สามารถขอใบรับรองแพทย์ล่วงหน้าได้ไหม

กระทู้คำถาม
พอดีมีความจำเป็นต้องใช้ใบรับรองแพทย์อีก 3-4 วัน
พอดีอีก 2-3 วันข้างหน้า ไม่ว่างไปสะดวกพบแพทย์เลย
สะดวกแค่วันนี้ เพราะ ติดงาน
จึงอยากทราบว่า เราสามารถให้แพทย์ออกเอกสารใบรับรองแพทย์ล่วงหน้าได้ไหม
แก้ไขข้อความเมื่อ
ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 12


ใบรับรองแพทย์ที่ปรับใหม่ ... ผู้ขอใบรับรองแพทย์ ต้องเขียนรายละเอียดของตนเองด้วย ... ถ้าไม่ถูกต้องไม่เป็นความจริง ก็ต้อง"ร่วม"รับผิดชอบทางกฏหมาย

แถม ..

ความรู้เกี่ยวกับ ใบรับรองแพทย์     
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=06-01-2008&group=4&gblog=5

แพทย์กับใบรับรองแพทย์

การออกใบรับรองแพทย์ที่ไม่ถูกต้อง หรือ เป็นเท็จ แพทย์อาจได้รับโทษได้อย่างน้อย 2 สถานคือ

1. ความผิดทางกฎหมายอาญา มาตรา 269

ซึ่งระบุว่า ผู้ใดในการประกอบการงานในวิชาแพทย์ กฎหมาย บัญชี หรือ วิชาชีพอื่นใด ทำคำรับรองเป็นเอกสารอันเป็นเท็จ โดยประกอบการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

2. ความผิดเกี่ยวกับข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษามารยาทแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2526 หมวดที่ 3 ข้อที่ 9

ซึ่งระบุว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่ออกใบรับรองอันเป็นความเท็จโดยตั้งใจหรือให้ความเห็นโดย ไม่สุจริตในเรื่องใดเกี่ยวกับวิชาชีพของตน ซึ่งอาจถูกลงโทษถึงขั้น พักใช้ หรือ เพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ



ประชาชนกับใบรับรองแพทย์

สำหรับประชาชนที่ให้แพทย์ออกใบรับรองให้ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่ถูกต้อง และ นำใบรับรองนั้นไปใช้ ก็จะต้องมีความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 269 ด้วย (ผู้ใดทุจริต ใช้ หรืออ้างคำรับรองอันเกิดจากการกระทำผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)



จะเห็นได้ว่าใบรับรองแพทย์ มีความสำคัญอย่างยิ่งในแง่ของกฎหมาย และการที่ผู้ป่วยจะขอใบรับรองแพทย์ก็ต้องคำนึงถึงว่าจะนำใบรับรองแพทย์ไปใช้เพื่ออะไร .. แพทย์จะได้ออกใบรับรองให้ถูกต้องกับการนำไปใช้มากที่สุด

ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งแพทย์และผู้ป่วยก็ต้องระมัดระวังในเรื่องของความถูกต้องและเป็นจริง เพราะการออกใบรับรองแพทย์ที่เป็นเท็จก็มีความผิดทางกฎหมายทั้งแพทย์ และ ผู้ที่นำใบรับรองแพทย์นั้นไปใช้



กฎหมายที่ควรทราบเพิ่มเติม

1.1 ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 177 ผู้ใดเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ได้กระทำในการพิจารณาคดีอาญา ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีและปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

1.2 ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 279 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูก-กระทำร้าย ได้รับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบสองปี อันตรายสาหัสคือ

1.ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือ เสีย ญาณประสาท

2.เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์

3.เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด

4.หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว

5.แท้งลูก

6.จิตพิการอย่างติดตัว

7.ทุพพลภาพ หรือป่วยเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต

8.ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือจนประกอบกรณียะกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน


ปล. ใบรับรองแพทย์ ไม่ใช่แค่เรื่องของ แพทย์ กับ ผู้ป่วย (ญาติ) แต่ ใบรับรองแพทย์ จะถูกตรวจสอบโดย "บุคคลที่ ๓" เสมอ .. ดังนั้น แพทย์ ก็ต้องระมัดระวังตนเอง อย่าทำเพราะเกรงใจ หรือ อามิสสินจ้าง เพราะ ถ้าเกิดปัญหาขึ้น อาจหมดอนาคต

หวังว่า ผู้ป่วย(ญาติ) จะเข้าใจและเห็นใจแพทย์ มากขึ้นนะครับ


"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่