ธุรกิจไทยลุยลงทุน ’เวียดนาม’ SCG มั่นใจศักยภาพเศรษฐกิจ
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/923756
“เอสซีจี” เชื่อมั่นศักยภาพเศรษฐกิจเวียดนาม เดินหน้าลงทุนปิโตรคอมเพล็กซ์ คืบหน้า 66% คาดทำสัญญาซื้อหุ้น Duy Tan 70% เสร็จกลางปีนี้ เจ้าสัวเจริญ ดัน‘บีเจซี-ไทยเบฟ’ ปั้นอาณาจักรธุรกิจต้นน้ำ-ปลายน้ำ
ปัจจุบันเวียดนามมีโครงการลงทุนจากต่างชาติ (เอฟดีไอ) 33,165 โครงการ ทุนจดทะเบียน 386,009 ล้านดอลลาร์ โดยเกาหลีใต้เป็นนักลงทุนรายใหญ่ 8,976 โครงการ มูลค่าทุนจดทะเบียน 70,489 ล้านดอลลาร์ ส่วนไทยอยู่อันดับ 9 รวม 605 โครงการ ทุนจดทะเบียน 12,602 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่าเฉพาะเดือน ม.ค.2564 เวียดนามมีเอฟดีไอ 47 โครงการ ทุนจดทะเบียน 1,323 ล้านดอลลาร์ มีสิงคโปร์ลงทุนเป็นอันดับ 1
นาย
ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การเงินและการลงทุน เอสซีจี เปิดเผยว่า เอสซีจีทำธุรกิจในเวียดนามตั้งแต่ปี 2535 และขยายลงทุนต่อเนื่องด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนาม
ทั้งนี้ การลงทุนมีกลยุทธ์สำคัญ คือ การสร้างความร่วมมือแบบบูรณาการกับพันธมิตรทุกรายในเวียดนาม เพื่อการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดประสบการณ์ องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญระหว่างกัน รวมถึงพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้ผู้ประกอบการในประเทศเติบโตด้วยกันยั่งยืน โดยพัฒนาสินค้าและบริการรองรับความต้องการตลาดอุปโภคบริโภค และการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมเวียดนาม
นอกจากนี้ ปัจจุบันเอสซีจีร่วมมือกับพันธมิตรดำเนินธุรกิจครอบคลุมทั้งธุรกิจเคมิคอลส์ ธุรกิจซิเมนต์ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และธุรกิจแพคเกจจิ้ง มีโรงงานกระจายทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โครงการลงทุนสำคัญ 2 กลุ่มธุรกิจ คือ
1.
ธุรกิจเคมิคอลส์ โดยลงทุนโครงการปิโตรเคมีครบวงจร Long Son Petrochemicals Company Limited (LSP) เป็นการลงทุนหลักของเอสซีจี ซึ่งเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันธุรกิจเคมิคอลส์ในอาเซียนระยะยาว รองรับความต้องการภายในเวียดนามที่สูงปีละ 2.3 ล้านตัน และมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นตามเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นฐานการผลิตสำคัญรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม โดยการนำเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกและเทคโนโลยีดิจิทัลมาคิดค้นนวัตกรรมเพื่อสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีขึ้น ซึ่งมีคืบหน้าตามแผน 66%
2.
ธุรกิจแพคเกจจิ้ง ร่วมมือกับพันธมิตรเวียดนาม ขยายธุรกิจและพัฒนาโซลูชันบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าหลากหลายอุตสาหกรรมในเวียดนามทั้งบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกและบรรจุภัณฑ์กระดาษ รวมถึงการพัฒนาทีมนักออกแบบในประเทศ พร้อมนำเสนอโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละรายให้ดีมากขึ้น
พร้อมทั้งจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตให้ดียิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนการเติบโตของลูกค้าในอาเซียนที่ต้องการบรรจุภัณฑ์เพิ่มต่อเนื่อง คือ
1.
ขยายการลงทุนด้วยการควบรวมกิจการ Bien Hoa Packaging Joint Stock Company (SOVI) ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ต้นน้ำในเวียดนาม
2.
