ท่องเที่ยวพัทยาพังไม่เหลือ โควิดระบาดใหม่เพราะคอร์รัปชัน ลั่นรัฐต้องรับผิดชอบ
https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/2010245
ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเมืองพัทยา เผยโควิดระบาดระลอกใหม่เพราะคอร์รัปชัน เปิดให้มีบ่อน ขนย้ายแรงงานผิดกฎหมายเข้าประเทศ ลั่นรัฐบาลต้องรับผิดชอบ เคยเป็นเด็กดีมาตลอด ถ้าจะเป็นเด็กดื้อเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องก็จะทำ
ธเนศ ศุภรสหัสรังสี รักษาการประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า ปัญหาการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นไม่เหมือนกับการระบาดเมื่อต้นปี 2563 ที่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย เพราะมีการติดเชื้อมาจากประเทศจีน และครั้งนั้นรัฐก็มีมาตรการเข้มข้นจนสถานการณ์ดีขึ้น
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ร่วมเยียวยาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ แม้จะสั่งหยุดกิจการ และให้เงินชดเชยแก่พนักงานในอัตรา 62% ของเงินเดือนเป็นเวลา 3 เดือน การลดภาษี ค่าธรรมเนียมสาธารณูปโภค จนปัญหาเริ่มคลี่คลายมีการออกมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศหลายโครงการอย่างเราเที่ยวด้วยกัน หรือ พัทยาฮอตดีล เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศเป็นหลัก รวมทั้งการจัด Event ของพื้นที่ ซึ่งก็พอจะทำผู้ประกอบการประคับประคองไปได้บ้าง เพื่อรอวันกลับมาเหมือนเดิมอีกครั้ง
ธเนศ กล่าวอีกว่า แต่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา กลับเกิดการแพร่ระบาดอย่างหนักในประเทศ ซึ่งปัญหานี้คงตอบได้ว่ามาจาก การคอร์รัปชัน หรือ การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพราะการแพร่ระบาดรอบนี้เริ่มต้นมาจากบ่อนการพนัน และ การขนย้ายแรงงานเถื่อน ที่รัฐปล่อยปละละเลยให้เจ้าหน้าที่ในส่วนที่รับผิดชอบเรื่องนี้ มีการเรียกรับผลประโยชน์กันจนเป็นปัญหาตามที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมองว่า เรื่องนี้รัฐควรรับผิดชอบและให้ความสำคัญในการเยียวยาและดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ของ 5 จังหวัดที่ถูกประกาศเป็นพื้นที่อันตรายและสุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด เพราะเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับประเทศด้านการท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก
"
ทุกวันนี้เมืองพัทยากลายเป็นเมืองร้าง นักท่องเที่ยว ไม่กล้าเดินทางเข้ามาพักผ่อน แม้รัฐจะพยายามเลี่ยงไม่ให้มีการ Lock Down เพราะอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจนั้น แท้จริงแล้วเศรษฐกิจที่เป็นอยู่มันพังพินาศ และเดินต่อไปไม่ได้อยู่แล้วด้วยจำนวนตัวเลขของนักท่องเที่ยวเป็นศูนย์ แต่รัฐกลับไม่มีมาตรการที่จะเข้ามาดูแล หรือเยียวยา กลับผลักภาระให้ผู้ประกอบการแต่เพียงอย่างเดียว ขณะนี้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวในภาพรวมต้องปิดกิจการไปแล้วกว่า 70-80% ส่วนแรงงานต่างๆ ก็ต้องรับผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและการว่างงานอีกนับหมื่นราย"
