"ขอขอบคุณเพจ ป ปืนอย่างสูงครับ"
https://www.facebook.com/Porpeunbybaster/
เป็นระบบกลไกของปืนบรรจุปากที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด(เพราะถ้าบรรจุปากคนมั้กจะเรียกว่าคาบศิลา) ระบบนี้มีที่มาย้อนไปในช่วงศตวรรษที่16 ในช่วงต้นของยุค 1500 โดยมีการใช้ประโยชน์จากการนำหิเหล็กไฟ/Flint มาใช้งานเป็นตัวจุดเพื่อให้เกิดประกายไฟเพื่อไปจุดดินล่อหรือดินชนวนโดยอาศัยการเสียดสีกับโลหะที่มีร่องบากไว้ โดยระบบที่มีการพัฒนาขึ้นมาแรกก็คือระบบ “Snaplock” คำว่า “Snap” หมายถึง จิก,พุ่งลง,ตะครุบในระบบ“Snaplock” ซึ่งจะระบบจะมีแผ่นขีดหรือ “Frizzen” ทำหน้าที่แทนวงล้อเหล็กในระบบ wheellock โดย หินเหล็กไฟจะถูกคืบ/คาบ/ยึด โดย “Cock.” เนื่องจากมันมีลักษณะเหมือนไก่ แต่บ้านเราเรียกนกปืน และเมื่อง้างหัวคีบนี้เพื่อค้างไว้พร้อมยิงเป็นที่มาของคำว่า "cocked", ซึ่งหมายถึงการ”ขึ้นนกปืน”หรือ”ค้างนกปืน”ปืนพร้อมยิง (อันนี้ผมก็ไม่ทราบน่ะว่าทำไมศัพท์ไทยไม่เรียก “ขึ้นไก่ปืน”) โดยที่หัวนกปืนนี้จะประกอบไปด้วย ปากคีบ/Jaw กลับเกลียวปากคีบ/Jaw screw โดยระบบนกปืนจะสะสมแรงโดยแหนบสปริง
เมื่อทำการเหนี่ยวไกและนกปืน/ Cock ขีดหินเหล็กไฟไปบนแผ่นเหล็กขีด/Frizzen ซึ่งเป็นเหล็กชุบแข็งและมีการบากร่องเอาไว้ โดยมีผิวโค้ง เมื่อถูกฟาดตัวของแผ่นเหล็กขีดจะถูกพลักออกไปด้านหน้าโดยมีแหนบสปริงเป็นตัวออกแรงต้าน ซึ่งจะมีการโยงระบบไว้กับแผ่นปิดจานชนวน/Pan ที่มีดินชนวน/ดินล่อ อยู่ภายใน ประกายไฟ(flash)จะตกลงไปจุดดินชนวนและลุกไหม้ต่อไปผ่านรูล่อไฟจิดดินปืนในรังเพลิงต่อไป ซึ่งระบบนี้มีชื่อระบบที่เป็นระบบเดียวกันแต่พัฒนามาตามประเทศต่างๆคือ Baltic Lock, Russian Snaplock, English Lock และ Miquelet lock. ในช่วงรัชกาลของ กษัตริย์ Gustavus Adolphus แห่งสวีเดน ได้ทำการดัดแปลงปืนในระบบ matchlock เป็นระบบ snaplock ในช่วงปฏิรูปกองทัพ
ระบบต่อมาที่มีการพัฒนามาจากระบบ Snaplock คือระบบ “Snaphance” หรือ “Snaphaunce” ซึ่งพัฒนาขึ้นในช่วงปี 1550 ซึ่งมาจากภาษาดัตช์ คือ "Snaphaan" หมายถึงไก่จิก ( Haan แปลว่า ไก่ มาจากหน้าตาของตัวคีบหินเหล็กไฟ ) ส่วนเยอรมันเรียกว่า “Schnapphahn” โดยระบบนี้มีการพัฒนาในระบบกลไกการลั่นไกมาจากระบบ Snaplock อีกเล็กน้อย(ในบางตำรานั้นบอกว่าคืระบบเดียวกัน) ในบางระบบจะนำชุดแหนบสปริงมาติดตั้งอยู่ภายนอกโครงปืน ระบบนี้มีการใช้งาน จนถึงช่วงยุค1750
