ผมเคยตั้งคำถามกับตัวเองมานานว่า เราจะรู้ตัวเราเองได้อย่างไรว่ากำลังถูกยุยงปลุกปั่นหรือถ้ารุนแรงมากก็คือถูกล้างสมอง ผมตอบคำถามนี้ไม่ได้เลย เพราะผมเชื่อว่าไม่ว่าจะฟังอะไร ผมย่อมรับฟังด้วยเหตุด้วยผล ผมใช้การวิเคราะห์และวิจารณญาณในสิ่งที่ผมรับฟังเสมอ เพราะผมเป็นคนมีความรู้ มีการศึกษา มีประสบการณ์ชีวิต ไม่ใช่เชื่ออะไรง่ายๆ (ซึ่งทุกคนก็คิดเหมือนผม จึงไม่มีใครคิดหรือรู้ตัวว่าตัวเองกำลังถูกยุยงปลุกปั่น) จนกระทั่งเมื่อเกิดเหตุการณ์บุกรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 6 ที่ผ่านมา ทำให้คำอธิบายบางอย่างผุดขึ้นมาในสมองผม และพอจะสรุปเบื้องต้นได้ว่า
“เมื่อไรก็ตาม ที่เรารับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหรือหลายแหล่งที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องและยาวนานในระดับหนึ่ง แล้วทำให้เรารู้สึก ”เกลียด” บุคคลที่สามที่ถูกกล่าวถึงจากแหล่งข้อมูลข่าวสารนั้น ในระดับที่เรียกว่าไม่อยากได้ยินชื่อ เมื่อนั้น เรากำลังถูกยุยงปลุกปั่น และหากความเกลียดนี้ มีมากจนถึงระดับที่เราอยากให้บุคคลที่สามที่ถูกกล่าวถึงนั้น หายไปจากโลก หรือพร้อมตายเพื่อให้สิ่งเลวร้าย (คนหรือกลุ่มที่ถูกกล่าวถึง) หายไปจากโลกจริง ๆ เราอาจอยู่ในสภาวะถูกล้างสมอง”
และการยุยงปลุกปั่นนี้ ไม่ใช่มีเพียงเพื่อให้เกิดความเกลียดเท่านั้น แต่ยังกระทำเพื่อให้เกิด “ความรัก” อย่างหัวปักหัวปำได้อีกด้วย ซึ่งหากเราถูกยุยงปลุกปั่นจนกระทั่งเกิดความรักต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอย่างชนิดตายแทนได้ เราอาจอยู่ในสภาวะถูกล้างสมอง
และกระบวนการนี้ อาจกระทำกันในระดับระหว่างประเทศ เพื่อทำให้เกิดการเกลียดชังประเทศใดประเทศนึงเป็นการเฉพาะก็ได้
ความที่ว่า เป็นความคิดที่อยู่ดี ๆ ก็ผุดขึ้นมา ผมก็เลยลองทดสอบกับคนรอบตัวบางคนว่าเห็นด้วยหรือไม่กับคำอธิบายนี้ หลังจากที่ถกเถียงกันอยู่พักหนึ่ง ก็ได้คำตอบว่าเห็นด้วย และผมยังเกิดข้อคิดเพิ่มเติมในระหว่างการถกเถียงและตอบคำถามว่า เราสามารถทดสอบได้ว่าถูกยุยงปลุกปั่นให้ “เกลียด” หรือ “รัก” ด้วยการโต้แย้งกันด้วยหลักวิทยาศาสตร์ หรือหลักวิชาการอื่น ๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยสากล และข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากแหล่งที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับ เราจะพบว่า ในที่สุด คนที่กำลังถูกยุยงปลุกปั่นจะไปต่อไม่ได้ และต้องยอมจำนนด้วยเหตุด้วยผล (เพราะเค้ามักจะใช้ข้อมูลที่ได้รับการยอมรับโดยฝ่ายเดียว และไม่ยอมรับข้อมูลจากอีกฝ่ายนึง มาใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลที่ถูกยอมรับโดยฝ่ายเดียว จึงกลายเป็นเครื่องมือของการยุยงปลุกปั่นไป)
และเมื่อเราสามารถวัดได้ว่า เรากำลังถูกยุยงปลุกปั่นอยู่หรือไม่ ผมก็คิดต่อว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ไม่ถูกยุยงปลุกปั่น ผมก็ได้คำตอบที่คิดเอาเองว่า ถ้าหากเรารับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหรือหลายแหล่งที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องและยาวนานในระดับหนึ่ง แล้วทำให้เรารู้สึก “เข้าใจ” บุคคลที่สามที่ถูกกล่าวถึงจากแหล่งข้อมูลข่าวสารนั้น ว่าทำไมเขาจึงทำแบบนั้น และรู้สึก “ไม่เกลียดมาก” “ไม่รักมาก” (เพราะคงบอกว่าไม่มี “ไม่ชอบ” และ ไม่มี “ชอบ” เลยไม่ได้) แต่ “กลาง ๆ” เมื่อนั้น เราไม่ถูกยุยงปลุกปั่น