พิสิทธิ์ แซ่คู นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคตะวันออก กล่าวว่า ที่ผ่านที่ผู้ประกอบการพยายามทำตัวเป็นเด็กดี ที่ปฏิบัติตนตามมาตรการของรัฐอย่างเข้มข้น แต่รัฐกลับไม่เหลียวแลหรือให้ความช่วยเหลือ ซึ่งหากยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปผู้ประกอบการมีความจำเป็นอาจต้องทำตัวเป็น เด็กดื้อ ด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริม หรือทำทุกหนทางเพื่อดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาพักผ่อน เพื่อให้สามารถเลี้ยงตัวไปได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็อาจเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดมากขึ้น แต่อาจเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างไรก็ตาม 8 องค์กรภาคธุรกิจด้านการท่องเที่ยวได้ทำหนังสือยื่นตรงต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดชลบุรี เพื่อเสนอขอให้สั่งปิดกิจการโรงแรมในเขตเมืองพัทยา เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับสิทธิ์ในการรับเงินชดเชยค่าแรงตามกฎหมายใหม่ของกระทรวงแรงงาน เพราะการปิดกิจการเอง โดยรัฐไม่มีคำสั่งจะไม่มีสิทธิ์ในการได้รับเงินชดเชยเหมือนเดิม แม้ว่าจะมีการปรับลดการชดเชยลงเหลือเพียง 50% ของรายได้ในอัตราไม่เกิน 15,000 บาท แต่ก็ถือว่าเป็นการช่วยเหลือในช่วงที่เกิดวิกฤติรุนแรงจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ซึ่งคาดว่าจะกินเวลาไปจนถึงปี 2565
ทั้งนี้ หนังสือที่ยื่นเสนอต่อภาครัฐมีขอรับความช่วยเหลือ 6 มาตรการหลัก ประกอบด้วย
1. ขยายเวลากองทุนประกันสังคมจ่ายเงินทดแทนลูกจ้างไปอีก 200 วัน
2. ลดการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนายจ้างและลูกจ้างเหลือ 1 %
3. ลดหย่อนค่าน้ำประปา ไฟฟ้า ต่อไปถึงสิ้นปี 2564
4. ยกเว้นอัตราค่าไฟฟ้าขั้นต่ำสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวขนาดใหญ่โดยให้เก็บค่าใช้จ่ายตามจริง
5. ยกเว้นการจัดเก็บภาษีที่ดิน ภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องที่ และค่าธรรมเนียมผู้เข้าพักในโรงแรม
6. ออกมาตรการขยายเวลาการพักชำระหนี้ โดยไม่เก็บดอกเบี้ยเป็นเวลา 6 เดือน หรือจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
ทั้งนี้ เพราะผู้ประกอบการไม่มีรายได้ รายรับใดๆ และขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง
แห่ตุนหน้ากาก ดันราคาพุ่ง สินค้าจีนทะลัก!
https://www.thansettakij.com/content/business/463698
ผวาโควิด ระลอกใหม่ คนแห่ตุนหน้ากากอนามัยดันราคาพุ่งเกินควบคุม ขณะที่สินค้าจีนทะลัก หั่นราคาเหลือแค่ 30 บาท/กล่อง วงในชี้เอเย่นต์รายใหญ่ตัดหน้าสั่งซื้อจากโรงงานกว่า 100 กล่อง ก่อนปล่อยขายทำราคาสูง
การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ก่อนที่จะแพร่กระจายทำให้มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากทำให้ประชาชนต่างตื่นตระหนก และหันมาป้องกันด้วยการใส่หน้ากากอนามัยล้างมือและเว้นระยะ ห่างตามมาตรการของภาครัฐมากยิ่งขึ้น ทำให้ดีมานต์ของ “
หน้ากากอนามัย” พุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง
“
ฐานเศรษฐกิจ” ได้ทำการสำรวจราคาหน้ากากอนามัยที่วางจำหน่ายในท้องตลาดพบว่า หากเป็นหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask) มีราคาตั้งแต่ 125 บาทต่อกล่อง (50 ชิ้น) , 130 บาทต่อกล่อง (50 ชิ้น) 150 บาทต่อกล่อง (50ชิ้น) ขณะที่ราคาควบคุมของคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) กรมการค้าภายใน (คน.) กระทรวงพาณิชย์ กำหนดราคาขายไม่เกิน 2.50 บาท หรือ 125 บาทต่อกล่อง (50 ชิ้น) ขณะเดียวกันยังพบว่า มีการนำหน้ากากอนามัยทางการแพทย์มาแยกบรรจุขายเป็นชุด ตั้งแต่ 5 ชิ้น 20 บาท , 10 ชิ้น 40 บาท ซึ่งราคาขายจะสูงกว่าราคาควบคุม