ลงนามสัญญาร่วมทุน Duy Tan Plastics Manufacturing Corporation (Duy Tan) ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบคงรูปมีรายได้ 6,100 ล้านบาท มีฐานลูกค้าเป็นบริษัทข้ามชาติและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคแบรนด์ชั้นนำในเวียดนาม และเป็นผู้ผลิตภาชนะเครื่องใช้พลาสติกในครัวเรือนแบรนด์ “DuyTan” กำลังการผลิต 116,000 ตันต่อปี คาดว่าการทำธุรกรรมเข้าซื้อหุ้น 70% เสร็จภายในกลางปี 2564
ส่วนอีก “
ทุนไทย” ที่ปักหมุดสร้างอาณาจักธุรกิจใน “เวียดนาม” เป็นฐานทัพที่ 2 รับเศรษฐกิจ อำนาจซื้อ การบริโภคเติบโตเสริมความมั่งคั่งให้กับบิ๊กคอร์ปของไทย คือ “
กลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น” หรือ ทีซีซี กรุ๊ป ของ “
เจ้าสัวเจริญ-คุณหญิงวรรณาสิริวัฒนภักดี” ที่ลงทุนหลายปีครบวงจรตั้งแต่ “ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ”
5 กลุ่มธุรกิจ ทีซีซี กรุ๊ป มี 2 เสาหลักชักธงบุกเวียดนาม ได้แก่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ลุยธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ขยายอุตสาหกรรมและการค้า
บีเจซีนำร่องด้วยการ“
ซื้อและควบรวมกิจการ” หรือ M&A หลายปี มีการ“ร่วมทุน”พันธมิตรเช่น ผนึกโอเว่น อิลลินอยส์หรือ โอ-ไอ สร้างโรงงานผลิตกระป๋องก้าวเป็น “ยักษ์ใหญ่” ของภูมิภาค การซื้อหุ้นไทอัน เวียดนาม จอยท์ สต๊อก คัมปะนี จนเป็น “ผู้นำตลาด” ด้านการขนส่งและกระจายสินค้าครอบคลุมเวียดนามเหนือจรดใต้
นอกจากนี้ บีเจซี ซื้อกิจการภูไท กรุ๊ป เป็นจุดเริ่มต้นธุรกิจร้านสะดวกซื้อปัจจุบันอาณาจักรค้าปลีกโตหลายเท่าตัว เพราะซื้อกิจการ “บิ๊กซี” และ“เมโทร แคช แอนด์ แครี่ เวียดนาม" เปลี่ยนชิ่อเป็น “เอ็มเอ็ม เมก้า มาร์เก็ต” มีการซื้อโรงงานผลิตเต้าหู้เบอร์ 1 และโรงงานผลิตปลากระป๋อง การลงทุนหลายหมื่นล้านบาทต่อจิ๊กซอว์เชื่อมเครือข่ายการค้าให้ทีซีซี กรุ๊ป
ขณะที่ไทยเบฟฯ ลงทุนครั้งใหญ่ซื้อหุ้น 75% ของไซ่ง่อน เบียร์ แอลกอฮอล์ เบฟเวอเรจ คอร์เปอเรชั่น หรือ ซาเบโกด้วยมูลค่า 1.56 แสนล้านบาท ทำให้ได้โรงงานเบียร์ 20 แห่งในเวียดนามพร้อมแบรนด์เบียร์เบอร์ 1 อย่าง 333 และไซ่ง่อนเบียร์
ล่าสุดไทยเบฟฯแยกธุรกิจเบียร์มาเพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ได้ให้ข้อมูลถึงความเชื่อมั่นการขยายตลาดเบียร์ในเวียดนามจะสร้างการเติบโตในอนาคตและเป็นหนึ่งในตลาดใหญ่สุดของอาเซียน อีกทั้งประชากรกลุ่มเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหมที่บริโภคมากขึ้น ทั้งนี้ การขยายธุรกิจเครื่องดื่มในเวียดนามไม่ได้มีแค่เบียร์แต่มีกลุ่ม “สุรา” ทั้งสุราขาว สุราสี
ลุ้นผลตัดสินคดีม็อบกปปส. ชี้ชะตาเก้าอี้รมว.-รมช.
https://www.dailynews.co.th/politics/826974
จับตา 24 ก.พ.64 ฟังคำตัดสินพิพากษา คดีกปปส. ก่อม็อบ-ขวางเลือกตั้งปี 2557 หากผิดจริงเก้าอี้ 2 รมว. - 1 รมช. สั่นคลอน เพราะจะหมดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องรอให้คดีถึงที่สุด
จากกรณีที่ศาลอาญานัดอ่านคำพิพากษาในวันที่ 24 ก.พ. คดีที่นาย
สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิกาคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) และแกนนำกปปส. รวม 39 คน จากการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2557 ซึ่งมีการกระทำความผิด 9 ข้อหาที่รวมถึงการร่วมกันขัดขวางการเลือกตั้งด้วยนั้น พบว่ามีจำเลยส่วนหนึ่งมีปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ส.ส.อยู่ในพรรคประชาธิปัตย์และพรรคพลังประชารัฐ ที่สำคัญ มีผู้ที่เป็นรัฐมนตรีด้วย คือ นาย
ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ นาย
พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นาย
ถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม และส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ จึงทำให้หลายฝ่ายรวมต้องติดตามคำตัดสินของศาล เพราะจะมีผลต่อคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับครม.
