คิดว่าหลายคนคงสงสัย ว่าถ้าถูกจ้างให้ออกจากงาน ยังอยู่ในวัยทำงานไม่ใช่เกษียณ ไม่ใช่หมดสัญญาจ้าง
ได้รับเงินชดเชยการเลิกจ้างมาด้วย จะต้องเอาไปเสียภาษีอย่างไร?
จขกท.เองจำได้ว่าปีก่อนๆ ทางสรรพากรยังไม่ได้แบ่งช่องต่างหากให้กรอก หรือมีก็ยังไม่ชัดเจนนัก
เงินได้ ลดหย่อน บางอย่างก็งงๆ ว่าจะเอาไปใส่ช่องไหน ยังไงดี
ปีนี้ มาดูกันค่ะว่า
- เงินชดเชยต้องเอาไปกรอกตรงไหน?
- เงินชดเชยไปลดหย่อนได้มั้ย ?
- แล้วลดหย่อนได้เท่าไร?
.
ยื่นแบบ >>
https://epit.rd.go.th/publish/index.php
พอ Log in เข้าไป หน้าแรกจะให้ตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่
และเพิ่มเติมเบอร์โทรศัพท์ กับชื่อบริษัทที่ทำปัจจุบันค่ะ
หากในปี 2563 ทำงานหลายบริษัท ก็ให้เลือกใส่ชื่อบริษัทที่ทำนานที่สุด หรือที่ทำงานปัจจุบัน/ล่าสุดก็ได้เหมือนกันค่ะ
พอกดดำเนินการต่อ
จะเข้าไปที่แบบหน้าแรก ให้เลือกหัวข้อรายได้ และ ค่าลดหย่อนต่างๆ - -
หน้านี้ ต้องติ๊กเลือกให้ครบทุกหัวข้อนะคะ (สำคัญ)
(( ** กระทู้นี้บอกเล่าไว้เฉพาะช่องการกรอกเงินค่าชดเชยกรณีถูกให้ออกจากงานเท่านั้นนะจ้า ** ))
โดยมีหัวข้อให้เลือกทั้งหมดตามนี้ค่ะ
สำหรับมนุษย์เงินเดือน รายได้ของเราก็ต้องติ๊กเลือกข้อแรก 40(1) อยู่แล้ว
และในส่วนของเงินชดเชยการให้ออกจากงาน จะมี 2 ส่วน
ซึ่งเป็นได้ทั้งรายได้ แต่เป็นเงินก้อนที่ไม่รวมกับเงินเดือนปกติ ที่เราติ๊กเลือกไปในข้อ 40(1) = ในรูป คือ ด้านซ้าย เบอร์ 1.
หรือ อาจจะเป็นค่าลดหย่อน = ด้านขวา เบอร์ 2. ตามรูปค่ะ
ปีนี้ทางกรมสรรพากรทำ FAQ ที่เป็นรูป ? ต่อท้ายแต่ละหัวข้อได้ชัดเจนมากขึ้น อ่านแล้วไม่งงเหมือนปีก่อนๆ ด้วย
ไปดูด้านที่เป็นรายได้ด้านขวาก่อนนะคะ
ทางสรรพากรอธิบายไว้ว่า จะต้องเป็นเงินค่าชดเชยการให้ออกจากงาน "
โดยอายุงานมากกว่า 5 ปี"
ถ้าอายุงานไม่ถึง ก็ติ๊กเลือกข้อนี้ไม่ได้ค่ะ
.
ดังนั้น ถ้าใครอายุงานไม่ถึง 5 ปี จะต้องไปติ๊กเลือกในด้ายซ้ายที่เป็นค่าลดหย่อนแทน
โดยมีเงื่อนไขกำกับว่า ..
ต้องเป็นเงินค่าชดเชยที่ได้จากกรณีเลิกจ้าง และไม่ได้เป็นการลาออก
และต้องไม่เกิน 3 แสน ( แต่ถ้ากรณีเกิน ระบบก็ก็กรอกได้แค่ 3 แสนแหละ 555 )
***** ถ้าโดนให้ออก รับเงินค่าชดเชยมา แต่ไปกรอกใบลาออกให้กับบริษัท ก็จะยื่นลดหย่อนไม่ได้นะจ๊ะ จะบอกให้
เงินที่ได้รับมาทั้งหมด จะไปเข้าเกณฑ์เงินเดือน มาตรา 40(1) เสียภาษีทั้งก้อนไปเลยจ้าาา
++ ผิดพลาดประการใด แนะนำกันมาด้วยเน้อ ++
มาแล้วจ้าาาา ++ การยื่นภาษี ภงด.90/91 กรณีถูกให้ออกจากงาน
ได้รับเงินชดเชยการเลิกจ้างมาด้วย จะต้องเอาไปเสียภาษีอย่างไร?
จขกท.เองจำได้ว่าปีก่อนๆ ทางสรรพากรยังไม่ได้แบ่งช่องต่างหากให้กรอก หรือมีก็ยังไม่ชัดเจนนัก
เงินได้ ลดหย่อน บางอย่างก็งงๆ ว่าจะเอาไปใส่ช่องไหน ยังไงดี
ปีนี้ มาดูกันค่ะว่า
- เงินชดเชยต้องเอาไปกรอกตรงไหน?
- เงินชดเชยไปลดหย่อนได้มั้ย ?
- แล้วลดหย่อนได้เท่าไร?
.
ยื่นแบบ >> https://epit.rd.go.th/publish/index.php
พอ Log in เข้าไป หน้าแรกจะให้ตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่
และเพิ่มเติมเบอร์โทรศัพท์ กับชื่อบริษัทที่ทำปัจจุบันค่ะ
หากในปี 2563 ทำงานหลายบริษัท ก็ให้เลือกใส่ชื่อบริษัทที่ทำนานที่สุด หรือที่ทำงานปัจจุบัน/ล่าสุดก็ได้เหมือนกันค่ะ
พอกดดำเนินการต่อ
จะเข้าไปที่แบบหน้าแรก ให้เลือกหัวข้อรายได้ และ ค่าลดหย่อนต่างๆ - - หน้านี้ ต้องติ๊กเลือกให้ครบทุกหัวข้อนะคะ (สำคัญ)
(( ** กระทู้นี้บอกเล่าไว้เฉพาะช่องการกรอกเงินค่าชดเชยกรณีถูกให้ออกจากงานเท่านั้นนะจ้า ** ))
โดยมีหัวข้อให้เลือกทั้งหมดตามนี้ค่ะ
สำหรับมนุษย์เงินเดือน รายได้ของเราก็ต้องติ๊กเลือกข้อแรก 40(1) อยู่แล้ว
และในส่วนของเงินชดเชยการให้ออกจากงาน จะมี 2 ส่วน
ซึ่งเป็นได้ทั้งรายได้ แต่เป็นเงินก้อนที่ไม่รวมกับเงินเดือนปกติ ที่เราติ๊กเลือกไปในข้อ 40(1) = ในรูป คือ ด้านซ้าย เบอร์ 1.
หรือ อาจจะเป็นค่าลดหย่อน = ด้านขวา เบอร์ 2. ตามรูปค่ะ
ปีนี้ทางกรมสรรพากรทำ FAQ ที่เป็นรูป ? ต่อท้ายแต่ละหัวข้อได้ชัดเจนมากขึ้น อ่านแล้วไม่งงเหมือนปีก่อนๆ ด้วย
ไปดูด้านที่เป็นรายได้ด้านขวาก่อนนะคะ
ทางสรรพากรอธิบายไว้ว่า จะต้องเป็นเงินค่าชดเชยการให้ออกจากงาน "โดยอายุงานมากกว่า 5 ปี"
ถ้าอายุงานไม่ถึง ก็ติ๊กเลือกข้อนี้ไม่ได้ค่ะ
.
ดังนั้น ถ้าใครอายุงานไม่ถึง 5 ปี จะต้องไปติ๊กเลือกในด้ายซ้ายที่เป็นค่าลดหย่อนแทน
โดยมีเงื่อนไขกำกับว่า .. ต้องเป็นเงินค่าชดเชยที่ได้จากกรณีเลิกจ้าง และไม่ได้เป็นการลาออก
และต้องไม่เกิน 3 แสน ( แต่ถ้ากรณีเกิน ระบบก็ก็กรอกได้แค่ 3 แสนแหละ 555 )
***** ถ้าโดนให้ออก รับเงินค่าชดเชยมา แต่ไปกรอกใบลาออกให้กับบริษัท ก็จะยื่นลดหย่อนไม่ได้นะจ๊ะ จะบอกให้
เงินที่ได้รับมาทั้งหมด จะไปเข้าเกณฑ์เงินเดือน มาตรา 40(1) เสียภาษีทั้งก้อนไปเลยจ้าาา
++ ผิดพลาดประการใด แนะนำกันมาด้วยเน้อ ++