มหัศจรรย์จังหวัดยโสธร #5 ประเพณีบุญบั้งไฟ ขึ้นสู่ฟ้า เพื่อขอฝน
มหัศจรรย์ จังหวัดยโสธร#1 พิพิธภัณฑ์มาลัยข้าวตอก งานประเพณีมาลัยข้าวตอกหนึ่งเดียวในโลก
https://ppantip.com/topic/40374093
มหัศจรรย์ จังหวัดยโสธร#2 วัดพระพุทธบาท ยโสธร นมัสการรอยพระพุทธบาท ชม พระพุทธรูปหยกขาวขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
https://ppantip.com/topic/40374117
มหัศจรรย์จังหวัดยโสธร #3 โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ จ.ยโสธร Unseen Thailand โบสถ์ไม้ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
https://ppantip.com/topic/40374554/
มหัศจรรย์จังหวัดยโสธร #4 วิมานพญาแถน ตำนานต้นกำเนิดบุญบั้งไฟ อาคารคางคกใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
https://ppantip.com/topic/40481679
มหัศจรรย์จังหวัดยโสธร #5 ประเพณีบุญบั้งไฟ ตำนาน พระยาคันคาก และ พญาแถน ขึ้นสู่ฟ้า เพื่อขอฝน
https://ppantip.com/topic/40490548
มหัศจรรย์จังหวัดยโสธร #6 เที่ยวย่านเมืองบ้านเรือนเก่าในสไตล์ชิโน-โปรตุกีส ไหว้ศาลหลักเมือง 3 เสา 3 วัฒนธรรม
https://ppantip.com/topic/40638242
มหัศจรรย์ จังหวัดยโสธร# 7 "พระสุก" ปริศนาพระศักดิ์สิทธิ์กลางลำน้ำโขง
https://ppantip.com/topic/40649472
*** รีวิวงานประเพณีบุญบั้งไฟชุดนี้ผมเขียนจากการไปเที่ยวงานเมื่อ พค 2559 แต่ผมว่าลักษณะงานก็จะเหมือนกันทุกๆปี ไม่ได้เปลี่ยนอะไรมาก
*** ขอบคุณข้อมูลจากพี่สมพงษ์ สนง.การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดยโสธร พาณิชย์จังหวัด และข้อมูลจากเพจต่างๆ
บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของประเทศไทย ตลอดจนประเทศลาว[ต้องการอ้างอิง] โดยมีที่มาจากนิทานพื้นบ้านเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทานพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พญาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ โดยทั้งนี้การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ จังหวัดยโสธร ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการประชาสัมพันธ์งานประเพณี เป็นที่รู้จักแก่ชาวไทย และต่างประเทศ นับแต่ ปี 2523 ซึ่ง งานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร
จะจัดขึ้นใน
วันเสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์ที่สอง ของเดือนพฤษภาคม ในทุกปี โดยทั้งนี้ ในงานที่จัดของจังหวัดยโสธร ยังมีความโดดเด่น ในวันก่อนแห่ มีการประกวดกองเชียร์ จำนวนมาก รวมทั้ง วันแห่บั้งไฟ จะมีขบวนบั้งไฟแบบโบราณ และการรำเซิ้งแบบโบราณ จาก ทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดยโสธร เข้าร่วมด้วย
นอกจากนี้ยังพบว่า การจัดงานบั้งไฟในอดีต และปัจจุบัน ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด มีความโดดเด่น และเก่าแก่ มานาน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะที่ อำเภอสุวรรณภูมิ ที่มีการจัดงานในทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์ในสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายนในทุกปี ซึ่งเป็นงานที่มีบั้งไฟเอ้สวยงามขนาดใหญ่มากที่สุด (ลายศรีภูมิ หรือ ลายกรรไกรตัด) รวมทั้งขบวนรำสวยงามมากที่สุดของประเทศ , อำเภอพนมไพร ที่มีการจัดงานในทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ของทุกปี ตามรูปแบบประเพณีดั้งเดิมตามฮีตสองสองคองสิบสี่ โดยมีการจุดบั้งไฟถวายมากที่สุดในประเทศ โดยในแต่ละปีจะมีบั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน บั้งไฟล้าน รวมกันกว่า 1,000 บั้ง
