คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
1.อัยการต้องสอบเลื่อนขั้นมั้ยคะ
ตอบ ไม่ต้องสอบเลื่อนขั้น ตำแหน่งจะเลื่อนขึ้นไปเองตามอายุงาน
2.แรกเริ่มที่ได้บรรจุเป็นอัยการผู้ช่วย จะได้ทำงานที่ไหนคะ
ตอบ สำนักงานอัยการต่าง ๆ ในกทม. กระจายกันไปอยู่ เช่น สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนรัชดาภิเษก หรือสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ โดยจะไปอยู่ตามกองงานต่าง ๆ เพื่อฝึกงาน
3.แล้วต้องย้ายไปทำงานต่างจังหวัดมั้ยคะ คือน้องเป็นผู้หญิง ทางบ้านเป็นห่วงเรื่องที่อยู่มากๆ ถ้าต้องย้ายที่ทำงาน มีช่องทางที่สามารถทำงานจังหวัดเดิมบ้างมั้ยคะ
ตอบ ปกติต้องออกต่างจังหวัดทุกคนค่ะ อย่างน้อย 1 ปี แล้วถึงขอย้ายไปอยู่จังหวัดที่ต้องการหรือเข้ากทม. หรือขอไปจังหวัดที่ตนต้องการ แต่จะมีช่วงที่ต้องเปลี่ยนตำแหน่งงานที่อาจโดนบังคับให้ย้ายจังหวัดโดยสภาพ
4.กรณีจำเป็นต้องย้ายที่ทำงาน เห็นว่ามีบ้านพักอัยการให้ บ้านพักนี้ดูปลอดภัยสำหรับผู้หญิงมั้ยคะ (เช่น เปลี่ยวมั้ย) เคยเจอเลวร้ายสุดแบบไหนคะ
ตอบ ส่วนใหญ่จะมีคอนโดอัยการ (แต่ก็ไม่ได้ทันสมัยอะไรมากนัก บางแห่งก็เก่าหน่อย) อยู่กันเป็นห้องๆ ส่วนบ้านพักจะมีตั้งแต่ระดับอัยการจังหวัดขึ้นไป
เท่าที่เห็นก็อยู่กันได้นะ ไม่ได้มีบ่นอะไรมากมาย แค่บ่นกันตามสภาพน้ำรั่วบ้างอะไรบ้างก็ว่างกันไป แต่บางคนอยากสะดวกสบายก็ไปเช่าอพาตเมนต์หรือบ้านอยู่เองส่วนตัว
5.อัยการตามจังหวัดต่างๆ ที่ทำงานของพวกเขาคือศาลจังหวัดใช่มั้ยคะ
ที่ทำงานหลักๆสำหรับอัยการชั้นเด็กน้อยถึงชั้นอัยการจังหวัด (ชั้น 2-5) คือ
๑. สำนักงานอัยการจังหวัด...
๒. สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัด....
๓. สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด...(คช.)
๔. สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงจังหวัด...
