ตอนนี้เรายังมีปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์อยู่ไหมคะ แล้วแต่ละรายเขาแก้ปัญหา - ปัญหาเฉพาะหน้า กันอย่างไร

เห็นว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราส่งออกได้น้อยกว่าที่ควร และกำลังเกิดการแย่งชิงลูกค้าจากประเทศคู่แข่งน่ะค่ะ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
ภาษา คนทำเรือ เค้าเรียกกันว่าตู้ short
จริงๆมันเป็นเรื่อง classic ครับ
ช๊อตกันทุกปี ตั้งแต่สมัยอดีตกาล แต่ไม่เป็นข่าวเพราะประเทศเรา เป็นผลิตส่งออก มากว่านำเข้า สัดส่วนต่างกันมหาศาล จะemptyตู้เข้ามาก็ไม่คุ้ม ตู้ไปนอนแช่อยู่ตาม CY ที่ปลายทางบาน ค่าซ่อมตู้ในยุโรปก็แพง ตู้เสีย ชำรุด ผุ มีรูน้ำทะเลเข้าก็ใช้ไม่ได้อีก ซ่อมไปก็เป็นcost ต้องรอให้มีส่งออกของที่เป็นพวกขยะอย่าง metal scrap ถึงจะได้ขึ้นเรือมาซ่อมที่เมืองไทย เค้าเองก็ไม่ได้ส่งออก เยอะ พอตู้สภาพพร้อมใช้มาทีก็  โดนสอยไป ตามทางหมด ต้องจัดสรรปันส่วน แต่ละประเทศส่งออกหลักๆ กว่าจะถึงแหลมฉบัง แค่เจอที่อินเดีย ก็ตู้จะหมดแล้ว
แล้วช่วงฮอท ของปี ที่ของออกจากจีนเยอะ ใช้ตู้ถล่มทลาย ยังไม่นับตู้ข้าว น้ำตาล ที่ใช้กันวีคละเป็นพันๆตู้ นี่ผมตีให้ต่ำๆนะ
วิธีที่ทำกันเอง ซึ่งก็มีวิธีเดียว ก็คือ ทำ forecast ลูกค้าแต่ละเจ้าให้ กระทุ้งๆไปที่ Cen-opt หรือ Cen-trade กลางที่ยุโรป หรือ ญี่ปุ่น ซึ่งเป็น ที่ตั้ง ของบริษัทเรือ ส่วนใหญ่ในโลก
ส่วนผู้ส่งออกที่ไม่อยู่ใน protected listก็ ว่ากันซื่อๆ คือ ไปเอาหัวลากดักรอคิวรับตู้ที่CY เหมือนไปซื้อครัวซอง ยอดฮิต ต่อคิวกันยาวเฟื้อย มีสารพัดวิธี ลักฉกตู้55 ใครมาถึงก่อน ได้ก่อน ใช้สารพัด connection

สรุปสั้นๆ เราส่งออกเยอะ นำเข้าน้อย แล้วต้องแบ่งตู้กันใช้ในประเทศส่งออกด้วยกันอีก เพราะโซน South - East Asia ล้วนแต่เป็น รวมดาวผู้ส่งออกหลักของโลก ส่วนจะให้รัฐมาอุดหนุน ผู้น้ำเข้าเยอะๆ แล้วจะได้มีตู้นำเข้าเยอะๆตาม มันก็ไม่น่าจะได้ เพราะสินค้านำเข้าที่ต้องใช้ตู้ มันจำกัดอยู่แล้ว พูดง่ายๆคือ ของนำเข้า มีแต่มันน้อย ส่วนจะให้ รัฐช่วยออกตังค์แบบคนละครึ่ง ช่วยจ่ายค่าempty ตู้เข้ามาในช่วงขาดตู้ นี่มันก็แหม่งๆ เพราะเป็นภาษีคนทั้งประเทศ ถ้าถามผม สรุปอีกทีคือ ต้องหาเจ้าภาพ ช่วยจ่ายค่าสั่งตู้เปล่านำเข้า ซึ่งภาระก็จะไปตกที่รัฐ ไม่ก็ผู้ส่งออกอีก
แล้วก็จะมีคนถาม ทำไมไม่ผลิตตู้เองละ เอ่อ นึกถึงตอนที่ตู้เฟ้อ ไม่ได้ใช้คราวนี้ มันจะบานวางกันล้น เปฌนล้านๆใบเปลืองที่วาง ค่าดูแลรักษาอีกเป็นเงินหมดนะครับ ต้องมาทะเลากันอีกว่าใครจะจ่ายอีก 555
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่