เชื่อว่าหลายคนคงเคยดูหนังเรื่อง ยุทธการเดือดเชือดนาซี (Inglourious Basterds) ลองนึกภาพของวายร้ายของเรื่องที่เป็นเจ้าหน้าที่เอสเอสนักล่ายิว ใช่ครับผมกำลังพูดถึง พันเอกฮานส์ ลันดา เขาเป็นคนที่มีทักษะในงานที่ทำเป็นอย่างดีและเมื่อตอนที่รู้ตัวว่านาซีกำลังจะแพ้ เขาก็ปล่อยตัวพระเอกพร้อมกับข้อแลกเปลี่ยนในการลี้ภัยที่ต่างประเทศ เรื่องนี้ถือว่ามีเค้าโครงจากเรื่องจริงของอดีตนาซีหลายๆคนแต่ตอนจบก็ต่างกันออกไป ไรน์ฮาร์ด เกห์เลนพระเอกของเราในวันนี้ก็เช่นกันครับ แต่สิ่งที่เขาแลกเปลี่ยนกับอเมริกานั้นคืออะไร เดี๋ยวเรามาดูกันครับ ( ชมภาพประกอบพร้อมคำบรรยายไปเรื่อยๆ นะครับ )
ก่อนจะมาฟังไฮไลท์กัน ขอเล่าประวัติของเขาสักเล็กน้อยนะครับ ไรน์ฮาร์ด เกห์เลน คนนี้เกิดในตระกูลทหาร ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นทหารในกองทัพปรัสเซียอันเกรียงไกร เขาเองก็เช่นกันที่เดินรอยตามบรรพบุรุษในตระกูล โดยเข้าร่วมกับกองทัพของสาธารณรัฐไวมาร์ที่ตอนนั้นฮิตเลอร์กำลังเรืองอำนาจ ก่อนที่ต่อมาจะกลายเป็นอาณาจักรไรช์ที่ 3
ด้วยความที่เขาหัวดีมีไหวพริบก็ทำให้เขาเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้กองในปี 1935 และได้เข้าไปทำงานเป็นฝ่ายเสนาธิการในกองทัพ ตอนนี้เขาก็ได้เป็นเสธฯไรน์ฮาร์ดเรียบร้อยโรงเรียนนาซีแล้ว ซึ่งที่นั่นเองทำให้เขาได้แสดงศักยภาพด้านยุทธการและการจารกรรมได้อย่างดีเยี่ยม ต่อมาในปี 1942 เขาก็ได้เลื่อนชั้นเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารต่างชาติฝั่งตะวันออก หรือ Fremde Heere Ost (FHO) ที่ทำงานด้านข่าวกรองในแนวรบฝั่งโซเวียต โดยกำลังพลในหน่วยนี้ถูกเกณฑ์แกมบังคับจากเชลยศึกชาวรัสเซียเป็นหลัก
ต่อมาในช่วงแรกด้วยผลงานด้านการข่าวของเกห์เลนก็ทำให้กองทัพนาซีก็ได้รับชัยชนะสามารถขับไสไล่ส่งกองทัพแดงจนหนีหัวซุกหัวซุนกลับบ้านไป ก่อนที่ต่อมาอย่างที่เราทราบกันดีว่ากองทัพแดงก็สามารถตีโต้ตอบแก้แค้นกลับได้อย่างสาสม ขณะนั้นท่านนายพลเกห์เลนก็ได้ทำหนังสือให้ท่านผู้นำทราบข้อเท็จจริงและข้อพิจารณาของสาเหตุในความพ่ายแพ้ของนาซี แต่แทนที่ท่านผู้นำหนวดจิ๋มจะฟัง กลับโมโหจนหนวดสั่นและเรียกไรน์ฮาร์ดว่า "ไอ้ขี้แพ้" และในปี 1945 ท่านผู้นำก็ปลดไรน์ฮาร์ด แต่แทนที่เขาจะเสียใจ เขาก็เพียงยักไหล่แล้วก็พูดว่า "เออ...ก็แล้วแต่" แล้วก็สั่งให้ลูกน้องเอาถังมาเก็บงานข่าวกรองฝั่งโซเวียตที่เขาทำมาฝังไว้ จากนั้นก็รอให้กองทัพมะกันมา แล้วค่อยยอมมอบตัว