ส่วนศาลจังหวัด เป็นที่ทำงานของผู้พิพากษา อัยการก็สั่งสำนวนที่สำนักงาน แล้วไปว่าความที่ศาล
6.อุปสรรคที่พบอื่นๆ เกี่ยวกับการใช้ชีวิต การเดินทาง ช่วยแชร์ให้ฟังหน่อยนะคะ
ก. จะโดนบังคับให้ออกไปต่างจังหวัดเรื่อย ๆ เมื่อต้องเปลี่ยนตำแหน่ง เช่น พอออกตจว.รอบแรกได้ย้ายเข้ากทม แต่ผ่านไปซักพักขึ้นชั้น 3 ก็ต้องออกไปตจว.เพื่อรับตำแหน่งที่สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด... (คช) ก็กระจายกันไปอยู่จังหวัดละคน พอผ่านไป 1 ปี ขอกลับเข้ากทม. อยู่ได้อีก 3-4 ปี ขึ้นชั้น 4 ต้องไปรับตำแหน่งสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด...สำหรับระดับชั้น 4 อีก 1 ปี กลับเข้ากทม. ไปอีก 1-2 ปี ต้องเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้กลั่นกรอง ก็โดนออกต่างจังหวัดอีก เป็นผู้กลั่นกรองไปซักพักขอย้ายเข้ามาใกล้กทม. เรื่อยๆ ได้ออกตำแหน่งอัยการจังหวัดอีก ก็ไปอีก
เว้นแต่บางคนอยู่ส่วนกลาง ทำงานอยู่กองการต่างประเทศ อยู่สำนักกฎหมาย อะไรต่ออะไรก็มักอยู่กทม.ยาว (แต่ไม่ใช่ทุกคนจะอยู่ส่วนกลางได้ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกจบนอก ที่ส่วนกลางต้องการดึงไว้ใช้งาน)
ข. นโยบายเกี่ยวกับการออกต่างจังหวัดเพื่อรับตำแหน่งต่าง ๆ ไม่ค่อยแน่นอน ต้องดูนโยบายเป็นปีๆไป บางปีก็บอกว่าถ้าไม่ออกคช.ชั้น 3 จะไม่มีสิทธิรับตำแหน่งอัยการจังหวัดในอนาคต แต่บางปีก็ยกเลิกกฎนี้ไปซะงั้น บางปีก็บอกว่าออกคช. ได้ 2 ปี บางปีบอกออกปีเดียวพอ บางปีก็บังคับผู้ชาย 20 คนสุดท้ายในรุ่นไปอยู่ 3 จังหวัดภาคใต้ (บังคับเลย ไม่มีสิทธิสละสิทธิ) อะไรแบบนี้ ก็ลุ้นๆเอาไปแต่ละปี
ค. ได้เครื่องราชย์เร็วกกว่าข้าราชการพลเรือน แต่ช้ากว่าศาลอยู่นิดหน่อย เช่น ศาล 3 ปี ได้ ทม. แต่อัยการ 5 ปี ถึงได้ทม.
ง. ต้องดูแลตัวเองได้ ไม่สะเงาะสะแงะเป็นคูณหนูรอคนที่บ้านมารับมาส่ง ขับรถขับราไปว่าความเอง ข้าวปลากินง่าย ๆ บางทีว่าความถึงบ่ายศาลถึงพักให้กินข้าวก็หาข้าวแกงง่ายๆในศาลกิน คุยกับพนักงานสอบสวนได้ ไม่เขินไม่อายพนักงานสอบสวนผู้ชาย ไม่ทำตัวหน่อมแน็ม ต้องติดตามพยานมาศาล คุยกับพยาน จำเลย มีไหวพริบในการดำเนินคดี (ก็ต้องทำงานแบบทนายนี่เนอะ) อ่านระเบียบในการสั่งสำนวนต่างๆให้คล่องไม่ทำให้อจ.ปวดหัวเพราะเจอลูกน้องอ่อนหัดทำสำนวนไม่เป็น ฉะนั้น เป็นอัยการหญิงก็ต้องสตรองนิดนึง
ประมาณนี้
ตอบ ไม่ต้องสอบเลื่อนขั้น ตำแหน่งจะเลื่อนขึ้นไปเองตามอายุงาน