นอกจากนี้ยังพบว่า มีหน้ากากอนามัยนำเข้าจากจีน และเวียดนามวางจำหน่ายจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดสำเพ็ง พบว่ามีหน้ากากอนามัยจากจีน ขายส่งในราคา 30 บาทต่อกล่อง (50 ชิ้น) , 50 บาทต่อกล่อง (50 ชิ้น) , 90 บาทต่อกล่อง (50 ชิ้น) รวมทั้งแบบแยกแพ็ค 5 ชิ้น , 10 ชิ้น , 20 ชิ้น ในราคาตั้งแต่ 10-40 บาทต่อแพ็ค เพื่อให้ลูกค้านำไปจำหน่ายต่อ ในราคา 50 บาทต่อกล่อง (50 ชิ้น) , 80 บาทต่อกล่อง (50 ชิ้น) หรือ 2 กล่อง 150 บาท เป็นต้น
ขณะที่จากการสำรวจในร้านค้าปลีกชั้นนำ ร้านขายยา พบว่า มีหน้ากากอนามัยแบรนด์ต่างๆวางจำหน่ายในราคาที่แตกต่างกันไป เช่น 2 ชิ้น 10 บาท , 3 ชิ้น 15 บาท , 5 ชิ้น 33 บาท เป็นต้น ซึ่งจากการสอบถามพนักงานพบว่าหน้ากากอนามัยเหล่านี้เป็นหน้ากากอนามัยที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นเครื่องมือแพทย์ แต่เป็นหน้ากากอนามัยทั่วไป ที่สามารถป้องกันเชื้อโรค ฝุ่น PM 2.5 เป็นต้น จึงไม่ได้มีการควบคุมด้านราคา
อย่างไรก็ดีพบว่า การที่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์มีราคาที่สูงขึ้น เพราะร้านค้าไม่สามารถสั่งซื้อโดยตรงจากโรงงานได้ ต้องสั่งผ่านเอเยนต์หรือตัวแทนจำหน่าย ที่สั่งซื้อโดยตรงจากโรงงานผลิตในปริมาณมาก ขณะที่โรงงานผลิตเอง ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมหลังโควิดรอบแรกซาลง ก็ลดกำลังผลิตสินค้าในสต็อกจึงมีปริมาณไม่มาก เมื่อดีมานต์กลับมาสูง หน้ากากอนามัยจึงมีจำกัดและส่วนใหญ่อยู่ในมือเอเย่นต์ จึงกำหนดราคาขายเองได้ ราคาที่รับซื้อจากเอเยนต์เฉลี่ย 2.50 บาทต่อชิ้น ดังนั้นร้านค้าจึงต้องจำหน่ายที่ 4-5 บาทต่อชิ้น หากอยากมีกำไร ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็เลือกซื้อเพราะมองว่า ราคาไม่สูงมาก
ด้านนาย
เรวัต จินดาพล ประธาน บริษัท มิส ลิลลี่ เอ็มดี ซัพพลาย จำกัด บริษัทในกลุ่มมิสลิลลี่ ผู้ผลิตหน้ากากอนามัยแบบทั่วไป ภายใต้แบรนด์ “
มิสลิลลี่” กล่าวกับ “
ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ปัจจุบันหน้ากากอนามัยที่วางจำหน่ายในท้องตลาดจะมีทั้งแบบหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ซึ่งถูกควบคุมราคาจำหน่าย 2.50 บาทต่อชิ้น ภายใต้การควบคุมดูแลของสำนักงานอาหารและยา (อย.) และหน้ากากอนามัยทั่วไป ซึ่งไม่มีการควบคุมด้านราคา แต่จะกำหนดราคาตามต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง ทั้งค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง ค่าเปอร์เซ็นต์การขายส่ง ขายปลีก เป็นต้น
โดย
หน้ากากอนามัยทั่วไป ก็มีหลายระดับทั้งระดับพรีเมี่ยม กลางและล่าง หากเป็นระดับล่าง ก็เป็นหน้ากากอนามัยที่นำเข้าจากจีน ในราคาถูกปริมาณมาก ขณะที่ระดับพรีเมี่ยม ก็จะมีเทคโนโลยีในการผลิต เช่น มิสลิลลี่ ที่ใช้นวัตกรรมการผลิตจากผ้าเมลต์ โบลน (meltblown) นวัตกรรมเทคโนโลยีที่มีคุณสมบัติสามารถกรองอนุภาคนาโน เล็กกว่าไมครอน ด้วยเทคโนโลยีอิเล็กเตรท ซึ่งเป็นการชาร์ทไฟฟ้ากระแสตรงด้วยกระแสไฟสูงถึง 6000 โวลท์ในผ้าเมลต์ โบลน ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดอนุภาคขนาดเล็ก ไม่ให้ผ่านเข้าไปได้
ทั้งนี้ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่ยื่นขอผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ต่อกรมการค้าภายใน จำนวนทั้งสิ้น 17 ราย ขณะที่มีโรงงานผลิตจำนวน 30 โรงงาน มีกำลังผลิตเฉลี่ย 5 ล้านชิ้นต่อวัน ทำให้เชื่อว่าหน้ากากอนามัยจะเพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ
JJNY : ท่องเที่ยวพัทยาพังเพราะคอร์รัปชัน/แห่ตุนหน้ากาก ดันราคาพุ่ง/เสรีพิศุทธ์ขอเลิกระแวง/เรืองไกรถามตู่ คำสั่งศูนย์ฯ
https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/2010245
ธเนศ ศุภรสหัสรังสี รักษาการประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า ปัญหาการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นไม่เหมือนกับการระบาดเมื่อต้นปี 2563 ที่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย เพราะมีการติดเชื้อมาจากประเทศจีน และครั้งนั้นรัฐก็มีมาตรการเข้มข้นจนสถานการณ์ดีขึ้น
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ร่วมเยียวยาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ แม้จะสั่งหยุดกิจการ และให้เงินชดเชยแก่พนักงานในอัตรา 62% ของเงินเดือนเป็นเวลา 3 เดือน การลดภาษี ค่าธรรมเนียมสาธารณูปโภค จนปัญหาเริ่มคลี่คลายมีการออกมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศหลายโครงการอย่างเราเที่ยวด้วยกัน หรือ พัทยาฮอตดีล เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศเป็นหลัก รวมทั้งการจัด Event ของพื้นที่ ซึ่งก็พอจะทำผู้ประกอบการประคับประคองไปได้บ้าง เพื่อรอวันกลับมาเหมือนเดิมอีกครั้ง
ธเนศ กล่าวอีกว่า แต่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา กลับเกิดการแพร่ระบาดอย่างหนักในประเทศ ซึ่งปัญหานี้คงตอบได้ว่ามาจาก การคอร์รัปชัน หรือ การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ จากเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพราะการแพร่ระบาดรอบนี้เริ่มต้นมาจากบ่อนการพนัน และ การขนย้ายแรงงานเถื่อน ที่รัฐปล่อยปละละเลยให้เจ้าหน้าที่ในส่วนที่รับผิดชอบเรื่องนี้ มีการเรียกรับผลประโยชน์กันจนเป็นปัญหาตามที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมองว่า เรื่องนี้รัฐควรรับผิดชอบและให้ความสำคัญในการเยียวยาและดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ของ 5 จังหวัดที่ถูกประกาศเป็นพื้นที่อันตรายและสุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด เพราะเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับประเทศด้านการท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก
"ทุกวันนี้เมืองพัทยากลายเป็นเมืองร้าง นักท่องเที่ยว ไม่กล้าเดินทางเข้ามาพักผ่อน แม้รัฐจะพยายามเลี่ยงไม่ให้มีการ Lock Down เพราะอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจนั้น แท้จริงแล้วเศรษฐกิจที่เป็นอยู่มันพังพินาศ และเดินต่อไปไม่ได้อยู่แล้วด้วยจำนวนตัวเลขของนักท่องเที่ยวเป็นศูนย์ แต่รัฐกลับไม่มีมาตรการที่จะเข้ามาดูแล หรือเยียวยา กลับผลักภาระให้ผู้ประกอบการแต่เพียงอย่างเดียว ขณะนี้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวในภาพรวมต้องปิดกิจการไปแล้วกว่า 70-80% ส่วนแรงงานต่างๆ ก็ต้องรับผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและการว่างงานอีกนับหมื่นราย"
