มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้เลขนัยสำคัญในการคำณวนครับ

สมมติว่า เราต้องการหาพื้นที่ผิวของลูกแก้วทรงกลมอันหนึ่ง แล้วใช้เวอร์เนียร์วัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ 16.32 mm

สูตรพื้นที่ผิววงกลมคือ 4πr^2 เมื่อคำนวณแล้วจะได้ประมาณ 836.739327 ตารางมิลลิเมตร

ที่ผมสงสัยก็คือ ถ้าเราจะปัดเลขทศนิยมโดยใช้หลักเลขนัยสำคัญ จะต้องปัดอย่างไรครับ ตัวที่เลขนัยสำคัญน้อยที่สุดจะต้องเป็นเลข 4 หรือ 16.32 ครับ? 

ปกติมันก็ควรจะเป็นเลข 4(เลขนัยสำคัญ 1 ตัว) แต่อย่างกรณีนี้เลข 4 เป็นค่าคงที่ที่มากับสูตรอยู่แล้ว และ(อันนี้แค่ความรู้สึก) ถ้าปัดให้เหลือเลขนัยสำคัญแค่ 1 ตัว คำตอบก็จะกลายเป็น 800 ตารางมิลลิเมตร ซึ่งมันเหมือนจะคลาดเคลื่อนไปพอสมควรเลย

ขอบคุณครับ

เพิ่มเติม ทั้งหมดที่ว่ามาเป็นการทดลองแล็บในวิชาฟิสิกส์ครับ คำสั่งคือให้วัดค่าแล้วนำไปคำนวณหาพื้นที่ผิวเลยครับ ทีนี้ที่ผมสงสัยคือระหว่างเลขนัยสำคัญ 1 ตัว(ของเลข 4 ในสูตร) กับ 4 ตัว(ของ 16.32) ควรจะใช้อันไหนเป็นเกณฑ์ในการปัดเลขทศนิยมในคำตอบสุดท้ายครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ตอนนี้ได้คำตอบแล้วครับ

"When a constant is present in a calculation involving measured values, the constant should be
viewed as being infinitely precise. This means that a constant will be the most precise quantity in
the calculation and so will not affect the number of significant figures in the final result."
cr.https://webassign.net/question_assets/tamucalcphysmechl1/appendix_a/manual.pdf

ก็คือให้นับว่าตัวค่าคงที่ในสูตรมีเลขนัยสำคัญแบบ infinitely ดังนั้นในคำถามผมจะกลายเป็น

S.A. =(4.00000000000...)π(8.16)^2 แสดงว่าใช้เลขนัยสำคัญเท่ากับ 8.16(3 ตัว) นั่นเองครับ

ข้างบน ผมลืมเอา 16.32 มาหารครึ่งให้เป็นรัศมีนิดนึง แต่จริง ๆ ก็ต้องการแค่หลักการเท่านั้นครับ

ผมอาจจะถามไม่ค่อยเคลียร์ แต่ก็ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาช่วยครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่