ถ้าจะหาข้อมูลในสุโขทัยก็คงไม่พ้นศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง วัตถุโบราณชิ้นสำคัญในสมัยสุโขทัยมีใครบ้างที่ไม่รู้จักแต่คุณอาจจะรู้จักแค่ชื่อของศิลาจารึกเพียวอย่างเดียว คุณรู้จักมันมากน้อยแค่ไหนกัน ศิลาจารึกหลักนี้แสดงหลักฐานอะไรบ้างเกี่ยวกับสมัยสุโขทัย ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงถูกจารึกด้วยตัวอักษรไทยสุโขทัย โดยเนื้อหาที่จารึกแบ่งออกเป็น 4 ด้าน โดยแต่ละด้านจะมีเนื้อหาต่างกันไป
ด้านที่ 1
หลายคนคนก็คงท่องจำได้ขึ้นใจกับประโยค “พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้ญีงโสง ” ไม่มีใครไม่รู้จักประโยคนี้ทุกคนน่าจะเคยได้เรียนในสมัยตอนมัธยม เพราะมันปรากฎอยู่บนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงบรรทัดแรกของ
ด้านที่ 1 หลายคนอาจจะจำได้แค่ประโยคนี้แต่ในความจริงแล้วศิลาจารึกพ่อขุนรามในด้านที่ 1 มีอะไรเยอะกว่าที่คุณคิด ในด้านที่ 1 ประกอบไปด้วยเนื้อหาตอนที่ 1 และตอนที่ 2
ตอนที่ 1
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้พ่อขุนรามคำแหงได้กล่าวถึงประวัติของพระองค์เองโดยใช้คำแทนตัวเองว่า กู โดยเล่าไว้ว่าพ่อชื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แม่ชื่อนางเสือง พี่ชายชื่อบานเมือง มีพี่น้องทั้งหมดห้าคน ผู้ชายสามคน ผู้หญิงสองคน พี่ชายคนโตเสียตั้งแต่เด็ก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ตอนอายุสิบเก้าปี ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพมาตีเมืองตาก ก็ออกมารบกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ประทับใจในความกล้าหาญเพราะได้ขึ้นขี่ช้างแล้วเข้าพุ่งชนกับช้างมาสเมืองแทนพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จนช้างมาสเมืองแพ้ ทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์สถาปนาพ่อขุนรามคำแหงเป็น พระรามคำแหง แสดงให้เห็นถึงว่าการทำสงครามในสมัยนั้นยังใช้ช้างกันอยู่
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้นอกจากนี้ยังกล่าวถึง ตัวพ่อขุนรามคำแหงเองคอยปรนนิบัติดูแลพ่อขุนศรืนทราทิตย์รวมถึงนางเสืองตลอดไม่ว่าได้อะไรมาก็ให่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์หมดหลังจากที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์สิ้นพระชนม์ พ่อขุนบานเมืองก็ขึ้นครองราชย์ต่อ ตนก็ปรนนิบัติดูแลพี่เหมือนเดิมกับที่ทำกับพ่อ
ตอนที่ 2 ที่จารึกในด้านที่ 1
พอมาเป็นเนื้อหาในตอนที่ 2 กล่าวถึงประพฤติเหตุต่างๆ และธรรมเนียมในเมืองสุโขทัยรวมถึงการประดิษฐ์อักษรไทย โดยได้เปลี่ยนสรรพนามที่ใช้จากกูเป็นพ่อขุนรามคำแหง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้พระองค์ได้เกริ่นขึ้นนำมาว่า “เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำ มีปลา ในนามีข้าวนี ” ทำให้เห็นถึงว่าในรัชสมัยของพระองค์มีความอุดมสมบูรณ์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ประโยค “เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลูท่าง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใคร จักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า” ทำให้เห็นว่าในสมัยสุโขทัยเป็น การค้าแบบเสรี และพระองค์ก็ไม่เก็บภาษีจากการค้าขาย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้พระองค์ยังคิดค้น การสั่นกระดิ่งแขวนเพื่อร้องทุกข์ได้และเมื่อมีการทะเลาะกันพระองค์จะเป็นคนตัดสินเอง หากเจ้าเมืองไหนอยากตั้งเมืองเองพระองค์ก็สนับสนุนเต็มที่ ทำให้เริ่มเห็นระบบกฎหมายที่เริ่มนำเข้ามาใช้ในสมัยสุโขทัย
ด้านที่ 2
ส่วนในด้านที่2นี่เอง ที่ดูเหมือนว่าขุนนางเป็นผู้จารึกไว้ โดยในส่วนนี้จะเล่าเกี่ยวกับสภาพบ้านเมืองของกรุงสุโขทัย สภาพสังคมประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี การปกครองของพ่อขุนราม และเห็นได้ชัดเจนคือวัฒนธรรมไทย การเลื่อมใสถึงพระพุทธศาสนา เช่นมีการทำกฐิน ทำบุญเข้าวัด สร้างพระแท่นมนังคศิลายาต การสร้างพระธาตุในเมืองศรีสัชนาลัย และมีเหตุการณ์สำคัญอีกหนึ่งอย่างที่ยังมีใช้จนถึงทุกวันนี้ คือการประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นมาใช้
ด้านที่ 3
เป็นการยกย่องสรรญเสริญคุณงามความดีของพ่อขุนซะส่วนใหญ่ ว่าเก่งกาจ สามารถไปตีเมืองได้หลายเมือง มีอาณาเขตชายแดนที่กว้าง
ด้านที่ 4
ตอนที่ 3
เหมือนเป็นการเขียนขึ้นในภายหลังครอบคลุมเนื้อหาในตอนที่ 3 เพื่อยกยอสรรเสริญพ่อขุนรามคำแหงโดยเฉพาะ โดยกล่าวถึงประวัติผลงานและยกยอไปพร้อมๆกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้โดยกล่าวว่า พ่อขุนรามคำแหงเป็นลูกของพ่อขุนศรีอินทราทิย์ เจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย ปกครองพวกกาว(ชนชาติไทยในจังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน) ไทยชาวอูและชาวของ (ผู้ที่อยู่ตามริมแม่น้ำอูและน้ำของหรือแม่น้ำโขง)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้และในพ.ศ. ๑๘๒๘ พ่อขุนรามคำแหงได้นำพระธาตุ มาทำพิธีบูชาใหม่แล้วนำไปฝังลงกลางเมืองศรีสัชชนาลัย แล้วก่อเจดีย์เหนือบริเวณที่ฝังพระธาตุ แล้วสร้างกำแพงหินล้อมรอบพระมหาธาตุ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้นอกจากนี้ที่สำคัญที่สุดคือ พ่อขุนรามคำประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นมาใช้ ทำให้คนในเมืองไทยมีความรู้มาก
และสุดท้ายกล่าวถึงอาณาเขตของเมืองสุโขทัยกว้างขวาง เพราะสามารถปราบข้าศึกได้มาก ตบท้ายด้วยการยกย่องว่าพ่อขุนรามคำแหงปกครองและดูแลเมืองเหล่านี้อย่างดี ด้วยความเป็นธรรมมาโดยตลอด
จากการที่ศึกษาในตัวของศิลาจารึกจากการอ่านในหนังสือ จากการหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต เราพบว่า ในปี2563เมื่อเทียบกับในสมัยสุโขทัยนั้นแล้ว สุโขทัยแลดูศิวิไลซ์มาก แทบไม่มีใครที่จะเดือดร้อนจากการปกครองของพ่อขุนราม ทั้งยังให้โอกาสในการเปิดการร้องทุกข์ ประชาชนแลดูเป็นสุข และเศรษฐกิจก็ดีมาก ค้าขายอย่างเสรี เปิดโอกาสให้คนทำมาหากิน แต่ตัดภาพมาในปัจจุบันทุกอย่างทันสมัยขึ้น เทคโนโลยีก็เข้ามาตลอด แต่ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจในสังคมไทยนั้นยังไม่ได้ผลที่ดีเท่าไหร่จากการบริหารของคณะรัฐบาล อีกทั้งยังมีโรคระบาดcovid-19 ฝุ่นPM2.5 อีก เรานี่ไม่อยากจะนึกถึงเลยว่าจะเป็นอย่างไร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ยังที่จะสรุปไม่ได้100%ว่าศิลาจารึกนี้ไม่มีความเท็จ เพราะส่วนใหญ่นั้นมันมีแต่ข้อความสรรเสริญ อาจจะถูกบังคับหรือไม่สมัครใจ เราก็ไม่อาจจะรู้ได้เพราะทุกคนในเหตุการณ์เหล่านั้นก็ตายก็กันไปหมดแล้ว ไม่มีใครที่จะมายืนยันข้อมูลให้เราได้แน่นอน แต่อย่างไรเราก็พยายามที่จะใช้วิธีการณ์ประวัติศาสตร์เข้ามาเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงมากที่สุด แล้วคุณละ คิดว่าเศรษฐกิจยุคไหนที่คุณอยากจะอยู่
ที่มา:
http://banchuen.blogspot.com/2012/01/blog-post.html
https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/47
เศรษฐกิจในปี 2563 หรือจะสู้เศรษฐกิจสมัยพ่อขุนรามคำแหง!!
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ที่มา: http://banchuen.blogspot.com/2012/01/blog-post.html
https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/47