรม
หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ เมื่อวันเพ็ญ๑๕ค่ำเดือน๖
ได้ทรงเสวยวิมุตติสุข ๗สัปดาห์
หลังจากนั้นได้พิจารณาสัตว์โลก ที่มีสติปัญญาพอที่จะบรรลุธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ได้
เปรียบสัตว์โลก ดังบัว๓เหล่า
๑.อุคฆฏิตัญญู (ดอกบัว ที่อยู่พ้นน้ำ )เป็นผู้ที่สติปัญญาฉลาด
สามารถรู้ และเข้าใจในธรรมในเวลาอันรวดเร็ว
๒.วิปจิตัญญู (ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ) เป็นผู้มีสติปัญญาปานกลาง เมื่อได้ฟังธรรม แล้วพิจารณาตาม และได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถเข้าใจ ได้ในเวลาไม่ช้า
๓.เนยยะ (ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ)
พวกมีสติปัญญาน้อย มีสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรม แล้วพิจารณา และได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มี่ความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่น ประกอบด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้ และเข้าใจได้ในชาติถัดๆไป
ส่วนพวกมิจฉาทิฏฐิ ไร้สติปัญญา ไม่อาจสั่งสอนให้เข้าใจได้ เปรียบเสมือนบัวที่อยู่ในโคลนตม(ปทปรมะ) ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา
ทรงดำริถึง อาจารย์ อาฬารดาบส และอุทกดาบส
แต่ท่านทั้งสอง ทำกาละไปแล้ว
จึงนึกถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง๕ ที่เคยมาปรนนิบัติ ช่วงที่พระองค์บำเพ็ญทุกรกิริยาร่วม๖ปี
ทรงทราบด้วยพระญาณว่า ปัจจวัคคีย์ทั้ง๕ ได้ไปอยู่ที่ป่าอิสิตนมฤคทายวัน
จึงได้เดินทางไปถึง
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในวันขึ้น๑๔ค่ำเดือน๘
และในวันเพ็ญขึ้น๑๕ค่ำ เดือน๘ (อาสาฬหปุรณมี)
พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมครั้งแรก ชื่อธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มีใจความย่อว่า
ภิกษุควรเว้นส่วนสุด ๒ อย่างอันบรรพชิตไม่ควรเสพ
๑.กามขัลลิกานุโยค คือการทำตนให้พัวพันด้วยความสุขทางกาม
๒.อัตตกิลมถานุโยค คือการทรมานตนให้ได้รับความลำบาก
โดยให้ปฏิบัติตามทางสายกลาง
คือมัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ มรรคอันมีองค์๘ แล้วทรงแสดงอริยสัจ๔ แก่ปัจจวัคคีย์ทั้ง๕(โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ)
เมื่อโกณฑัญญะ ได้ฟังพระธรรมคำสั่งสอน ก็ได้บรรลุธรรมเป็น พระโสดาบัน พระพุทธเจ้าก็ทราบด้วยญาณ จึงเปล่งวาจาว่าอัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ(โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ)
โกณฑัญญะจึงขอบรรพชา
พระพุทธเจ้าจึงได้ประทานบรรชา เป็นเอหิภิกขุอุปสมบท
เป็นพระสงฆ์รูปแรกแห่งพระพุทธศาสนา
ในวันนี้ วันเพ็ญขึ้น๑๕ค่ำเดือน๘ จึงมีพระรัตนตรัยครบ๓ มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เรียกวันอาสาฬหบูชา (หรือ เรียก วันพระธรรม)
หลังจากนั้นวัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ก็บรรลุธรรมและขอบรรพชาตามลำดับ
พระพุทธเจ้าจึงแสดงธรรม อนันตลักขณสูตร
ปัจจวัคคีย์ทั้ง๕ ก็บรรลุอรหันต์
หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็แสดงธรรมโปรดยสกุลบุตรและบิดา แม่ และภรรยาเก่าของยสกุลบุตร
ยสกุลบุตรได้บรรพชา และสำเร็จเป็นอรหันต์เพื่อนๆ ของยสกุลบุตรอีก๕๔คน ก็มาบวช ได้ฟังพระธรรมก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์
พระพุทธเจ้าได้ส่งสงฆ์ที่บรรพชาทั้ง๖๐รูปไปเผยแผ่พุทธศาสนา
(แก้ไข๒๕กพ.๒๕๖๔)
และพระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมแก่ภัทวัคคีย์๓๐ ซึ่งได้บรรลุธรรมและขอบรรพชา
และพระองค์ได้เสด็จกลับไปอุรุเวลาเสนานิคม ไปโปรด ชฎิล ๓พี่น้อง
อุรุเวลกัสสปะ. พร้อมบริวาร รวม๕๐๐คน
นทีกัสสปะพร้อมบริวารรวม๓๐๐คน
คยากัสสปะพร้อมบริวาร๒๐๐คน
ทั้ง๑๐๐๐คนได้ขอบรรพชา พระพุทธองค์ได้แสดงธรรม อาทิตตปริยายสูตร
ภิกษุทั้ง๑๐๐๐รูป สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ครั้งนั้น มีมาณพ๒สหาย ชื่ออุปติสสะ และโกลิตะ พร้อมทั้งบริวารบวชอยู่ในสำนัก สัญชัยปริพาชก ณ กรุงราชคฤห์ สองสหายสัญญากันว่า ผู้ใดได้บรรลุธรรมก่อน ผู้นั้นจงบอกอีกคนด้วย
วันหนึ่งพระอัสสชิ หนึ่งในพระปัญจวัคีย์ได้เข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ อุปติสสปริพาชกเห็นอาการน่าเลื่อมใส หลังจากท่านกลับจากบิณฑบาต ก็เข้าไปปราศรัยถามว่า "ใครเป็นศาสดาของท่าน ท่านชอบใจธรรมของใคร" พระอัสสชิตอบว่า "เราบวชจำเพาะพระมหาสมณะ ผู้เป็นโอรสแห่งศากยะ ท่านเป็นศาสดาของเรา เราชอบใจธรรมของท่าน"
อุปติสสะ ถามว่า"ศาสดาของท่านสอนว่าอย่างไร"
พระอัสสชิตอบว่า "ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น และความดับแห่งธรรมนั้น พระศาสดาทรงสั่งสอนอย่างนี้
อุปติสสะได้ฟัง ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน
จึงนำข่าวนี้ไปบอกโกลิตะ แสดงธรรมให้ฟัง โกลิตะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม
สองสหายจึงมาชวนสัญชัยผู้เป็นอาจารย์ ไปเข้าเฝ้าพระศาสดาที่เวฬุวัน แต่สัญชัยไม่ไป
สองสหายจึงชวนบริวารรวมกัน๒๕๐คนไปเข้าเฝ้าพระศาสดา ทูลขออุปสมบท
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม พระบริวารทั้ง๒๔๘รูปบรรลุอรหันต์
โกลิตะ บำเพ็ญเพียร๗วันจึงบรรลุอรหันต์
ส่วนอุปติสสะบำเพ็ญเพียร๑๕วัน เมื่อฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าเทศนาแก่ทีฆนขปริพาชก ที่ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ ก็บรรลุอรหันต์
วันมาฆะบูา
ในวันเพ็ญขึ้น๑๕ค่ำเดือน๓ (มาฆะ) พระศาสดาได้มีประชุมสงฆ์ครั้งแรก จึงเรียกว่าวันพระสงฆ์
เกิด จาตุรงคสันนิบาต แปลว่าการประชุมประกอบด้วยองค์๔ ได้แก่
๑.วันเพ็ญ ๑๕ค่ำ เดือน๓ (มาฆะ)
๒.ภิกษุ ๑๒๕๐รูป มาประชุมโดยมิได้นัดหมาย
(..ภิกษุชฎิลดาบลทั้ง3และบริวาร รวม ๑๐๐๐รูป ร่วมกับ อุปติสสะ โกลิตะ และบริวารรวม๒๕๐รูป ..)
๓.ภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ได้อภิญญา๖
๔.ภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา(พระพุทธเจ้า เป็นผู้บวชให้)
วันนั้นพระพุทธองค์ได้แสดง โอวาทปาฎิโมกข์ อันถือว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
"ขันติ ความอดทนเป็นตบะอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวนิพพานเป็นธรรมอันสูงสุด
ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
ผู้เบียดเบียนผู้อื่นไม่ชื่อว่าสมณะ
การไม่ทำบาปทั้งปวง
การยังกุศลให้ถึงพร้อม
การทำจิตให้ผ่องใส
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย ความสำรวมในพระปาฎิโมกข์
ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค
การเสพที่นอนอันสงัด
การประกอบความเพียรในอธิจิต นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ได้ทรงตั้งอุปติสสะ เป็นอัครสาวกเบื้องขวา ผู้เป็นเลิศทางปัญญา เรียกว่า พระสารีบุตร
และตั้งโกลิตะ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ผู้เป็นเลิศทางฤทธิ์
เรียกว่าพระโมคคัลลานะ
(เรียบเรียงโดย นพ.สุทธิศักดิ์ วุฒิพันธ์เรืองชัย๑๐ กพ.๒๕๖๐)