ระบบ Flintlock เกิดขึ้นในฝรั่งเศสปี 1610 ในช่วงรัชกาลของพระเจ้าหลุยที่ 13(King Louis XIII)ช่างปืนชาวฝรั่งเศสคือ Marin le Bourgeoys ได้ทำการปรับปรุงระบบ snaplock จากเดิมที่แผ่นปิดจานชนวนจะเปิด/ปิดโดยใช้ลิงค์หรือกระเดื่อง นั้นเขาได้ทารลดชิ้นส่วนลงโดยให้แผ่นเหล็กขีด Frizzen และแผ่นปิดจานชนวนเป็นชิ้นเดียวกันเป็นรูปตัว “L” เมื่อนกปืนฝาดลงมาขีดกับแผ่นเหล็กขีดจนเกิดประกายไฟแรงกระแทกจะกระแทกจนตังแผ่นเหล็กขีดเปิดออก ประกายไฟจะไปจุดดินชนวนในจานชนวน
ระบบนี้สามารถลดต้นทุนและชิ้นส่วนจากระบบ snaplock ลงได้เยอะ
คำว่าปืนคาบศิลาในภาษาไทยนั้นจึงใช้กับปืนในระบบ Snaplock, Snaphance,และ Flintlock
หินเหล็กไฟ หรือ Flint เป็นวัสดุธรรมชาติ (ตรงนี้ต้องหาข้อมมูลจากคำว่า “Flint” ถ้าเราพยายามหาข้อมูลจากภาษาไทย”หินเหล็กไฟ” คุณจะเจอแต่หน้าพี่โป่ง) เป็นหินผลึกคริปโตคริสตินแบบตะกอนของแร่ควอทซ์ มีส่วนผสมของแร่ซิลิกา มากกว่า 60% เมื่อนำแท่งเหล็กที่มีธาตุคาร์บอนผสมอยู่มาตีกระทบก็จะทำให้เกิดประกายไฟขึ้นมา (เพราะเหตุนี้ตัว Frizzen จึงต้องทำมาจากเหล็กคาร์บอนชุบแข็ง มีอยู่หลายสี ตั้งแต่สีขาว ดำ เทา น้ำเงิน และสีแดงสนิม ซึ่งจะต้องเป็นหินที่เมื่อแตกแล้วรอยแตกจะเรียบลื่นคล้ายแก้ว ไม่สาก ไม่หยาบ เป็นหินที่มีความแข็งสูง แต่บางครั้งดูภายนอกอาจไม่รู้ เพราะเนื้อหินเหล็กไฟอาจถูกเคลือบด้วยหินปูน ซึ่งในยุคของปืนคาบศิลาเป็นวัสดุที่มีความจำเป็นมากสำหรับการใช้งานปืนแบบคาบศิลาและมีโรงงานผลิตสำหรับใช้งานกับปืนโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้ความชำนาญ
(สำหรับหินเหล็กไฟในไฟแช็คจะเรียกว่า “Ferrocerium” ซึ่งเป็นสารประกอบแบบ Pyrophoric alloy
การใช้งานปืนในระบบ คาบศิลาจะมีขั้นตอนหลักคือ
1.ตั้งปากลำกล้องขึ้น บรรจุดินปืน หัวกระสุน และส่วนประกอบ เช่นหมอนรอง /ผ้ารอง เพื่อไม่ให้หัวกระสุนไหลออกมา หากเป็นลำกล้องมีเกลียวใช้กับกระสุนเม็ดกลมจะต้องมีผ้ารองและกระทุ้งอัดลงไป
2.ใช้แส้กระทุ้งอัดส่วนประกอบให้เข้าที่
3.ง้างนกขึ้น และเทดินชนวนลงไปในจานชนวน จากนั้นปิดแผ่นเหล็กขีดลง
4.พร้อมทำการลั่นไก
ระบบนี้สามารถทำให้อัตราการยิงเร็วกว่าระบบ matchlock, และ wheellock, ได้หลายเท่าตัว ด้วยราคาที่ถูกกว่าระบบก่อนหน้าทำให้กองทัพต่างๆในยุโรปสามารถพัฒนาการใช้พลผืนเป็นกำลังหลักขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว ในช่งยุคศตวรรษที่ 17 ถึง ศตวรรษที่18
