เสริมสร้างความมั่นใจต่างชาติ ช่วงเปิดประเทศท่ามกลางการระบาดโควิด-19
โดย ณัฐภาณุ นพคุณ
รองอธิบดีกรมสารนิเทศ และรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ
สถานการณ์โควิด-19 ของไทยถือว่าดีกว่าในหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าใครจะวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร แต่ในองค์รวม ทั้งคนไทยและหน่วยงานไทยทำได้ดีและได้รับการยกย่องทั่วโลก และขณะที่เรายังต้องระมัดระวังอย่างเข้มข้นไม่ให้การ์ดตก ยังต้องใส่หน้ากาก เราก็ดำเนินการสร้างความมั่นใจกับต่างชาติควบคู่กันไป
เป็นที่แน่นอนว่า สถานการณ์ในแต่ละประเทศต่างกัน และบริบทในประเทศไทยเองก็เปลี่ยนไป มีการตั้งมีศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ (ศบศ.) เพื่อดำเนินงานด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ และแม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เป็นศูนย์ปฏิบัติการ แต่งานด้าน “การบูรณการการสาธารณสุข-การบังคับใช้กฎหมายและมาตรการ-มิติต่างประเทศและการช่วยเหลือพี่น้องชาวไทย” ก็ยังคงดำเนินต่อไป
ในส่วนนี้ สถานทูตและสถานกงสุลใหญ่ไทยทั่วโลกได้ออกไปพบปะกับหน่วยงานของประเทศต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่นหอการค้า นักธุรกิจนักลงทุน กระทรวงการค้า ฯลฯ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าไทยนั้นก้าวไปข้างหน้าแต่ยังคงระมัดวัง ซึ่งเมื่อถึงเวลา เราก็จะกลับมาเป็นแหล่งการลงทุนและแหล่งท่องเที่ยวได้เหมือนเดิม นอกจากนี้ ได้มีการเผยแพร่ศักยภาพของระบบโครงสร้างพื้นฐานและโครงการใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย รวมทั้ง ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor-EEC) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นแหล่งที่สำคัญสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ
ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศเอง ได้มีการสร้างความมั่นใจกับสถานทูตต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง การหารือทางการทูตรายประเทศหรือรายภูมิภาคเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และได้มีการสื่อสารข้อมูลประจำ เช่นผ่านการบรรยายสรุปให้คณะทูตานุทูตและหอการค้าต่างประเทศ การจัดการกิจกรรมให้คณะทูตได้เห็นถึงความพร้อมของภาคเอกชนไทยในรูปแบบการเสวนา MFA CEO Forum และแหล่งข้อมูลออนไลน์ด้านเศรษฐกิจ Globthailand เป็นต้น นอกจากนี้ มีการสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ ด้วย และในส่วนขององค์การระหว่างประเทศ ได้มีการหารือเรื่องการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยไทยได้แสดงออกว่า เป็นประเทศที่มีความพร้อมที่จะแบ่งปันข้อมูล ริเริ่มโครงการ และให้ความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นในกรอบสหประชาชาติ อาเซียน องค์การอนามัยโลก และกรอบ Foreign Policy and Global Health (FPGH) Initiative เป็นต้น
การสื่อสารเพื่อสร้างความมั่นใจเป็นเรื่องที่สำคัญและไม่ควรมีที่สิ้นสุด ทางกรมสารนิเทศ เล็งเห็นถึงความสำคัญนี้ และได้สร้างความมั่นใจผ่านสื่อต่างประเทศในหลายโอกาส เช่น การแถลงข่าวภาคภาษาอังกฤษที่พยายามสร้างความอุ่นใจแต่ระมัดระวังในหมู่ชาวต่างชาติในไทยและสอดแทรกประเด็นด้านเศรษฐกิจ การเผยแพร่ข้อมูลผ่านการให้สัมภาษณ์และเสวนากับสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (Foreign Correspondents Club of Thailand – FCCT) ซึ่งเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ได้จัดให้สมาชิก FCCT เยือนโครงการสถานีกลางบางซื่อ เพื่อให้สื่อมวลชนต่างประเทศได้เห็นว่าไทยกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม นอกจากนี้ เนื้อหา (content) ที่สร้างความมั่นใจออกสู่สายตาชาวโลกอย่างต่อเนื่อง ผ่านรูปแบบดิจิทัลและการตีพิมพ์ในสื่อระดับโลก เพื่อสร้างความมั่นใจจากมุมมองไทย เช่น บทความในนิตยสาร TIME และ Bloomberg content hub ที่เผยแพร่ไปแล้วในปีนี้