ทั้งนี้ นาย
นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนี้ด้วย ว่า สำหรับพรรคประชาธิปัตย์มีการติดตามรอฟังคำพิพากษาคดีนี้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม แม้คดีนี้เป็นการตัดสินของศาลอาญา แต่เนื่องจากโจทย์ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งของจำเลยด้วย จึงถือว่าสำคัญมาก โดยแนวทางคำตัดสินคดีนี้ มี 3 ทาง คือ
1.จำคุกและเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง
2.รอโทษจำคุก แต่สั่งเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง
3.ศาลสั่งยกฟ้อง
ซึ่งถ้าศาลสั่งจำคุกและเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง หรือถ้าสั่งรอลงอาญา แต่ให้เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง จะทำให้จำเลยต้องพ้นจากตำแหน่งทันที เพราะหมดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องรอให้คดีถึงที่สุด และถ้ามีผู้นำเรื่องยื่นร้องศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยสภาพความเป็น ส.ส.ว่าจะหมดไปทันที หรือต้องรอให้คดีถึงที่สุดก่อน ที่จริงก็มีบรรทัดฐานจากคำวินิจฉัยของศาลฯ ในคดีของนาย
เทพไท เสนพงศ์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งถูกศาลอาญาตัดสินจำคุกและเพิกถอนสิทธิ์การเลือกตั้ง จากกรณีการทุจริตกรเลือกตั้งนายกอบจ.นครศรีธรรมราช
นาย
นิพิฏฐ์ กล่าวอีกว่า ส่วนผู้ที่มีตำแหน่งรัฐมนตรี ถ้าศาลอาญาตัดสินว่ามีความผิด ก็ต้องพ้นจากตำแแหน่งทันที เพราะขาดคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (7) ที่บัญญัติว่าไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอการลงโทษ
เมื่อถามว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้หารือกันเป็นการภายในเพื่อเตรียมแผนรองรับต่างๆสำหรับเรื่องนี้ด้วยหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการปรับครม. นาย
นิพิฏฐ์ กล่าวว่า ไม่มี เพราะเราหวังว่าผู้ที่เป็นสมาชิกพรรคเราจะได้รับชัยชนะ และเรายังไม่คิดไปไกลถึงขั้นเรื่องปรับครม.
JJNY : ลุยลงทุน’เวียดนาม’ SCGมั่นใจ│ลุ้นผลตัดสินคดีม็อบกปปส.│สหรัฐขู่เล่นผู้นำทัพเมียนมาเพิ่ม│ประวิตรเดือด!ไล่7ส.ส.พปชร.
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/923756
ปัจจุบันเวียดนามมีโครงการลงทุนจากต่างชาติ (เอฟดีไอ) 33,165 โครงการ ทุนจดทะเบียน 386,009 ล้านดอลลาร์ โดยเกาหลีใต้เป็นนักลงทุนรายใหญ่ 8,976 โครงการ มูลค่าทุนจดทะเบียน 70,489 ล้านดอลลาร์ ส่วนไทยอยู่อันดับ 9 รวม 605 โครงการ ทุนจดทะเบียน 12,602 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่าเฉพาะเดือน ม.ค.2564 เวียดนามมีเอฟดีไอ 47 โครงการ ทุนจดทะเบียน 1,323 ล้านดอลลาร์ มีสิงคโปร์ลงทุนเป็นอันดับ 1
นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การเงินและการลงทุน เอสซีจี เปิดเผยว่า เอสซีจีทำธุรกิจในเวียดนามตั้งแต่ปี 2535 และขยายลงทุนต่อเนื่องด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนาม
ทั้งนี้ การลงทุนมีกลยุทธ์สำคัญ คือ การสร้างความร่วมมือแบบบูรณาการกับพันธมิตรทุกรายในเวียดนาม เพื่อการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดประสบการณ์ องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญระหว่างกัน รวมถึงพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้ผู้ประกอบการในประเทศเติบโตด้วยกันยั่งยืน โดยพัฒนาสินค้าและบริการรองรับความต้องการตลาดอุปโภคบริโภค และการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมเวียดนาม
นอกจากนี้ ปัจจุบันเอสซีจีร่วมมือกับพันธมิตรดำเนินธุรกิจครอบคลุมทั้งธุรกิจเคมิคอลส์ ธุรกิจซิเมนต์ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และธุรกิจแพคเกจจิ้ง มีโรงงานกระจายทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โครงการลงทุนสำคัญ 2 กลุ่มธุรกิจ คือ