ระบบ Flintlock นั้นได้รับความนิยมในยุโรปอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี1610 ถึงปี1630 มีการพัฒนาไปใช้ในการจุดชนวนปืนใหญ่เรียกว่า “Gunlocks” ซึ่งเริ่มมการใช้ในปี 1745 โดยเป็นปืนใหญ่เรือ (naval gunnery)
มีการนำระบบไปใช้ในครัวเรือนโดยใช้เป็นที่จุดไฟเรียกว่า flintlock tinder lighter, หรือ tinder pistol ใช้งานเหมือนไม้ขีดและไฟแช็ก
ในปืนระบบบรรจุปากลำกล้องเรียบ/ Muskets ในระบบคาบศิลามีการใช้งานในช่วง 1660 ถึงปี 1840. โดยในช่วงต้นของยุค1700 ได้มีการคิดค้นเกลียวลำกล้องขึ้นมาโดย ช่างปืนเยรอมัน ปืนบรรจุปากลำกล้องมีเกลียว “Rifles” ถึงถือกำเนิดขึ้นในยุคของระบบลั่นไกแบบคาบศิลานี้เอง จากเดิมปืนแบบ Muskets มีระยะหวังผลอยู่ที่ 75-100 เมตร ปืนแบบ Rifles มีระยะยิงถึง 250 เมตร ด้วยกระสุนขนาด .32 ถึง .45 นิ้ว
การพัฒนาของปืนบรรจุปาก/Muzzle-loaded long gun ทำให้มีการปฏิรูปกองทัพต่างๆในยุโรป การอัตราการสูญเสียที่แท้จริงของทหารในสนามรบนั้นมีการคิดเป็นสัดส่วนในยุคของปืนแบบลำกล้องเรียบนั้นผู้เสียชีวิตจากดาบปลายปืนอยู่ที่หนึ่งในสามของทั้งหมด(เข้าใจว่าโดนปืนใหญ่กวาดร่วมด้วยเกินครึ่ง) แต่ในในช่วงศตวรรษที่18 นั้นมีเพียง 2% (ตรงนี้เข้าใจว่าปืนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น)
ในยุคระบบคาบศิลานี้ ก็มีแบบบรรจุท้ายลำกล้อง(เพราะมันใส่กระสุนหน้ารังเพลิง แต่เรียกบรรจุท้ายรังเพลิงก็ถูกครับ ) แบบ Model 1819 Hall Breech Loading Rifle ถูกสร้างขึ้นในคาบนี้เหมือนกัน ซึ่งบ้านเราก็มีใช้งาน (
https://www.facebook.com/Porpeunbybaster/posts/3470176659747128/)
ซึ่งก็ยังมีปืนแบบบรรจุท้ายรังเพลิง(Breech Loading)อีกหลายแบบที่ใช้ระบบกลไกลแบบคาบศิลา โดยในกลุ่มปืนแบบ Lock ปืนแบบคาบศิลาเป็นแบบที่ผมชื่นชอบที่สุดเพราะมันถือกำเนิดในยุคที่ ยังมีการใส่ความเป้นศิลปะ/ปราณีตลงในปืนด้วยเส้นสายลายเส้นต่างๆ
ต่อจากยุคของปืนคาบศิลาก็คือยุคของ “ปืนแก๊ป” หรือ “Percussion cap” ซึ่งจะพูดถึงในโพสต่อไป
ขอบคุณที่ติดตามและขออภัยหากมีข้อผิดพลาดประการใดๆ มา ณ. ที่นี้ครับ
Cr
https://en.wikipedia.org/wiki/Snaplock
https://www.quora.com/What-are-the-main-differences...
