.
เนื่องจากสถานการณ์ COVID19 ยังคงต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่หากติด COVID 19 จะมีอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
.
สถิติจากกระทรวงสาธารณะสุข พบว่ามีคนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดปีละกว่า 4 แสนคนและมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่า 2 หมื่นคนต่อปี หรือเฉลี่ยแล้วชั่วโมงละ 2 คน และถ้าผู้ป่วยโรคหัวใจมีการติดเชื้อ COVID-19 ร่วมด้วย จะมีอัตราการเสียชีวิต การเข้า ICU การใช้เครื่องช่วยหายใจ และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลก็มากกว่าผู้ป่วยทั่วไป โดยสถิติผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ที่เป็นโรคหัวใจมีจำนวนมากถึง 13% และอาจมีภาวะทางหัวใจและหลอดเลือดที่กำเริบขึ้นในขณะติดเชื้อ COVID-19 ได้อีกด้วย โดยจะพบว่ามี ภาวะหัวใจล้มเหลวมากขึ้น ประมาณ 20% เส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้น ประมาณ 10% หัวใจเต้นผิดจังหวะมากขึ้น ประมาณ 10% เพราะหากผู้ป่วยหัวใจติดเชื้อ COVID-19 จะทำให้มีกลไกการเกิดโรคหัวใจใหม่ โดยเชื่อว่าเกิดจาก มีการกระตุ้นระบบภูมิต้านทานในร่างกายที่มีต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ผลจากการกระตุ้นจากเชื้อไวรัสต่อ ถ้าเข้าในกล้ามเนื้อหัวใจทำให้เกิดการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงได้
.
เนื่องจาก COVID19 ทำให้เกิดปัญหาปอดบวมเป็นหลัก เหมือนกับขาดออกซิเจน ถ้ามีโรคหัวใจ โรคตรงนี้จะรุนแรงขึ้น การดูแลที่ดีที่สุด คือป้องกันตัวเองไม่ให้เป็น
.
นพ.วัฒนา บุญสม ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจ 24 ชั่วโมง รพ.วิชัยเวชฯ หนองขม ให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ในการปฎิบัติตัวเพื่อป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัส และลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคแทรกซ้อน ดังนี้
.
1. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ไม่เปลี่ยนยาเอง
2. คอยสังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย เช่น มีอาการหายใจติดขัด เจ็บหน้าอก หรือมีการเต้นของหัวใจผิดปกติหรือเปล่า
3. ปฎิบัติตามคำแนะนำทั่วไป เพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID19 คือ ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือใช้แอลกอฮอล์ เจลล้างมือ เลี่ยงการสัมผัสใบหน้า รวมไปถึงเลี่ยงการสัมผัสวัตถุสิ่งของที่เป็นจุดสัมผัสร่วม เช่น ปุ่มกดลิฟท์ มือจับ / ราวจับต่าง ๆ , สวมหน้ากาก, การเว้นระยะห่าง (Social Distancing)
4. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ใช้ภาชนะและช้อนส้อมของตนเอง ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
5. พักผ่อนให้เพียงพอ
6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
7. หากมีอาการไข้ หรือ มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ให้รีบพบแพทย์เพื่อประเมินการติดเชื้อและประเมินความรุนแรง และต้องบอกข้อมูลทั้งหมดให้แพทย์ทราบ ห้ามปกปิดข้อมูล เพราะข้อมูลทุกอย่างคุณหมอจะได้พิจารณาว่ามีโอกาสติดเชื้อจาก COVID19 มากน้อยแค่ไหน เพื่อประเมินการรักษาและการใช้ยาที่ถูกต้อง
.
เพราะโรคหัวใจ...ไม่ใช่เรื่องไกลตัว
ต้องรู้ทันและระวังให้ดีครับ
ติดตามข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจ จากศูนย์หัวใจวิชัยเวช ได้ใหม่ ในบทความต่อไปครับ
ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจยังไง ช่วง COVID19
.
สถิติจากกระทรวงสาธารณะสุข พบว่ามีคนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดปีละกว่า 4 แสนคนและมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่า 2 หมื่นคนต่อปี หรือเฉลี่ยแล้วชั่วโมงละ 2 คน และถ้าผู้ป่วยโรคหัวใจมีการติดเชื้อ COVID-19 ร่วมด้วย จะมีอัตราการเสียชีวิต การเข้า ICU การใช้เครื่องช่วยหายใจ และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลก็มากกว่าผู้ป่วยทั่วไป โดยสถิติผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ที่เป็นโรคหัวใจมีจำนวนมากถึง 13% และอาจมีภาวะทางหัวใจและหลอดเลือดที่กำเริบขึ้นในขณะติดเชื้อ COVID-19 ได้อีกด้วย โดยจะพบว่ามี ภาวะหัวใจล้มเหลวมากขึ้น ประมาณ 20% เส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้น ประมาณ 10% หัวใจเต้นผิดจังหวะมากขึ้น ประมาณ 10% เพราะหากผู้ป่วยหัวใจติดเชื้อ COVID-19 จะทำให้มีกลไกการเกิดโรคหัวใจใหม่ โดยเชื่อว่าเกิดจาก มีการกระตุ้นระบบภูมิต้านทานในร่างกายที่มีต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ผลจากการกระตุ้นจากเชื้อไวรัสต่อ ถ้าเข้าในกล้ามเนื้อหัวใจทำให้เกิดการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงได้
.
เนื่องจาก COVID19 ทำให้เกิดปัญหาปอดบวมเป็นหลัก เหมือนกับขาดออกซิเจน ถ้ามีโรคหัวใจ โรคตรงนี้จะรุนแรงขึ้น การดูแลที่ดีที่สุด คือป้องกันตัวเองไม่ให้เป็น
.
นพ.วัฒนา บุญสม ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจ 24 ชั่วโมง รพ.วิชัยเวชฯ หนองขม ให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ในการปฎิบัติตัวเพื่อป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัส และลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคแทรกซ้อน ดังนี้
.
1. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ไม่เปลี่ยนยาเอง
2. คอยสังเกตอาการผิดปกติของร่างกาย เช่น มีอาการหายใจติดขัด เจ็บหน้าอก หรือมีการเต้นของหัวใจผิดปกติหรือเปล่า
3. ปฎิบัติตามคำแนะนำทั่วไป เพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID19 คือ ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือใช้แอลกอฮอล์ เจลล้างมือ เลี่ยงการสัมผัสใบหน้า รวมไปถึงเลี่ยงการสัมผัสวัตถุสิ่งของที่เป็นจุดสัมผัสร่วม เช่น ปุ่มกดลิฟท์ มือจับ / ราวจับต่าง ๆ , สวมหน้ากาก, การเว้นระยะห่าง (Social Distancing)
4. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ใช้ภาชนะและช้อนส้อมของตนเอง ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
5. พักผ่อนให้เพียงพอ
6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
7. หากมีอาการไข้ หรือ มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ให้รีบพบแพทย์เพื่อประเมินการติดเชื้อและประเมินความรุนแรง และต้องบอกข้อมูลทั้งหมดให้แพทย์ทราบ ห้ามปกปิดข้อมูล เพราะข้อมูลทุกอย่างคุณหมอจะได้พิจารณาว่ามีโอกาสติดเชื้อจาก COVID19 มากน้อยแค่ไหน เพื่อประเมินการรักษาและการใช้ยาที่ถูกต้อง
.
ต้องรู้ทันและระวังให้ดีครับ
ติดตามข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจ จากศูนย์หัวใจวิชัยเวช ได้ใหม่ ในบทความต่อไปครับ