🔴ศบค.แถลงสถานการณ์โควิดวันนี้ ติดเชื้อเพิ่ม 89 ราย ป่วยสะสม 25,504 ราย
ล่าสุด ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 89 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 25,504 ราย หายป่วยแล้ว 24,361 ราย ยังรักษาใน รพ. 1,060 ราย ไม่มีเสียชีวิตเพิ่ม รวมยอดเสียชีวิตสะสม 83 ราย
รายละเอียดผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ วันที่ 22 ก.พ. 2564 จำนวน 809 ราย มีดังนี้...✏
1.ติดเชื้อในประเทศ 73 ราย
1.1ผู้ป่วยรายใหม่ จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ 59 ราย
1.2 ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 14 ราย
2.ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันโรค (State Quarantine) 16 ราย
อินเดีย 1 ราย
สหรัฐอเมริกา 2 ราย
กาตาร์ 7 ราย
อาร์เมเนีย 1 ราย
ปากีสถาน 1 ราย
โปรตุเกส 1 ราย
ลัตเวีย 1 ราย
สหราชอาณาจักร 2 ราย
https://www.sanook.com/news/8351014
🔴นอกจากไทย ใครอีกบ้างซื้อวัคซีนโควิด-19 “ซิโนแวค”
โดย PPTV Online
วัคซีนโควิด-19 “ซิโนแวค” กำลังจะเดินทางมาถึงประเทศไทยในวันที่ 24 ก.พ. นี้แล้ว อัปเดตกันว่า ประเทศใดอีกบ้างที่สั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 เจ้าเดียวกับเรา
“ซิโนแวค” เป็นหนึ่งในบริษัทผู้พัฒนาวัคซีนโควิด-19 สัญชาติจีน โดยวัคซีนที่พัฒนาขึ้นมาใช้ชื่อว่า “โคโรนาแวค” อย่างไรก็ตาม มีหลายประเทศกังขาถึงประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ตัวดังกล่าว เนื่องจากผลการทดสอบทางคลินิกที่ยังไม่ชัดเจน บ้างก็ว่า 50% บ้างก็ว่า 90% ทำให้หลายประเทศยังคงลังเลในการสั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวค
กระนั้น ปัจจุบันมีอยู่ 17 ประเทศที่บรรลุข้อตกลงซื้อขายวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคเป็นที่เรียบร้อย บ้างได้รับวัคซีนและเริ่มฉีดให้กับประชาชนหรือบุคลากรการแพทย์ไปแล้ว บ้างกำลังอยู่ระหว่างการขนส่ง
เริ่มกันที่ จีน ประเทศซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของบริษัทซิโนแวค ย่อมไม่พลาดที่จะนำวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาขึ้นในประเทศของตัวเองมาใช้ ทางหนึ่งคือได้วัคซีนมาใช้อย่างรวดเร็ว แต่อีกทางก็อาจมองว่าเป็นการประกาศศักดาความสามารถของชาติตนก็เป็นได้
แรกเริ่มจีนอนุมัติให้ใช้วัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคในกรณีฉุกเฉินเฉพาะกับบุคลากรการแพทย์หรือกลุ่มเสี่ยงเท่านั้น ต่อมาในเดือน ก.พ. 2021 ได้อนุมัติให้ใช้ได้เป็นการทั่วไป แต่ทั้งนี้ไม่มีรายงานที่แน่ชัดว่าจีนเมแดวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคตั้งแต่เมื่อใด และฉีดให้ประชาชนไปแล้วกี่คน ทราบแต่เพียงว่า จำนวนผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 ทั้งหมดในจีนอยู่ที่ราว 40.5 ล้านคน หรือร้อยละ 2.8 ของประชากรทั้งประเทศ
