เชียงรายเป็นเมืองที่ผมคุ้นเคยมาตั้งแต่เด็กๆ จำได้ว่าตอน 8 ขวบ พ.ศ.2530กว่าๆ น่าจะเป็นครั้งแรกที่ได้ขึ้นมาที่เชียงราย คุณพ่อมาสร้างบ้านไว้หลังหนึ่งเป็นบ้านไม้สักหลังคาไม้แป้นเกล็ด เอาไว้มาเที่ยวพักผ่อนตามสมัยนิยมยุคฟองสบู่ เชียงรายสมัยนั้นเล็กและเงียบและหนาวเย็นกว่านี้มาก กาดแลงไม่เคยเกินหกโมงครึ่ง พอหนึ่งทุ่มตรงทุกคนก็ปิ๊กบ้านนอนกันหมดแล้ว พอสองทุ่มหมอกชื้นๆก็จะเริ่มลงด้วยความที่ป่ายังสมบูรณ์นัก สมัยนั้นเชียงรายไม่มีดินน้ำมันขาย อยากเล่นต้องขับรถไปซื้อถึงร้านหนังสือดวงกมลที่ริมคูเมืองเชียงใหม่ ไปอย่างเดียวไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง ต้องพักค้างคืนที่บ้านเชียงใหม่แล้วรุ่งเช้าค่อยตีรถกลับ แล้วการไปมาเชียงรายก็กลายเป็นกิจวัตรทุกๆปีในฤดูหนาว จนสิบกว่าขวบก็เกิดต้องไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ ผมก็แทบไม่ได้ไปเชียงรายอีกเลยจนมารู้ตัวอีกทีอายุก็ปาเข้าไปสามสิบ แต่ความทรงจำวัยเด็กกับที่นี่ก็ยังสดใหม่เหมือนเกิดขึ้นเมื่อวาน
เรื่องราวคราวนี้ก็เริ่มต้นจากปีที่แล้วช่วงที่โควิดเพิ่งจะระบาดใหม่ๆ ผมมีเรื่องให้ไปทำธุระที่ จ.เชียงราย ที่แรกคิดว่าคงจะต้องใช้เวลาสักสองสามวัน แต่ธุระดันเสร็จไวกว่ากำหนด เลยพอจะมีเวลาเหลือก่อนกลับ ความคิดของการทำทริป down the memory lane ย้อนอดีตความทรงจำวัยเด็กก็เกิดขึ้น มีอยู่ย่านหนึ่งที่ผมรู้สึกชอบมาตั้งแต่เด็กๆ นั่นก็คือแถวๆดอยงำเมือง เนินเขาลูกเตี้ยๆใจกลางเมืองเชียงราย จำได้ลางๆว่าตอนเด็กๆเคยผ่านมาเที่ยวแถวๆนี้กับพวกผู้ใหญ่ มาเที่ยววัดพระแก้ว วัดงำเมือง และที่จำได้ติดตามากๆเลยก็คือต้นจามจุรีใหญ่ๆมากมายในย่านนี้ ที่ทำให้เรารู้สึกว่าแถวนี้ร่มรื่นดีแฮะ บนดอยงำเมืองนี้มีบ้านสวยๆหลังหนึ่งที่เคยมาเกาะรั้วดูตอนเด็กๆ นั้นก็คือบ้านของ ท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม กลับมาคราวนี้จึงตั้งใจว่าต้องเขาไปดูเสียให้ได้ เพราะตอนนี้เขาก็เปิดให้เที่ยวชมแล้ว บ้านหลังนี้สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในแบบทรง Swiss ที่มีกลิ่นอาย Art - deco ตามยุคสมัย ตอนนั้นไทยเราใช้เชียงรายเป็นหัวเมืองในการบุกยึดรัฐฉานเชียงตุง และเมืองทางฝั่งขวาของแม่น้ำสาละวินมาเป็นอาณานิคมในช่วงเวลาสั้นๆ ทันทีที่ก้าวลงจากรถก็ตกหลุมรักบรรยากาศของบริเวณนี้เข้าอย่างจัง ต้นไม้ใหญ่ๆ ลมพัดเอื่ยๆเย็นสบายกับวิวที่มองไปถึงดอยช้าง ดอยวาวีทางตะวันตกของเมือง ในใจก็ได้แต่คิดว่า เรามันจะมีบุญพอให้ได้มาอยู่แถวนี้ไหมหนอ
