สารานุกรมปืนตอนที่ 463 การเจรจราตกลงเรื่องลิขสิทธิ์ของ M16 ระหว่างกองทัพบกสหรัฐฯ และ Colt's Inc

ขอขอบคุณเพจประวัติศาสตร์การปืน Firearms History อย่างสูงครับ

https://www.facebook.com/FirearmsHistory/



นื่องจากข้อตกลงเรื่องลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรของ AR15/M16 นั้นมีส่วนเป็นอย่างมากต่อการทดลองและพัฒนา AR15/M16 ที่เกิดขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทราบว่ามีข้อตกลงอย่างไรบ้างที่มีผลต่อการพัฒนา AR15/M16
ดังนั้นในวันนี้ ผมจึงขอเสนอตีแพร่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นระหว่างกองทัพบกสหรัฐฯและ Colt's Inc.
โดยทั่วไปแล้วสำหรับในประวัติฯเกี่ยวกับ AR15/M16 นั้นจะมีการกล่าวถึง คุณูปการผู้สร้างและทีมผู้สร้างอย่าง Eugene M. Stoner หัวหน้าวิศวกรแห่ง Armalite บริษัทลูกของ Fairchild กันโดยกว้างขวาง



แต่ก็มีผู้หนึ่งที่มีคุณูปการไม่มากก็น้อยเช่นกัน คือ Robert W. MacDonald ผู้ซึ่งเป็นประธานบริษัท Cooper-MacDonald, Inc. และเป็นตัวแทนขายฝ่ายต่างประเทศอย่างเป็นทางการของทั้ง Fairchild และ Colt's ซึ่งหลังจากที่ AR15 ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาไม่นานนัก Robert W. MacDonald ก็เห็นถึงขีดความสามารถของ AR15 จึงได้มีการแนะนำให้ Colt's ทำการเจรจราซื้อลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรจาก Fairchild เพื่อการผลิตแบบเต็มกำลัง
ผลคือ Colt's Inc. ได้ซื้อลิขสิทธิ์จาก Fairchild ในเดือนมกราคม 1959 ในราคา $75,000($632,389 ในปัจจุบัน หรือ 21,537,226 บาท)และค่าลิขสิทธิ์ต่อปืนที่ผลิตได้ทุกกระบอก กระบอกละ 4.5% ของราคาที่ขายได้ แต่ทว่า Robert W. MacDonald นั้นกลับได้ค่าสัญญาว่าจ้างการเจรจราจัดหาระหว่าง Colt’s และ Fairchild ซึ่ง Colt’s นั้นได้จ่ายเป็นเงินมากถึง $250,000 ($2,107,965 ในปัจจุบัน หรือ 71,790,812 บาท) และค่าลิขสิทธิ์ต่อกระบอก กระบอกละ 1% โดยสาเหตุที่ได้ค่าแรงแพงมากกว่ากว่าค่าสิทธิบัตรปืนนั้น เป็นเพราะว่างานโดยส่วนใหญ่ของ MacDonald นั้นจะเป็นการเดินสายแสดงโชว์ AR15 อาวุธไปในหลายๆประเทศรอบโลก ค่าใช้จ่ายเลยสูงมากกว่า
ทั้งหมดแล้ว Colt’s ต้องจ่ายเป็นเงินทั้งสิ้น $325,000($2,740,355 ในปัจจุบัน หรือ 93,328,038 ล้านบาท) และค่าลิขสิทธิ์อีก 5.5% ต่อปืนทุกกระบอกที่ผลิตได้ ซึ่งนี่ก็จะเป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะส่งผลต่อการเจรจรากับกองทัพบกสหรัฐฯที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
ดังนั้นในเวลาต่อมาในเดือนกรกฎาคม 1963 รองผู้บังคับการ US. Army Weapon Command ได้มีคำสั่งให้ผู้อำนวยการโครงการจัดหาปืนเล็กยาว เพิ่มคำร้อง 2 ประการเข้าไปในข้อเจรจราตกลงกับ Colt’s Inc. สำหรับปีงบประมาณ 1964 จัดหาปืนเล็กยาว AR15 เป็นจำนวนทั้งหมด 104,000 กระบอก (85,000 กระบอกสำหรับกองทัพบก และ 19,000 กระบอกสำหรับกองทัพอากาศ) โดยคำร้องของที่เพิ่มเข้าไปในข้อเจรจราตกลงมีดังนี้