และอีกหนึ่งที่ที่น่าสนใจ คือ งานบุญบั้งไฟตะไลล้าน บ้านกุดหว้า ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นชุมชนภูไทขาวเก่าแก่ ก่อตั้งหมู่บ้านมาประมาณ 150 ปี เป็นบั้งไฟที่ขึ้นในแนวนอนที่เรียกว่า ตะไล เป็นต้นแบบตะไลแห่งแรกของไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของบุญบั้งไฟของบ้านกุดหว้าแห่งนี้ เทศกาลจุดตะไลนี้ จะจัดขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้จากข้อมูลในปัจจุบัน แหล่งที่มีช่างในการจัดทำ บั้งไฟเอ้ ตกแต่งสวยงามมากที่สุด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยเฉพาะ อำเภอสุวรรณภูมิ, อำเภอธวัชบุรี, อำเภออาจสามารถ, อำเภอเสลภูมิ, อำเภอจตุรพักตร์พิมาน เป็นต้น, ส่วนค่ายบั้งไฟ ที่มีการทำบั้งไฟจุด พบได้จำนวนมาก ในเขตอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร, อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด และเขตจังหวัดอื่น ๆ ทางอีสานเหนือ ได้แก่ กาฬสินธุ์ โดยเฉพาะอำเภอท่าคันโท, อุดรธานี, หนองคาย เป็นต้น
ด้านมิติทางวัฒนธรรม พบว่า งานประเพณีบุญบั้งไฟลายศรีภูมิ (การตกแต่งบั้งไฟ ประเภท ลายกรรไกรตัด) ของ ชาวอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีมิติเชิงอนุรักษ์ และมีความโดดเด่น ด้านการสืบสานผ่านช่างฝีมือ และเป็นมรดกทางวัฒนธรรม สะท้อนวิถี "เมืองศรีภูมิ หรือ สุวรรณภูมิ" โดยในปี 2561 สำนักงานเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และนายสมศักดิ์ เศรษโฐ นายกเทศมนตรีตำบลสุวรรณภูมิ ได้รับรางวัล "วัฒนคุณาธร" จากการเป็นองค์กร และบุคคล ผู้ส่งเสริม สนับสนุน ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีบุญบั้งไฟลายศรีภูมิ ระดับประเทศ จากกระทรวงวัฒนธรรมด้วย
นอกจากนี้แล้วในพื้นที่ภาคเหนือ มีการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ ตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟที่ยิ่งใหญ่ โดยการสนับสนุนของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ เช่นกัน ทั้งนี้ เนื่องจากประชากรในเขตพื้นที่ ส่วนใหญ่ อพยพมาจาก เขตภาคอีสาน ในหลายสิบปีก่อนหน้า ส่วนภาคใต้ ยังสามารถพบการจัดงานบุญบั้งไฟ ในเขตอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส โดยเป็นการละเล่นของชาวอีสานที่ย้ายถิ่นฐานมาปักหลักทีนี่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 โดยถือเป็นเพียงพื้นที่เดียวในภาคใต้ของไทย นอกจากภาคอีสานที่มีการเล่นประเพณีนี้
