คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
คนที่รับผิดชอบโดยตรงเขาก็มีปัญหาครับ
แต่ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีใครรับฟังหรือได้ยิน
https://news.thaipbs.or.th/content/300766
สสจ.สมุทรสาคร ยังคุมไม่อยู่ "กลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง" 15,000 คน
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร กังวลกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง 15,000 คน ยังคุมไม่อยู่ เร่งหารือมาตรการควบคุมโรคหลังตรวจเชิงรุกตามแผน อย่างน้อยวันละ 10,000 คน โดยผู้ติดเชื้อยังอยู่ในกลุ่มโรงงานและแรงงานข้ามชาติ ยังไม่แพร่สู่ชุมชนและคนไทย
วันนี้ (27 ม.ค.2564) นพ.นเรศฤทธิ์ ขัดธะสีมา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร เปิดเผยความคืบหน้าการตรวจเชิงรุกในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร โดยระบุว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังลงพื้นที่ตรวจคัดกรองเชิงรุกได้ตามแผน อย่างน้อยวันละ 10,000 คน โดยสถานที่หลักที่ให้ความสำคัญ คือ พื้นที่สีแดงและสีเหลือง ส่วนสีเขียวเป็นการปกป้องพื้นที่ให้คงที่เขียวไว้ เช่น พื้นที่ อ.บ้านแพ้ว
“ประโยคปกป้องบ้านแพ้ว ก็เพื่อสร้างความมั่นใจว่าตรวจแล้วไม่พบจริง เมื่อถึงจุดหนึ่งที่พิสูจน์ได้ว่าโซนสีเขียว ยังเขียวอยู่จริง อาจจะได้รับการผ่อนปรน บางพื้นที่อาจจะต้องเข้มข้นอยู่ ก็ต้องทำต่อไป เช่น ในพื้นที่โรงงาน เพราะตัวเลขที่กระโดดเยอะๆ อยู่ในโรงงานเป็นหลัก ไม่ได้มีอยู่ในชุมชน”
นพ.นเรศฤทธิ์ ยืนยันว่า การแพร่ระบาดในโรงงานและในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ยังไม่พบการกระจายในคนไทย สำหรับการตรวจคัดกรองเชิงรุกยังพบเพียงแรงงานข้ามชาติในโรงงานเท่านั้น ส่วนกลุ่มที่เข้ารับการตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาลก็เป็นแรงงานในโรงงานเช่นกัน การตรวจหาเชื้อแล้วพบผู้ติดเชื้อจำนวนมากเช่นนี้ ทำให้ง่ายต่อการแยกสังเกตอาการและควบคุมโรค แต่ปัญหาที่เผชิญอยู่คือ กลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงที่ตัวเลขอยู่ที่ 1 ต่อ 3 ของผู้ติดเชื้อ
“ตอนนี้เจอผู้ติดเชื้อ 5,000 คน หากเทียบตัวเลขผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจะอยู่ที่ประมาณ 15,000 คน หรือ 3 เท่าของผู้ติดเชื้อ กลุ่มนี้ยังเดินทางและทำงานตามปกติ และมีโอกาสแพร่เชื้อตลอดเวลา จึงเป็นอุปสรรคที่ท้าทายในการควบคุมโรคด้วย”
ทั้งนี้ นพ.นเรศฤทธิ์ ระบุว่า การจัดการในพื้นที่โรงงานจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งสภาอุตสาหกรรม หรือหน่วยงานกำกับดูแลมาตรฐานโรงงาน เพื่อจัดระบบมาตรฐานการรักษาระยะห่าง สวมหน้ากาก เพราะในโรงงานยังเป็นจุดเสี่ยง โดยเฉพาะในโรงงานใหญ่ๆ พร้อมจัดระบบการทำงานไม่ให้สัมผัสใกล้ชิด และที่พักของแรงงานที่ยังอยู่กันอย่างแออัด และบางส่วนยังเดินทางไปกลับชุมชนด้วย