1.ขอเพิ่มทางเลือกให้กับรัฐบาลในการเลือกซื้อลิขสิทธิ์และข้อมูลทางเทคนิคที่จำเป็น โดยขึ้นอยู่กับราคาและการตัดสินใจอื่นๆที่อาจจะอยู่นอกเหนือข้อตกลงกับ Colt’s
2.ขอเจรจราค่าใช้จ่ายและค่าลิขสิทธิ์ที่เกินจริงและแพงเกินไปจนไม่สามารถที่จะจ่ายได้ (ในขณะนี้นั้น Fairchild ได้เรียกร้องค่าลิขสิทธิ์มากถึง 15% ต่อชิ้นส่วนที่ส่งซ่อมทุกชิ้น)
หลังจากนั้นจึงได้มีการร้องขอไปยัง Colt’s ให้มอบใบนำเสนอราคามา
ในวันที่ 8 สิงหาคม 1963 สำหรับราคาค่าข้อมูลทางเทคนิคและลิขสิทธิ์ที่จำเป็นสำหรับการผลิต AR15 ด้วยรัฐบาลเอง หรือรัฐบาลอาจส่งมอบลิขสิทธิ์ให้ผู้ผลิตรายอื่นผลิตให้รัฐบาล แต่ทว่า Colt’s กลับไม่ได้มีการตอบสนองต่อคำร้องนี้เลย และได้มีจดหมายจาก Colt’s มาถึงในวันที่ 30 กันยายน 1963 ใจความว่า Colt’s ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะมีส่วนหรือเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยกับการขายลิขสิทธิ์ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดให้กับรัฐบาลและกองทัพผลิตขึ้นมาเอง นอกจากนี้ยังได้ระบุชัดเจนด้วยว่า ยกเว้นเสียแต่ว่าได้มีคำสั่งซื้อจากรัฐบาลเป็นจำนวนมากกว่า 500,000 กระบอกขึ้นไปเท่านั้นจึงจะกลับไปพิจารณาคำร้องขอของกองทัพบกใหม่อีกครั้ง
ดังนั้นจึงได้มีการจัดการประชุมขึ้นที่สำนักงานผู้ช่วยเลขานุการกองทัพบก(Office of Assistant Secretary of the Army) ในวันที่ 4 ตุลาคม 1963 โดยพิจารณาในหัวข้อที่ Colt’s ได้ปฏิเสธคำร้องของกองทัพบกในการซื้อลิขสิทธิ์ในการผลิตสำหรับการจัดหาในปีงบประมาณ 1964 และหลังจากที่ได้มีการปรึกษากับรองผู้ช่วยเลขานุการกองทัพบกแล้ว ก็ได้มีคำสั่งให้ US. Army Material Command ยกเลิกคำร้องขออย่างเป็นทางการกับ Colt’s ซะ แต่ยังให้พยายามติดต่อเจรจรากับ Colt’s ต่อไปในอนาคตที่อาจจะมีความต้องการปืนใหม่อีกครั้ง ซึ่งในขณะนี้ยังไม่ได้มีแผนที่จะจัดหาปืนมากกว่า 85,000 กระบอกสำหรับกองทัพบก



