เป็นวัดเก่าแก่ของอำเภอแม่ริม เชียงใหม่
มีตำนานว่า
ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ... พระพุทธเจ้าก่อนพระสมณโคตม ในภัทรกัปนี้
บริเวณเมืองเชียงใหม่ได้มีเจ้าเมืองชื่อ พญากุมภมิตตราช
ได้รับมะม่วงที่หอมหวานมาจากพญาอังครัฎฐะพระสหาย ... อยู่บริเวณอำเภอจอมทอง
ทรงติดพระทัยจึงโปรดให้เพาะเมล็ดในอุทยาน ซึ่งก็งอกเพียงต้นเดียว ให้นายเสตวกะเป็นคนเฝ้าสวน
นายเสตวกะเก็บผลขาย รวบรวมได้เงิน 4 แสน กับทองคำ 1 หมื่น
พญากุมภมิตตราชรับสั่งให้นายเสตวกะเก็บไว้
นายเสตวกะจึงเอาเงินใส่ 4 ไห และทอง 1 ไห ฝังไว้ในสวน ระหว่างต้นมะม่วง และต้นมะคับตอง (มะพลับ)
จนพญากุมภมิตตราชสิ้นพระชนม์ และนายเสตวกะได้สิ้นชีพ
นายเสตวกะได้เกิดมาเป็นยักษ์เฝ้าสมบัติที่ฝังไว้
เมื่อพระกัสสปพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์มาถึงจึงได้ทรงพักใต้ร่มไม้ดังกล่าว ยักษ์ได้ขับไล่ไม่ให้พัก
พระกัสสปได้แสดงพระธรรมเทศนาโปรดยักษ์ ทำให้เขี้ยวใหญ่ 3 กำ (มือ) ยาว 3 ศอก หลุดออกซี่หนึ่ง
พระกัสสปจึงได้ประทานพระเกศาแก่ยักษ์ 1 เส้น
ยักษ์จึงได้บรรจุไว้ในโพรงฟัน (ที่หลุดออก) ฝังไว้เหนือไหสมบัติ และอยู่เฝ้ารักษาสมบัติต่อไป
ต่อมาเมื่อพระสมณโคตมพระพุทธเจ้าประสูติ ต้นมะม่วงก็สิ้นอายุไป
เมื่อใกล้ปรินิพพานพระพุทธเจ้าก็ได้เสด็จโปรดสัตว์ จนได้มาประทับพักผ่อนที่ต้นมะม่วงนั้น
โปรดให้พระอานนท์เอาผ้าสังฆฏิพับ 4 ชั้น แล้วก็ปูไปตามขอนมะม่วง ประทับบรรทม ยักษ์ได้ขับไล่ไม่ให้พัก
พระพุทธเจ้าทรงแสดงพุทธปาฏิหาริย์แก่ยักษ์เช่นเดียวกับที่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
ยักษ์ก็ยอมอ่อนน้อม และรับฟังพระธรรมเทศนา ทำให้เขี้ยวอีกข้างหนึ่งที่เหลือหลุดออกมา
พระโคตมได้ประทานพระเกศาให้ยักษ์ 1 เส้น
ยักษ์จึงได้บรรจุไว้ในโพรงฟัน (ที่หลุดออกมาอีกซี่) ฝังไว้เหนือไหสมบัติคู่กับพระเกศาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตามตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ เล่าเพิ่มเติมว่า
ขณะนั้นพระพุทธเจ้าทรงกระหายน้ำยิ่งนัก พระอานนท์จึงนำฝาบาตรไปตักเอาน้ำที่แม่น้ำ
ขณะเดียวกันมีพ่อค้ามาพักเกวียน และปล่อยให้วัวควายลงเล่นน้ำ จึงทำให้น้ำขุ่น
พระอานนท์จึงเดินเลียบเลาะริมฝั่งขึ้นไปอีก ก็มองเห็นหมู 2 ตัวยืนอยู่ริมน้ำ หมู 2 ตัวนั้นขุดบ่อน้ำให้พระอานนท์
น้ำยังไม่ทันใสดีจากบ่อด้วยฝาบาตร ด้วยเกรงว่าพระพุทธองค์จะรอนานจึงรีบตักไปถวาย
พระพุทธองค์ทรงฉันน้ำที่ยังขุ่นอยู่ และตรัสพยากรณ์ฝากไว้กับพระอินทร์ว่า