พิสิทธิ์ แซ่คู นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคตะวันออก กล่าวว่า ที่ผ่านที่ผู้ประกอบการพยายามทำตัวเป็นเด็กดี ที่ปฏิบัติตนตามมาตรการของรัฐอย่างเข้มข้น แต่รัฐกลับไม่เหลียวแลหรือให้ความช่วยเหลือ ซึ่งหากยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปผู้ประกอบการมีความจำเป็นอาจต้องทำตัวเป็น เด็กดื้อ ด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริม หรือทำทุกหนทางเพื่อดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาพักผ่อน เพื่อให้สามารถเลี้ยงตัวไปได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ก็อาจเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดมากขึ้น แต่อาจเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างไรก็ตาม 8 องค์กรภาคธุรกิจด้านการท่องเที่ยวได้ทำหนังสือยื่นตรงต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดชลบุรี เพื่อเสนอขอให้สั่งปิดกิจการโรงแรมในเขตเมืองพัทยา เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับสิทธิ์ในการรับเงินชดเชยค่าแรงตามกฎหมายใหม่ของกระทรวงแรงงาน เพราะการปิดกิจการเอง โดยรัฐไม่มีคำสั่งจะไม่มีสิทธิ์ในการได้รับเงินชดเชยเหมือนเดิม แม้ว่าจะมีการปรับลดการชดเชยลงเหลือเพียง 50% ของรายได้ในอัตราไม่เกิน 15,000 บาท แต่ก็ถือว่าเป็นการช่วยเหลือในช่วงที่เกิดวิกฤติรุนแรงจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น ซึ่งคาดว่าจะกินเวลาไปจนถึงปี 2565
ทั้งนี้ หนังสือที่ยื่นเสนอต่อภาครัฐมีขอรับความช่วยเหลือ 6 มาตรการหลัก ประกอบด้วย
1. ขยายเวลากองทุนประกันสังคมจ่ายเงินทดแทนลูกจ้างไปอีก 200 วัน
2. ลดการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนายจ้างและลูกจ้างเหลือ 1 %
3. ลดหย่อนค่าน้ำประปา ไฟฟ้า ต่อไปถึงสิ้นปี 2564
4. ยกเว้นอัตราค่าไฟฟ้าขั้นต่ำสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวขนาดใหญ่โดยให้เก็บค่าใช้จ่ายตามจริง
5. ยกเว้นการจัดเก็บภาษีที่ดิน ภาษีป้าย ภาษีบำรุงท้องที่ และค่าธรรมเนียมผู้เข้าพักในโรงแรม
6. ออกมาตรการขยายเวลาการพักชำระหนี้ โดยไม่เก็บดอกเบี้ยเป็นเวลา 6 เดือน หรือจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
ทั้งนี้ เพราะผู้ประกอบการไม่มีรายได้ รายรับใดๆ และขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง
แห่ตุนหน้ากาก ดันราคาพุ่ง สินค้าจีนทะลัก!
https://www.thansettakij.com/content/business/463698
ผวาโควิด ระลอกใหม่ คนแห่ตุนหน้ากากอนามัยดันราคาพุ่งเกินควบคุม ขณะที่สินค้าจีนทะลัก หั่นราคาเหลือแค่ 30 บาท/กล่อง วงในชี้เอเย่นต์รายใหญ่ตัดหน้าสั่งซื้อจากโรงงานกว่า 100 กล่อง ก่อนปล่อยขายทำราคาสูง
การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ก่อนที่จะแพร่กระจายทำให้มีผู้ติดเชื้อจำนวนมากทำให้ประชาชนต่างตื่นตระหนก และหันมาป้องกันด้วยการใส่หน้ากากอนามัยล้างมือและเว้นระยะ ห่างตามมาตรการของภาครัฐมากยิ่งขึ้น ทำให้ดีมานต์ของ “หน้ากากอนามัย” พุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง
“ฐานเศรษฐกิจ” ได้ทำการสำรวจราคาหน้ากากอนามัยที่วางจำหน่ายในท้องตลาดพบว่า หากเป็นหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask) มีราคาตั้งแต่ 125 บาทต่อกล่อง (50 ชิ้น) , 130 บาทต่อกล่อง (50 ชิ้น) 150 บาทต่อกล่อง (50ชิ้น) ขณะที่ราคาควบคุมของคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) กรมการค้าภายใน (คน.) กระทรวงพาณิชย์ กำหนดราคาขายไม่เกิน 2.50 บาท หรือ 125 บาทต่อกล่อง (50 ชิ้น) ขณะเดียวกันยังพบว่า มีการนำหน้ากากอนามัยทางการแพทย์มาแยกบรรจุขายเป็นชุด ตั้งแต่ 5 ชิ้น 20 บาท , 10 ชิ้น 40 บาท ซึ่งราคาขายจะสูงกว่าราคาควบคุม
