เด็กจำเป็นต้องเล่นของเล่นตามเพศหรือไม่?
เคยสงสัยกันมั้ยครับว่า ทำไมเด็กผู้ชายต้องคู่กับสีฟ้า 👦🟦 และเด็กผู้หญิงต้องคู่กับสีชมพู 👧🎀 รวมถึงกิจกรรมและความชอบที่มักจะถูกเหมารวมว่าต้องเป็นของเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น เช่น เด็กผู้ชายต้องเล่นแต่หุ่นยนต์ รถบังคับ หรือลูกฟุตบอล ส่วนเด็กผู้หญิงก็ต้องเล่นแต่ตุ๊กตาหรือชุดเครื่องครัว
ซึ่งพี่หมอคิดว่าส่วนหนึ่งน่าจะมาจากค่านิยมหรือความเชื่อของคนในสมัยก่อน เพราะก็ต้องยอมรับว่าโลกสมัยนี้เปิดกว้างกว่าสมัยก่อนมาก ของเล่นหรือกิจกรรมต่างๆ ก็มีให้เลือกเยอะขึ้น ดังนั้น ความชอบของเด็กๆ จึงไม่ควรถูกตีกรอบด้วยคำว่าชายหรือหญิงอีกต่อไป เพราะนอกจากจะเป็นการจำกัดทางเลือกของเด็กๆ แล้ว ยังอาจจะเป็นโทษกับตัวเด็กเองในอนาคตอีกด้วย
การเลือกของเล่นจึงควรคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กก่อนเป็นอันดับแรก เพราะถ้าเราเลือกได้อย่างถูกต้อง ของเล่นหรือกิจกรรมเหล่านี้ก็จะช่วยส่งเสริมให้เด็กเติบโตขึ้นได้อย่างสมวัย และเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัยมากขึ้น พี่หมอจึงไปสอบถามและรวบรวมข้อมูลจากคุณหมอที่ดูแลด้านพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็ก รวมถึงคำแนะนำในการเลือกของเล่นที่เหมาะสมกับเพศและวัยมาฝากกันครับ
การเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับเพศและวัยของเด็ก
👪 คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองควรเลือกของเล่นที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้รอบด้าน ทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ รวมถึงพัฒนาการด้านภาษา และทักษะสังคมตามวัยทั้ง IQ และ EQ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับเพศ พื้นฐานทางด้านอารมณ์ บุคลิกภาพของเด็กแต่ละคน รวมถึงสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดูด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อความชอบและพฤติกรรมของเด็ก ซึ่งจะทำให้เด็กแต่ละคนมีพฤติกรรมเลียนแบบจากสิ่งที่เห็นแตกต่างกัน
พฤติกรรมและความชอบที่เปลี่ยนไปตามวัย
การเล่นของเด็กจะเปลี่ยนไปตามระดับของพัฒนาการและการเรียนรู้ที่มากขึ้น จนถึงอายุประมาณ 3 ขวบ เด็กจึงจะเริ่มแยกแยะความแตกต่างระหว่างเพศชาย-หญิง และมีความชอบหรือการเล่นที่เป็นไปตามเพศที่แท้จริงของตัวเอง
และอย่างที่เราทราบกันดีว่า เด็กๆ จะเรียนรู้ผ่านการเลียนแบบจากต้นแบบที่ได้เห็นบ่อยๆ ร่วมกับการได้รับแรงเสริมจากการทำพฤติกรรมนั้นๆ การรับรู้หรือการได้ยินได้ฟังเรื่องราวจากสื่อก็ย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมความชอบของเด็กๆ ได้เช่นกัน ดังนั้น พี่หมอจึงอยากให้คุณพ่อคุณแม่ลองเปิดใจรับฟังและพูดคุย ทำความเข้าใจในการรับข้อมูลจากสื่อไปพร้อมๆ กับลูก มากกว่าที่จะไปปิดกั้นนะครับ
ของเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย 🧸🤖
1. วัยแรกเกิด – 1 ปี
📌 ทารก – 3 เดือน ควรเล่นของเล่นประเภทโมบายที่มีเสียงดนตรี เพราะจะช่วยส่งเสริมการมองเห็นและการได้ยิน รวมถึงกระตุ้นให้เด็กรู้จักไขว่คว้า เอื้อมหยิบจับสิ่งของ
