ข้อไหล่เป็นข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดในร่างกาย และเป็นข้อต่อที่เคลื่อนหรือหลุดได้บ่อยที่สุดเช่นกัน
เมื่อเกิดข้อไหล่หลุดครั้งหนึ่งแล้วจะมีโอกาสที่จะหลุดซ้ำอีก
ข้อไหล่หลุด คือภาวะที่หัวกระดูกต้นแขนหลุดออกจากเบ้า มากกว่า 90% จะหลุดมาทางด้านหน้า เมื่อเกิดข้อไหล่หลุด
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก หัวไหล่ผิดรูป ขยับแขนไม่ได้ บางรายอาจมีอาการแขนชาจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทข้อไหล่หลุด
จัดเป็นหนึ่งในภาวะเร่งด่วนที่ต้องได้รับการรักษาทันที
จากการศึกษาทางกายวิภาคพบว่า รูปร่างของข้อไหล่มีลักษณะคล้ายกับลูกกอล์ฟที่ตั้งอยู่บนที ตัวลูกกอล์ฟ
คือหัวกระดูกต้นแขน (humeral head) ส่วนที คือเบ้ากระดูกสะบัก (glenoid) ที่มีลักษณะเป็นแอ่งตื้นๆ
ธรรมชาติสร้างให้ข้อไหล่มีความมั่นคงเพิ่มขึ้นด้วยขอบกระดูกอ่อน(glenoidal labrum) เพิ่มความลึกของเบ้า
และมีเยื่อหุ้มข้อต่อโดยรอบที่แข็งแรง (glenohumeral ligament) นอกจากรูปร่างของกระดูกหัวไหล่แล้ว
กล้ามเนื้อรอบๆ หัวไหล่ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นคงของข้อไหล่
สาเหตุของข้อไหล่หลุด
ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น แขนถูกกระชากหรือกระแทก ไฟฟ้าช็อต ในบางกรณีอาจเกิดขึ้นจากโรคอื่นๆ
เช่น การบาดเจ็บของเส้นประสาทต้นแขน ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ หรือภาวะที่เส้นเอ็นทั่วร่างกายหย่อนแต่กำเนิด
การรักษาข้อไหล่หลุด
แพทย์จะให้ยาระงับปวด ดึงข้อไหล่ให้เข้าที่ แล้วยึดตรึงข้อไหล่ให้นิ่งด้วยผ้าคล้องแขนประมาณ 2 -3 สัปดาห์
จากนั้นจะทำกายภาพบำบัดและบริหารกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อไหล่ เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติ
ข้อควรระวังคือ บ่อยครั้งที่ผู้ใกล้ชิดจะช่วยดึงข้อไหล่ให้กลับเข้าที่กันเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียกับผู้ป่วย
เนื่องจากภาวะข้อไหล่หลุดอาจเกิดร่วมกับกระดูกหัก หรือการบาดเจ็บของเส้นเลือดและเส้นประสาท
จำเป็นต้องตรวจอย่างละเอียดก่อนทำการรักษา ดังนั้นควรส่งผู้ป่วยที่สงสัยว่าข้อไหล่หลุดมาพบแพทย์เสมอ
แนวทางการรักษาทางกายภาพบำบัด
1. ลดอาการปวดบริเวณข้อไหล่ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่ร่วมด้วย เช่นการใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์ การวางแผ่นประคบร้อน
2. ดึงดัดข้อไหล่ เพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ให้มากขึ้น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะไหล่ติดร่วมด้วย
3. เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อรอบๆข้อไหล่
4. ให้คำแนะนำถึงการป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค
โดย ฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด
การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยข้อไหล่หลุด
เมื่อเกิดข้อไหล่หลุดครั้งหนึ่งแล้วจะมีโอกาสที่จะหลุดซ้ำอีก
ข้อไหล่หลุด คือภาวะที่หัวกระดูกต้นแขนหลุดออกจากเบ้า มากกว่า 90% จะหลุดมาทางด้านหน้า เมื่อเกิดข้อไหล่หลุด
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก หัวไหล่ผิดรูป ขยับแขนไม่ได้ บางรายอาจมีอาการแขนชาจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทข้อไหล่หลุด
จัดเป็นหนึ่งในภาวะเร่งด่วนที่ต้องได้รับการรักษาทันที
จากการศึกษาทางกายวิภาคพบว่า รูปร่างของข้อไหล่มีลักษณะคล้ายกับลูกกอล์ฟที่ตั้งอยู่บนที ตัวลูกกอล์ฟ
คือหัวกระดูกต้นแขน (humeral head) ส่วนที คือเบ้ากระดูกสะบัก (glenoid) ที่มีลักษณะเป็นแอ่งตื้นๆ
ธรรมชาติสร้างให้ข้อไหล่มีความมั่นคงเพิ่มขึ้นด้วยขอบกระดูกอ่อน(glenoidal labrum) เพิ่มความลึกของเบ้า
และมีเยื่อหุ้มข้อต่อโดยรอบที่แข็งแรง (glenohumeral ligament) นอกจากรูปร่างของกระดูกหัวไหล่แล้ว
กล้ามเนื้อรอบๆ หัวไหล่ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นคงของข้อไหล่
สาเหตุของข้อไหล่หลุด
ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น แขนถูกกระชากหรือกระแทก ไฟฟ้าช็อต ในบางกรณีอาจเกิดขึ้นจากโรคอื่นๆ
เช่น การบาดเจ็บของเส้นประสาทต้นแขน ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ หรือภาวะที่เส้นเอ็นทั่วร่างกายหย่อนแต่กำเนิด
การรักษาข้อไหล่หลุด
แพทย์จะให้ยาระงับปวด ดึงข้อไหล่ให้เข้าที่ แล้วยึดตรึงข้อไหล่ให้นิ่งด้วยผ้าคล้องแขนประมาณ 2 -3 สัปดาห์
จากนั้นจะทำกายภาพบำบัดและบริหารกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อไหล่ เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติ
ข้อควรระวังคือ บ่อยครั้งที่ผู้ใกล้ชิดจะช่วยดึงข้อไหล่ให้กลับเข้าที่กันเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียกับผู้ป่วย
เนื่องจากภาวะข้อไหล่หลุดอาจเกิดร่วมกับกระดูกหัก หรือการบาดเจ็บของเส้นเลือดและเส้นประสาท
จำเป็นต้องตรวจอย่างละเอียดก่อนทำการรักษา ดังนั้นควรส่งผู้ป่วยที่สงสัยว่าข้อไหล่หลุดมาพบแพทย์เสมอ
แนวทางการรักษาทางกายภาพบำบัด
1. ลดอาการปวดบริเวณข้อไหล่ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่ร่วมด้วย เช่นการใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์ การวางแผ่นประคบร้อน
2. ดึงดัดข้อไหล่ เพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ให้มากขึ้น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะไหล่ติดร่วมด้วย
3. เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อรอบๆข้อไหล่
4. ให้คำแนะนำถึงการป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรค
โดย ฟิสิคอลคลินิกกายภาพบำบัด