1. ธุรกิจเคมิคอลส์ โดยลงทุนโครงการปิโตรเคมีครบวงจร Long Son Petrochemicals Company Limited (LSP) เป็นการลงทุนหลักของเอสซีจี ซึ่งเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันธุรกิจเคมิคอลส์ในอาเซียนระยะยาว รองรับความต้องการภายในเวียดนามที่สูงปีละ 2.3 ล้านตัน และมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นตามเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นฐานการผลิตสำคัญรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม โดยการนำเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกและเทคโนโลยีดิจิทัลมาคิดค้นนวัตกรรมเพื่อสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีขึ้น ซึ่งมีคืบหน้าตามแผน 66%
2. ธุรกิจแพคเกจจิ้ง ร่วมมือกับพันธมิตรเวียดนาม ขยายธุรกิจและพัฒนาโซลูชันบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าหลากหลายอุตสาหกรรมในเวียดนามทั้งบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกและบรรจุภัณฑ์กระดาษ รวมถึงการพัฒนาทีมนักออกแบบในประเทศ พร้อมนำเสนอโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละรายให้ดีมากขึ้น
พร้อมทั้งจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตให้ดียิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนการเติบโตของลูกค้าในอาเซียนที่ต้องการบรรจุภัณฑ์เพิ่มต่อเนื่อง คือ
1. ขยายการลงทุนด้วยการควบรวมกิจการ Bien Hoa Packaging Joint Stock Company (SOVI) ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ต้นน้ำในเวียดนาม
2. ลงนามสัญญาร่วมทุน Duy Tan Plastics Manufacturing Corporation (Duy Tan) ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบคงรูปมีรายได้ 6,100 ล้านบาท มีฐานลูกค้าเป็นบริษัทข้ามชาติและผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคแบรนด์ชั้นนำในเวียดนาม และเป็นผู้ผลิตภาชนะเครื่องใช้พลาสติกในครัวเรือนแบรนด์ “DuyTan” กำลังการผลิต 116,000 ตันต่อปี คาดว่าการทำธุรกรรมเข้าซื้อหุ้น 70% เสร็จภายในกลางปี 2564
ส่วนอีก “ทุนไทย” ที่ปักหมุดสร้างอาณาจักธุรกิจใน “เวียดนาม” เป็นฐานทัพที่ 2 รับเศรษฐกิจ อำนาจซื้อ การบริโภคเติบโตเสริมความมั่งคั่งให้กับบิ๊กคอร์ปของไทย คือ “กลุ่มไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น” หรือ ทีซีซี กรุ๊ป ของ “เจ้าสัวเจริญ-คุณหญิงวรรณาสิริวัฒนภักดี” ที่ลงทุนหลายปีครบวงจรตั้งแต่ “ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ”
5 กลุ่มธุรกิจ ทีซีซี กรุ๊ป มี 2 เสาหลักชักธงบุกเวียดนาม ได้แก่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ลุยธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) ขยายอุตสาหกรรมและการค้า
บีเจซีนำร่องด้วยการ“ซื้อและควบรวมกิจการ” หรือ M&A หลายปี มีการ“ร่วมทุน”พันธมิตรเช่น ผนึกโอเว่น อิลลินอยส์หรือ โอ-ไอ สร้างโรงงานผลิตกระป๋องก้าวเป็น “ยักษ์ใหญ่” ของภูมิภาค การซื้อหุ้นไทอัน เวียดนาม จอยท์ สต๊อก คัมปะนี จนเป็น “ผู้นำตลาด” ด้านการขนส่งและกระจายสินค้าครอบคลุมเวียดนามเหนือจรดใต้
นอกจากนี้ บีเจซี ซื้อกิจการภูไท กรุ๊ป เป็นจุดเริ่มต้นธุรกิจร้านสะดวกซื้อปัจจุบันอาณาจักรค้าปลีกโตหลายเท่าตัว เพราะซื้อกิจการ “บิ๊กซี” และ“เมโทร แคช แอนด์ แครี่ เวียดนาม" เปลี่ยนชิ่อเป็น “เอ็มเอ็ม เมก้า มาร์เก็ต” มีการซื้อโรงงานผลิตเต้าหู้เบอร์ 1 และโรงงานผลิตปลากระป๋อง การลงทุนหลายหมื่นล้านบาทต่อจิ๊กซอว์เชื่อมเครือข่ายการค้าให้ทีซีซี กรุ๊ป
ขณะที่ไทยเบฟฯ ลงทุนครั้งใหญ่ซื้อหุ้น 75% ของไซ่ง่อน เบียร์ แอลกอฮอล์ เบฟเวอเรจ คอร์เปอเรชั่น หรือ ซาเบโกด้วยมูลค่า 1.56 แสนล้านบาท ทำให้ได้โรงงานเบียร์ 20 แห่งในเวียดนามพร้อมแบรนด์เบียร์เบอร์ 1 อย่าง 333 และไซ่ง่อนเบียร์
ล่าสุดไทยเบฟฯแยกธุรกิจเบียร์มาเพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ได้ให้ข้อมูลถึงความเชื่อมั่นการขยายตลาดเบียร์ในเวียดนามจะสร้างการเติบโตในอนาคตและเป็นหนึ่งในตลาดใหญ่สุดของอาเซียน อีกทั้งประชากรกลุ่มเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหมที่บริโภคมากขึ้น ทั้งนี้ การขยายธุรกิจเครื่องดื่มในเวียดนามไม่ได้มีแค่เบียร์แต่มีกลุ่ม “สุรา” ทั้งสุราขาว สุราสี
ลุ้นผลตัดสินคดีม็อบกปปส. ชี้ชะตาเก้าอี้รมว.-รมช.