“ขณะนี้แรงงานที่ตรวจพบติดเชื้อ COVID-19 เป็นแรงงานนอกระบบอยู่ 10-20% ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เราต้องจัดการ เพราะขณะนี้ก็ยังไม่ทราบตัวเลขแรงงานนอกระบบในพื้นที่อย่างชัดเจน”
เร่งหารือมาตรการรับมือหลังตรวจเชิงรุก
นพ.นเรศฤทธิ์ ยังกล่าวถึงการหารือแผนรองรับหลังจากค้นหาเชิงรุกในสัปดาห์นี้เสร็จสิ้นว่า ผู้ป่วยในรอบนี้มีอาการรุนแรงน้อยลง อัตราเสียชีวิตก็น้อยมาก แต่การแพร่กระจายกลับมีจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลและห้องไอซียูยังสามารถรองรับได้อยู่ "หากป่วยแล้วมีอาการ เรามีเตียงพอ"
ต่อจากนี้อาจต้องประเมินว่าจะควบคุมการแพร่กระจายของเชื้ออย่างไร แม้จะปูพรมค้นหาทั้งจังหวัดแล้ว ก็ยังไม่มั่นใจว่าจะต้องปูพรมค้นหาซ้ำอีกในทุก 2 สัปดาห์หรือไม่ หากยังไม่มีมาตรการควบคุมการแพร่กระจายที่มีประสิทธิภาพ
“หากจะปูพรมค้นหาต่อไปเรื่อยๆ ก็เป็นไปได้ยาก เพราะการตรวจหาเชื้อคน 100,000 คน มีต้นทุนขั้นต่ำประมาณ 1,600 บาท รวมแล้วก็เป็นร้อยล้าน ซึ่งไม่รวมค่าแรง ค่าอุปกรณ์ ดังนั้น ต้องมาคิดชัดเจนว่าเราจะทำไงต่อ”
ทั้งนี้ ช่วงบ่ายวันนี้ กระทรวงสาธารณสุขเตรียมหารือแผนยุทธศาสตร์ เพื่อเสนอ ศบค.ต่อไป โดยจะกำหนดปัญหาของสมุทรสาครให้ชัดเจน รวมถึงมาตรการปูพรมค้นหาเชิงรุก พื้นที่ไหนที่เป็นสีเขียวและสามารถผ่อนปรนได้ก็ควรผ่อนปรน แต่พื้นที่ไหนควบคุมได้บางจุด ก็ยังต้องเข้มงวดต่อไป
แต่ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีใครรับฟังหรือได้ยิน
https://news.thaipbs.or.th/content/300766
สสจ.สมุทรสาคร ยังคุมไม่อยู่ "กลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง" 15,000 คน
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร กังวลกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง 15,000 คน ยังคุมไม่อยู่ เร่งหารือมาตรการควบคุมโรคหลังตรวจเชิงรุกตามแผน อย่างน้อยวันละ 10,000 คน โดยผู้ติดเชื้อยังอยู่ในกลุ่มโรงงานและแรงงานข้ามชาติ ยังไม่แพร่สู่ชุมชนและคนไทย
วันนี้ (27 ม.ค.2564) นพ.นเรศฤทธิ์ ขัดธะสีมา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร เปิดเผยความคืบหน้าการตรวจเชิงรุกในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร โดยระบุว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังลงพื้นที่ตรวจคัดกรองเชิงรุกได้ตามแผน อย่างน้อยวันละ 10,000 คน โดยสถานที่หลักที่ให้ความสำคัญ คือ พื้นที่สีแดงและสีเหลือง ส่วนสีเขียวเป็นการปกป้องพื้นที่ให้คงที่เขียวไว้ เช่น พื้นที่ อ.บ้านแพ้ว
“ประโยคปกป้องบ้านแพ้ว ก็เพื่อสร้างความมั่นใจว่าตรวจแล้วไม่พบจริง เมื่อถึงจุดหนึ่งที่พิสูจน์ได้ว่าโซนสีเขียว ยังเขียวอยู่จริง อาจจะได้รับการผ่อนปรน บางพื้นที่อาจจะต้องเข้มข้นอยู่ ก็ต้องทำต่อไป เช่น ในพื้นที่โรงงาน เพราะตัวเลขที่กระโดดเยอะๆ อยู่ในโรงงานเป็นหลัก ไม่ได้มีอยู่ในชุมชน”