ยังมีงานประเพณีบุญบั้งไฟในภาคกลางของไทยอีกที่หนึ่ง ในพื้นที่ อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวร้อยละ 85 เป็นชาวอีสานที่ได้ย้ายถิ่นฐานมาประกอบอาชีพเกษตรกรรม และได้นำวัฒนธรรมประเพณีบุญบั้งไฟที่ถือเป็นความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จึงทำให้ประเพณีบุญบั้งไฟใน อ.แม่เปิน เกิดขึ้น และได้อนุรักษ์ไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2532 อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ครั้งแรกในปี 2521 จนกลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการจัดประเพณีเป็นประจำในช่วงเดือน 6-7 หรือประมาณสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคม-เดือนมินายนของทุกปี ซึ่งที่ผ่านมา ได้รับความสนใจจากประชาชนในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียง เข้าร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก และนอกจากนี้ในพื้นที่ภาคเหนือ ก็มีการละเล่นประเพณีบุญบั้งไฟเช่นเดียวกัน โดยเป็นหนึ่งในประเพณีของล้านนา โดยมีความเชื่อคล้ายกับภาคอีสาน คือ เป็นการถวายเป็นพุทธบูชาและขอฝน
-------------------------------------
ความเชื่อของชาวบ้านกับประเพณีบุญบั้งไฟ
ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ และโลกเทมนุษย์อยู่ใต้อิทธิพลของเทวดา การรำผีฟ้าเป็นตัวอย่างที่แสดงออกทางด้านการนับถือเทวดา และเรียกเทวดาว่า “แถน” เมื่อถือว่ามีแถนก็ถือว่า ฝน ฟ้า ลม เป็นอิทธิพลของแถน หากทำให้แถนโปรดปราน มนุษย์ก็จะมีความสุข ดังนั้นจึงมีพิธีบูชาแถน การจุดบั้งไฟก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณความภักดีไปยังแถน ชาวอีสานจำนวนมากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน และมีนิทานปรัมปราเช่นนี้อยู่ทั่วไป แต่ความเชื่อนี้ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอน นอกจากนี้ในวรรณกรรมอีสานยังมีความเชื่ออย่างหนึ่งคือ เรื่องพญาคันคาก หรือคางคก พญาคันคากได้รบกับพญาแถนจนชนะแล้วให้พญาแถนบันดาลฝนลงมาตกยังโลกมนุษย์
ความหมายของบั้งไฟ
คำว่า “บั้งไฟ” ในภาษาถิ่นอีสานมักจะสับสนกับคำว่า “บ้องไฟ” แต่ที่ถูกนั้นควรเรียกว่า”บั้งไฟ”ดังที่ เจริญชัย ชนไพโรจน์ ได้อธิบายความแตกต่างของคำทั้งสองไว้ว่า บั้งหมายถึง สิ่งที่เป็นกระบอก เช่น บั้งทิง สำหรับใส่น้ำดื่ม หรือบั้งข้าวหลาม เป็นต้น
ส่วนคำว่า บ้อง หมายถึง สิ่งของใด ๆ ก็ได้ที่มี 2 ชิ้น มาสวมหรือประกอบเข้ากันได้ ส่วนนอกเรียกว่า บ้อง ส่วนในหรือสิ่งที่เอาไปสอดใสจะเป็นสิ่งใดก็ได้ เช่น บ้องมีด บ้องขวาน บ้องเสียม บ้องวัว บ้องควาย ดังนั้น คำว่า บั้งไฟ ในภาษาถิ่นอีสานจึงเรียกว่า บั้งไฟ ซึ่งหมายถึงดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง มีหางยาวเอาดินประสิวมาคั่วกับถ่านไม้ตำให้เข้ากันจนละเอียดเรียกว่า หมื่อ (ดินปืน) และเอาหมื่อนั้นใส่กระบอกไม้ไผ่ตำให้แน่นเจาะรูตอนท้ายของบั้งไฟ เอาไผ่ท่อนอื่นมัดติดกับกระบอกให้ใส่หมื่อโดยรอบ เอาไม้ไผ่ยาวลำหนึ่งมามัดประกบต่อออกไปเป็นหางยาว สำหรับใช้ถ่วงหัวให้สมดุลกัน เรียกว่า “บั้งไฟ” ในทัศนะของผู้วิจัย บั้งไฟ คือการนำเอากระบอกไม้ไผ่ เลาเหล็ก ท่อเอสลอน หรือเลาไม้อย่างใดอย่างหนึ่งมาบรรจุหมื่อ (ดินปืน) ตามอัตราส่วนที่ช่างกำหนดไว้แล้วประกอบท่อนหัวและท่อนหางเป็นรูปต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เพื่อนำไปจุดพุ่งขึ้นสู่อากาศ จะมีควันและเสียงดัง บั้งไฟมีหลายประเภท ตามจุดมุ่งหมายของประโยชน์ในการใช้สอย
[CR] มหัศจรรย์จังหวัดยโสธร #5 ประเพณีบุญบั้งไฟ ตำนาน พระยาคันคาก และ พญาแถน ขึ้นสู่ฟ้า เพื่อขอฝน