https://en.wikipedia.org/wiki/Snaphance
https://en.wikipedia.org/wiki/Flintlock
#ปืนคาบศิลา #Flintlock #ป_ปืน
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 490 Flintlock / ปืนคาบศิลา
https://www.facebook.com/Porpeunbybaster/
เป็นระบบกลไกของปืนบรรจุปากที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด(เพราะถ้าบรรจุปากคนมั้กจะเรียกว่าคาบศิลา) ระบบนี้มีที่มาย้อนไปในช่วงศตวรรษที่16 ในช่วงต้นของยุค 1500 โดยมีการใช้ประโยชน์จากการนำหิเหล็กไฟ/Flint มาใช้งานเป็นตัวจุดเพื่อให้เกิดประกายไฟเพื่อไปจุดดินล่อหรือดินชนวนโดยอาศัยการเสียดสีกับโลหะที่มีร่องบากไว้ โดยระบบที่มีการพัฒนาขึ้นมาแรกก็คือระบบ “Snaplock” คำว่า “Snap” หมายถึง จิก,พุ่งลง,ตะครุบในระบบ“Snaplock” ซึ่งจะระบบจะมีแผ่นขีดหรือ “Frizzen” ทำหน้าที่แทนวงล้อเหล็กในระบบ wheellock โดย หินเหล็กไฟจะถูกคืบ/คาบ/ยึด โดย “Cock.” เนื่องจากมันมีลักษณะเหมือนไก่ แต่บ้านเราเรียกนกปืน และเมื่อง้างหัวคีบนี้เพื่อค้างไว้พร้อมยิงเป็นที่มาของคำว่า "cocked", ซึ่งหมายถึงการ”ขึ้นนกปืน”หรือ”ค้างนกปืน”ปืนพร้อมยิง (อันนี้ผมก็ไม่ทราบน่ะว่าทำไมศัพท์ไทยไม่เรียก “ขึ้นไก่ปืน”) โดยที่หัวนกปืนนี้จะประกอบไปด้วย ปากคีบ/Jaw กลับเกลียวปากคีบ/Jaw screw โดยระบบนกปืนจะสะสมแรงโดยแหนบสปริง
เมื่อทำการเหนี่ยวไกและนกปืน/ Cock ขีดหินเหล็กไฟไปบนแผ่นเหล็กขีด/Frizzen ซึ่งเป็นเหล็กชุบแข็งและมีการบากร่องเอาไว้ โดยมีผิวโค้ง เมื่อถูกฟาดตัวของแผ่นเหล็กขีดจะถูกพลักออกไปด้านหน้าโดยมีแหนบสปริงเป็นตัวออกแรงต้าน ซึ่งจะมีการโยงระบบไว้กับแผ่นปิดจานชนวน/Pan ที่มีดินชนวน/ดินล่อ อยู่ภายใน ประกายไฟ(flash)จะตกลงไปจุดดินชนวนและลุกไหม้ต่อไปผ่านรูล่อไฟจิดดินปืนในรังเพลิงต่อไป ซึ่งระบบนี้มีชื่อระบบที่เป็นระบบเดียวกันแต่พัฒนามาตามประเทศต่างๆคือ Baltic Lock, Russian Snaplock, English Lock และ Miquelet lock. ในช่วงรัชกาลของ กษัตริย์ Gustavus Adolphus แห่งสวีเดน ได้ทำการดัดแปลงปืนในระบบ matchlock เป็นระบบ snaplock ในช่วงปฏิรูปกองทัพ
ระบบต่อมาที่มีการพัฒนามาจากระบบ Snaplock คือระบบ “Snaphance” หรือ “Snaphaunce” ซึ่งพัฒนาขึ้นในช่วงปี 1550 ซึ่งมาจากภาษาดัตช์ คือ "Snaphaan" หมายถึงไก่จิก ( Haan แปลว่า ไก่ มาจากหน้าตาของตัวคีบหินเหล็กไฟ ) ส่วนเยอรมันเรียกว่า “Schnapphahn” โดยระบบนี้มีการพัฒนาในระบบกลไกการลั่นไกมาจากระบบ Snaplock อีกเล็กน้อย(ในบางตำรานั้นบอกว่าคืระบบเดียวกัน) ในบางระบบจะนำชุดแหนบสปริงมาติดตั้งอยู่ภายนอกโครงปืน ระบบนี้มีการใช้งาน จนถึงช่วงยุค1750