เมื่อฝ่ายอเมริกาทำการซักถามเชลยซึ่งเป็นนายทหารระดับสูง ไรน์ฮาร์ดก็เสนอข้อแลกเปลี่ยนว่า "ลูกพี่ ผมซ่อนไมโครฟิล์มงานข่าวกรองฝั่งโซเวียตไว้อยู่ พี่จะเอารึป่าว ถ้าพี่จะเอานะ พี่อย่าเอาผมขึ้นศาลได้มั้ย แล้วผมจะบอกว่าอยู่ที่ไหน" กองทัพมะกันก็ตกลง ไรน์ฮาร์ดก็ลูบปากคิดในใจว่ารอดแล้วตรู หลังจากนั้นไม่เพียงอเมริกาจะไม่เอาไรน์ฮาร์ดมาขึ้นศาล แต่ยังเอามาช่วยงานข่าวกรองในซีไอเอด้วย แถมตั้งหน่วยและเจียดงบให้ไรน์ฮาร์ดเป็นหัวหน้าอีก ตั้งชื่อว่าหน่วยข่าวเกห์เลน (Gehlen Organization) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ออร์ก (Org)
ตั้งแต่นั้นมาหน่วยออร์กก็เป็นหน่วยข่าวที่ซีไอเอขาดไม่ได้ แถมยังมีกำลังพลที่เป็นอดีตนาซีร่วมสามร้อยกว่าคน หน่วยออร์กรับผิดชอบงานด้านการข่าวที่เยอรมันตะวันตก และได้งบปฏิบัติการปีละห้าล้านดอล ขณะเดียวกันก็มีข่าวลือว่ามีหนอนบ่อนไส้อยู่ในหน่วยคอยขายข่าวให้ฝั่งโซเวียต ทำให้เจ้าหน้าที่ซีไอเอจับตามองหน่วยนี้อย่างไม่ละสายตา แถมยังได้ข่าวไม่สู้ดีอีกว่าสมาชิกในหน่วยนี้มีอดีตทีมงานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวของไอค์มันน์อยู่ด้วย นอกจากนี้ยังมีอดีตเอสเอสและเกสตาโปอยู่หลายสิบนาย
เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ นับวันซีไอเอก็ไม่สามารถควบคุมหน่วยออร์กได้อีกต่อไป หน่วยออร์กนอกจากจะมีหนอนยั้วเยี้ยจนเต็มหน่วยแล้ว ยังแอบสอยงบจากซีไอเอไปช่วยเหลืออดีตอาชญากรสงครามนาซีลี้ภัยไปยังอเมริกากลางและอเมริกาใต้กว่า 5,000 รายอีกต่างหาก หัวหน้าหน่วยข่าวประจำเยอรมันที่เป็นหัวหน้าของเกห์เลนก็ได้แต่บ่นพึมพำและหลับตาไปข้างนึง พูดแต่เพียงว่า "เพื่อความมั่นคงๆๆ"
อย่างไรก็ตามแม้ว่าซีไอเอจะไม่ไว้ใจเกห์เลน แต่ด้วยภัยคุกคามของโซเวียตทวีความรุนแรงและเจ้าหน้าที่ชาวอเมริกันก็ไม่มีความสามารถพอ เขาจึงอาสาทำงานโดยบอกกับผู้ใหญ่ว่า "เล็กๆไม่ ใหญ่ๆออร์ก" เกห์เลนใช้เวลาแปดปีต่อมาในการรวบรวมข่าวลับที่มีประสิทธิภาพของฝ่ายโซเวียตและประสบความสำเร็จในการใช้สายลับแทรกซึมในเยอรมันตะวันออก แต่ซีไอเอหารู้ไม่ว่าส่วนใหญ่ข่าวที่ได้นั้นมาจากการที่เกห์เลนนั่งเทียนเขียนข่าวจากคำบอกเล่าของเชลยศึกที่ถูกโซเวียตจับไปว่าโซเวียตพัฒนาอะไรไปแล้วบ้างรวมถึงเรื่องนิวเคลียร์ แสบจริงๆเลยไรน์ฮาร์ด ย้อมแมวซะมะริกันเราเก็บทรงไม่อยู่เลย
