สุดยอดทหารในอนาคตเทคโนโลยี Exoskeleton




หน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ ระบุว่าจีนกำลังพยายามสร้าง "กัปตันอเมริกา" ในแบบของตัวเองขึ้นมา ซึ่งความเป็นไปได้ของสุดยอดทหารไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด และไม่ได้มีแค่จีนเท่านั้นที่สนใจสร้างทหารที่เสริมสมรรถนะของตัวเองขึ้นมา

การที่มีเงินทุนมหาศาลและความต้องการที่จะล้ำสมัย ทำให้กองทัพหลายประเทศในโลกจึงมักสร้างสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมา ตั้งแต่แบบที่ต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ไปจนถึงนวัตกรรมแบบง่าย ๆ อย่างเช่น การใช้เทปกาวในสมรภูมิรบ ก็มาจากคำแนะนำของคนงานในโรงงานสรรพาวุธในรัฐอิลลินอยส์ ซึ่งมีลูกชายหลายคนที่ทำงานในกองทัพเรือในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ในกรณีนี้ เนื่องจากด้วยความกังวลว่าเทปกระดาษที่ฉีกขาดง่าย ซึ่งถูกใช้ในการปิดกล่องเก็บกระสุนในสมัยนั้น จะทำให้ทหารต้องพะวักพะวนขณะกำลังยิงปะทะกันอยู่ในสนามรบ Vesta Oral Stoudt  จึงคิดหาทางออกด้วยการใช้เทปผ้าที่กันน้ำได้ แต่หัวหน้าของเธอไม่สนับสนุนความคิดนี้ แต่เมื่อเธอเขียนเรื่องนี้ถึงประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt เขาได้ให้ผู้ผลิตสิ่งของที่ใช้ในสงครามนำแนวคิดของเธอไปทำให้เกิดขึ้นจริง

(Stoudt ทำงานบรรจุตลับปืนไรเฟิลที่โรงงานสรรพาวุธ Green River Ordnance Plant ในเมืองดิกสัน รัฐอิลลินอยส์ เธอจำได้ว่าวิธีการปิดผนึกกล่องกระสุนแบบเดิมนั้นทำให้ทหารเปิดได้ยาก  ความคิดของเธอคือการปิดผนึกกล่องด้วยเทปที่ทำจากผ้าที่แข็งแรงและกันน้ำได้ ซึ่งต่อมาไม่นานหลังจากนั้น
Johnson & Johnson ซึ่งเชี่ยวชาญในอุปกรณ์การแพทย์ที่ได้รับมอบหมาย ได้พัฒนาผ้าเทปทนทานด้วยกาวที่แข็งแกร่งที่รู้จักกันในชื่อ “Duct Tape”  )


ชุดเกราะ Talos ของสหรัฐฯ ในวิดีโอโฆษณา


เมื่อปี 2014 Barack Obama ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะนั้น ได้ประกาศโครงการใหม่  โดยบอกกับนักข่าวว่า สหรัฐฯกำลังจะสร้าง " Iron man"  แต่ผู้คนพากันหัวเราะ  ในขณะที่เขาได้เริ่มงานจริง  

โดยกองทัพสหรัฐฯ ได้เริ่มโครงการผลิตชุดเกราะป้องกัน ที่รู้จักกันในชื่อว่า " ชุดจู่โจมทางยุทธวิธีน้ำหนักเบา " (Tactical Assault Light Operator Suit ) หรือ Talos ซึ่งมีวิดีโอโฆษณาที่คล้ายกับวิดีโอเกมเผยให้เห็นว่า ผู้สวมใส่ชุดเกราะนี้กำลังบุกเข้าไปในพื้นที่ของศัตรู และกระสุนที่ยิงโดนชุดเกราะจะกระเด็นออกไป

แต่เมื่อ 5 ปีผ่านไป  " Iron man" ไม่ได้เกิดขึ้น โครงการนี้สิ้นสุดลง แต่ผู้ผลิตหวังว่าจะมีการนำอุปกรณ์ที่ใช้งานเฉพาะบุคคล ของชุดเกราะนี้ไปใช้งานที่อื่นต่อไป ได้แก่เทคโนโลยี Exoskeleton (ชุดเกราะอัจฉริยะ) ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เป็นความหวัง ที่ทางกองทัพต่าง ๆ กำลังศึกษาเพื่อเสริมสมรรถนะให้แก่ทหาร

การเสริมสมรรถนะไม่ใช่เรื่องใหม่ นับตั้งแต่สมัยโบราณ มีการเสริมสมรรถนะให้แก่ทหารหลายอย่าง ทั้งด้านอาวุธ เครื่องมือ และการฝึกซ้อม
แต่ในปัจจุบัน การเสริมสมรรถนะอาจมีความหมายมากกว่า เพียงแค่การให้ปืนที่ยอดเยี่ยมกว่าเดิมแก่ทหารแต่ละนาย แต่มันอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่ตัวทหารแต่ละนายก็ได้



"future soldier" ของออสเตรเลีย ซึ่งมีชื่อเล่นว่า 'Carl' DST


ต่อมาในปี 2017 ประธานาธิบดี Vladimirovich Putin ของรัสเซีย ได้ออกมาเตือนว่ามนุษย์อาจสร้างสิ่งที่ "เลวร้ายยิ่งกว่าระเบิดนิวเคลียร์" ขึ้นมาในอีกไม่นานนี้
" บางคนอาจจินตนาการไปว่า มนุษย์อาจสร้างมนุษย์ที่มีลักษณะนิสัยบางอย่างติดตัวมา ไม่ใช่เพียงแค่ตามหลักวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่สามารถนำไปใช้งานได้จริงด้วย เขาอาจจะเป็นนักคณิตศาสตร์อัจฉริยะ นักดนตรีที่ยอดเยี่ยม หรือทหารที่สามารถต่อสู้โดยปราศจากความกลัว ความเห็นอกเห็นใจ ความเสียใจ หรือความเจ็บปวดใด ๆ"