หลังจากได้บรรลุความจริงในเบื้องต้นนี้แล้ว ผมรู้สึกสบายใจขึ้น เพราะเริ่มมั่นใจว่า ต่อไป ผมจะรู้ตัวเองได้อย่างไรว่ากำลังถูกยุยงปลุกปั่น และ เราจะแก้ไขยังไง ถ้าเราตกอยู่ในสภาวะนั้น
ว่าด้วยเรื่อง การยุยงปลุกปั่น
“เมื่อไรก็ตาม ที่เรารับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหรือหลายแหล่งที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องและยาวนานในระดับหนึ่ง แล้วทำให้เรารู้สึก ”เกลียด” บุคคลที่สามที่ถูกกล่าวถึงจากแหล่งข้อมูลข่าวสารนั้น ในระดับที่เรียกว่าไม่อยากได้ยินชื่อ เมื่อนั้น เรากำลังถูกยุยงปลุกปั่น และหากความเกลียดนี้ มีมากจนถึงระดับที่เราอยากให้บุคคลที่สามที่ถูกกล่าวถึงนั้น หายไปจากโลก หรือพร้อมตายเพื่อให้สิ่งเลวร้าย (คนหรือกลุ่มที่ถูกกล่าวถึง) หายไปจากโลกจริง ๆ เราอาจอยู่ในสภาวะถูกล้างสมอง”
และการยุยงปลุกปั่นนี้ ไม่ใช่มีเพียงเพื่อให้เกิดความเกลียดเท่านั้น แต่ยังกระทำเพื่อให้เกิด “ความรัก” อย่างหัวปักหัวปำได้อีกด้วย ซึ่งหากเราถูกยุยงปลุกปั่นจนกระทั่งเกิดความรักต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอย่างชนิดตายแทนได้ เราอาจอยู่ในสภาวะถูกล้างสมอง
และกระบวนการนี้ อาจกระทำกันในระดับระหว่างประเทศ เพื่อทำให้เกิดการเกลียดชังประเทศใดประเทศนึงเป็นการเฉพาะก็ได้
ความที่ว่า เป็นความคิดที่อยู่ดี ๆ ก็ผุดขึ้นมา ผมก็เลยลองทดสอบกับคนรอบตัวบางคนว่าเห็นด้วยหรือไม่กับคำอธิบายนี้ หลังจากที่ถกเถียงกันอยู่พักหนึ่ง ก็ได้คำตอบว่าเห็นด้วย และผมยังเกิดข้อคิดเพิ่มเติมในระหว่างการถกเถียงและตอบคำถามว่า เราสามารถทดสอบได้ว่าถูกยุยงปลุกปั่นให้ “เกลียด” หรือ “รัก” ด้วยการโต้แย้งกันด้วยหลักวิทยาศาสตร์ หรือหลักวิชาการอื่น ๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยสากล และข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้จากแหล่งที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับ เราจะพบว่า ในที่สุด คนที่กำลังถูกยุยงปลุกปั่นจะไปต่อไม่ได้ และต้องยอมจำนนด้วยเหตุด้วยผล (เพราะเค้ามักจะใช้ข้อมูลที่ได้รับการยอมรับโดยฝ่ายเดียว และไม่ยอมรับข้อมูลจากอีกฝ่ายนึง มาใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลที่ถูกยอมรับโดยฝ่ายเดียว จึงกลายเป็นเครื่องมือของการยุยงปลุกปั่นไป)
และเมื่อเราสามารถวัดได้ว่า เรากำลังถูกยุยงปลุกปั่นอยู่หรือไม่ ผมก็คิดต่อว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ไม่ถูกยุยงปลุกปั่น ผมก็ได้คำตอบที่คิดเอาเองว่า ถ้าหากเรารับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหรือหลายแหล่งที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องและยาวนานในระดับหนึ่ง แล้วทำให้เรารู้สึก “เข้าใจ” บุคคลที่สามที่ถูกกล่าวถึงจากแหล่งข้อมูลข่าวสารนั้น ว่าทำไมเขาจึงทำแบบนั้น และรู้สึก “ไม่เกลียดมาก” “ไม่รักมาก” (เพราะคงบอกว่าไม่มี “ไม่ชอบ” และ ไม่มี “ชอบ” เลยไม่ได้) แต่ “กลาง ๆ” เมื่อนั้น เราไม่ถูกยุยงปลุกปั่น
หลังจากได้บรรลุความจริงในเบื้องต้นนี้แล้ว ผมรู้สึกสบายใจขึ้น เพราะเริ่มมั่นใจว่า ต่อไป ผมจะรู้ตัวเองได้อย่างไรว่ากำลังถูกยุยงปลุกปั่น และ เราจะแก้ไขยังไง ถ้าเราตกอยู่ในสภาวะนั้น