ซีไอเอก็ใช้งานไรน์ฮาร์ดเรื่อยมาตั้งแต่สงครามจบลงเป็นเวลาได้ 11 ปี แล้วไรน์ฮาร์ดก็ขอกลับเยอรมันไปตั้งหน่วยข่าวกรองของประเทศเลียนแบบซีไอเอ โดยตั้งชื่อว่า สำนักข่าวกรองแห่งสหพันธรัฐ หรือ Bundesnachrichtendienst (BND) (อ่านว่าอะไรรบกวนท่านผู้อ่านช่วยผมด้วยนะครับ จะแปะเป็นภาษาคาราโอเกะก็ได้ 5555)
ที่สุดในปี 1968 หน่วย BND ก็พบว่ามีหนอนบ่อนไส้เป็นจำนวนมากและส่วนหนึ่งก็เป็นคนของไรน์ฮาร์ด โดยเฉพาะหนึ่งในนั้นก็คือ ไฮนซ์ เฟลเฟ่อ มือขวาของไรน์ฮาร์ดเองที่พบว่าทำงานเป็นสายลับสองหน้าให้กับโซเวียตมาสิบกว่าปีแล้ว ทำให้ไรน์ฮาร์ดต้องถูกบังคับให้เกษียณอายุ แม้ว่าลูกน้องของเขาจะต้องขึ้นศาล แต่ทว่าแมวเก้าชีวิตอย่างไรน์ฮาร์ดก็ใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างเงียบๆ ตีกรรเชียงจากวงโคจรไปโดยไม่มีใครสังเกตทัน และหมดอายุขัยลงตามธรรมชาติในปี 1979 นี่แหละครับ ปิดฉากชีวิตอันมีสีสันของ ไรน์ฮาร์ด เกห์เลน อย่างแฮปปี้เอ็นดิ้ง ขอบคุณทุกท่านครับ
Cr :
https://allthatsinteresting.com/reinhard-gehlen,https://en.m.wikipedia.org/wiki/Reinhard_Gehlen,https://en.m.wikipedia.org/wiki/Gehlen_Organization
ถ้าชอบใจฝากไลค์เป็นกำลังใจที่เพจ Someone in History : ประวัติศาสตร์ของใครสักคนด้วยนะครับ
https://www.facebook.com/someoneinhistory/
ลับ ลวง หลอก กับไรน์ฮาร์ด เกห์เลน
เชื่อว่าหลายคนคงเคยดูหนังเรื่อง ยุทธการเดือดเชือดนาซี (Inglourious Basterds) ลองนึกภาพของวายร้ายของเรื่องที่เป็นเจ้าหน้าที่เอสเอสนักล่ายิว ใช่ครับผมกำลังพูดถึง พันเอกฮานส์ ลันดา เขาเป็นคนที่มีทักษะในงานที่ทำเป็นอย่างดีและเมื่อตอนที่รู้ตัวว่านาซีกำลังจะแพ้ เขาก็ปล่อยตัวพระเอกพร้อมกับข้อแลกเปลี่ยนในการลี้ภัยที่ต่างประเทศ เรื่องนี้ถือว่ามีเค้าโครงจากเรื่องจริงของอดีตนาซีหลายๆคนแต่ตอนจบก็ต่างกันออกไป ไรน์ฮาร์ด เกห์เลนพระเอกของเราในวันนี้ก็เช่นกันครับ แต่สิ่งที่เขาแลกเปลี่ยนกับอเมริกานั้นคืออะไร เดี๋ยวเรามาดูกันครับ ( ชมภาพประกอบพร้อมคำบรรยายไปเรื่อยๆ นะครับ )
ก่อนจะมาฟังไฮไลท์กัน ขอเล่าประวัติของเขาสักเล็กน้อยนะครับ ไรน์ฮาร์ด เกห์เลน คนนี้เกิดในตระกูลทหาร ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นทหารในกองทัพปรัสเซียอันเกรียงไกร เขาเองก็เช่นกันที่เดินรอยตามบรรพบุรุษในตระกูล โดยเข้าร่วมกับกองทัพของสาธารณรัฐไวมาร์ที่ตอนนั้นฮิตเลอร์กำลังเรืองอำนาจ ก่อนที่ต่อมาจะกลายเป็นอาณาจักรไรช์ที่ 3
