สารานุกรมปืนตอนที่ 491 Percussion cap, / ปืนแก๊ป (Caplock)

"ขอขอบคุณเพจ ป ปืนอย่างสูงครับ"
 
https://www.facebook.com/Porpeunbybaster/






ตัวนี้นี่แหล่ะครับที่เป็นที่มาของคำว่าปืนแก๊ป ส่วนปืนแก๊ปที่ แก๊ปมันเป็นสีแดงๆเป็นวงๆ ใส่ปืนลูกโม่หักลำที่เราเคยเล่นกันสมัยเด็กๆ(บางคน30-40แล้วก็ยังซื้อมายิงไล่นก55) ก็หลักการเดียวกันเรียกปืนแก๊ปเหมือนกัน แต่เราจะมาพูดถึงปืนแก๊ปหรือ Percussion capหรือ Caplock ที่เป็นอาวุธปืนเล็ก
โดยคำว่า “Percussion ” หมายถึงการกระแทก กระทบ หรือ เคาะ ส่วน “Cap” นั้นหมาถึงถ้วย,จอก มันก็คือจอกกระทบแตกซึ่งใช้ทำจากทองเหลือง/ทองแดง ใส่ดินปืนชนวน /Primer เอาไว้ภายในนั้นเอง ซึ่งก็มีชื่อเรียกอื่นๆอีกคือ Percussion primer , percussion gun, percussion rifle, caplock mechanism และ percussion lock โดยเริ่มมีการใช้งานในต้นยุค 1820
ซึ่ง Percussion cap นั้นก็เป็นปืนในกลุ่ม locks เช่นเดียวกัน ซึ่งเดิมนั้นระบบนี้ใช้กับปืนแบบบรรจุปาก และต่อมาก็มีการออกแบบใช้กับปืนบรรจุท้ายรังเพลิง









โดยปัญหานึงสำหรับปืน แบบ flintlock ทั่วๆไปคือ เมื่อมีความชื้นมากๆ เมื่อมีการเทดินนำ หรือ ดินชนวน ที่บรรจุใน Flash pan อาจจะทำให้เกิดกระสุนด้านหรือระบบจุดชนวนไม่ทำงานได้
การประดิษฐ์ Percussion caps(ตัวถ้วยแก๊ป) ย้อนไปเมื่อช่วง1807 Alexander John Forsyth ได้คิดค้นส่วนผสมที่ประกอบด้วย ธาตุโพแทสเซียม (K) คลอรีน (Cl) และออกซิเจน (O) กลายเป็น โพแทสเซียมคลอเรต (KClO3) (เป็นสารเคมีที่มีใช้กันมากในการเกษตร โดยเฉพาะสวนลำไยเพื่อใช้เป็นสารเร่งดอก และผลลำไยให้ออกนอกฤดู มีลักษณะเป็นผงหรือเม็ดสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสคล้ายเกลือ ละลายน้ำได้ไม่ค่อยดี) กลับมาที่เรื่องปืนของเรา โพแทสเซียมคลอเรต รู้จักกันดี คือ แก๊ป ที่เป็นเม็ดกลมๆติดในกระดาษ บ้างก็ สีแดง สีส้ม บ้างเมื่อมีการกระทบแรงๆ จะมีการระเบิด เด็กนิยมเล่นกันคือ ประทัดเม็ดมะยม นั้นเอง ต่อมามีการนำ Mercury Fulminate Hg(ONC)2 หรือ ดินกรดปรอด มาผสมด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจุดระเบิดให้ดีขึ้น แต่ ดินปรอดมีข้อเสียสำคัญคือมีราคาแพง และเมื่อมีคราบมากเมื่อมีการจุดระเบิดไปแล้ว ส่วน โพแทสเซียมคลอเรต ก็มีข้อเสียคือเมื่อมีการจุดระเบิดจะมีสภาพเป็นกรดเกลือกัดกร่อนชิ้นส่วนเหล็ก ถ้าไม่ทำความสะอาดปืนเมื่อใช้งานเสร็จ ในปัจจุบันก็ยังมีการนำทั้งสองอย่างมาใช้งานแล้วยังมีการนำ Lead Styphnate และ Tetracenne มาทำแก๊ปฉนวน โดยระบุข้างซองว่า Non Mercury หรือ Mercury Free ปราศจากปรอด อีกทั้งยังมีคำว่า Non Corrosive หรือไม่ก่อให้เกิดการกัดกร่อน จากทั้งหมดนั้นเกิดเป็น fulminate-primed firing หรือดินชนวน เป็นต้น
โดยเมื่อสิทธิบัตรของ Forsyth หมดลง Joseph Manton ได้พัฒนา percussion caps ในปี1814 โดยใช้ถ้วยทองแดงบรรจุ fulminates และได้มีการพัฒนาจนสมบูรณ์แบบในปี 1822 โดย Joshua Shaw,
โดยระบบกลไกของปืนแก๊ป จะประกอบด้วย นกปืน /Hammer ,กรวยนมหนู Nipple Cone และ แก๊ป Percussion caps
การใช้งานปืนในระบบจะมีขั้นตอนคือ
1.บรรจุดินปืน กระสุน และส่วนประกอบลงในลำกล้องและใช้แส้กระทุ้ง
2.ง้างนกปืนขึ้น ใส่แก๊ปลงไปที่นมหนู
3.เมื่อเนี่ยวไกปืนนกปืนจะฟาดลงไปที่แก๊ปสารประกอบในดินชนวนจะจุดระเบิดและส่งประกายไฟลงไปในรังเพลิง และจุดระเบิดดินปืน
ระบบ Caplock จะมีขนาดกะทัดรัด,คล่องตัว และต้นทุนต่ำว่าระบบคาบศิลา ซึ่งมีการนำมาผลิตทั้งแบบปืนพกและปืนยาว ในช่วง1830 รวมถึงมีการนำปืนในระบบคาบศิลามาทำการปรับปรุงเป็นระบบปืนแก๊ปด้วย
โดยทั่วไปแล้วในระบบนี้พลปืนจะสามารถยิงได้ในอัตรา 2-4นัดต่อนาที(Springfield Model 1861) ขึ้นอยู่กับความชำนาญ โดยระบบคาบศิลานั้นอัตราการยิงจะอยู่ที่ 1 ถึง 3นัดต่อนาที ซึ่งระบบนี้เมื่อใช้งานร่วมกับปืนแบบมีเกลียวลำกล้องหรือ Rifle กับกระสุนแบบ Minié ball จะกลายเป็นปืนที่มีประสิทธิภาพสูง