แต่เมื่อปีที่แล้ว John Ratcliffe อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ (Office of Director of the National Intelligence--ODNI) กล่าวหาว่าจีนไปไกลกว่านั้นแล้ว โดยเขียนไว้ใน The Wall Street Journal ว่า จีนได้ทำการทดลองในมนุษย์ โดยหวังว่าจะพัฒนาทหารที่มีการเสริมสร้างขีดความสามารถในทางชีวภาพ อย่างไม่มีขอบเขตทางจริยธรรม  ซึ่งจีนตอบโต้บทความของเขาว่าไม่ใช่เรื่องจริง

แม้ว่า ขณะที่รัฐบาลของ Joe Biden ได้ล้มเลิกหลายสิ่งหลายอย่างที่ Donald John Trump อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทำไว้ แต่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับจีนน่าจะยังมีส่วนสำคัญต่อนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯอยู่


แนวความคิด "future soldier" ของรัสเซีย


การมีสุดยอดทหารในกองทัพ เป็นสิ่งที่น่าเย้ายวนใจของกองทัพต่าง ๆ ลองนึกดูว่า ทหารนายหนึ่งที่สามารถทนทานกับความเจ็บปวด อากาศที่หนาวเย็นสุดขั้ว หรือไม่จำเป็นต้องนอนหลับพักผ่อน แต่ข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี อาจฉุดรั้งความทะเยอทะยานนั้นกลับลงมา อย่างที่เกิดขึ้นกับความพยายามของสหรัฐฯ ในการสร้าง " Iron man"

โดยรายงานในปี 2019 จากนักวิชาการสหรัฐฯ 2 คน ระบุว่า กองทัพจีนก็กำลังทำการสำรวจเทคนิคต่าง ๆ อย่างเช่น การตัดต่อพันธุกรรม, Exoskeleton และ การผสานกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร ซึ่งรายงานนี้มาจากความเห็นของนักยุทธศาสตร์ทางทหารของจีนเป็นหลัก

ทั้งนี้ Elsa B.Kania นักวิจัยอาวุโสที่ศูนย์เพื่อความมั่นคงใหม่ของอเมริกัน (Center for a New American Security) หนึ่งในผู้เขียนรายงาน ได้ให้ความเห็นไว้ว่า เป็นเรื่องสำคัญในการทำความเข้าใจในสิ่งที่ต้องการทำให้เกิดขึ้นจริง แต่ก็ต้องยอมรับถึงความเป็นจริงของเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ด้วย


Talos “Iron Man Suit”
Cr.ภาพ hindipanda.com/


Tactical Assault Light Operator Suit หรือ TALOS ผลิตโดยกองทัพสหรัฐฯซึ่งออกแบบมาเพื่อแสดงวิสัยทัศน์ของชุด Exoskeleton ที่แข็งแรง
ซึ่งหวังว่าจะนำไปใช้กับหน่วยคอมมานโดชั้นยอด 

TALOS เป็นจุดสนใจของโครงการวิจัยมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ ที่เกิดจากการเสียชีวิตของหน่วยคอมมานโด ในระหว่างการช่วยเหลือตัวประกันในอัฟกานิสถาน ชื่อของ TALOS เป็นการแสดงความเคารพต่อโลหะยักษ์ในตำนานเทพเจ้ากรีก ที่ปกป้องเกาะครีตจากผู้รุกราน โดยวิ่งไปรอบเกาะครีต
วันละสามรอบได้อย่างง่ายดาย โดยมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการเรียกว่าชุด Iron Man

TALOS เป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานวิจัยระดับโลกที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก และในการพัฒนา Exoskeleton นี้จะช่วยให้ผู้คนมีความแข็งแกร่งและความอดทนเหนือมนุษย์ ซึ่งในการสร้างชุดนี้ก็สามารถทำได้ในแบบเดียวกันกับในหนังการ์ตูนและภาพยนตร์เรื่อง Iron Man แต่ความพยายามในการสร้างมันก็ยังมีความล้มเหลว

โดยรุ่นก่อนหน้าของ TALOS ที่เรียกว่า Human Universal Load Carrier (HULC) ถูกนำไปเก็บรักษาไว้ หลังจากพิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถใช้งานได้จริงโดยมันทำให้ผู้ใช้หมดแรงไปก่อนจากการชาร์จที่มากเกินไป 

และนักวิทยาศาสตร์บางคนก็ไม่เชื่อว่า TALOS ที่มีการออกแบบ Exoskeleton ที่หนักและแข็งเหมือน HULC จะทำงานได้ในเวลาอันใกล้และตลอดเวลาที่ต้องการ  โดยกล่าวว่าความล้มเหลวของพวกมัน มาจากปัญหาด้านพื้นฐานทางสรีรวิทยาซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข


HULC ซึ่งเป็น Exoskeleton ที่แข็ง และใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่พัฒนาโดยกองทัพสหรัฐในช่วงปลายยุค 2000
เป็นหนึ่งในความพยายามที่ล้มเหลวหลายครั้ง ในการช่วยเหลือทหารด้วยหุ่นยนต์



(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่