2.แรกเริ่มที่ได้บรรจุเป็นอัยการผู้ช่วย จะได้ทำงานที่ไหนคะ
ตอบ สำนักงานอัยการต่าง ๆ ในกทม. กระจายกันไปอยู่ เช่น สำนักงานอัยการสูงสุด ถนนรัชดาภิเษก หรือสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ โดยจะไปอยู่ตามกองงานต่าง ๆ เพื่อฝึกงาน
3.แล้วต้องย้ายไปทำงานต่างจังหวัดมั้ยคะ คือน้องเป็นผู้หญิง ทางบ้านเป็นห่วงเรื่องที่อยู่มากๆ ถ้าต้องย้ายที่ทำงาน มีช่องทางที่สามารถทำงานจังหวัดเดิมบ้างมั้ยคะ
ตอบ ปกติต้องออกต่างจังหวัดทุกคนค่ะ อย่างน้อย 1 ปี แล้วถึงขอย้ายไปอยู่จังหวัดที่ต้องการหรือเข้ากทม. หรือขอไปจังหวัดที่ตนต้องการ แต่จะมีช่วงที่ต้องเปลี่ยนตำแหน่งงานที่อาจโดนบังคับให้ย้ายจังหวัดโดยสภาพ
4.กรณีจำเป็นต้องย้ายที่ทำงาน เห็นว่ามีบ้านพักอัยการให้ บ้านพักนี้ดูปลอดภัยสำหรับผู้หญิงมั้ยคะ (เช่น เปลี่ยวมั้ย) เคยเจอเลวร้ายสุดแบบไหนคะ
ตอบ ส่วนใหญ่จะมีคอนโดอัยการ (แต่ก็ไม่ได้ทันสมัยอะไรมากนัก บางแห่งก็เก่าหน่อย) อยู่กันเป็นห้องๆ ส่วนบ้านพักจะมีตั้งแต่ระดับอัยการจังหวัดขึ้นไป
เท่าที่เห็นก็อยู่กันได้นะ ไม่ได้มีบ่นอะไรมากมาย แค่บ่นกันตามสภาพน้ำรั่วบ้างอะไรบ้างก็ว่างกันไป แต่บางคนอยากสะดวกสบายก็ไปเช่าอพาตเมนต์หรือบ้านอยู่เองส่วนตัว
5.อัยการตามจังหวัดต่างๆ ที่ทำงานของพวกเขาคือศาลจังหวัดใช่มั้ยคะ
ที่ทำงานหลักๆสำหรับอัยการชั้นเด็กน้อยถึงชั้นอัยการจังหวัด (ชั้น 2-5) คือ
๑. สำนักงานอัยการจังหวัด...
๒. สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัด....
๓. สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด...(คช.)
๔. สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงจังหวัด...
ส่วนศาลจังหวัด เป็นที่ทำงานของผู้พิพากษา อัยการก็สั่งสำนวนที่สำนักงาน แล้วไปว่าความที่ศาล
6.อุปสรรคที่พบอื่นๆ เกี่ยวกับการใช้ชีวิต การเดินทาง ช่วยแชร์ให้ฟังหน่อยนะคะ
ก. จะโดนบังคับให้ออกไปต่างจังหวัดเรื่อย ๆ เมื่อต้องเปลี่ยนตำแหน่ง เช่น พอออกตจว.รอบแรกได้ย้ายเข้ากทม แต่ผ่านไปซักพักขึ้นชั้น 3 ก็ต้องออกไปตจว.เพื่อรับตำแหน่งที่สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด... (คช) ก็กระจายกันไปอยู่จังหวัดละคน พอผ่านไป 1 ปี ขอกลับเข้ากทม. อยู่ได้อีก 3-4 ปี ขึ้นชั้น 4 ต้องไปรับตำแหน่งสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด...สำหรับระดับชั้น 4 อีก 1 ปี กลับเข้ากทม. ไปอีก 1-2 ปี ต้องเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้กลั่นกรอง ก็โดนออกต่างจังหวัดอีก เป็นผู้กลั่นกรองไปซักพักขอย้ายเข้ามาใกล้กทม. เรื่อยๆ ได้ออกตำแหน่งอัยการจังหวัดอีก ก็ไปอีก