ในช่วงต้นถึงกลางศตวรรษที่19 กองทัพต่างๆของประเทศต่างเช่น อังกฤษ,ฝรั่งเศสรัสเซีย และอเมริกา ได้เริ่มเปลี่ยนปืนคาบศิลาไปใช้ระบบปืนแก๊ป
กองทัพอังกฤษเริ่มใช้กับ BRITISH PATTERN 1842 PERCUSSION MUSKET ซึ่งเป็นการปรับปรุงมาจากระบบคาบศิลาเดิม
กองทัพอเมริกาใช้ครั้งแรกโดยมีการปรับปรุง M1819 Hall rifle ในปี 1832 โดยโรงงาน Harpers Ferry และโรงงานสปริงฟอลล์ผลิตแบบ Springfield Model 1842 และใช้ปืนลูกโม่แบบ Colt Dragoon





กองทัพออสเตรียมีการใช้งานแบบ Lorenz Rifle Model 1854 ในปี1854
ในช่วงปี 1840 Dr. Edward Maynard ได้คิดค้นระบบที่จะลดขั้นตอนการใส่ถ้วยแก๊ปเข้าไปที่นมหนูขณะยิงแต่ล่ะนัด นั้นคือการใช้ ดินชนวนแบบแผ่น หรือ “Tape primer.”
ซึ่งตัวดินชนวนจะถูกซีลไว้ในเทปกระดาษยาวๆ ซึ่งจะม้วนอยู่ในช่องเก็บ เมื่อทำการขึ้นนกปืน ระบบกลไกจะไปจะมีก้านดันเทปชนวนนี้เลื่อนเทปชนวนขึ้นมาตรงกับนมหนู ระบบนี้เรียกว่า ”Maynard tape primer” ซึ่งมีการใช้กับปืนแบบ Springfield Model 1855 ซึ่งมีการผลิตราวๆ10,000 กระบอก และมีเวอร์ชั่นปืนพกอีกด้วย อีกทั้งยังมีการนำระบบไปทำเป็นไฟแช็ค















ปืนแก๊ปท้องถิ่นไทยประดิฐษ์นี้จะมีอยู่2แบบหลักๆคือ การใช้ เทปดินชนวน/ tape primer นี้ในบ้านเราจะเรียกว่าแก๊ปแผ่น ซึ่งจะมีขายเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเวลาใช้งานจะต้องฉีกออกมา1ชิ้นแล้วนำมาใส่ลงไปในรูชนวนหรือนมหนูและใช้นกปืนตี หรือ การใช้แก๊ปวงโดยตัดออกมา1ชิ้นแล้วนำมาใส่ที่นมหนู ซึ่งปืนแบบนี้ในบ้านเราก็เรียกว่าปืนแก๊ปเช่นกัน
ในประเทศไทยนั้นตามบันทึกมีปืนแก๊ปเริ่มมีการใช้งานในกองทัพในช่วงรัชกาลที่ 4 โดยแบบที่มีการจัดหาเข้ามาคือ”ปืนอินฟิน” ซึ่งสันนิฐานคือปืนแบบ Pattern 1853 Enfield ซึ่งชื่อในหมู่พรานป่าไทยเรียกกันในชื่อ “ปืนสามปลอก” เพราะแหวนรัดลำกล้องของปืนมีสามวง (และมีการดัดแปลงใช้กระสุนบรรจุท้ายรังเพลิง )

























ตัวถ้วยแก๊ป Percussion caps นี้ก็ถูกต่อยอดและพัฒนามาเป็นกระสุนแบบครบนัดในยุคต่อมา โดยมีการเพิ่ม anvil หรือ ทั่ง ลงไปในกระสุนเพื่อเป็นตัวรองกระแทก แทน ปากนมหนู ถึงแม้ว่ายุคสมัยของปืนแก๊ปจะหมดลงไปแล้วแต่ในปัจจุบันในอเมริกาก็ยังคงมีการผลิตขายอยู่สำหรับผู้นิยมปืนประเภทนี้
ขอบคุณที่ติดตาม และ ขออภัยหากมีคำผิดที่สะกดไม่ถูกหรือผิดพลาดประการใดๆ ที่เกิดจากความไม่ตั้งใจมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ
Cr.
https://en.wikipedia.org/wiki/Percussion_cap
http://firearmshistory.blogspot.com/.../the-maynard-tape...
#ปืนแก๊ป #Percussion_cap #Caplock #ป_ปืน



สวัสดีครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่