ในภายภาคหน้าเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว 800 ปี พระอรหันต์ทั้งหลายจะได้นำพระสรีรังคารธาตุของพระองค์มาบรรจุไว้ในที่นี้
ยักษ์ตนนี้จะมาบังเกิดเป็นกษัตริย์ผู้ครองนครนี้ และบำรุงค้ำจุนพระศาสนาของพระตถาคต พร้อมทั้งจัดสร้างพระพุทธรูปไว้เป็นที่สักการะบูชา
หลังจากศาสนาของพระตถาคตล่วงไปได้ 2000 กว่าปีแล้ว หมู 2 ตัวพี่น้องจะไปเกิดเป็นกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ยักษ์จะไปเกิดเป็นกษัตริย์ของเมืองอันเป็นอาณานิคมของกรุงศรีอยุธยา มีพี่น้องร่วมอุทรถึง 7 พระองค์ มีสมานฉันท์เป็นบ้านพี่เมืองน้อง
ภายหน้าเมื่อมหายักษ์ได้เป็นกษัตริย์จะเป็นผู้ที่ทรงพระปรีชากล้าหาญ สามารถปราบเมืองน้อยใหญ่ให้อยู่ในพระราชอำนาจได้
และจะยกยอพระศาสนาและปฏิสังขรณ์พระพุทธรูป
หลังพุทธปรินิพพาน 750 ปี หัวเมืองนี้ได้ชื่อว่า กุรุรัฎฐะ มียักษ์กลับมาเกิดเป็นผู้ครองนคร
พระอินทร์จึงแปลงร่างเป็นพราหมณ์ เข้าเฝ้าพญากุรุรัฎฐะ เล่าที่พระพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้
พญากุรุรัฎฐะจึงเปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่ว่า เมืองอินทสังเกต ... อินตาสังเกต ... นิมิตตามที่พระอินทร์บอก
หลังพุทธปรินิพพาน 800 ปี มีพระเถระ 4 รูป นำเอาพระสรีรังคารธาตุ ของพระพุทธเจ้า จากกรุงหงสาวดีมาถวายพญาอินทสังเกต หรือ พญากุรุรัฎฐะ
พระองค์จึงขุดเอาสมบัติและพระเกศาธาตุขึ้นมา
สร้างพระพุทธรูปตามแนวขอนมะม่วงนั้น นามว่า พระนอนพรัง
พร้อมบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์ และพระสรีรังคารธาตุไว้เพื่อสักการะบูชา
เมื่อพระศาสนามีอายุได้ 2285 พญาอินทสังเกต ... หรืออดีตที่นานมาเป็นยักษ์เฝ้าต้นมะม่วง
ก็ได้มาถือประสูติเป็นเจ้ากาวิละที่นครลำปาง พร้อมพระอนุชา 6 พระองค์และพระกนิษฐาอีก 1 พระองค์
ได้ขับไล่พม่ารวบรวมผู้คนมาตั้งเมืองเชียงใหม่ขึ้น ได้มีพระบัญชาให้สร้างองค์พระนอนใหม่อีกครั้งหนึ่ง
สมัยเจ้าหลวงธัมมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 2 ในปี พ.ศ.2359 การก่อสร้างจึงแล้วเสร็จ
วัดนี้อยู่ใกล้ลำห้วยแม่ชะเยือง ชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดพระนอนแม่ชะเยือง
ต่อมา พ.ศ. 2406 เจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6 ... เจ้าชีวิตอ้าว
ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารครอบพระนอน และเปลี่ยนชื่อเป็น วัดพระนอนขอนม่วง
ที่ตั้งวัด
*อุโบสถ*
อุโบสถแบบล้านนา คือแบ่งพื้นที่ออกเป็นสามส่วน คือโถงทางเข้า ห้องกลาง ห้องหลังสุด