นอกจากนี้ยังพบว่า มีหน้ากากอนามัยนำเข้าจากจีน และเวียดนามวางจำหน่ายจำนวนมาก โดยเฉพาะในตลาดสำเพ็ง พบว่ามีหน้ากากอนามัยจากจีน ขายส่งในราคา 30 บาทต่อกล่อง (50 ชิ้น) , 50 บาทต่อกล่อง (50 ชิ้น) , 90 บาทต่อกล่อง (50 ชิ้น) รวมทั้งแบบแยกแพ็ค 5 ชิ้น , 10 ชิ้น , 20 ชิ้น ในราคาตั้งแต่ 10-40 บาทต่อแพ็ค เพื่อให้ลูกค้านำไปจำหน่ายต่อ ในราคา 50 บาทต่อกล่อง (50 ชิ้น) , 80 บาทต่อกล่อง (50 ชิ้น) หรือ 2 กล่อง 150 บาท เป็นต้น
ขณะที่จากการสำรวจในร้านค้าปลีกชั้นนำ ร้านขายยา พบว่า มีหน้ากากอนามัยแบรนด์ต่างๆวางจำหน่ายในราคาที่แตกต่างกันไป เช่น 2 ชิ้น 10 บาท , 3 ชิ้น 15 บาท , 5 ชิ้น 33 บาท เป็นต้น ซึ่งจากการสอบถามพนักงานพบว่าหน้ากากอนามัยเหล่านี้เป็นหน้ากากอนามัยที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นเครื่องมือแพทย์ แต่เป็นหน้ากากอนามัยทั่วไป ที่สามารถป้องกันเชื้อโรค ฝุ่น PM 2.5 เป็นต้น จึงไม่ได้มีการควบคุมด้านราคา
อย่างไรก็ดีพบว่า การที่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์มีราคาที่สูงขึ้น เพราะร้านค้าไม่สามารถสั่งซื้อโดยตรงจากโรงงานได้ ต้องสั่งผ่านเอเยนต์หรือตัวแทนจำหน่าย ที่สั่งซื้อโดยตรงจากโรงงานผลิตในปริมาณมาก ขณะที่โรงงานผลิตเอง ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมหลังโควิดรอบแรกซาลง ก็ลดกำลังผลิตสินค้าในสต็อกจึงมีปริมาณไม่มาก เมื่อดีมานต์กลับมาสูง หน้ากากอนามัยจึงมีจำกัดและส่วนใหญ่อยู่ในมือเอเย่นต์ จึงกำหนดราคาขายเองได้ ราคาที่รับซื้อจากเอเยนต์เฉลี่ย 2.50 บาทต่อชิ้น ดังนั้นร้านค้าจึงต้องจำหน่ายที่ 4-5 บาทต่อชิ้น หากอยากมีกำไร ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็เลือกซื้อเพราะมองว่า ราคาไม่สูงมาก
ด้านนายเรวัต จินดาพล ประธาน บริษัท มิส ลิลลี่ เอ็มดี ซัพพลาย จำกัด บริษัทในกลุ่มมิสลิลลี่ ผู้ผลิตหน้ากากอนามัยแบบทั่วไป ภายใต้แบรนด์ “มิสลิลลี่” กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ปัจจุบันหน้ากากอนามัยที่วางจำหน่ายในท้องตลาดจะมีทั้งแบบหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ซึ่งถูกควบคุมราคาจำหน่าย 2.50 บาทต่อชิ้น ภายใต้การควบคุมดูแลของสำนักงานอาหารและยา (อย.) และหน้ากากอนามัยทั่วไป ซึ่งไม่มีการควบคุมด้านราคา แต่จะกำหนดราคาตามต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง ทั้งค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง ค่าเปอร์เซ็นต์การขายส่ง ขายปลีก เป็นต้น
โดยหน้ากากอนามัยทั่วไป ก็มีหลายระดับทั้งระดับพรีเมี่ยม กลางและล่าง หากเป็นระดับล่าง ก็เป็นหน้ากากอนามัยที่นำเข้าจากจีน ในราคาถูกปริมาณมาก ขณะที่ระดับพรีเมี่ยม ก็จะมีเทคโนโลยีในการผลิต เช่น มิสลิลลี่ ที่ใช้นวัตกรรมการผลิตจากผ้าเมลต์ โบลน (meltblown) นวัตกรรมเทคโนโลยีที่มีคุณสมบัติสามารถกรองอนุภาคนาโน เล็กกว่าไมครอน ด้วยเทคโนโลยีอิเล็กเตรท ซึ่งเป็นการชาร์ทไฟฟ้ากระแสตรงด้วยกระแสไฟสูงถึง 6000 โวลท์ในผ้าเมลต์ โบลน ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดอนุภาคขนาดเล็ก ไม่ให้ผ่านเข้าไปได้
ทั้งนี้ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่ยื่นขอผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ต่อกรมการค้าภายใน จำนวนทั้งสิ้น 17 ราย ขณะที่มีโรงงานผลิตจำนวน 30 โรงงาน มีกำลังผลิตเฉลี่ย 5 ล้านชิ้นต่อวัน ทำให้เชื่อว่าหน้ากากอนามัยจะเพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