แต่ในปี 1964 ก็ได้มีการประชุมระหว่างตัวแทนจาก Colt’s และทีมที่ปรึกษาด้านกฎหมายจาก US. Army Material Command ถึง 2 ครั้ง ในวันที่ 3 และ 6 ตุลาคม 1964 Colt’s จึงได้ให้ข้อเสนอ 4 ประการ แต่ที่สำคัญที่สุดก็ที่ก็คือ ต้องจ่ายเป็นเงินทั้งสิ้น $5,400,000 และค่าลิขสิทธิ์อีกกระบอกละ $10 แต่ถ้าหากมีการผลิตมากกว่า 540,000 กระบอกจะต้องจ่ายแทนเป็นกระบอกละ 5% จากราคาปืนทั้งหมด (ถูกสุดๆเพียงกระบอกละแค่ $20 เท่านั้นเอง!!!) แต่น่าเสียดายที่กระทรวงกลาโหมได้ปฏิเสธขอเสนอนี้ เพราะว่ายังไม่เห็นถึงความจำเป็นที่กองทัพบกจะต้องการปืนเล็กยาว AR15 เป็นจำนวนมากถึง 540,000 กระบอก หรือมากกว่านั้น ดังนั้นในเดือนมิถุนายน 1965 กองทัพบกจึงได้พยายามพิจารณาว่าข้อเสนอของ Colt’s นั้นคุ้มค่าที่สุดแล้วจริงหรือไม่ Colt’s จึงได้มอบข้อเสนออื่นๆให้อีก แต่ต้องได้รับการรับประกันเป็นสัญญาว่าจากกองทัพจะให้ Colt’s เป็นผู้ผลิตปืนเป็นจำนวน 100,000 กระบอกแรกในแต่ละปี ถ้าหากได้สัญญากับ Colt’s(Colt’s กลัวว่าถ้าหากรัฐบาลได้ไปแล้วจะเอาข้อมูลปืนไปให้ผู้อื่นผลิตให้แทนนอกจาก Colt’s) นอกจากนี้ยังจะต้องให้สิทธิพิเศษแก่ Colt’s เป็นผู้ประมูลสัมปทานจัดหาอาวุธปืนถ้าหากมีการร้องขอมากกว่า 100,000 กระบอก
และจากการตัดสินใจในวันที่ 6 ธันวาคม 1965 สั่งซื้อ M16 จาก Colt’s เพื่อจัดหา M16 เพิ่มเติมให้เพียงพอต่อความต้องการในเวียดนาม นำไปสู่ความสนใจที่จะซื้อลิขสิทธิ์จาก Colt’s อีกครั้ง ซึ่งได้มีจดหมายสัญญาสั่งซื้อปืนในวันที่ 7 ธันวาคม 1965 เป็นจำนวน 100,000 กระบอก ซึ่งกองทัพบกยินดีทำตามที่ Colt’s เสนอมา แต่ก็ไม่ได้มีการเพิ่มเติ่มข้อตกลงอะไรเลยที่จะทำให้กองทัพสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในที่หลังได้ เพราะว่ากองทัพบกต้องการปืนเป็นจำนวนมากและรวดเร็วที่สุด จึงต้องการให้เปิดสายการผลิตเพิ่มเติมให้เร็วที่สุด แต่จะมีการเจรจราตกลงเข้าไปในสัญญาใหม่ทีหลังจากการเริ่มสายการผลิตไปแล้ว
ในปีงบประมาณที่ 1966 จึงได้มีการตกลงทำสัญญาอย่างเป็นทางการกันอีกครั้ง โดยเริ่มจากการที่ทีมที่ปรึกษาทางกฎหมายของ US. Army Material Command ได้ส่งจดหมายไปยังประธานบริษัท Colt’s Inc. ในวันที่ 13 เมษายน 1966 ซึ่งเป็นร่างข้อตกลงอย่างเป็นทางการพร้อมที่จะลงนามแล้ว ตามมาด้วยการเสนอให้ประชุมร่วมกันระหว่าง Colt’s และ กองทัพบก แต่ Colt’s กลับตอบกลับมาในวันที่ 25 เมษายน 1966 ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะเปลี่ยนแปลงข้อตกลงใหม่ เนื่องจากยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในหลายๆอย่างที่ทำไว้ก่อนหน้านี้ได้
การเจรจราตกลงทั้งหมดเลยถูกเลื่อนมาเป็นวันที่ 14 พฤษภาคม 1966 และวันที่ 16 พฤษภาคมที่กรมสรรพาวุธ Rockisland แต่ทั้งหมดนี้ก็ล้มเหลว ข้อตกลงถูกยกเลิกโดย Colt’s เพราะตัวแทนจาก Colt’s ต้องการเพียงแค่เจรจรารับฟังความคิดเห็นทั่วไปเท่านั้น แต่ไม่ได้มีความต้องการที่จะทำสัญญาข้อตกลง แต่ทั้ง Colt’s และกองทัพบกเห็นชอบร่วมกันว่า มีความต้องการเร่งปืนเร่งด่วนเป็นจำนวนมากของกองทัพบกเป็นอุปสรรคที่ทำให้การเจรจราไม่สำเร็จลุล่วงไปได้ ดังนั้นในวันที่ 19 พฤษภาคม 1966 ทั้งสองจึงเห็นชอบร่วมกันที่จะรอเป็นเวลา 6 เดือน และตกลงกันอีกครั้งที่จะเจรจรากันให้สำเร็จลุล่วงโดยสมบูรณ์ ก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 1966
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่