เสริมสร้างความมั่นใจต่างชาติ ช่วงเปิดประเทศท่ามกลางการระบาดโควิด-19
โดย ณัฐภาณุ นพคุณ
รองอธิบดีกรมสารนิเทศ และรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ
สถานการณ์โควิด-19 ของไทยถือว่าดีกว่าในหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าใครจะวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร แต่ในองค์รวม ทั้งคนไทยและหน่วยงานไทยทำได้ดีและได้รับการยกย่องทั่วโลก และขณะที่เรายังต้องระมัดระวังอย่างเข้มข้นไม่ให้การ์ดตก ยังต้องใส่หน้ากาก เราก็ดำเนินการสร้างความมั่นใจกับต่างชาติควบคู่กันไป
เป็นที่แน่นอนว่า สถานการณ์ในแต่ละประเทศต่างกัน และบริบทในประเทศไทยเองก็เปลี่ยนไป มีการตั้งมีศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ (ศบศ.) เพื่อดำเนินงานด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ และแม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เป็นศูนย์ปฏิบัติการ แต่งานด้าน “การบูรณการการสาธารณสุข-การบังคับใช้กฎหมายและมาตรการ-มิติต่างประเทศและการช่วยเหลือพี่น้องชาวไทย” ก็ยังคงดำเนินต่อไป
ในส่วนนี้ สถานทูตและสถานกงสุลใหญ่ไทยทั่วโลกได้ออกไปพบปะกับหน่วยงานของประเทศต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่นหอการค้า นักธุรกิจนักลงทุน กระทรวงการค้า ฯลฯ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าไทยนั้นก้าวไปข้างหน้าแต่ยังคงระมัดวัง ซึ่งเมื่อถึงเวลา เราก็จะกลับมาเป็นแหล่งการลงทุนและแหล่งท่องเที่ยวได้เหมือนเดิม นอกจากนี้ ได้มีการเผยแพร่ศักยภาพของระบบโครงสร้างพื้นฐานและโครงการใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย รวมทั้ง ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor-EEC) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นแหล่งที่สำคัญสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ
ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศเอง ได้มีการสร้างความมั่นใจกับสถานทูตต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง การหารือทางการทูตรายประเทศหรือรายภูมิภาคเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และได้มีการสื่อสารข้อมูลประจำ เช่นผ่านการบรรยายสรุปให้คณะทูตานุทูตและหอการค้าต่างประเทศ การจัดการกิจกรรมให้คณะทูตได้เห็นถึงความพร้อมของภาคเอกชนไทยในรูปแบบการเสวนา MFA CEO Forum และแหล่งข้อมูลออนไลน์ด้านเศรษฐกิจ Globthailand เป็นต้น นอกจากนี้ มีการสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ ด้วย และในส่วนขององค์การระหว่างประเทศ ได้มีการหารือเรื่องการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยไทยได้แสดงออกว่า เป็นประเทศที่มีความพร้อมที่จะแบ่งปันข้อมูล ริเริ่มโครงการ และให้ความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นในกรอบสหประชาชาติ อาเซียน องค์การอนามัยโลก และกรอบ Foreign Policy and Global Health (FPGH) Initiative เป็นต้น
การสื่อสารเพื่อสร้างความมั่นใจเป็นเรื่องที่สำคัญและไม่ควรมีที่สิ้นสุด ทางกรมสารนิเทศ เล็งเห็นถึงความสำคัญนี้ และได้สร้างความมั่นใจผ่านสื่อต่างประเทศในหลายโอกาส เช่น การแถลงข่าวภาคภาษาอังกฤษที่พยายามสร้างความอุ่นใจแต่ระมัดระวังในหมู่ชาวต่างชาติในไทยและสอดแทรกประเด็นด้านเศรษฐกิจ การเผยแพร่ข้อมูลผ่านการให้สัมภาษณ์และเสวนากับสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (Foreign Correspondents Club of Thailand – FCCT) ซึ่งเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ได้จัดให้สมาชิก FCCT เยือนโครงการสถานีกลางบางซื่อ เพื่อให้สื่อมวลชนต่างประเทศได้เห็นว่าไทยกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม นอกจากนี้ เนื้อหา (content) ที่สร้างความมั่นใจออกสู่สายตาชาวโลกอย่างต่อเนื่อง ผ่านรูปแบบดิจิทัลและการตีพิมพ์ในสื่อระดับโลก เพื่อสร้างความมั่นใจจากมุมมองไทย เช่น บทความในนิตยสาร TIME และ Bloomberg content hub ที่เผยแพร่ไปแล้วในปีนี้