หลังคาซ้อนสามซด สองตับ ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์เป็นรูปนาค
หน้าบันเป็นไม้แกะปูรณฆฏรายล้อมด้วยลายเครือเถา
อาคารปิดทึบ ไม่มีช่องหน้าต่าง แต่เป็นป่องลวงแนวตั้ง เพื่อรับแสงและระบายอากาศ
ด้านมีซุ้มประตูทางเข้า
บานประตูสีแดงเขียนลายคำ
เพราะได้แสงจากป่องลวง ภายในพระอุโบสถจึงค่อนข้างมืด ประดิษฐานพระเจ้าทันใจเป็นพระประธาน
- ขอให้ผู้ชายเข้าไปถ่ายภาพให้ เพราะอุโบสถทางเหนือห้ามผู้หญิงเข้า
หลังอุโบสถมีช่องรูปกากะบาด เพื่อเพื่อรับแสงและระบายอากาศด้วย
*เจดีย์*
ตามแบบพระธาตุดอยสุเทพ
ฐานเขียงสี่เหลี่ยม
ฐานปัทม์ยืดตัวขึ้น ย่อมุมยี่สิบ มีรัดอกสองเส้น แบบล้านนา
บัวถลาแปดเหลี่ยม รับเจดีย์ทรงระฆัง บัลลังก์เหมือนฝาหม้อ ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้วปกฉัตร
*หอธรรมจัตุรมุข*
ครึ่งไม้ครึ่งปูนแบบปิด ศิลปะล้านนา
ชั้นล่างบริเวณซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นลายปูนปั้นพรรณพฤกษาและดอกบัว
ส่วนชั้นบนเป็นอาคารไม้ทั้งหมดทรงจัตุรมุข มีชานอยู่โดยรอบ
ที่ลูกกรงเป็นปูนมีลายปูนปั้นเทวดา
ระฆัง เขื่อง และเก่าทีเดียว
*วิหาร*
สร้างขึ้น พ.ศ. 2470 โดยครูบาศรีวิชัย เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังใหญ่ ด้านในจึงมีรอยเท้าประทับของครูบา
หน้าบันรูปเทพพนมครึ่งตัว ด้านข้างมีเสือสองตัว ประดับลายพรรณพฤกษา
หน้าบันประตูข้าง เป็นรูปหม้อดอก - ปูรณฆฏ
ด้านหน้ามีทางเข้า 2 ประตู
ตรงกลางระหว่างประตู เป็นรูปเทพพนม
หน้าบันด้านหลังประดับด้วยลายปูนปั้นพรรณพฤกษา และเทพพนมครึ่งตัวบนดอกบัว
ภายใน
ประดิษฐาน พระพุทธรูปไสยาสน์พระนอนขอนม่วง
เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนปิดทองทั้งองค์
บรรจุพระเกศาธาตุของพระกัสสปพุทธเจ้า
และพระเกศาธาตุพร้อมพระอังคารธาตุของพระโคตมพุทธเจ้า
ผนังด้านหลังเป็นกระจกรูปดอกไม้สีสันต่างๆ
พระไสยาสน์ปางโปรดอสุรินทราหู
เล่านิดนึง
ขณะที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร ในนครสาวัตถี
อสุรินทราหูซึ่งเป็นอสูรอุปราชของท้าวเวปจิตติอสุรบดินทร์ ผู้ครองอสูรพิภพ ได้ยินพระเกียรติคุณของพระพุทธเจ้าจากเหล่าเทวดาทั้งหลาย
จึงอยากจะฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์บ้าง
แต่เพราะพระพุทธองค์เป็นมนุษย์มีพระวรกายเล็กกว่า จึงไม่แสดงความอ่อนน้อม
พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะลดทิฐิของอสุรินทราหูอสูร จึงทรงเนรมิตกายให้ใหญ่โตกว่า ทรงนอนในลักษณะเสด็จสีหไสยาสน์