เว้นแต่บางคนอยู่ส่วนกลาง ทำงานอยู่กองการต่างประเทศ อยู่สำนักกฎหมาย อะไรต่ออะไรก็มักอยู่กทม.ยาว (แต่ไม่ใช่ทุกคนจะอยู่ส่วนกลางได้ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกจบนอก ที่ส่วนกลางต้องการดึงไว้ใช้งาน)
ข. นโยบายเกี่ยวกับการออกต่างจังหวัดเพื่อรับตำแหน่งต่าง ๆ ไม่ค่อยแน่นอน ต้องดูนโยบายเป็นปีๆไป บางปีก็บอกว่าถ้าไม่ออกคช.ชั้น 3 จะไม่มีสิทธิรับตำแหน่งอัยการจังหวัดในอนาคต แต่บางปีก็ยกเลิกกฎนี้ไปซะงั้น บางปีก็บอกว่าออกคช. ได้ 2 ปี บางปีบอกออกปีเดียวพอ บางปีก็บังคับผู้ชาย 20 คนสุดท้ายในรุ่นไปอยู่ 3 จังหวัดภาคใต้ (บังคับเลย ไม่มีสิทธิสละสิทธิ) อะไรแบบนี้ ก็ลุ้นๆเอาไปแต่ละปี
ค. ได้เครื่องราชย์เร็วกกว่าข้าราชการพลเรือน แต่ช้ากว่าศาลอยู่นิดหน่อย เช่น ศาล 3 ปี ได้ ทม. แต่อัยการ 5 ปี ถึงได้ทม.
ง. ต้องดูแลตัวเองได้ ไม่สะเงาะสะแงะเป็นคูณหนูรอคนที่บ้านมารับมาส่ง ขับรถขับราไปว่าความเอง ข้าวปลากินง่าย ๆ บางทีว่าความถึงบ่ายศาลถึงพักให้กินข้าวก็หาข้าวแกงง่ายๆในศาลกิน คุยกับพนักงานสอบสวนได้ ไม่เขินไม่อายพนักงานสอบสวนผู้ชาย ไม่ทำตัวหน่อมแน็ม ต้องติดตามพยานมาศาล คุยกับพยาน จำเลย มีไหวพริบในการดำเนินคดี (ก็ต้องทำงานแบบทนายนี่เนอะ) อ่านระเบียบในการสั่งสำนวนต่างๆให้คล่องไม่ทำให้อจ.ปวดหัวเพราะเจอลูกน้องอ่อนหัดทำสำนวนไม่เป็น ฉะนั้น เป็นอัยการหญิงก็ต้องสตรองนิดนึง
ประมาณนี้
แสดงความคิดเห็น
อัยการ การเลื่อนขั้น, การย้ายที่ทำงาน, ความสะดวกต่อการใช้ชีวิต
1.อัยการต้องสอบเลื่อนขั้นมั้ยคะ
2.แรกเริ่มที่ได้บรรจุเป็นอัยการผู้ช่วย จะได้ทำงานที่ไหนคะ
3.แล้วต้องย้ายไปทำงานต่างจังหวัดมั้ยคะ คือน้องเป็นผู้หญิง ทางบ้านเป็นห่วงเรื่องที่อยู่มากๆ ถ้าต้องย้ายที่ทำงาน มีช่องทางที่สามารถทำงานจังหวัดเดิมบ้างมั้ยคะ
4.กรณีจำเป็นต้องย้ายที่ทำงาน เห็นว่ามีบ้านพักอัยการให้ บ้านพักนี้ดูปลอดภัยสำหรับผู้หญิงมั้ยคะ (เช่น เปลี่ยวมั้ย) เคยเจอเลวร้ายสุดแบบไหนคะ
5.อัยการตามจังหวัดต่างๆ ที่ทำงานของพวกเขาคือศาลจังหวัดใช่มั้ยคะ
6.อุปสรรคที่พบอื่นๆ เกี่ยวกับการใช้ชีวิต การเดินทาง ช่วยแชร์ให้ฟังหน่อยนะคะ
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำมากๆนะคะ 😀