ด้วยความที่เขาหัวดีมีไหวพริบก็ทำให้เขาเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้กองในปี 1935 และได้เข้าไปทำงานเป็นฝ่ายเสนาธิการในกองทัพ ตอนนี้เขาก็ได้เป็นเสธฯไรน์ฮาร์ดเรียบร้อยโรงเรียนนาซีแล้ว ซึ่งที่นั่นเองทำให้เขาได้แสดงศักยภาพด้านยุทธการและการจารกรรมได้อย่างดีเยี่ยม ต่อมาในปี 1942 เขาก็ได้เลื่อนชั้นเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารต่างชาติฝั่งตะวันออก หรือ Fremde Heere Ost (FHO) ที่ทำงานด้านข่าวกรองในแนวรบฝั่งโซเวียต โดยกำลังพลในหน่วยนี้ถูกเกณฑ์แกมบังคับจากเชลยศึกชาวรัสเซียเป็นหลัก
ต่อมาในช่วงแรกด้วยผลงานด้านการข่าวของเกห์เลนก็ทำให้กองทัพนาซีก็ได้รับชัยชนะสามารถขับไสไล่ส่งกองทัพแดงจนหนีหัวซุกหัวซุนกลับบ้านไป ก่อนที่ต่อมาอย่างที่เราทราบกันดีว่ากองทัพแดงก็สามารถตีโต้ตอบแก้แค้นกลับได้อย่างสาสม ขณะนั้นท่านนายพลเกห์เลนก็ได้ทำหนังสือให้ท่านผู้นำทราบข้อเท็จจริงและข้อพิจารณาของสาเหตุในความพ่ายแพ้ของนาซี แต่แทนที่ท่านผู้นำหนวดจิ๋มจะฟัง กลับโมโหจนหนวดสั่นและเรียกไรน์ฮาร์ดว่า "ไอ้ขี้แพ้" และในปี 1945 ท่านผู้นำก็ปลดไรน์ฮาร์ด แต่แทนที่เขาจะเสียใจ เขาก็เพียงยักไหล่แล้วก็พูดว่า "เออ...ก็แล้วแต่" แล้วก็สั่งให้ลูกน้องเอาถังมาเก็บงานข่าวกรองฝั่งโซเวียตที่เขาทำมาฝังไว้ จากนั้นก็รอให้กองทัพมะกันมา แล้วค่อยยอมมอบตัว
เมื่อฝ่ายอเมริกาทำการซักถามเชลยซึ่งเป็นนายทหารระดับสูง ไรน์ฮาร์ดก็เสนอข้อแลกเปลี่ยนว่า "ลูกพี่ ผมซ่อนไมโครฟิล์มงานข่าวกรองฝั่งโซเวียตไว้อยู่ พี่จะเอารึป่าว ถ้าพี่จะเอานะ พี่อย่าเอาผมขึ้นศาลได้มั้ย แล้วผมจะบอกว่าอยู่ที่ไหน" กองทัพมะกันก็ตกลง ไรน์ฮาร์ดก็ลูบปากคิดในใจว่ารอดแล้วตรู หลังจากนั้นไม่เพียงอเมริกาจะไม่เอาไรน์ฮาร์ดมาขึ้นศาล แต่ยังเอามาช่วยงานข่าวกรองในซีไอเอด้วย แถมตั้งหน่วยและเจียดงบให้ไรน์ฮาร์ดเป็นหัวหน้าอีก ตั้งชื่อว่าหน่วยข่าวเกห์เลน (Gehlen Organization) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ออร์ก (Org)
ตั้งแต่นั้นมาหน่วยออร์กก็เป็นหน่วยข่าวที่ซีไอเอขาดไม่ได้ แถมยังมีกำลังพลที่เป็นอดีตนาซีร่วมสามร้อยกว่าคน หน่วยออร์กรับผิดชอบงานด้านการข่าวที่เยอรมันตะวันตก และได้งบปฏิบัติการปีละห้าล้านดอล ขณะเดียวกันก็มีข่าวลือว่ามีหนอนบ่อนไส้อยู่ในหน่วยคอยขายข่าวให้ฝั่งโซเวียต ทำให้เจ้าหน้าที่ซีไอเอจับตามองหน่วยนี้อย่างไม่ละสายตา แถมยังได้ข่าวไม่สู้ดีอีกว่าสมาชิกในหน่วยนี้มีอดีตทีมงานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวของไอค์มันน์อยู่ด้วย นอกจากนี้ยังมีอดีตเอสเอสและเกสตาโปอยู่หลายสิบนาย
เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ นับวันซีไอเอก็ไม่สามารถควบคุมหน่วยออร์กได้อีกต่อไป หน่วยออร์กนอกจากจะมีหนอนยั้วเยี้ยจนเต็มหน่วยแล้ว ยังแอบสอยงบจากซีไอเอไปช่วยเหลืออดีตอาชญากรสงครามนาซีลี้ภัยไปยังอเมริกากลางและอเมริกาใต้กว่า 5,000 รายอีกต่างหาก หัวหน้าหน่วยข่าวประจำเยอรมันที่เป็นหัวหน้าของเกห์เลนก็ได้แต่บ่นพึมพำและหลับตาไปข้างนึง พูดแต่เพียงว่า "เพื่อความมั่นคงๆๆ"
อย่างไรก็ตามแม้ว่าซีไอเอจะไม่ไว้ใจเกห์เลน แต่ด้วยภัยคุกคามของโซเวียตทวีความรุนแรงและเจ้าหน้าที่ชาวอเมริกันก็ไม่มีความสามารถพอ เขาจึงอาสาทำงานโดยบอกกับผู้ใหญ่ว่า "เล็กๆไม่ ใหญ่ๆออร์ก" เกห์เลนใช้เวลาแปดปีต่อมาในการรวบรวมข่าวลับที่มีประสิทธิภาพของฝ่ายโซเวียตและประสบความสำเร็จในการใช้สายลับแทรกซึมในเยอรมันตะวันออก แต่ซีไอเอหารู้ไม่ว่าส่วนใหญ่ข่าวที่ได้นั้นมาจากการที่เกห์เลนนั่งเทียนเขียนข่าวจากคำบอกเล่าของเชลยศึกที่ถูกโซเวียตจับไปว่าโซเวียตพัฒนาอะไรไปแล้วบ้างรวมถึงเรื่องนิวเคลียร์ แสบจริงๆเลยไรน์ฮาร์ด ย้อมแมวซะมะริกันเราเก็บทรงไม่อยู่เลย
ซีไอเอก็ใช้งานไรน์ฮาร์ดเรื่อยมาตั้งแต่สงครามจบลงเป็นเวลาได้ 11 ปี แล้วไรน์ฮาร์ดก็ขอกลับเยอรมันไปตั้งหน่วยข่าวกรองของประเทศเลียนแบบซีไอเอ โดยตั้งชื่อว่า สำนักข่าวกรองแห่งสหพันธรัฐ หรือ Bundesnachrichtendienst (BND) (อ่านว่าอะไรรบกวนท่านผู้อ่านช่วยผมด้วยนะครับ จะแปะเป็นภาษาคาราโอเกะก็ได้ 5555)
ที่สุดในปี 1968 หน่วย BND ก็พบว่ามีหนอนบ่อนไส้เป็นจำนวนมากและส่วนหนึ่งก็เป็นคนของไรน์ฮาร์ด โดยเฉพาะหนึ่งในนั้นก็คือ ไฮนซ์ เฟลเฟ่อ มือขวาของไรน์ฮาร์ดเองที่พบว่าทำงานเป็นสายลับสองหน้าให้กับโซเวียตมาสิบกว่าปีแล้ว ทำให้ไรน์ฮาร์ดต้องถูกบังคับให้เกษียณอายุ แม้ว่าลูกน้องของเขาจะต้องขึ้นศาล แต่ทว่าแมวเก้าชีวิตอย่างไรน์ฮาร์ดก็ใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างเงียบๆ ตีกรรเชียงจากวงโคจรไปโดยไม่มีใครสังเกตทัน และหมดอายุขัยลงตามธรรมชาติในปี 1979 นี่แหละครับ ปิดฉากชีวิตอันมีสีสันของ ไรน์ฮาร์ด เกห์เลน อย่างแฮปปี้เอ็นดิ้ง ขอบคุณทุกท่านครับ
Cr : https://allthatsinteresting.com/reinhard-gehlen,https://en.m.wikipedia.org/wiki/Reinhard_Gehlen,https://en.m.wikipedia.org/wiki/Gehlen_Organization
ถ้าชอบใจฝากไลค์เป็นกำลังใจที่เพจ Someone in History : ประวัติศาสตร์ของใครสักคนด้วยนะครับ
https://www.facebook.com/someoneinhistory/