ประทับนอนในลักษณะตะแคงขวา พระเศียรหนุนภูเขาต่างพระเขนย พระบาททั้งสองข้างที่วางเสมอกัน
อยู่สูงใหญ่กว่าอสุรินทราหู
พระหัตถ์ซ้ายทอดไปตามพระวรกาย
พระเศียรทับพระหัตถ์ขวา
พระพักตร์หงายเล็กน้อย
จิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระเวสสันดรชาดก และพระพุทธประวัติ
ธรรมาสน์ ทรงปราสาทล้านนา
สัตตภัณฑ์
รูปวงโค้ง - ครึ่งวงกลม มียอดเสา 7 ยอดอยู่ในกรอบด้านข้าง
บรรจุลวดลายนาคเกี้ยวหรือนาคขนดพันกันแน่น เป็นรูปแบบที่พบมากในจังหวัดลำพูนและลำปาง
เครื่องหลวง
หมายถึง เครื่องสักการะในพระพุทธศาสนา ว่าแทนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในฐานะเดิมของพระองค์ คือ เจ้าชายสิทธัตถะ
แสดงถึงการเสียซึ่งกิเลส และสิ่งอันมีค่า คือพระเกียรติยศของวรรณะกษัตริย์
ได้แก่ เตียงพระเจ้า จะคู่กับชุดเครื่องสูงปัด ป้าว จามร หรือ เครื่องเทียมยศ
ชุดเครื่องสูงมี 2 ชุดอยู่ด้านซ้าย และ ด้านขวาของเตียงพระเจ้า เรียกว่า เครื่องสัตตะ 7 ซึ่งอาจจะมี 5 ,6 หรือ 7 ชิ้น ได้แก่
ปัดป้าว หรือ พัดโบก พัดให้เย็นสบาย
จามร เป็นรูปใบโพธิ์ ยอดแหลม มีด้ามยาว ใช้ประกอบราชรถ ในการเดินทาง
ละแอ หรือ กุบจิ กุบละแอ กุบ คือหมวก เป็นหมวกทรงยอดแหลม สาหรับใส่ในการออกรบ เทียบ ได้กับ พระมหาพิชัยมงกุฎ หรืออาจเปรียบกับร่ม บังแดด บังฝน
บังวัน หรือ บังศูนย์ เป็นรูปใบโพธิ์ขนาดใหญ่ ใช้บังแดด
บังแทรก เป็นทรงกลม ใช้บังไม่ให้แสงจากดวง
ไม้เท้า ไม้วา ใช้สาหรับการป้องกันตัว หรือช่วงเดิน
แซ่จามรี ใช้ในการปัดยุง หรือ แมลง
... ในรูปมี 5 ชิ้น ไม่มีไม้เท้า และแซ่จามรี ...
วัดพระนอนขอนม่วง ... อำเภอเมือง เชียงใหม่
มีตำนานว่า
ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ... พระพุทธเจ้าก่อนพระสมณโคตม ในภัทรกัปนี้
บริเวณเมืองเชียงใหม่ได้มีเจ้าเมืองชื่อ พญากุมภมิตตราช
ได้รับมะม่วงที่หอมหวานมาจากพญาอังครัฎฐะพระสหาย ... อยู่บริเวณอำเภอจอมทอง
ทรงติดพระทัยจึงโปรดให้เพาะเมล็ดในอุทยาน ซึ่งก็งอกเพียงต้นเดียว ให้นายเสตวกะเป็นคนเฝ้าสวน
นายเสตวกะเก็บผลขาย รวบรวมได้เงิน 4 แสน กับทองคำ 1 หมื่น
พญากุมภมิตตราชรับสั่งให้นายเสตวกะเก็บไว้
นายเสตวกะจึงเอาเงินใส่ 4 ไห และทอง 1 ไห ฝังไว้ในสวน ระหว่างต้นมะม่วง และต้นมะคับตอง (มะพลับ)
จนพญากุมภมิตตราชสิ้นพระชนม์ และนายเสตวกะได้สิ้นชีพ
นายเสตวกะได้เกิดมาเป็นยักษ์เฝ้าสมบัติที่ฝังไว้
เมื่อพระกัสสปพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์มาถึงจึงได้ทรงพักใต้ร่มไม้ดังกล่าว ยักษ์ได้ขับไล่ไม่ให้พัก