นพ.นเรศฤทธิ์ ยืนยันว่า การแพร่ระบาดในโรงงานและในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ยังไม่พบการกระจายในคนไทย สำหรับการตรวจคัดกรองเชิงรุกยังพบเพียงแรงงานข้ามชาติในโรงงานเท่านั้น ส่วนกลุ่มที่เข้ารับการตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาลก็เป็นแรงงานในโรงงานเช่นกัน การตรวจหาเชื้อแล้วพบผู้ติดเชื้อจำนวนมากเช่นนี้ ทำให้ง่ายต่อการแยกสังเกตอาการและควบคุมโรค แต่ปัญหาที่เผชิญอยู่คือ กลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงที่ตัวเลขอยู่ที่ 1 ต่อ 3 ของผู้ติดเชื้อ
“ตอนนี้เจอผู้ติดเชื้อ 5,000 คน หากเทียบตัวเลขผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจะอยู่ที่ประมาณ 15,000 คน หรือ 3 เท่าของผู้ติดเชื้อ กลุ่มนี้ยังเดินทางและทำงานตามปกติ และมีโอกาสแพร่เชื้อตลอดเวลา จึงเป็นอุปสรรคที่ท้าทายในการควบคุมโรคด้วย”
ทั้งนี้ นพ.นเรศฤทธิ์ ระบุว่า การจัดการในพื้นที่โรงงานจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งสภาอุตสาหกรรม หรือหน่วยงานกำกับดูแลมาตรฐานโรงงาน เพื่อจัดระบบมาตรฐานการรักษาระยะห่าง สวมหน้ากาก เพราะในโรงงานยังเป็นจุดเสี่ยง โดยเฉพาะในโรงงานใหญ่ๆ พร้อมจัดระบบการทำงานไม่ให้สัมผัสใกล้ชิด และที่พักของแรงงานที่ยังอยู่กันอย่างแออัด และบางส่วนยังเดินทางไปกลับชุมชนด้วย
“ขณะนี้แรงงานที่ตรวจพบติดเชื้อ COVID-19 เป็นแรงงานนอกระบบอยู่ 10-20% ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เราต้องจัดการ เพราะขณะนี้ก็ยังไม่ทราบตัวเลขแรงงานนอกระบบในพื้นที่อย่างชัดเจน”
เร่งหารือมาตรการรับมือหลังตรวจเชิงรุก
นพ.นเรศฤทธิ์ ยังกล่าวถึงการหารือแผนรองรับหลังจากค้นหาเชิงรุกในสัปดาห์นี้เสร็จสิ้นว่า ผู้ป่วยในรอบนี้มีอาการรุนแรงน้อยลง อัตราเสียชีวิตก็น้อยมาก แต่การแพร่กระจายกลับมีจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลและห้องไอซียูยังสามารถรองรับได้อยู่ "หากป่วยแล้วมีอาการ เรามีเตียงพอ"
ต่อจากนี้อาจต้องประเมินว่าจะควบคุมการแพร่กระจายของเชื้ออย่างไร แม้จะปูพรมค้นหาทั้งจังหวัดแล้ว ก็ยังไม่มั่นใจว่าจะต้องปูพรมค้นหาซ้ำอีกในทุก 2 สัปดาห์หรือไม่ หากยังไม่มีมาตรการควบคุมการแพร่กระจายที่มีประสิทธิภาพ
“หากจะปูพรมค้นหาต่อไปเรื่อยๆ ก็เป็นไปได้ยาก เพราะการตรวจหาเชื้อคน 100,000 คน มีต้นทุนขั้นต่ำประมาณ 1,600 บาท รวมแล้วก็เป็นร้อยล้าน ซึ่งไม่รวมค่าแรง ค่าอุปกรณ์ ดังนั้น ต้องมาคิดชัดเจนว่าเราจะทำไงต่อ”
ทั้งนี้ ช่วงบ่ายวันนี้ กระทรวงสาธารณสุขเตรียมหารือแผนยุทธศาสตร์ เพื่อเสนอ ศบค.ต่อไป โดยจะกำหนดปัญหาของสมุทรสาครให้ชัดเจน รวมถึงมาตรการปูพรมค้นหาเชิงรุก พื้นที่ไหนที่เป็นสีเขียวและสามารถผ่อนปรนได้ก็ควรผ่อนปรน แต่พื้นที่ไหนควบคุมได้บางจุด ก็ยังต้องเข้มงวดต่อไป
สุดยอดความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
เมื่อไรจะตรวจโควิทที่สมุทรสาครได้ครบ