ค่าการตลาด เป็นต้นทุนสินค้า หรือไม่? | วิธีหาเงินและทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

ค่าการตลาด เป็นต้นทุนสินค้า หรือไม่? | วิธีหาเงินและทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ




หลาย ๆ คนที่มีธุรกิจเป็นของตัวเอง คงสงสัยอยู่ไม่น้อยว่าสรุปแล้ว การบริการจัดการฝ่ายการเงิน กับ ทุนด้านการตลาด 
สามารถนำมารวมกันได้หรือไม่?! แล้วจะต้องออกแบบบริหารจัดการฝ่ายการเงินอย่างไร?!
ถ้าต้องแยกเงินลงทุนด้านการตลาด…


เพี้ยนช้อปปิ้ง


            ที่จริงการจัดการด้านการตลาดสามารถมองได้หลายรูปแบบ ยกตัวอย่าง ที่ผมได้เขียนบทความไว้ในตอนที่แล้ว (วิธีหาเงินและทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ตอน ทำธุรกิจแบบ ขาดทุน คือ กำไร จะเป็นแบบไหนต้องมาดู!! สามารถอ่านบทความนี้ได้ก่อนหน้านี้) ว่าการ “ขาดทุน” คือ “กำไร” นั่นก็คือ การทำการตลาด ซึ่งหมายความว่า ให้คุณลงทุนด้านการตลาดไปก่อน พอมีกลุ่มเป้าหมายรับรู้มากพอแล้ว และสนใจหรือซื้อสินค้าของคุณก็จะกลายเป็นว่าคุณได้กำไรทีหลังนั่นเอง

            จึงทำให้คนส่วนใหญ่สับสนว่า แล้วอย่างนี้ต้องเอางบการทำการตลาด มาคิดรวมกับต้นทุนสินค้าด้วยหรือเปล่า?! ซึ่งผมต้องบอกเลยนะครับว่า ถ้าเป็นตามทฤษฎีของนักการเงินหรือฝ่ายบัญชีแล้ว พวกเขาจะนำเอามาไว้ในส่วนของต้นทุนทันที ซึ่งเป็นเรื่องปกติเพราะทุกครั้งที่ทำบัญชีคุณก็ต้องบันทึกค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการอยู่แล้ว โดยอาจจะเอายอดขายมาลบกับต้นทุนรวมไปถึงงบลงทุนของการตลาด แล้วตีออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ว่ารายการค่าใช้จ่ายนั้น ๆ เป็นเท่าไหร่ ส่วนในเรื่องของการตลาดถ้าต้องการจะเบิกงบ บางครั้งนักการเงินหรือฝ่ายบัญชีอาจจะต้องไปเช็คค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก่อน เช่น อุตสาหกรรมความงาม อาหารเสริม เครื่องดื่มหรืออื่น ๆ ว่าเหมาะสมที่จะลงทุนในส่วนนี้มากน้อยแค่ไหน  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถเกิดขึ้นได้คือคุณต้องมี “ยอดขาย” ขึ้นมาให้เห็นเป็นรูปธรรมก่อน ถึงจะรู้ว่าสิ่งไหนต้องหักจ่ายอะไรบ้าง


พาพันดี๊ด๊า
             ฉะนั้น ถ้าใครที่กำลังเริ่มทำธุรกิจแต่ยังไม่มี “ยอดขาย” โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเริ่มทำในช่วงแรกคุณอย่าเพิ่งเอาค่าใช้จ่ายมาคำนวณ ยิ่งแล้วไปกว่านั้นถ้าใครที่เป็นนักการเงินหรือฝ่ายบัญชีอยามีธุรกิจเป็นของตัวเอง ส่วนใหญ่คนเหล่านี้มักจะทำบัญชีออกมาโดยบังคับว่าค่าใช้จ่ายแต่ละรายการต้องมีเท่านี้เท่านั้นโดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองมียอดขายเท่าไหร่ เช่น อาจจะกำหนดออกมาเลยว่า ต้นทุนสินค้า 100 บาท การตลาดค่าโฆษณา  20 บาท และค่าอื่น ๆ อีก 20 บาท แสดงว่าคุณจะต้องขายสินค้าในราคา 150 บาท เพื่อได้กำไร 10 บาท ซึ่งราคาเหล่านี้คุณเป็นคนกำหนดเอง โดยที่คุณไม่ได้สำรวจเลยว่าสินค้านั้นในสายตาลูกค้าให้ราคาสินค้านั้นเท่าไหร่ ไม่แน่ว่าคุณตั้งราคามา 150 บาท ออกมาเรียบร้อยแล้วแต่ลูกค้าคิดว่าจะต้องซื้อในราคา 200 บาท คุณก็อาจจะเสียดายกำไรที่จะได้เพิ่มอีก 50 บาทใช่ไหม 

            ดังนั้น เทคนิคในการตั้งราคาหรือจัดการบริหารด้านการเงินสำหรับผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ นั่นก็คือ ให้คุณตั้งงบการตลาดหรือการทำโฆษณาออกมาก่อน ทำให้คนรู้จักสินค้าและบริการของคุณไม่ว่าจะในช่องทาง Facebook, Instagram, Youtube หรือแม้กระทั้งการตลาดแบบออฟไลน์ โดยให้คุณไปลองตลาดก่อน ว่าลูกค้าในแต่ละกลุ่มประเมินราคาสินค้าของคุณที่ประมาณไหน สมมุติว่าลูกค้าตีราคาต่ำกว่าราคาขายแสดงว่าคุณก็จะได้รู้ว่าถ้าขายของราคานี้คุณจะต้องขาดทุน หากเป็นเช่นนั้นคุณก็ต้องไปแก้ไขปัญหาว่าจะทำอย่างไรให้มีสินค้าราคาที่ลูกค้าส่วนใหญ่ได้บอกไว้ เช่น อาจจะไปแก้ไขที่ราคาต้นทุนสินค้าว่าต้องสั่งอย่างไรทำเงื่อนไขแบบไหนราคาต้นทุนสินค้าถึงจะลดได้อีก เป็นต้น
  


           เพราะฉะนั้น สรุปได้ว่าถ้าคุณอยากเป็นผู้ประกอบการหรือมีธุรกิจที่มีความเสียงน้อย คุณต้องค่อย ๆ ศึกษาและลองบริหารจัดการเรื่องการทำการตลาดและการบริหารจัดการเรื่องการเงินออกจากกัน ให้คุณคิดง่าย ๆ เลยว่าการตลาดคือสิ่งที่ลงทุนไปแล้วและจะได้กำไรกลับคืนมา ส่วนด้านการบริหารจัดการเรื่องเงินเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายเพียงอย่างเดียว ไม่มีรายรับเข้ามา

            เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับใครที่สงสัยว่าการตลาดเป็นต้นทุนหรือไม่?! ตอบได้เลยครับว่าเป็นแต่ต้องแยกออกมาจากการบริหารจัดการด้านการเงินก่อน หรือคุณคิดวิอย่างไรสามารถแสดงความคิดเห็นหรือแชร์ไอเดียมาได้ตามด้านล่างนี้เลยครับ

เพี้ยนหยุดมโน
=========================================================

สำหรับใครที่อยากได้รับอรรถรสเพิ่มมากขึ้น สามารถคลิกวีดีโอได้ตามด้านล่างนี้นะครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่