📌 อายุ 3 – 6 เดือน ของเล่นที่เหมาะสมคือ ของที่สามารถถือ เขย่า และเอาเข้าปากได้อย่างปลอดภัย เพราะเด็กวัยนี้จะเริ่มคันเหงือก หรืออาจจะเป็นนิทานที่มีสีสันสดใส รวมถึงการฝึกให้เด็กพลิกคว่ำ หงายบนแผ่นรองคลาน
📌 อายุ 6 – 12 เดือน การนั่งเล่นบนแผ่นรองคลาน หรือของเล่นที่สามารถถือ เขย่าหรือเคาะให้เกิดเสียงได้ รวมถึงการฝึกให้เด็กได้คลาน หรือเกาะของเล่นที่เดินไปรอบๆ ได้ และอาจมีปุ่มกดที่มีเสียงดนตรี พี่หมอแนะนำว่าสำหรับวัยนี้ ยังไม่ควรใช้รถหัดเดินนะครับ เพราะอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ หรือการอ่านหนังสือด้วยกันกับลูก ก็จะช่วยส่งเสริมทักษะการใช้ภาษา การพูดคุย เลียนเสียง สอนเรียกชื่อคนใกล้ชิด การเลียนแบบท่าทางต่างๆ เช่น บ๊ายบาย สวัสดี ปรบมือ หรือเต้นตามจังหวะดนตรี เป็นต้น
2. วัย 1 – 2 ปี
📌 รถหัดเดิน เพื่อฝึกเดินให้มั่นคงมากขึ้น
📌 การพาเด็กออกไปเดิน วิ่ง หรือเล่นในสนามหญ้า หรือพื้นที่โล่งแจ้งตามสวนสาธารณะ
📌 การเล่นของเล่นประเภทบล็อกไม้ต่างๆ เช่น การหยอดบล็อก หรือต่อเป็นรูปทรงสูงๆ
📌 การเล่นของเล่นที่เลียนแบบของใช้ในบ้าน เช่น โทรศัพท์ รถ ตุ๊กตา
3. วัย 2 – 3 ปี
📌 ให้เด็กฝึกเล่นด้วยการขีดเขียน หรือลากเส้น เพราะจะช่วยฝึกเรื่องกล้ามเนื้อมัดเล็ก
📌 ของเล่นที่ช่วยฝึกทักษะและจินตนาการ เช่น ชุดเครื่องครัว การอาบน้ำตุ๊กตา หรือเล่นเป็นคุณหมอ หรือเป็นช่าง
📌 การอ่านนิทานหรือหนังสือสำหรับเด็กที่มีภาพประกอบร่วมกัน
4. วัย 3 – 6 ปี
📌 การวาดรูป ระบายสี ที่พัฒนาจนเป็นรูปร่างได้ หรือกิจกรรมตัดแปะ
📌 การต่อจิ๊กซอว์ง่ายๆ หรือการเล่นตัวต่อที่ส่งเสริมจินตนาการ เช่น เลโก้
📌 การปั่นจักรยาน 3 ล้อ
📌 การอ่านหนังสือร่วมกันของคนในครอบครัว
5. วัย 6 – 12 ปี
📌 ส่งเสริมการออกกำลังกายโดยเฉพาะกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เตะฟุตบอล เล่นบาส
📌 การเล่นเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ เพื่อช่วยฝึกสมาธิ และส่งเสริมการควบคุมกล้ามเนื้อมือ
📌 เล่นเกมกระดาน โดยพิจารณาความยากง่ายตามวัย เพื่อช่วยฝึกทักษะในการเข้าสังคมและการรอคอย เช่น เกมเศรษฐี เกมจับคู่ หมากรุก หมากฮอส ครอสเวิร์ด เป็นต้น
📌 การต่อจิ๊กซอว์ที่มีจำนวนชิ้นและระดับความยากมากขึ้น
📌 ฝึกให้เด็กมีส่วนร่วมกับการทำงานบ้าน เช่น ทำกับข้าว ทำขนม รดน้ำต้นไม้ เอาขยะไปทิ้ง
เพราะความชอบเป็นสิ่งที่บังคับกันไม่ได้ ของเล่นหรือกิจกรรมที่พ่อแม่ว่าดีจึงอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ลูกชอบ ดังนั้น สิ่งที่คนเป็นพ่อแม่และผู้ปกครองควรทำก็คือ คอยสังเกตดูว่าลูกๆ ชอบอะไร หรือมีความสนใจด้านไหนเป็นพิเศษ และหาทางส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ลูกได้ทำในสิ่งที่ชอบ เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วยตัวเอง เพราะจะช่วยให้เด็กมีความมั่นใจ กล้าคิด กล้าแสดงออก และกล้าที่จะเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
ที่สำคัญ ควรเปิดใจให้กว้างและยอมรับในสิ่งที่ลูกเลือกด้วย ซึ่งพี่หมอไม่ได้หมายถึงแค่ของเล่นหรือกิจกรรมในตอนเด็กเท่านั้นนะครับ แต่รวมถึงรสนิยมทางเพศ และการดำเนินชีวิตของลูกในอนาคตด้วย 👨👩👦👨👩👧👩👩👦👨👨👦
เด็กจำเป็นต้องเล่นของเล่นตามเพศหรือไม่?