ด้าน บราซิล เป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นฐานการทดลองทางคลินิกวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค ทำให้ได้รับวัคซีนมาลองใช้อย่างรวดเร็วตั้งแต่วันที่ 19 พ.ย. 2563 โดยสั่งมาทั้งสิ้น 120 ล้านโดส แต่เพิ่งได้รับและฉีดให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงอย่างเป้นทางการเมื่อวันที่ 18 ม.ค. ที่ผ่านมานี้เอง และไม่พบข้อมูลว่าได้รับวัคซีนล็อตแรกมาเท่าไร และฉีดให้ประชากรไปแล้วกี่คน
อินโดนีเซีย อีกหนึ่งประเทศที่เป็นสถานที่ทดลองทางคลินิกวัคซีนโควิด-19 ไฟเซอร์ ได้รับวัคซีนล็อตแรกอย่างรวดเร็วเช่นกัน ตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. 2563 โดยสั่งไว้ทั้งหมด 140 ล้านโดส ทำให้กระบวนการจัดส่งต้องแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ล็อตและปัจจุบันจัดส่งล็อตที่สี่เรียบร้อยแล้ว มีประชากรมากกว่า 500,000 ได้รับวัคซีนตัวนี้แล้ว
เช่นเดียวกับบราซิลและอินโดนีเวีย ตุรกี ได้รับวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคมาทำการทดลองทางคลินิกตั้งแต่ปลายปี 2563 และนำมาใช้งานจริงกับประชากรกลุ่มเสี่ยงเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยตุรกีเชื่อมั่นในผลการทดลองทางคลินิกภายในประเทศที่สูงถึง 91% ทำให้สั่งจองไปทั้งสิ้น 100 ล้านโดส ปัจจุบันมีประชากรมากกว่า 3 ล้านคนได้รัวัคซีนโควิด-19 ตัวนี้แล้ว คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ได้รับวัคซีนทั้งหมดในประเทศ
ต่อกันที่ อาเซอร์ไบจาน ปิดดีลไปเงียบ ๆ รู้อีกทีคือได้รับวัคซีนโควิด-19 ล็อตแรกไปตั้งแต่วันที่ 14 ม.ค. 2564 โดยสั่งไว้ 4 ล้านโดส ฉีดให้ประชากนในประเทศไปแล้ว 65,000 คน
ส่วน ชิลี เพิ่งได้รับวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคล็อตแรก 28 ม.ค. 2564 ที่ผ่านมา สั่งจองไปทั้งหมด 20 ล้านโดส ฉีดให้ประชากรไปแล้วถึง 2.87 ล้าน หรือร้อยละ 15 ของประชากรทั้งประเทศ
ต่อมาเป็นประเทศที่เพิ่งได้รับวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคสด ๆ ร้อน ๆ นั่นคือ ฮ่องกงเม็กซิโก และโคลอมเบีย
วัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคมาถึงฮ่องกงเมื่อวันที่ 19 ก.พ. โดยฮ่องกงสั่งไว้ 7.5 ล้านโดส มาถึงเม็กซิโกวันที่ 20 ก.พ. สั่งไว้ 10 ล้านโดส และมาถึงโคลอมเบียวันที่ 21 ก.พ. สั่งไว้ 2.5 ล้าน ทั้งสามประเทศเพิ่งได้รับวัคซีนมาจึงยังอยู่ระหว่างเตรียมการฉีดวัคซีนให้ประชาชน
สุดท้ายเป็นกลุ่มประเทศที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเลยแม้แต่โดสเดียว ได้แก่
ฟิลิปปินส์ วัคซีนจะมาถึงวันพรุ่งนี้ (23 ก.พ.) สั่งไว้ทั้งหมด 25 ล้านโดส ไทย วัคซีนจะมาถึงวันที่ 24 ก.พ. สั่งไว้ 2 ล้านโดส ล็อตแรกจะส่งมาก่อน 200,000 โดส ส่วนเพื่อนบ้านเราอย่าง มาเลเซีย จะได้รับวัคซีนล็อตแรก 27 ก.พ. จากทั้งหมด 12 ล้านโดส