หลังจากชมเสร็จก็ถือโอกาสเดินออกประตูรั้วมาเที่ยวชุมชนรอบๆ ตาก็เหลือบไปเห็นป้ายเก่าๆติดอยู่ที่รั้วบ้านหลังหนึ่งฝั่งตรงข้าม มองตามทางเข้าไปก็เห็นบ้านครึ่งปูนครึ่งไม้อยู่หลังหนึ่ง ซ่อนตัวอยู่ในป่ารกๆ ตัวเลขเบอร์โทรที่ป้ายก็ลางๆเลือนๆ ไม่รู้จะโทรติดได้หรือเปล่า ประจวบกับมีพี่คนหนึ่งกำลังเมาได้ที่ เปิดประตูรั้วบ้านข้างๆออกมาพอดี เห็นเราสนใจบ้าน แกก็เลยชิงบอกเสียก่อน จับใจความได้ว่า เจ้าของนี้ไม่อยู่มาเป็นสิบๆปีแล้วนะ มีคนเห็นไปๆมาๆบ้าง แต่ไม่ค่อยคุยกับใครแถวนี้ ลองโทรดูก็ได้ไม่รู่ว่าจะติดหรือเปล่า ขายมาเป็นสิบปีละ ไม่มีใครเอาสักคน (ติดสาปเมืองนิดๆ) ไอ้เราก็ไหนๆก็ไหนๆแล้วกดโทรสักหน่อยมันจะไปเสียหายอะไร............... กดโทรไปถึงสามครั้ง ก็ไม่สามารถติดต่อได้ ผมจึงถอดใจเสียแล้วว่า......... อะไรที่มันไม่ใช่ของเรา ก็คงไม่ใช่ของเรา......... จึงตัดสินใจกลับมาที่รถเพื่อไปไหว้พระก่อนเดินทางกลับ สุดท้ายก็เลยไปไหว้สถูปพ่อขุนเม็งรายที่วัดดอยงำเมืองที่อยู่ไม่ไกลกัน สวดไปสามจบ ปักธูปเทียนลงบนกระบะทราย อธิฐานให้ได้มีวาสนามาอยู่เชียงรายได้ไม่ทันขาดคำ โทรศัพท์เก็ดังขึ้นมา ปลายสายคือเจ้าของบ้านหลังที่เล็งไว้นั่นเอง............ ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงก็เลยนัดรวบรัดเซ็นสัญญา วางมัดจำ มาไวเคลมไวกว่าประกันภัยชั้นหนึ่ง....... ในใจก็นึก.....สงสัยไอ้ที่คนเขาชอบล้อเราว่าชาติที่แล้วจะเป็นคนเมืองเหนือ คงจะจริงๆเสียแล้วมั้ง ...... มาทีไรรู้สึกสบายใจทุกทีไป
.
.
.
และนี้ก็คือบ้านร้างๆบนยอดดอย หลังนั้นครับ...........
ฝากกระทู้เก่า๐ เอาไปอ่านฆ่าเวลาสักหน่อยครับ
บ้านที่กาญ
https://ppantip.com/topic/37055086
ที่ดอยอินทนน์
https://ppantip.com/topic/32691467
https://www.facebook.com/smungkalarungsi
เมื่อผมไปซื้อบ้านร้าง กลางเมืองเชียงราย มาเรโนเวท
เรื่องราวคราวนี้ก็เริ่มต้นจากปีที่แล้วช่วงที่โควิดเพิ่งจะระบาดใหม่ๆ ผมมีเรื่องให้ไปทำธุระที่ จ.เชียงราย ที่แรกคิดว่าคงจะต้องใช้เวลาสักสองสามวัน แต่ธุระดันเสร็จไวกว่ากำหนด เลยพอจะมีเวลาเหลือก่อนกลับ ความคิดของการทำทริป down the memory lane ย้อนอดีตความทรงจำวัยเด็กก็เกิดขึ้น มีอยู่ย่านหนึ่งที่ผมรู้สึกชอบมาตั้งแต่เด็กๆ นั่นก็คือแถวๆดอยงำเมือง เนินเขาลูกเตี้ยๆใจกลางเมืองเชียงราย จำได้ลางๆว่าตอนเด็กๆเคยผ่านมาเที่ยวแถวๆนี้กับพวกผู้ใหญ่ มาเที่ยววัดพระแก้ว วัดงำเมือง และที่จำได้ติดตามากๆเลยก็คือต้นจามจุรีใหญ่ๆมากมายในย่านนี้ ที่ทำให้เรารู้สึกว่าแถวนี้ร่มรื่นดีแฮะ บนดอยงำเมืองนี้มีบ้านสวยๆหลังหนึ่งที่เคยมาเกาะรั้วดูตอนเด็กๆ นั้นก็คือบ้านของ ท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม กลับมาคราวนี้จึงตั้งใจว่าต้องเขาไปดูเสียให้ได้ เพราะตอนนี้เขาก็เปิดให้เที่ยวชมแล้ว บ้านหลังนี้สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในแบบทรง Swiss ที่มีกลิ่นอาย Art - deco ตามยุคสมัย ตอนนั้นไทยเราใช้เชียงรายเป็นหัวเมืองในการบุกยึดรัฐฉานเชียงตุง และเมืองทางฝั่งขวาของแม่น้ำสาละวินมาเป็นอาณานิคมในช่วงเวลาสั้นๆ ทันทีที่ก้าวลงจากรถก็ตกหลุมรักบรรยากาศของบริเวณนี้เข้าอย่างจัง ต้นไม้ใหญ่ๆ ลมพัดเอื่ยๆเย็นสบายกับวิวที่มองไปถึงดอยช้าง ดอยวาวีทางตะวันตกของเมือง ในใจก็ได้แต่คิดว่า เรามันจะมีบุญพอให้ได้มาอยู่แถวนี้ไหมหนอ
หลังจากชมเสร็จก็ถือโอกาสเดินออกประตูรั้วมาเที่ยวชุมชนรอบๆ ตาก็เหลือบไปเห็นป้ายเก่าๆติดอยู่ที่รั้วบ้านหลังหนึ่งฝั่งตรงข้าม มองตามทางเข้าไปก็เห็นบ้านครึ่งปูนครึ่งไม้อยู่หลังหนึ่ง ซ่อนตัวอยู่ในป่ารกๆ ตัวเลขเบอร์โทรที่ป้ายก็ลางๆเลือนๆ ไม่รู้จะโทรติดได้หรือเปล่า ประจวบกับมีพี่คนหนึ่งกำลังเมาได้ที่ เปิดประตูรั้วบ้านข้างๆออกมาพอดี เห็นเราสนใจบ้าน แกก็เลยชิงบอกเสียก่อน จับใจความได้ว่า เจ้าของนี้ไม่อยู่มาเป็นสิบๆปีแล้วนะ มีคนเห็นไปๆมาๆบ้าง แต่ไม่ค่อยคุยกับใครแถวนี้ ลองโทรดูก็ได้ไม่รู่ว่าจะติดหรือเปล่า ขายมาเป็นสิบปีละ ไม่มีใครเอาสักคน (ติดสาปเมืองนิดๆ) ไอ้เราก็ไหนๆก็ไหนๆแล้วกดโทรสักหน่อยมันจะไปเสียหายอะไร............... กดโทรไปถึงสามครั้ง ก็ไม่สามารถติดต่อได้ ผมจึงถอดใจเสียแล้วว่า......... อะไรที่มันไม่ใช่ของเรา ก็คงไม่ใช่ของเรา......... จึงตัดสินใจกลับมาที่รถเพื่อไปไหว้พระก่อนเดินทางกลับ สุดท้ายก็เลยไปไหว้สถูปพ่อขุนเม็งรายที่วัดดอยงำเมืองที่อยู่ไม่ไกลกัน สวดไปสามจบ ปักธูปเทียนลงบนกระบะทราย อธิฐานให้ได้มีวาสนามาอยู่เชียงรายได้ไม่ทันขาดคำ โทรศัพท์เก็ดังขึ้นมา ปลายสายคือเจ้าของบ้านหลังที่เล็งไว้นั่นเอง............ ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงก็เลยนัดรวบรัดเซ็นสัญญา วางมัดจำ มาไวเคลมไวกว่าประกันภัยชั้นหนึ่ง....... ในใจก็นึก.....สงสัยไอ้ที่คนเขาชอบล้อเราว่าชาติที่แล้วจะเป็นคนเมืองเหนือ คงจะจริงๆเสียแล้วมั้ง ...... มาทีไรรู้สึกสบายใจทุกทีไป
.
.
.
และนี้ก็คือบ้านร้างๆบนยอดดอย หลังนั้นครับ...........
ฝากกระทู้เก่า๐ เอาไปอ่านฆ่าเวลาสักหน่อยครับ
บ้านที่กาญ
https://ppantip.com/topic/37055086
ที่ดอยอินทนน์
https://ppantip.com/topic/32691467
https://www.facebook.com/smungkalarungsi