มหัศจรรย์ จังหวัดยโสธร#1 พิพิธภัณฑ์มาลัยข้าวตอก งานประเพณีมาลัยข้าวตอกหนึ่งเดียวในโลก
https://ppantip.com/topic/40374093
มหัศจรรย์ จังหวัดยโสธร#2 วัดพระพุทธบาท ยโสธร นมัสการรอยพระพุทธบาท ชม พระพุทธรูปหยกขาวขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
https://ppantip.com/topic/40374117
มหัศจรรย์จังหวัดยโสธร #3 โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ จ.ยโสธร Unseen Thailand โบสถ์ไม้ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
https://ppantip.com/topic/40374554/
มหัศจรรย์จังหวัดยโสธร #4 วิมานพญาแถน ตำนานต้นกำเนิดบุญบั้งไฟ อาคารคางคกใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
https://ppantip.com/topic/40481679
มหัศจรรย์จังหวัดยโสธร #5 ประเพณีบุญบั้งไฟ ตำนาน พระยาคันคาก และ พญาแถน ขึ้นสู่ฟ้า เพื่อขอฝน
https://ppantip.com/topic/40490548
มหัศจรรย์จังหวัดยโสธร #6 เที่ยวย่านเมืองบ้านเรือนเก่าในสไตล์ชิโน-โปรตุกีส ไหว้ศาลหลักเมือง 3 เสา 3 วัฒนธรรม
https://ppantip.com/topic/40638242
มหัศจรรย์ จังหวัดยโสธร# 7 "พระสุก" ปริศนาพระศักดิ์สิทธิ์กลางลำน้ำโขง
https://ppantip.com/topic/40649472
*** รีวิวงานประเพณีบุญบั้งไฟชุดนี้ผมเขียนจากการไปเที่ยวงานเมื่อ พค 2559 แต่ผมว่าลักษณะงานก็จะเหมือนกันทุกๆปี ไม่ได้เปลี่ยนอะไรมาก
*** ขอบคุณข้อมูลจากพี่สมพงษ์ สนง.การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดยโสธร พาณิชย์จังหวัด และข้อมูลจากเพจต่างๆ
บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของประเทศไทย ตลอดจนประเทศลาว[ต้องการอ้างอิง] โดยมีที่มาจากนิทานพื้นบ้านเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทานพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พญาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ โดยทั้งนี้การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ จังหวัดยโสธร ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการประชาสัมพันธ์งานประเพณี เป็นที่รู้จักแก่ชาวไทย และต่างประเทศ นับแต่ ปี 2523 ซึ่ง งานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร
จะจัดขึ้นในวันเสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์ที่สอง ของเดือนพฤษภาคม ในทุกปี โดยทั้งนี้ ในงานที่จัดของจังหวัดยโสธร ยังมีความโดดเด่น ในวันก่อนแห่ มีการประกวดกองเชียร์ จำนวนมาก รวมทั้ง วันแห่บั้งไฟ จะมีขบวนบั้งไฟแบบโบราณ และการรำเซิ้งแบบโบราณ จาก ทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดยโสธร เข้าร่วมด้วย
นอกจากนี้ยังพบว่า การจัดงานบั้งไฟในอดีต และปัจจุบัน ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด มีความโดดเด่น และเก่าแก่ มานาน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะที่ อำเภอสุวรรณภูมิ ที่มีการจัดงานในทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์ในสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายนในทุกปี ซึ่งเป็นงานที่มีบั้งไฟเอ้สวยงามขนาดใหญ่มากที่สุด (ลายศรีภูมิ หรือ ลายกรรไกรตัด) รวมทั้งขบวนรำสวยงามมากที่สุดของประเทศ , อำเภอพนมไพร ที่มีการจัดงานในทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ของทุกปี ตามรูปแบบประเพณีดั้งเดิมตามฮีตสองสองคองสิบสี่ โดยมีการจุดบั้งไฟถวายมากที่สุดในประเทศ โดยในแต่ละปีจะมีบั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน บั้งไฟล้าน รวมกันกว่า 1,000 บั้ง