ส่วน ยูเครน และอุรุกวัย ยังไม่มีกำหนดวันส่งมอบที่ชัดเจน แต่คาดว่าอยู่ระหว่างปลายเดือน ก.พ. ถึงต้นเดือน มี.ค. นี้ และสั่งไว้ปริมาณพอ ๆ กัน คือราว 1.8 ล้านโดส
นอกจากนี้ ยังมีอยู่ 3 ประเทศที่ตกลงสั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวค แต่ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบเพื่อรับรองให้ใช้งานได้ในประเทศ นั่นคือ โบลิเวีย สิงคโปร์ และซิมบับเว
รวมแล้วจึงมีทั้งหมด 17 ประเทศทั่วโลกที่สั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 จากซิโนแวค แต่จากการสังเกตเบื้องต้นพบว่า ประเทศในแถบยุโรปจะไม่ค่อยให้ความเชื่อมั่นในวัคซีนตัวนี้ และหันไปเลือกไฟเซอร์ โมเดอร์นา หรือแอสตราเซเนกามากกว่า แม้ยังไม่พบรายงานผลข้างเคียงหรือผลเสียจากการใช้ที่ร้ายแรงก็ตาม
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/142560
🔴วัคซีนโควิด-19 ขณะนี้เป็นที่ต้องการของคนทั่วโลก แต่ตู้แช่ที่จะเก็บตัววัคซีนโควิดได้ ก็เป็นสิ่งสำคัญ หลายคนคงไม่รู้ว่า คนไทยมีศักยภาพในการผลิตตู้แช่วัคซีนโควิด บางคนถึงขั้นพลิกวิกฤตเป็นโอกาสกับธุรกิจนี้
ตัววัคซีนโควิดได้ ก็เป็นสิ่งสำคัญ หลายคนคงไม่รู้ว่า คนไทยมีศักยภาพในการผลิตตู้แช่วัคซีนโควิด บางคนถึงขั้นพลิกวิกฤตเป็นโอกาสกับธุรกิจนี้
หนึ่งในอดีตมนุษย์เงินเดือนที่เคยยึดอาชีพงานประจำ แต่ก็มาถึงวันที่ชีวิตพลิกผันด้วยวิกฤตโควิด-19 ได้กลายเป็นหนึ่งเจ้าของธุรกิจตู้แช่วัคซีนโควิด-19 ที่ทั่วโลกกำลังต้องการเป็นอย่างมาก เพราะผลิตภัณฑ์ตู้แช่ สามารถรองรับการจัดเก็บวัคซีนโควิดของบริษัทชั้นนำได้เป็นอย่างดี ทั้ง แอสตร้าเซเนก้า, ซิโนแวค และจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน
โดยธนานันต์ สุวรรณโพธิ์รุ่ง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ธนวรรณ เครื่องเย็น จำกัด เล่าว่า เดิมที่บ้านได้ทำธุรกิจตู้แช่เย็นอยู่แล้ว แต่ก็ถูกผลกระทบจากเทคโนโลยีเข้ามาดิสรัปชัน ทำธุรกิจได้รับผลกระทบ ยอดขายลดลง เมื่อเข้าสู่ช่วงโควิดรอบแรกระบาด กลับกลายเป็นโอกาส ผู้คนต้องอยู่บ้าน มีการเวิร์คฟอร์มโฮม ทำให้มียอดขายกลับคืนมา ลูกค้าซื้อไปใช้เก็บอาหารที่บ้านมากขึ้นจนยอดขายทะลุ 100 ล้านบาท หรือโตขึ้นกว่า 30% จากช่วงเดียวกันของปี 2562
เมื่อเข้าสู่ปี 2564 หลายประเทศมีการจัดหาวัคซีน ตนก็ได้ติดตามข่าวสารมาตลอด ซึ่งต้องใช้ตู้แช่แบบพิเศษ ที่มีขนาด 24-30 คิว มีกระจกหนา 3 ชั้น เพื่อควบคุมอุณหภูมิได้เสถียรกว่าปกติในระดับ 2-8 องศาเซลเซียส มีความชื้นต่ำกว่า 55% รวมถึงโครงสร้างภายในเป็นสแตนเลสทำความสะอาดง่าย ตนจึงคิดต่อยอดนำตู้แช่ของบริษัท มาพัฒนาให้มีประสิทธิภาพจนทำให้ธุรกิจ “ตู้แช่ยา” ก้าวมาเป็น “โปรดักส์ฮีโร่” ดันยอดขายเพิ่มสูงขึ้นกว่า 400%
สำหรับธุรกิจตู้แช่ยาหรือวัคซีน ถือเป็นการเริ่มต้นจากการเห็นปัญหา ว่าประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เมื่อมีผู้สูงอายุมากขึ้นอาการเจ็บป่วยก็ต้องมากขึ้นด้วย การรักษาจึงเป็นสิ่งสำคัญ ย่อมเป็นโอกาสของธุรกิจตู้แช่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรม ด้วยคู่แข่งมีเพียงไม่กี่ราย ธุรกิจจึงต้องแสวงหาความแตกต่าง เช่น มาตรฐานการออกแบบเพื่อแช่ยาโดยเฉพาะ ให้อุณหภูมิคงตัวมากที่สุด ระบบไอโอที หรือ Internet of Things เข้ามาเสริม จากมินิเตอร์ผ่านระบบออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และแจ้งเตือนผ่านไลน์เมื่ออุณหภูมิผิดปกติ
ด้านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการรวมตัวกันของผู้ประกอบการ เพื่อร่วมกันพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ ที่ใช้ทางการแพทย์ โดยเฉพาะตู้แช่วัคซีนโควิด มอบให้แก่สถานพยาบาลรัฐ 77 จังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงจะผลักดันตู้แช่ยาของไทยให้เป็นมาตรฐานโลก ซึ่งอาจก้าวขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยได้ ด้วยคุณภาพของผู้ผลิตไทยถือเป็นอันดับต้นๆ ของอาเซียนอยู่แล้ว
สำหรับอนาคตอุตสาหกรรมตู้แช่ไทย ยังเปิดกว้าง โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ที่ธุรกิจร้านอาหาร โรงพยาบาลเอกชนของไทย ก็ก้าวออกไปขยายโอกาสทางธุรกิจ ล้วนเป็นปัจจัยหนุนให้อุตสาหกรรมเติบโตต่อเนื่อง โดยประเมินว่ามูลค่าตลาดตู้แช่ในปัจจุบันอยู่ที่ 6,000-7,000 ล้านบาท
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/142514?utm_source=web_pptv&utm_medium=relatelink_3&utm_campaign=142560
เราจะชนะไปด้วยกัน...
🇹🇭มาลาริน/22ก.พ.ไทยพบโควิด 89ราย รักษาอยู่ 1,060ราย/ประเทศไหนบ้างที่ซื้อวัคซีนโควิด"ซิโนแวค"/ตู้แช่วัคซีนฝีมือคนไทย
ล่าสุด ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 89 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 25,504 ราย หายป่วยแล้ว 24,361 ราย ยังรักษาใน รพ. 1,060 ราย ไม่มีเสียชีวิตเพิ่ม รวมยอดเสียชีวิตสะสม 83 ราย
รายละเอียดผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ วันที่ 22 ก.พ. 2564 จำนวน 809 ราย มีดังนี้...✏
1.ติดเชื้อในประเทศ 73 ราย
1.1ผู้ป่วยรายใหม่ จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ 59 ราย
1.2 ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 14 ราย
2.ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันโรค (State Quarantine) 16 ราย
อินเดีย 1 ราย
สหรัฐอเมริกา 2 ราย
กาตาร์ 7 ราย
อาร์เมเนีย 1 ราย
ปากีสถาน 1 ราย
โปรตุเกส 1 ราย
ลัตเวีย 1 ราย
สหราชอาณาจักร 2 ราย
https://www.sanook.com/news/8351014
🔴นอกจากไทย ใครอีกบ้างซื้อวัคซีนโควิด-19 “ซิโนแวค”
โดย PPTV Online
วัคซีนโควิด-19 “ซิโนแวค” กำลังจะเดินทางมาถึงประเทศไทยในวันที่ 24 ก.พ. นี้แล้ว อัปเดตกันว่า ประเทศใดอีกบ้างที่สั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 เจ้าเดียวกับเรา
“ซิโนแวค” เป็นหนึ่งในบริษัทผู้พัฒนาวัคซีนโควิด-19 สัญชาติจีน โดยวัคซีนที่พัฒนาขึ้นมาใช้ชื่อว่า “โคโรนาแวค” อย่างไรก็ตาม มีหลายประเทศกังขาถึงประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ตัวดังกล่าว เนื่องจากผลการทดสอบทางคลินิกที่ยังไม่ชัดเจน บ้างก็ว่า 50% บ้างก็ว่า 90% ทำให้หลายประเทศยังคงลังเลในการสั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวค
กระนั้น ปัจจุบันมีอยู่ 17 ประเทศที่บรรลุข้อตกลงซื้อขายวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคเป็นที่เรียบร้อย บ้างได้รับวัคซีนและเริ่มฉีดให้กับประชาชนหรือบุคลากรการแพทย์ไปแล้ว บ้างกำลังอยู่ระหว่างการขนส่ง
เริ่มกันที่ จีน ประเทศซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของบริษัทซิโนแวค ย่อมไม่พลาดที่จะนำวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาขึ้นในประเทศของตัวเองมาใช้ ทางหนึ่งคือได้วัคซีนมาใช้อย่างรวดเร็ว แต่อีกทางก็อาจมองว่าเป็นการประกาศศักดาความสามารถของชาติตนก็เป็นได้
แรกเริ่มจีนอนุมัติให้ใช้วัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคในกรณีฉุกเฉินเฉพาะกับบุคลากรการแพทย์หรือกลุ่มเสี่ยงเท่านั้น ต่อมาในเดือน ก.พ. 2021 ได้อนุมัติให้ใช้ได้เป็นการทั่วไป แต่ทั้งนี้ไม่มีรายงานที่แน่ชัดว่าจีนเมแดวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคตั้งแต่เมื่อใด และฉีดให้ประชาชนไปแล้วกี่คน ทราบแต่เพียงว่า จำนวนผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 ทั้งหมดในจีนอยู่ที่ราว 40.5 ล้านคน หรือร้อยละ 2.8 ของประชากรทั้งประเทศ
ด้าน บราซิล เป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นฐานการทดลองทางคลินิกวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค ทำให้ได้รับวัคซีนมาลองใช้อย่างรวดเร็วตั้งแต่วันที่ 19 พ.ย. 2563 โดยสั่งมาทั้งสิ้น 120 ล้านโดส แต่เพิ่งได้รับและฉีดให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงอย่างเป้นทางการเมื่อวันที่ 18 ม.ค. ที่ผ่านมานี้เอง และไม่พบข้อมูลว่าได้รับวัคซีนล็อตแรกมาเท่าไร และฉีดให้ประชากรไปแล้วกี่คน
อินโดนีเซีย อีกหนึ่งประเทศที่เป็นสถานที่ทดลองทางคลินิกวัคซีนโควิด-19 ไฟเซอร์ ได้รับวัคซีนล็อตแรกอย่างรวดเร็วเช่นกัน ตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. 2563 โดยสั่งไว้ทั้งหมด 140 ล้านโดส ทำให้กระบวนการจัดส่งต้องแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ล็อตและปัจจุบันจัดส่งล็อตที่สี่เรียบร้อยแล้ว มีประชากรมากกว่า 500,000 ได้รับวัคซีนตัวนี้แล้ว
เช่นเดียวกับบราซิลและอินโดนีเวีย ตุรกี ได้รับวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคมาทำการทดลองทางคลินิกตั้งแต่ปลายปี 2563 และนำมาใช้งานจริงกับประชากรกลุ่มเสี่ยงเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยตุรกีเชื่อมั่นในผลการทดลองทางคลินิกภายในประเทศที่สูงถึง 91% ทำให้สั่งจองไปทั้งสิ้น 100 ล้านโดส ปัจจุบันมีประชากรมากกว่า 3 ล้านคนได้รัวัคซีนโควิด-19 ตัวนี้แล้ว คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ได้รับวัคซีนทั้งหมดในประเทศ