พระกัสสปได้แสดงพระธรรมเทศนาโปรดยักษ์ ทำให้เขี้ยวใหญ่ 3 กำ (มือ) ยาว 3 ศอก หลุดออกซี่หนึ่ง
พระกัสสปจึงได้ประทานพระเกศาแก่ยักษ์ 1 เส้น
ยักษ์จึงได้บรรจุไว้ในโพรงฟัน (ที่หลุดออก) ฝังไว้เหนือไหสมบัติ และอยู่เฝ้ารักษาสมบัติต่อไป
ต่อมาเมื่อพระสมณโคตมพระพุทธเจ้าประสูติ ต้นมะม่วงก็สิ้นอายุไป
เมื่อใกล้ปรินิพพานพระพุทธเจ้าก็ได้เสด็จโปรดสัตว์ จนได้มาประทับพักผ่อนที่ต้นมะม่วงนั้น
โปรดให้พระอานนท์เอาผ้าสังฆฏิพับ 4 ชั้น แล้วก็ปูไปตามขอนมะม่วง ประทับบรรทม ยักษ์ได้ขับไล่ไม่ให้พัก
พระพุทธเจ้าทรงแสดงพุทธปาฏิหาริย์แก่ยักษ์เช่นเดียวกับที่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
ยักษ์ก็ยอมอ่อนน้อม และรับฟังพระธรรมเทศนา ทำให้เขี้ยวอีกข้างหนึ่งที่เหลือหลุดออกมา
พระโคตมได้ประทานพระเกศาให้ยักษ์ 1 เส้น
ยักษ์จึงได้บรรจุไว้ในโพรงฟัน (ที่หลุดออกมาอีกซี่) ฝังไว้เหนือไหสมบัติคู่กับพระเกศาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตามตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ เล่าเพิ่มเติมว่า
ขณะนั้นพระพุทธเจ้าทรงกระหายน้ำยิ่งนัก พระอานนท์จึงนำฝาบาตรไปตักเอาน้ำที่แม่น้ำ
ขณะเดียวกันมีพ่อค้ามาพักเกวียน และปล่อยให้วัวควายลงเล่นน้ำ จึงทำให้น้ำขุ่น
พระอานนท์จึงเดินเลียบเลาะริมฝั่งขึ้นไปอีก ก็มองเห็นหมู 2 ตัวยืนอยู่ริมน้ำ หมู 2 ตัวนั้นขุดบ่อน้ำให้พระอานนท์
น้ำยังไม่ทันใสดีจากบ่อด้วยฝาบาตร ด้วยเกรงว่าพระพุทธองค์จะรอนานจึงรีบตักไปถวาย
พระพุทธองค์ทรงฉันน้ำที่ยังขุ่นอยู่ และตรัสพยากรณ์ฝากไว้กับพระอินทร์ว่า
ในภายภาคหน้าเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว 800 ปี พระอรหันต์ทั้งหลายจะได้นำพระสรีรังคารธาตุของพระองค์มาบรรจุไว้ในที่นี้
ยักษ์ตนนี้จะมาบังเกิดเป็นกษัตริย์ผู้ครองนครนี้ และบำรุงค้ำจุนพระศาสนาของพระตถาคต พร้อมทั้งจัดสร้างพระพุทธรูปไว้เป็นที่สักการะบูชา
หลังจากศาสนาของพระตถาคตล่วงไปได้ 2000 กว่าปีแล้ว หมู 2 ตัวพี่น้องจะไปเกิดเป็นกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ยักษ์จะไปเกิดเป็นกษัตริย์ของเมืองอันเป็นอาณานิคมของกรุงศรีอยุธยา มีพี่น้องร่วมอุทรถึง 7 พระองค์ มีสมานฉันท์เป็นบ้านพี่เมืองน้อง
ภายหน้าเมื่อมหายักษ์ได้เป็นกษัตริย์จะเป็นผู้ที่ทรงพระปรีชากล้าหาญ สามารถปราบเมืองน้อยใหญ่ให้อยู่ในพระราชอำนาจได้
และจะยกยอพระศาสนาและปฏิสังขรณ์พระพุทธรูป