และอีกหนึ่งที่ที่น่าสนใจ คือ งานบุญบั้งไฟตะไลล้าน บ้านกุดหว้า ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นชุมชนภูไทขาวเก่าแก่ ก่อตั้งหมู่บ้านมาประมาณ 150 ปี เป็นบั้งไฟที่ขึ้นในแนวนอนที่เรียกว่า ตะไล เป็นต้นแบบตะไลแห่งแรกของไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของบุญบั้งไฟของบ้านกุดหว้าแห่งนี้ เทศกาลจุดตะไลนี้ จะจัดขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้จากข้อมูลในปัจจุบัน แหล่งที่มีช่างในการจัดทำ บั้งไฟเอ้ ตกแต่งสวยงามมากที่สุด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยเฉพาะ อำเภอสุวรรณภูมิ, อำเภอธวัชบุรี, อำเภออาจสามารถ, อำเภอเสลภูมิ, อำเภอจตุรพักตร์พิมาน เป็นต้น, ส่วนค่ายบั้งไฟ ที่มีการทำบั้งไฟจุด พบได้จำนวนมาก ในเขตอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร, อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด และเขตจังหวัดอื่น ๆ ทางอีสานเหนือ ได้แก่ กาฬสินธุ์ โดยเฉพาะอำเภอท่าคันโท, อุดรธานี, หนองคาย เป็นต้น
ด้านมิติทางวัฒนธรรม พบว่า งานประเพณีบุญบั้งไฟลายศรีภูมิ (การตกแต่งบั้งไฟ ประเภท ลายกรรไกรตัด) ของ ชาวอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีมิติเชิงอนุรักษ์ และมีความโดดเด่น ด้านการสืบสานผ่านช่างฝีมือ และเป็นมรดกทางวัฒนธรรม สะท้อนวิถี "เมืองศรีภูมิ หรือ สุวรรณภูมิ" โดยในปี 2561 สำนักงานเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และนายสมศักดิ์ เศรษโฐ นายกเทศมนตรีตำบลสุวรรณภูมิ ได้รับรางวัล "วัฒนคุณาธร" จากการเป็นองค์กร และบุคคล ผู้ส่งเสริม สนับสนุน ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีบุญบั้งไฟลายศรีภูมิ ระดับประเทศ จากกระทรวงวัฒนธรรมด้วย
นอกจากนี้แล้วในพื้นที่ภาคเหนือ มีการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ ตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดงานประเพณีบุญบั้งไฟที่ยิ่งใหญ่ โดยการสนับสนุนของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ เช่นกัน ทั้งนี้ เนื่องจากประชากรในเขตพื้นที่ ส่วนใหญ่ อพยพมาจาก เขตภาคอีสาน ในหลายสิบปีก่อนหน้า ส่วนภาคใต้ ยังสามารถพบการจัดงานบุญบั้งไฟ ในเขตอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส โดยเป็นการละเล่นของชาวอีสานที่ย้ายถิ่นฐานมาปักหลักทีนี่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 โดยถือเป็นเพียงพื้นที่เดียวในภาคใต้ของไทย นอกจากภาคอีสานที่มีการเล่นประเพณีนี้