เคยสงสัยกันมั้ยครับว่า ทำไมเด็กผู้ชายต้องคู่กับสีฟ้า 👦🟦 และเด็กผู้หญิงต้องคู่กับสีชมพู 👧🎀 รวมถึงกิจกรรมและความชอบที่มักจะถูกเหมารวมว่าต้องเป็นของเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น เช่น เด็กผู้ชายต้องเล่นแต่หุ่นยนต์ รถบังคับ หรือลูกฟุตบอล ส่วนเด็กผู้หญิงก็ต้องเล่นแต่ตุ๊กตาหรือชุดเครื่องครัว
ซึ่งพี่หมอคิดว่าส่วนหนึ่งน่าจะมาจากค่านิยมหรือความเชื่อของคนในสมัยก่อน เพราะก็ต้องยอมรับว่าโลกสมัยนี้เปิดกว้างกว่าสมัยก่อนมาก ของเล่นหรือกิจกรรมต่างๆ ก็มีให้เลือกเยอะขึ้น ดังนั้น ความชอบของเด็กๆ จึงไม่ควรถูกตีกรอบด้วยคำว่าชายหรือหญิงอีกต่อไป เพราะนอกจากจะเป็นการจำกัดทางเลือกของเด็กๆ แล้ว ยังอาจจะเป็นโทษกับตัวเด็กเองในอนาคตอีกด้วย
การเลือกของเล่นจึงควรคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กก่อนเป็นอันดับแรก เพราะถ้าเราเลือกได้อย่างถูกต้อง ของเล่นหรือกิจกรรมเหล่านี้ก็จะช่วยส่งเสริมให้เด็กเติบโตขึ้นได้อย่างสมวัย และเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัยมากขึ้น พี่หมอจึงไปสอบถามและรวบรวมข้อมูลจากคุณหมอที่ดูแลด้านพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็ก รวมถึงคำแนะนำในการเลือกของเล่นที่เหมาะสมกับเพศและวัยมาฝากกันครับ
การเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับเพศและวัยของเด็ก
👪 คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองควรเลือกของเล่นที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้รอบด้าน ทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ รวมถึงพัฒนาการด้านภาษา และทักษะสังคมตามวัยทั้ง IQ และ EQ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับเพศ พื้นฐานทางด้านอารมณ์ บุคลิกภาพของเด็กแต่ละคน รวมถึงสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดูด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อความชอบและพฤติกรรมของเด็ก ซึ่งจะทำให้เด็กแต่ละคนมีพฤติกรรมเลียนแบบจากสิ่งที่เห็นแตกต่างกัน
พฤติกรรมและความชอบที่เปลี่ยนไปตามวัย
การเล่นของเด็กจะเปลี่ยนไปตามระดับของพัฒนาการและการเรียนรู้ที่มากขึ้น จนถึงอายุประมาณ 3 ขวบ เด็กจึงจะเริ่มแยกแยะความแตกต่างระหว่างเพศชาย-หญิง และมีความชอบหรือการเล่นที่เป็นไปตามเพศที่แท้จริงของตัวเอง
และอย่างที่เราทราบกันดีว่า เด็กๆ จะเรียนรู้ผ่านการเลียนแบบจากต้นแบบที่ได้เห็นบ่อยๆ ร่วมกับการได้รับแรงเสริมจากการทำพฤติกรรมนั้นๆ การรับรู้หรือการได้ยินได้ฟังเรื่องราวจากสื่อก็ย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมความชอบของเด็กๆ ได้เช่นกัน ดังนั้น พี่หมอจึงอยากให้คุณพ่อคุณแม่ลองเปิดใจรับฟังและพูดคุย ทำความเข้าใจในการรับข้อมูลจากสื่อไปพร้อมๆ กับลูก มากกว่าที่จะไปปิดกั้นนะครับ
ของเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย 🧸🤖
1. วัยแรกเกิด – 1 ปี
📌 ทารก – 3 เดือน ควรเล่นของเล่นประเภทโมบายที่มีเสียงดนตรี เพราะจะช่วยส่งเสริมการมองเห็นและการได้ยิน รวมถึงกระตุ้นให้เด็กรู้จักไขว่คว้า เอื้อมหยิบจับสิ่งของ
