เด็กคนหนึ่งสอบได้คะแนนไม่ดี เขาผิดหวัง อยากให้พ่อปลอบใจเขาบ้าง
เมื่อเขาบอกพ่อ สิ่งที่พ่อบอกก็คือ “ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน” เด็กฟังแล้วรู้สึกเสียใจ
เด็กรู้สึกว่า แสดงว่าเขาไม่มีคุณค่าสินะ ที่ทำสอบได้คะแนนไม่ดี
.
จริงๆ แล้ว สิ่งที่พ่อคิดก็คือ พ่ออยากให้ลูกปรับปรุงตัว อ่านหนังสือมากขึ้น พ่อเห็นว่าลูกไม่ขยัน
จริงๆ พ่อก็รักและหวังดีกับลูกนั่นแหละ หมอเข้าใจดี
.
แต่ถ้าพ่อเปลี่ยนคำพูดเป็น “พ่อรู้ว่าลูกคงผิดหวัง เสียใจ” แล้วพ่อก็ดึงลูกเข้ามากอดสักหน่อย
แล้วค่อยคุยถึงเรื่องการปรับปรุง พัฒนาตัวเองในการสอบครั้งหน้า น่าจะดีกว่า
.
ถ้าเป็นไปได้อาจใช้เป็นคำถาม หลังจากที่ให้กำลังใจลูกเรียบร้อย
“แล้วลูกคิดว่า ถ้าจะทำให้ดีขึ้น ในการสอบคราวหน้าจะต้องปรับตรงไหน”
ลองมาช่วยกันคิด
.
ลูกอาจจะบอกว่า
“อ่านหนังสือน้อยไป”
“ตื่นเต้นไปหน่อยตอนทำข้อสอบ ลนไปหมด”
“ครูออกข้อสอบยาก ไม่มีในหนังสือเลย”
“ทำผิดเพราะเลิ่นเล่อ”
ฯลฯ
ตรงนั้นพ่อแม่ก็คุยกับลูก แนะนำ นำไปสู่การแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้ทำได้ดีขึ้นในคราวหน้าได้
.
แม้บางสถานการณ์ พ่อแม่มองเห็นความผิดพลาดที่ลูกทำให้เกิด แต่ไม่ได้หมายความว่า ลูกไม่ควรได้รับคำปลอบโยน
การปลอบใจของพ่อแม่ที่มอบให้ ตรงนั้นน่าจะนำไปสู่การแก้ไขพัฒนาตัวเอง ด้วยความหวัง มีกำลังใจในการทำต่อไปให้ดีขึ้น
ไม่เพียงแต่เด็กๆ พ่อแม่เองก็ต้องการคำปลอบใจเช่นกัน ฉันใดก็ฉันนั้นนะคะ
หมอมินบานเย็น เพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา
ข้อคิดจากห้องตรวจจิตเวชเด็ก: ในวันที่ลูกสอบได้คะแนนไม่ดีและอยากให้เราปลอบ พ่อแม่ควรทำอย่างไร?
เด็กคนหนึ่งสอบได้คะแนนไม่ดี เขาผิดหวัง อยากให้พ่อปลอบใจเขาบ้าง
เมื่อเขาบอกพ่อ สิ่งที่พ่อบอกก็คือ “ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน” เด็กฟังแล้วรู้สึกเสียใจ
เด็กรู้สึกว่า แสดงว่าเขาไม่มีคุณค่าสินะ ที่ทำสอบได้คะแนนไม่ดี
.
จริงๆ แล้ว สิ่งที่พ่อคิดก็คือ พ่ออยากให้ลูกปรับปรุงตัว อ่านหนังสือมากขึ้น พ่อเห็นว่าลูกไม่ขยัน
จริงๆ พ่อก็รักและหวังดีกับลูกนั่นแหละ หมอเข้าใจดี
.
แต่ถ้าพ่อเปลี่ยนคำพูดเป็น “พ่อรู้ว่าลูกคงผิดหวัง เสียใจ” แล้วพ่อก็ดึงลูกเข้ามากอดสักหน่อย
แล้วค่อยคุยถึงเรื่องการปรับปรุง พัฒนาตัวเองในการสอบครั้งหน้า น่าจะดีกว่า
.
ถ้าเป็นไปได้อาจใช้เป็นคำถาม หลังจากที่ให้กำลังใจลูกเรียบร้อย
“แล้วลูกคิดว่า ถ้าจะทำให้ดีขึ้น ในการสอบคราวหน้าจะต้องปรับตรงไหน”
ลองมาช่วยกันคิด
.
ลูกอาจจะบอกว่า
“อ่านหนังสือน้อยไป”
“ตื่นเต้นไปหน่อยตอนทำข้อสอบ ลนไปหมด”
“ครูออกข้อสอบยาก ไม่มีในหนังสือเลย”
“ทำผิดเพราะเลิ่นเล่อ”
ฯลฯ
ตรงนั้นพ่อแม่ก็คุยกับลูก แนะนำ นำไปสู่การแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้ทำได้ดีขึ้นในคราวหน้าได้
.
แม้บางสถานการณ์ พ่อแม่มองเห็นความผิดพลาดที่ลูกทำให้เกิด แต่ไม่ได้หมายความว่า ลูกไม่ควรได้รับคำปลอบโยน
การปลอบใจของพ่อแม่ที่มอบให้ ตรงนั้นน่าจะนำไปสู่การแก้ไขพัฒนาตัวเอง ด้วยความหวัง มีกำลังใจในการทำต่อไปให้ดีขึ้น
ไม่เพียงแต่เด็กๆ พ่อแม่เองก็ต้องการคำปลอบใจเช่นกัน ฉันใดก็ฉันนั้นนะคะ
หมอมินบานเย็น เพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา