ต้อหินคืออะไร?
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โรคต้อหิน เป็นต้อชนิดเดียวที่ไม่มีรูปร่างให้เห็นหรือมีหินเกิดขึ้นภายในดวงตา
ซึ่งนายแพทย์ ชัยวัฒน์ ทีฆเสนีย์ จักษุแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคต้อหิน โรงพยาบาลจักษุรัตนิน อธิบายว่ามันคือภาวะที่ความดันภายในลูกตาสูง (มากกว่า 21 มิลลิเมตรปรอท) จนเกิดการกดทับเส้นประสาทตาซึ่งทำหน้าที่รับภาพไปแปลผลในสมอง
เมื่อเส้นประสาทตาถูกทำลายจะทำให้ลานสายตาค่อยๆแคบลงและเมื่อเป็นมากขึ้นก็จะส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรหรือตาบอดในที่สุด
ความดันลูกตาสูงเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ความดันลูกตาสูงเกิดจากการที่มีระบบหมุนเวียนของของเหลวซึ่งทำหน้าที่นำสารอาหารและขับถ่ายของเสียในดวงตาผิดปกติไป เกิดมีการอุดตันของท่อระบายของเหลวนี้ ทำให้มีการค้างของของเหลวภายในดวงตาซึ่งมีปริมาตรจำกัด ส่งผลให้ความดันในลูกตาเพิ่มสูงขึ้นไปกดทับเส้นประสาทตาที่อยู่ด้านหลังของลูกตาให้เกิดความเสียหาย จนไม่สามารถส่งสัญญาณภาพไปแปลผลที่สมองได้ดังที่ได้กล่าวไปแล้วเบื้องต้น
จะสังเกตอาการของโรคได้อย่างไร?
ในทางปฏิบัติแล้วผู้ป่วยต้อหิน ระยะต้นส่วนใหญ่มักไม่สามารถสังเกตได้เองหรือมีอาการแสดงแจ้งให้รู้ล่วงหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของต้อหินแบบมุมเปิด ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมองเห็นด้าน บน - ล่าง ซ้าย - ขวา ค่อยๆ แคบลงอย่างช้าๆ
ระหว่างนั้นก็ยังคงสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ จนกระทั้งการสูญเสียลานสายตาเข้ามาถึงบริเวณตรงกลาง ทำให้ตามัวและเดินชนสิ่งของรอบข้าง จึงมาพบแพทย์ ซึ่งอาการดังกล่าวก็เป็นระยะท้ายๆ ของโรคแล้ว ทำให้ผู้ป่วยอาจต้องเสี่ยงต่อตาบอดในที่สุด
ต้อหินโดยทั่วไปมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
1.ต้อหินมุมปิด :โรคจะมีอาการเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน ทำให้ผู้ป่วยปวดตา ตามัว ตาแดง และอาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ต้อหินชนิดนี้มีโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้ หากถึงมือแพทย์เร็ว
2.ต้อหินมุมเปิด:เป็นต้อหินชนิดที่เส้นประสาทตาค่อยๆ เสียไป โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัว การดำเนินของโรคเป็นไปอย่างช้าโดย อาจใช้เวลานานหลายปีกว่าจะตาบอด ต้อหินชนิดนี้
หากได้รับการวินิฉัยพบเร็วก็สามารถที่จะเก็บรักษาสายตาส่วนที่เหลือไว้ได้มากกว่าในระยะท้ายของโรค ปัจจุบันยังไม่อาจรักษาโรคต้อหินมุมเปิดให้หายขาดได้
อาการ
1. สูญเสียลานสายตาของการมองเห็น (Field of Viewing) เช่น เห็นแสงแคบลง ไม่เห็นด้านข้าง หรือถ้าปิดตาดูทีละข้างอาจมีจุดบอดเป็นบางส่วน
2. ตามัวลง เกิดขึ้นเมื่อโรคต้อหินเป็นมากแล้ว
3. ในที่มีแสงสลัวจะมองเห็นวัตถุได้ไม่ชัดเหมือนเดิม
4. เห็นรุ้งรอบๆดวงไฟ
5. กรณีที่เป็นต้อหินชนิดเฉียบพลัน จะคลื่นไส้ อาเจียน และปวดศีรษะมาก และตามัวลงอย่างรวดเร็ว
ใครคือกลุ่มเสี่ยง
โรคต้อหินพบได้ตั้งแต่ในเด็กแรกเกิดแต่กลุ่มที่พบได้มากที่สุดคือกลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มาก่อน นอกจากนี้ยังพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ ผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นหรือยาวมาก ผู้ที่มีปานแดง ปานดำ พาดผ่านบริเวณดวงตา ตลอดจนผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุได้รับการกระทบกระเทือนบริเวณดวงตา เป็นต้น