ต่อกันที่ อาเซอร์ไบจาน ปิดดีลไปเงียบ ๆ รู้อีกทีคือได้รับวัคซีนโควิด-19 ล็อตแรกไปตั้งแต่วันที่ 14 ม.ค. 2564 โดยสั่งไว้ 4 ล้านโดส ฉีดให้ประชากนในประเทศไปแล้ว 65,000 คน
ส่วน ชิลี เพิ่งได้รับวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคล็อตแรก 28 ม.ค. 2564 ที่ผ่านมา สั่งจองไปทั้งหมด 20 ล้านโดส ฉีดให้ประชากรไปแล้วถึง 2.87 ล้าน หรือร้อยละ 15 ของประชากรทั้งประเทศ
ต่อมาเป็นประเทศที่เพิ่งได้รับวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคสด ๆ ร้อน ๆ นั่นคือ ฮ่องกงเม็กซิโก และโคลอมเบีย
วัคซีนโควิด-19 ซิโนแวคมาถึงฮ่องกงเมื่อวันที่ 19 ก.พ. โดยฮ่องกงสั่งไว้ 7.5 ล้านโดส มาถึงเม็กซิโกวันที่ 20 ก.พ. สั่งไว้ 10 ล้านโดส และมาถึงโคลอมเบียวันที่ 21 ก.พ. สั่งไว้ 2.5 ล้าน ทั้งสามประเทศเพิ่งได้รับวัคซีนมาจึงยังอยู่ระหว่างเตรียมการฉีดวัคซีนให้ประชาชน
สุดท้ายเป็นกลุ่มประเทศที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเลยแม้แต่โดสเดียว ได้แก่
ฟิลิปปินส์ วัคซีนจะมาถึงวันพรุ่งนี้ (23 ก.พ.) สั่งไว้ทั้งหมด 25 ล้านโดส ไทย วัคซีนจะมาถึงวันที่ 24 ก.พ. สั่งไว้ 2 ล้านโดส ล็อตแรกจะส่งมาก่อน 200,000 โดส ส่วนเพื่อนบ้านเราอย่าง มาเลเซีย จะได้รับวัคซีนล็อตแรก 27 ก.พ. จากทั้งหมด 12 ล้านโดส
ส่วน ยูเครน และอุรุกวัย ยังไม่มีกำหนดวันส่งมอบที่ชัดเจน แต่คาดว่าอยู่ระหว่างปลายเดือน ก.พ. ถึงต้นเดือน มี.ค. นี้ และสั่งไว้ปริมาณพอ ๆ กัน คือราว 1.8 ล้านโดส
นอกจากนี้ ยังมีอยู่ 3 ประเทศที่ตกลงสั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวค แต่ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบเพื่อรับรองให้ใช้งานได้ในประเทศ นั่นคือ โบลิเวีย สิงคโปร์ และซิมบับเว
รวมแล้วจึงมีทั้งหมด 17 ประเทศทั่วโลกที่สั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 จากซิโนแวค แต่จากการสังเกตเบื้องต้นพบว่า ประเทศในแถบยุโรปจะไม่ค่อยให้ความเชื่อมั่นในวัคซีนตัวนี้ และหันไปเลือกไฟเซอร์ โมเดอร์นา หรือแอสตราเซเนกามากกว่า แม้ยังไม่พบรายงานผลข้างเคียงหรือผลเสียจากการใช้ที่ร้ายแรงก็ตาม
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/142560
🔴วัคซีนโควิด-19 ขณะนี้เป็นที่ต้องการของคนทั่วโลก แต่ตู้แช่ที่จะเก็บตัววัคซีนโควิดได้ ก็เป็นสิ่งสำคัญ หลายคนคงไม่รู้ว่า คนไทยมีศักยภาพในการผลิตตู้แช่วัคซีนโควิด บางคนถึงขั้นพลิกวิกฤตเป็นโอกาสกับธุรกิจนี้
ตัววัคซีนโควิดได้ ก็เป็นสิ่งสำคัญ หลายคนคงไม่รู้ว่า คนไทยมีศักยภาพในการผลิตตู้แช่วัคซีนโควิด บางคนถึงขั้นพลิกวิกฤตเป็นโอกาสกับธุรกิจนี้
หนึ่งในอดีตมนุษย์เงินเดือนที่เคยยึดอาชีพงานประจำ แต่ก็มาถึงวันที่ชีวิตพลิกผันด้วยวิกฤตโควิด-19 ได้กลายเป็นหนึ่งเจ้าของธุรกิจตู้แช่วัคซีนโควิด-19 ที่ทั่วโลกกำลังต้องการเป็นอย่างมาก เพราะผลิตภัณฑ์ตู้แช่ สามารถรองรับการจัดเก็บวัคซีนโควิดของบริษัทชั้นนำได้เป็นอย่างดี ทั้ง แอสตร้าเซเนก้า, ซิโนแวค และจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน
โดยธนานันต์ สุวรรณโพธิ์รุ่ง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ธนวรรณ เครื่องเย็น จำกัด เล่าว่า เดิมที่บ้านได้ทำธุรกิจตู้แช่เย็นอยู่แล้ว แต่ก็ถูกผลกระทบจากเทคโนโลยีเข้ามาดิสรัปชัน ทำธุรกิจได้รับผลกระทบ ยอดขายลดลง เมื่อเข้าสู่ช่วงโควิดรอบแรกระบาด กลับกลายเป็นโอกาส ผู้คนต้องอยู่บ้าน มีการเวิร์คฟอร์มโฮม ทำให้มียอดขายกลับคืนมา ลูกค้าซื้อไปใช้เก็บอาหารที่บ้านมากขึ้นจนยอดขายทะลุ 100 ล้านบาท หรือโตขึ้นกว่า 30% จากช่วงเดียวกันของปี 2562
เมื่อเข้าสู่ปี 2564 หลายประเทศมีการจัดหาวัคซีน ตนก็ได้ติดตามข่าวสารมาตลอด ซึ่งต้องใช้ตู้แช่แบบพิเศษ ที่มีขนาด 24-30 คิว มีกระจกหนา 3 ชั้น เพื่อควบคุมอุณหภูมิได้เสถียรกว่าปกติในระดับ 2-8 องศาเซลเซียส มีความชื้นต่ำกว่า 55% รวมถึงโครงสร้างภายในเป็นสแตนเลสทำความสะอาดง่าย ตนจึงคิดต่อยอดนำตู้แช่ของบริษัท มาพัฒนาให้มีประสิทธิภาพจนทำให้ธุรกิจ “ตู้แช่ยา” ก้าวมาเป็น “โปรดักส์ฮีโร่” ดันยอดขายเพิ่มสูงขึ้นกว่า 400%
สำหรับธุรกิจตู้แช่ยาหรือวัคซีน ถือเป็นการเริ่มต้นจากการเห็นปัญหา ว่าประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เมื่อมีผู้สูงอายุมากขึ้นอาการเจ็บป่วยก็ต้องมากขึ้นด้วย การรักษาจึงเป็นสิ่งสำคัญ ย่อมเป็นโอกาสของธุรกิจตู้แช่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรม ด้วยคู่แข่งมีเพียงไม่กี่ราย ธุรกิจจึงต้องแสวงหาความแตกต่าง เช่น มาตรฐานการออกแบบเพื่อแช่ยาโดยเฉพาะ ให้อุณหภูมิคงตัวมากที่สุด ระบบไอโอที หรือ Internet of Things เข้ามาเสริม จากมินิเตอร์ผ่านระบบออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และแจ้งเตือนผ่านไลน์เมื่ออุณหภูมิผิดปกติ
ด้านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการรวมตัวกันของผู้ประกอบการ เพื่อร่วมกันพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ ที่ใช้ทางการแพทย์ โดยเฉพาะตู้แช่วัคซีนโควิด มอบให้แก่สถานพยาบาลรัฐ 77 จังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงจะผลักดันตู้แช่ยาของไทยให้เป็นมาตรฐานโลก ซึ่งอาจก้าวขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยได้ ด้วยคุณภาพของผู้ผลิตไทยถือเป็นอันดับต้นๆ ของอาเซียนอยู่แล้ว
สำหรับอนาคตอุตสาหกรรมตู้แช่ไทย ยังเปิดกว้าง โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ที่ธุรกิจร้านอาหาร โรงพยาบาลเอกชนของไทย ก็ก้าวออกไปขยายโอกาสทางธุรกิจ ล้วนเป็นปัจจัยหนุนให้อุตสาหกรรมเติบโตต่อเนื่อง โดยประเมินว่ามูลค่าตลาดตู้แช่ในปัจจุบันอยู่ที่ 6,000-7,000 ล้านบาท
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/142514?utm_source=web_pptv&utm_medium=relatelink_3&utm_campaign=142560
เราจะชนะไปด้วยกัน...