ยังมีงานประเพณีบุญบั้งไฟในภาคกลางของไทยอีกที่หนึ่ง ในพื้นที่ อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวร้อยละ 85 เป็นชาวอีสานที่ได้ย้ายถิ่นฐานมาประกอบอาชีพเกษตรกรรม และได้นำวัฒนธรรมประเพณีบุญบั้งไฟที่ถือเป็นความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล จึงทำให้ประเพณีบุญบั้งไฟใน อ.แม่เปิน เกิดขึ้น และได้อนุรักษ์ไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2532 อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ครั้งแรกในปี 2521 จนกลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการจัดประเพณีเป็นประจำในช่วงเดือน 6-7 หรือประมาณสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคม-เดือนมินายนของทุกปี ซึ่งที่ผ่านมา ได้รับความสนใจจากประชาชนในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียง เข้าร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก และนอกจากนี้ในพื้นที่ภาคเหนือ ก็มีการละเล่นประเพณีบุญบั้งไฟเช่นเดียวกัน โดยเป็นหนึ่งในประเพณีของล้านนา โดยมีความเชื่อคล้ายกับภาคอีสาน คือ เป็นการถวายเป็นพุทธบูชาและขอฝน
-------------------------------------
ความเชื่อของชาวบ้านกับประเพณีบุญบั้งไฟ
ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ และโลกเทมนุษย์อยู่ใต้อิทธิพลของเทวดา การรำผีฟ้าเป็นตัวอย่างที่แสดงออกทางด้านการนับถือเทวดา และเรียกเทวดาว่า “แถน” เมื่อถือว่ามีแถนก็ถือว่า ฝน ฟ้า ลม เป็นอิทธิพลของแถน หากทำให้แถนโปรดปราน มนุษย์ก็จะมีความสุข ดังนั้นจึงมีพิธีบูชาแถน การจุดบั้งไฟก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณความภักดีไปยังแถน ชาวอีสานจำนวนมากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน และมีนิทานปรัมปราเช่นนี้อยู่ทั่วไป แต่ความเชื่อนี้ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอน นอกจากนี้ในวรรณกรรมอีสานยังมีความเชื่ออย่างหนึ่งคือ เรื่องพญาคันคาก หรือคางคก พญาคันคากได้รบกับพญาแถนจนชนะแล้วให้พญาแถนบันดาลฝนลงมาตกยังโลกมนุษย์
ความหมายของบั้งไฟ
คำว่า “บั้งไฟ” ในภาษาถิ่นอีสานมักจะสับสนกับคำว่า “บ้องไฟ” แต่ที่ถูกนั้นควรเรียกว่า”บั้งไฟ”ดังที่ เจริญชัย ชนไพโรจน์ ได้อธิบายความแตกต่างของคำทั้งสองไว้ว่า บั้งหมายถึง สิ่งที่เป็นกระบอก เช่น บั้งทิง สำหรับใส่น้ำดื่ม หรือบั้งข้าวหลาม เป็นต้น
ส่วนคำว่า บ้อง หมายถึง สิ่งของใด ๆ ก็ได้ที่มี 2 ชิ้น มาสวมหรือประกอบเข้ากันได้ ส่วนนอกเรียกว่า บ้อง ส่วนในหรือสิ่งที่เอาไปสอดใสจะเป็นสิ่งใดก็ได้ เช่น บ้องมีด บ้องขวาน บ้องเสียม บ้องวัว บ้องควาย ดังนั้น คำว่า บั้งไฟ ในภาษาถิ่นอีสานจึงเรียกว่า บั้งไฟ ซึ่งหมายถึงดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง มีหางยาวเอาดินประสิวมาคั่วกับถ่านไม้ตำให้เข้ากันจนละเอียดเรียกว่า หมื่อ (ดินปืน) และเอาหมื่อนั้นใส่กระบอกไม้ไผ่ตำให้แน่นเจาะรูตอนท้ายของบั้งไฟ เอาไผ่ท่อนอื่นมัดติดกับกระบอกให้ใส่หมื่อโดยรอบ เอาไม้ไผ่ยาวลำหนึ่งมามัดประกบต่อออกไปเป็นหางยาว สำหรับใช้ถ่วงหัวให้สมดุลกัน เรียกว่า “บั้งไฟ” ในทัศนะของผู้วิจัย บั้งไฟ คือการนำเอากระบอกไม้ไผ่ เลาเหล็ก ท่อเอสลอน หรือเลาไม้อย่างใดอย่างหนึ่งมาบรรจุหมื่อ (ดินปืน) ตามอัตราส่วนที่ช่างกำหนดไว้แล้วประกอบท่อนหัวและท่อนหางเป็นรูปต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เพื่อนำไปจุดพุ่งขึ้นสู่อากาศ จะมีควันและเสียงดัง บั้งไฟมีหลายประเภท ตามจุดมุ่งหมายของประโยชน์ในการใช้สอย
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้