https://www.dailynews.co.th/politics/826974
จับตา 24 ก.พ.64 ฟังคำตัดสินพิพากษา คดีกปปส. ก่อม็อบ-ขวางเลือกตั้งปี 2557 หากผิดจริงเก้าอี้ 2 รมว. - 1 รมช. สั่นคลอน เพราะจะหมดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องรอให้คดีถึงที่สุด
จากกรณีที่ศาลอาญานัดอ่านคำพิพากษาในวันที่ 24 ก.พ. คดีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิกาคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) และแกนนำกปปส. รวม 39 คน จากการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2557 ซึ่งมีการกระทำความผิด 9 ข้อหาที่รวมถึงการร่วมกันขัดขวางการเลือกตั้งด้วยนั้น พบว่ามีจำเลยส่วนหนึ่งมีปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ส.ส.อยู่ในพรรคประชาธิปัตย์และพรรคพลังประชารัฐ ที่สำคัญ มีผู้ที่เป็นรัฐมนตรีด้วย คือ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม และส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ จึงทำให้หลายฝ่ายรวมต้องติดตามคำตัดสินของศาล เพราะจะมีผลต่อคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับครม.
ทั้งนี้ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนี้ด้วย ว่า สำหรับพรรคประชาธิปัตย์มีการติดตามรอฟังคำพิพากษาคดีนี้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม แม้คดีนี้เป็นการตัดสินของศาลอาญา แต่เนื่องจากโจทย์ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งของจำเลยด้วย จึงถือว่าสำคัญมาก โดยแนวทางคำตัดสินคดีนี้ มี 3 ทาง คือ
1.จำคุกและเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง
2.รอโทษจำคุก แต่สั่งเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง
3.ศาลสั่งยกฟ้อง
ซึ่งถ้าศาลสั่งจำคุกและเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง หรือถ้าสั่งรอลงอาญา แต่ให้เพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง จะทำให้จำเลยต้องพ้นจากตำแหน่งทันที เพราะหมดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องรอให้คดีถึงที่สุด และถ้ามีผู้นำเรื่องยื่นร้องศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยสภาพความเป็น ส.ส.ว่าจะหมดไปทันที หรือต้องรอให้คดีถึงที่สุดก่อน ที่จริงก็มีบรรทัดฐานจากคำวินิจฉัยของศาลฯ ในคดีของนายเทพไท เสนพงศ์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งถูกศาลอาญาตัดสินจำคุกและเพิกถอนสิทธิ์การเลือกตั้ง จากกรณีการทุจริตกรเลือกตั้งนายกอบจ.นครศรีธรรมราช
นายนิพิฏฐ์ กล่าวอีกว่า ส่วนผู้ที่มีตำแหน่งรัฐมนตรี ถ้าศาลอาญาตัดสินว่ามีความผิด ก็ต้องพ้นจากตำแแหน่งทันที เพราะขาดคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (7) ที่บัญญัติว่าไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก แม้คดีนั้นจะยังไม่ถึงที่สุด หรือมีการรอการลงโทษ
เมื่อถามว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้หารือกันเป็นการภายในเพื่อเตรียมแผนรองรับต่างๆสำหรับเรื่องนี้ด้วยหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการปรับครม. นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า ไม่มี เพราะเราหวังว่าผู้ที่เป็นสมาชิกพรรคเราจะได้รับชัยชนะ และเรายังไม่คิดไปไกลถึงขั้นเรื่องปรับครม.