📌 อายุ 3 – 6 เดือน ของเล่นที่เหมาะสมคือ ของที่สามารถถือ เขย่า และเอาเข้าปากได้อย่างปลอดภัย เพราะเด็กวัยนี้จะเริ่มคันเหงือก หรืออาจจะเป็นนิทานที่มีสีสันสดใส รวมถึงการฝึกให้เด็กพลิกคว่ำ หงายบนแผ่นรองคลาน
📌 อายุ 6 – 12 เดือน การนั่งเล่นบนแผ่นรองคลาน หรือของเล่นที่สามารถถือ เขย่าหรือเคาะให้เกิดเสียงได้ รวมถึงการฝึกให้เด็กได้คลาน หรือเกาะของเล่นที่เดินไปรอบๆ ได้ และอาจมีปุ่มกดที่มีเสียงดนตรี พี่หมอแนะนำว่าสำหรับวัยนี้ ยังไม่ควรใช้รถหัดเดินนะครับ เพราะอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ หรือการอ่านหนังสือด้วยกันกับลูก ก็จะช่วยส่งเสริมทักษะการใช้ภาษา การพูดคุย เลียนเสียง สอนเรียกชื่อคนใกล้ชิด การเลียนแบบท่าทางต่างๆ เช่น บ๊ายบาย สวัสดี ปรบมือ หรือเต้นตามจังหวะดนตรี เป็นต้น
2. วัย 1 – 2 ปี
📌 รถหัดเดิน เพื่อฝึกเดินให้มั่นคงมากขึ้น
📌 การพาเด็กออกไปเดิน วิ่ง หรือเล่นในสนามหญ้า หรือพื้นที่โล่งแจ้งตามสวนสาธารณะ
📌 การเล่นของเล่นประเภทบล็อกไม้ต่างๆ เช่น การหยอดบล็อก หรือต่อเป็นรูปทรงสูงๆ
📌 การเล่นของเล่นที่เลียนแบบของใช้ในบ้าน เช่น โทรศัพท์ รถ ตุ๊กตา
3. วัย 2 – 3 ปี
📌 ให้เด็กฝึกเล่นด้วยการขีดเขียน หรือลากเส้น เพราะจะช่วยฝึกเรื่องกล้ามเนื้อมัดเล็ก
📌 ของเล่นที่ช่วยฝึกทักษะและจินตนาการ เช่น ชุดเครื่องครัว การอาบน้ำตุ๊กตา หรือเล่นเป็นคุณหมอ หรือเป็นช่าง
📌 การอ่านนิทานหรือหนังสือสำหรับเด็กที่มีภาพประกอบร่วมกัน
4. วัย 3 – 6 ปี
📌 การวาดรูป ระบายสี ที่พัฒนาจนเป็นรูปร่างได้ หรือกิจกรรมตัดแปะ
📌 การต่อจิ๊กซอว์ง่ายๆ หรือการเล่นตัวต่อที่ส่งเสริมจินตนาการ เช่น เลโก้
📌 การปั่นจักรยาน 3 ล้อ
📌 การอ่านหนังสือร่วมกันของคนในครอบครัว
5. วัย 6 – 12 ปี
📌 ส่งเสริมการออกกำลังกายโดยเฉพาะกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เตะฟุตบอล เล่นบาส
📌 การเล่นเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ เพื่อช่วยฝึกสมาธิ และส่งเสริมการควบคุมกล้ามเนื้อมือ
📌 เล่นเกมกระดาน โดยพิจารณาความยากง่ายตามวัย เพื่อช่วยฝึกทักษะในการเข้าสังคมและการรอคอย เช่น เกมเศรษฐี เกมจับคู่ หมากรุก หมากฮอส ครอสเวิร์ด เป็นต้น
📌 การต่อจิ๊กซอว์ที่มีจำนวนชิ้นและระดับความยากมากขึ้น
📌 ฝึกให้เด็กมีส่วนร่วมกับการทำงานบ้าน เช่น ทำกับข้าว ทำขนม รดน้ำต้นไม้ เอาขยะไปทิ้ง
เพราะความชอบเป็นสิ่งที่บังคับกันไม่ได้ ของเล่นหรือกิจกรรมที่พ่อแม่ว่าดีจึงอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ลูกชอบ ดังนั้น สิ่งที่คนเป็นพ่อแม่และผู้ปกครองควรทำก็คือ คอยสังเกตดูว่าลูกๆ ชอบอะไร หรือมีความสนใจด้านไหนเป็นพิเศษ และหาทางส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ลูกได้ทำในสิ่งที่ชอบ เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วยตัวเอง เพราะจะช่วยให้เด็กมีความมั่นใจ กล้าคิด กล้าแสดงออก และกล้าที่จะเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
ที่สำคัญ ควรเปิดใจให้กว้างและยอมรับในสิ่งที่ลูกเลือกด้วย ซึ่งพี่หมอไม่ได้หมายถึงแค่ของเล่นหรือกิจกรรมในตอนเด็กเท่านั้นนะครับ แต่รวมถึงรสนิยมทางเพศ และการดำเนินชีวิตของลูกในอนาคตด้วย 👨👩👦👨👩👧👩👩👦👨👨👦