ระบบ Flintlock เกิดขึ้นในฝรั่งเศสปี 1610 ในช่วงรัชกาลของพระเจ้าหลุยที่ 13(King Louis XIII)ช่างปืนชาวฝรั่งเศสคือ Marin le Bourgeoys ได้ทำการปรับปรุงระบบ snaplock จากเดิมที่แผ่นปิดจานชนวนจะเปิด/ปิดโดยใช้ลิงค์หรือกระเดื่อง นั้นเขาได้ทารลดชิ้นส่วนลงโดยให้แผ่นเหล็กขีด Frizzen และแผ่นปิดจานชนวนเป็นชิ้นเดียวกันเป็นรูปตัว “L” เมื่อนกปืนฝาดลงมาขีดกับแผ่นเหล็กขีดจนเกิดประกายไฟแรงกระแทกจะกระแทกจนตังแผ่นเหล็กขีดเปิดออก ประกายไฟจะไปจุดดินชนวนในจานชนวน
ระบบนี้สามารถลดต้นทุนและชิ้นส่วนจากระบบ snaplock ลงได้เยอะ
คำว่าปืนคาบศิลาในภาษาไทยนั้นจึงใช้กับปืนในระบบ Snaplock, Snaphance,และ Flintlock
หินเหล็กไฟ หรือ Flint เป็นวัสดุธรรมชาติ (ตรงนี้ต้องหาข้อมมูลจากคำว่า “Flint” ถ้าเราพยายามหาข้อมูลจากภาษาไทย”หินเหล็กไฟ” คุณจะเจอแต่หน้าพี่โป่ง) เป็นหินผลึกคริปโตคริสตินแบบตะกอนของแร่ควอทซ์ มีส่วนผสมของแร่ซิลิกา มากกว่า 60% เมื่อนำแท่งเหล็กที่มีธาตุคาร์บอนผสมอยู่มาตีกระทบก็จะทำให้เกิดประกายไฟขึ้นมา (เพราะเหตุนี้ตัว Frizzen จึงต้องทำมาจากเหล็กคาร์บอนชุบแข็ง มีอยู่หลายสี ตั้งแต่สีขาว ดำ เทา น้ำเงิน และสีแดงสนิม ซึ่งจะต้องเป็นหินที่เมื่อแตกแล้วรอยแตกจะเรียบลื่นคล้ายแก้ว ไม่สาก ไม่หยาบ เป็นหินที่มีความแข็งสูง แต่บางครั้งดูภายนอกอาจไม่รู้ เพราะเนื้อหินเหล็กไฟอาจถูกเคลือบด้วยหินปูน ซึ่งในยุคของปืนคาบศิลาเป็นวัสดุที่มีความจำเป็นมากสำหรับการใช้งานปืนแบบคาบศิลาและมีโรงงานผลิตสำหรับใช้งานกับปืนโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้ความชำนาญ
(สำหรับหินเหล็กไฟในไฟแช็คจะเรียกว่า “Ferrocerium” ซึ่งเป็นสารประกอบแบบ Pyrophoric alloy
การใช้งานปืนในระบบ คาบศิลาจะมีขั้นตอนหลักคือ
1.ตั้งปากลำกล้องขึ้น บรรจุดินปืน หัวกระสุน และส่วนประกอบ เช่นหมอนรอง /ผ้ารอง เพื่อไม่ให้หัวกระสุนไหลออกมา หากเป็นลำกล้องมีเกลียวใช้กับกระสุนเม็ดกลมจะต้องมีผ้ารองและกระทุ้งอัดลงไป
2.ใช้แส้กระทุ้งอัดส่วนประกอบให้เข้าที่
3.ง้างนกขึ้น และเทดินชนวนลงไปในจานชนวน จากนั้นปิดแผ่นเหล็กขีดลง
4.พร้อมทำการลั่นไก
ระบบนี้สามารถทำให้อัตราการยิงเร็วกว่าระบบ matchlock, และ wheellock, ได้หลายเท่าตัว ด้วยราคาที่ถูกกว่าระบบก่อนหน้าทำให้กองทัพต่างๆในยุโรปสามารถพัฒนาการใช้พลผืนเป็นกำลังหลักขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว ในช่งยุคศตวรรษที่ 17 ถึง ศตวรรษที่18
ระบบ Flintlock นั้นได้รับความนิยมในยุโรปอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี1610 ถึงปี1630 มีการพัฒนาไปใช้ในการจุดชนวนปืนใหญ่เรียกว่า “Gunlocks” ซึ่งเริ่มมการใช้ในปี 1745 โดยเป็นปืนใหญ่เรือ (naval gunnery)
มีการนำระบบไปใช้ในครัวเรือนโดยใช้เป็นที่จุดไฟเรียกว่า flintlock tinder lighter, หรือ tinder pistol ใช้งานเหมือนไม้ขีดและไฟแช็ก
ในปืนระบบบรรจุปากลำกล้องเรียบ/ Muskets ในระบบคาบศิลามีการใช้งานในช่วง 1660 ถึงปี 1840. โดยในช่วงต้นของยุค1700 ได้มีการคิดค้นเกลียวลำกล้องขึ้นมาโดย ช่างปืนเยรอมัน ปืนบรรจุปากลำกล้องมีเกลียว “Rifles” ถึงถือกำเนิดขึ้นในยุคของระบบลั่นไกแบบคาบศิลานี้เอง จากเดิมปืนแบบ Muskets มีระยะหวังผลอยู่ที่ 75-100 เมตร ปืนแบบ Rifles มีระยะยิงถึง 250 เมตร ด้วยกระสุนขนาด .32 ถึง .45 นิ้ว
การพัฒนาของปืนบรรจุปาก/Muzzle-loaded long gun ทำให้มีการปฏิรูปกองทัพต่างๆในยุโรป การอัตราการสูญเสียที่แท้จริงของทหารในสนามรบนั้นมีการคิดเป็นสัดส่วนในยุคของปืนแบบลำกล้องเรียบนั้นผู้เสียชีวิตจากดาบปลายปืนอยู่ที่หนึ่งในสามของทั้งหมด(เข้าใจว่าโดนปืนใหญ่กวาดร่วมด้วยเกินครึ่ง) แต่ในในช่วงศตวรรษที่18 นั้นมีเพียง 2% (ตรงนี้เข้าใจว่าปืนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น)
ในยุคระบบคาบศิลานี้ ก็มีแบบบรรจุท้ายลำกล้อง(เพราะมันใส่กระสุนหน้ารังเพลิง แต่เรียกบรรจุท้ายรังเพลิงก็ถูกครับ ) แบบ Model 1819 Hall Breech Loading Rifle ถูกสร้างขึ้นในคาบนี้เหมือนกัน ซึ่งบ้านเราก็มีใช้งาน (https://www.facebook.com/Porpeunbybaster/posts/3470176659747128/)
ซึ่งก็ยังมีปืนแบบบรรจุท้ายรังเพลิง(Breech Loading)อีกหลายแบบที่ใช้ระบบกลไกลแบบคาบศิลา โดยในกลุ่มปืนแบบ Lock ปืนแบบคาบศิลาเป็นแบบที่ผมชื่นชอบที่สุดเพราะมันถือกำเนิดในยุคที่ ยังมีการใส่ความเป้นศิลปะ/ปราณีตลงในปืนด้วยเส้นสายลายเส้นต่างๆ
ต่อจากยุคของปืนคาบศิลาก็คือยุคของ “ปืนแก๊ป” หรือ “Percussion cap” ซึ่งจะพูดถึงในโพสต่อไป
ขอบคุณที่ติดตามและขออภัยหากมีข้อผิดพลาดประการใดๆ มา ณ. ที่นี้ครับ
Cr
https://en.wikipedia.org/wiki/Snaplock
https://www.quora.com/What-are-the-main-differences...
https://en.wikipedia.org/wiki/Snaphance
https://en.wikipedia.org/wiki/Flintlock
#ปืนคาบศิลา #Flintlock #ป_ปืน