ต้อหิน มหันตภัยเงียบ…
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โรคต้อหิน เป็นต้อชนิดเดียวที่ไม่มีรูปร่างให้เห็นหรือมีหินเกิดขึ้นภายในดวงตา
ซึ่งนายแพทย์ ชัยวัฒน์ ทีฆเสนีย์ จักษุแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคต้อหิน โรงพยาบาลจักษุรัตนิน อธิบายว่ามันคือภาวะที่ความดันภายในลูกตาสูง (มากกว่า 21 มิลลิเมตรปรอท) จนเกิดการกดทับเส้นประสาทตาซึ่งทำหน้าที่รับภาพไปแปลผลในสมอง
เมื่อเส้นประสาทตาถูกทำลายจะทำให้ลานสายตาค่อยๆแคบลงและเมื่อเป็นมากขึ้นก็จะส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรหรือตาบอดในที่สุด
ความดันลูกตาสูงเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ความดันลูกตาสูงเกิดจากการที่มีระบบหมุนเวียนของของเหลวซึ่งทำหน้าที่นำสารอาหารและขับถ่ายของเสียในดวงตาผิดปกติไป เกิดมีการอุดตันของท่อระบายของเหลวนี้ ทำให้มีการค้างของของเหลวภายในดวงตาซึ่งมีปริมาตรจำกัด ส่งผลให้ความดันในลูกตาเพิ่มสูงขึ้นไปกดทับเส้นประสาทตาที่อยู่ด้านหลังของลูกตาให้เกิดความเสียหาย จนไม่สามารถส่งสัญญาณภาพไปแปลผลที่สมองได้ดังที่ได้กล่าวไปแล้วเบื้องต้น
จะสังเกตอาการของโรคได้อย่างไร?
ในทางปฏิบัติแล้วผู้ป่วยต้อหิน ระยะต้นส่วนใหญ่มักไม่สามารถสังเกตได้เองหรือมีอาการแสดงแจ้งให้รู้ล่วงหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของต้อหินแบบมุมเปิด ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมองเห็นด้าน บน - ล่าง ซ้าย - ขวา ค่อยๆ แคบลงอย่างช้าๆ
ระหว่างนั้นก็ยังคงสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ จนกระทั้งการสูญเสียลานสายตาเข้ามาถึงบริเวณตรงกลาง ทำให้ตามัวและเดินชนสิ่งของรอบข้าง จึงมาพบแพทย์ ซึ่งอาการดังกล่าวก็เป็นระยะท้ายๆ ของโรคแล้ว ทำให้ผู้ป่วยอาจต้องเสี่ยงต่อตาบอดในที่สุด
ต้อหินโดยทั่วไปมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
1.ต้อหินมุมปิด :โรคจะมีอาการเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน ทำให้ผู้ป่วยปวดตา ตามัว ตาแดง และอาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ต้อหินชนิดนี้มีโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้ หากถึงมือแพทย์เร็ว
หากได้รับการวินิฉัยพบเร็วก็สามารถที่จะเก็บรักษาสายตาส่วนที่เหลือไว้ได้มากกว่าในระยะท้ายของโรค ปัจจุบันยังไม่อาจรักษาโรคต้อหินมุมเปิดให้หายขาดได้
อาการ
1. สูญเสียลานสายตาของการมองเห็น (Field of Viewing) เช่น เห็นแสงแคบลง ไม่เห็นด้านข้าง หรือถ้าปิดตาดูทีละข้างอาจมีจุดบอดเป็นบางส่วน
2. ตามัวลง เกิดขึ้นเมื่อโรคต้อหินเป็นมากแล้ว
3. ในที่มีแสงสลัวจะมองเห็นวัตถุได้ไม่ชัดเหมือนเดิม
4. เห็นรุ้งรอบๆดวงไฟ
5. กรณีที่เป็นต้อหินชนิดเฉียบพลัน จะคลื่นไส้ อาเจียน และปวดศีรษะมาก และตามัวลงอย่างรวดเร็ว
ใครคือกลุ่มเสี่ยง
โรคต้อหินพบได้ตั้งแต่ในเด็กแรกเกิดแต่กลุ่มที่พบได้มากที่สุดคือกลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไป โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มาก่อน นอกจากนี้ยังพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ ผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นหรือยาวมาก ผู้ที่มีปานแดง ปานดำ พาดผ่านบริเวณดวงตา ตลอดจนผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุได้รับการกระทบกระเทือนบริเวณดวงตา เป็นต้น