หลังพุทธปรินิพพาน 750 ปี หัวเมืองนี้ได้ชื่อว่า กุรุรัฎฐะ มียักษ์กลับมาเกิดเป็นผู้ครองนคร
พระอินทร์จึงแปลงร่างเป็นพราหมณ์ เข้าเฝ้าพญากุรุรัฎฐะ เล่าที่พระพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้
พญากุรุรัฎฐะจึงเปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่ว่า เมืองอินทสังเกต ... อินตาสังเกต ... นิมิตตามที่พระอินทร์บอก
หลังพุทธปรินิพพาน 800 ปี มีพระเถระ 4 รูป นำเอาพระสรีรังคารธาตุ ของพระพุทธเจ้า จากกรุงหงสาวดีมาถวายพญาอินทสังเกต หรือ พญากุรุรัฎฐะ
พระองค์จึงขุดเอาสมบัติและพระเกศาธาตุขึ้นมา
สร้างพระพุทธรูปตามแนวขอนมะม่วงนั้น นามว่า พระนอนพรัง
พร้อมบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์ และพระสรีรังคารธาตุไว้เพื่อสักการะบูชา
เมื่อพระศาสนามีอายุได้ 2285 พญาอินทสังเกต ... หรืออดีตที่นานมาเป็นยักษ์เฝ้าต้นมะม่วง
ก็ได้มาถือประสูติเป็นเจ้ากาวิละที่นครลำปาง พร้อมพระอนุชา 6 พระองค์และพระกนิษฐาอีก 1 พระองค์
ได้ขับไล่พม่ารวบรวมผู้คนมาตั้งเมืองเชียงใหม่ขึ้น ได้มีพระบัญชาให้สร้างองค์พระนอนใหม่อีกครั้งหนึ่ง
สมัยเจ้าหลวงธัมมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 2 ในปี พ.ศ.2359 การก่อสร้างจึงแล้วเสร็จ
วัดนี้อยู่ใกล้ลำห้วยแม่ชะเยือง ชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดพระนอนแม่ชะเยือง
ต่อมา พ.ศ. 2406 เจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6 ... เจ้าชีวิตอ้าว
ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารครอบพระนอน และเปลี่ยนชื่อเป็น วัดพระนอนขอนม่วง
ที่ตั้งวัด
อุโบสถแบบล้านนา คือแบ่งพื้นที่ออกเป็นสามส่วน คือโถงทางเข้า ห้องกลาง ห้องหลังสุด
หลังคาซ้อนสามซด สองตับ ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์เป็นรูปนาค
หน้าบันเป็นไม้แกะปูรณฆฏรายล้อมด้วยลายเครือเถา
อาคารปิดทึบ ไม่มีช่องหน้าต่าง แต่เป็นป่องลวงแนวตั้ง เพื่อรับแสงและระบายอากาศ
ด้านมีซุ้มประตูทางเข้า
ตามแบบพระธาตุดอยสุเทพ
ฐานเขียงสี่เหลี่ยม
ฐานปัทม์ยืดตัวขึ้น ย่อมุมยี่สิบ มีรัดอกสองเส้น แบบล้านนา
บัวถลาแปดเหลี่ยม รับเจดีย์ทรงระฆัง บัลลังก์เหมือนฝาหม้อ ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้วปกฉัตร
ครึ่งไม้ครึ่งปูนแบบปิด ศิลปะล้านนา
ชั้นล่างบริเวณซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นลายปูนปั้นพรรณพฤกษาและดอกบัว
ส่วนชั้นบนเป็นอาคารไม้ทั้งหมดทรงจัตุรมุข มีชานอยู่โดยรอบ
ที่ลูกกรงเป็นปูนมีลายปูนปั้นเทวดา
สร้างขึ้น พ.ศ. 2470 โดยครูบาศรีวิชัย เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังใหญ่ ด้านในจึงมีรอยเท้าประทับของครูบา
หน้าบันรูปเทพพนมครึ่งตัว ด้านข้างมีเสือสองตัว ประดับลายพรรณพฤกษา
หน้าบันประตูข้าง เป็นรูปหม้อดอก - ปูรณฆฏ
ด้านหน้ามีทางเข้า 2 ประตู
เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนปิดทองทั้งองค์
บรรจุพระเกศาธาตุของพระกัสสปพุทธเจ้า
และพระเกศาธาตุพร้อมพระอังคารธาตุของพระโคตมพุทธเจ้า
ผนังด้านหลังเป็นกระจกรูปดอกไม้สีสันต่างๆ
เล่านิดนึง
ขณะที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร ในนครสาวัตถี
อสุรินทราหูซึ่งเป็นอสูรอุปราชของท้าวเวปจิตติอสุรบดินทร์ ผู้ครองอสูรพิภพ ได้ยินพระเกียรติคุณของพระพุทธเจ้าจากเหล่าเทวดาทั้งหลาย
จึงอยากจะฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์บ้าง
แต่เพราะพระพุทธองค์เป็นมนุษย์มีพระวรกายเล็กกว่า จึงไม่แสดงความอ่อนน้อม
พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะลดทิฐิของอสุรินทราหูอสูร จึงทรงเนรมิตกายให้ใหญ่โตกว่า ทรงนอนในลักษณะเสด็จสีหไสยาสน์
ประทับนอนในลักษณะตะแคงขวา พระเศียรหนุนภูเขาต่างพระเขนย พระบาททั้งสองข้างที่วางเสมอกัน
อยู่สูงใหญ่กว่าอสุรินทราหู
พระเศียรทับพระหัตถ์ขวา
พระพักตร์หงายเล็กน้อย
รูปวงโค้ง - ครึ่งวงกลม มียอดเสา 7 ยอดอยู่ในกรอบด้านข้าง
บรรจุลวดลายนาคเกี้ยวหรือนาคขนดพันกันแน่น เป็นรูปแบบที่พบมากในจังหวัดลำพูนและลำปาง
หมายถึง เครื่องสักการะในพระพุทธศาสนา ว่าแทนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในฐานะเดิมของพระองค์ คือ เจ้าชายสิทธัตถะ
แสดงถึงการเสียซึ่งกิเลส และสิ่งอันมีค่า คือพระเกียรติยศของวรรณะกษัตริย์
ได้แก่ เตียงพระเจ้า จะคู่กับชุดเครื่องสูงปัด ป้าว จามร หรือ เครื่องเทียมยศ
ชุดเครื่องสูงมี 2 ชุดอยู่ด้านซ้าย และ ด้านขวาของเตียงพระเจ้า เรียกว่า เครื่องสัตตะ 7 ซึ่งอาจจะมี 5 ,6 หรือ 7 ชิ้น ได้แก่
ปัดป้าว หรือ พัดโบก พัดให้เย็นสบาย
จามร เป็นรูปใบโพธิ์ ยอดแหลม มีด้ามยาว ใช้ประกอบราชรถ ในการเดินทาง
ละแอ หรือ กุบจิ กุบละแอ กุบ คือหมวก เป็นหมวกทรงยอดแหลม สาหรับใส่ในการออกรบ เทียบ ได้กับ พระมหาพิชัยมงกุฎ หรืออาจเปรียบกับร่ม บังแดด บังฝน
บังวัน หรือ บังศูนย์ เป็นรูปใบโพธิ์ขนาดใหญ่ ใช้บังแดด
บังแทรก เป็นทรงกลม ใช้บังไม่ให้แสงจากดวง
ไม้เท้า ไม้วา ใช้สาหรับการป้องกันตัว หรือช่วงเดิน
แซ่จามรี ใช้ในการปัดยุง หรือ แมลง
... ในรูปมี 5 ชิ้น ไม่มีไม้เท้า และแซ่จามรี ...