เครดิต: จากผู้เขียน
https://www.facebook.com/101815121284197/photos/a.101865634612479/238978377567870/ วันนี้มาเล่าเรื่องหนุ่ม start up คนนึง แต่ไม่ใช่เรื่องของนัมโดซาน แต่เป็น นัมโดสันต์นะครับ…คมสัน แซ่ลี อายุ 29 ปีครับ
ผมเจอเขาครั้งแรกในช่วงที่โควิดเริ่มซาๆลง ซีอีโอผมผู้ซึ่งไม่ค่อยจะตื่นเต้นกับใครเท่าไหร่ เชิญผมเข้าประชุมร่วมกับบริษัทที่ซีอีโออยากลงทุนด้วยมาก บริษัทนั้นกำลังจะระดมทุน ซีรีส์ D ที่จำนวนเงินสามพันล้านบาทด้วยมูลค่าบริษัทกว่าสองหมื่นล้านบาท เป็นบริษัทที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจได้แค่ประมาณสามปี
บริษัทนั้นชื่อว่า flash express และซีอีโอของ flash ชื่อคมสันต์ แซ่ลี
ผมเดินเข้าไปในห้องก็เห็นผู้ชายหนุ่มๆสามคนนั่งอยู่ใส่เสื้อเชิ้ตบริษัท ตอนแรกนึกว่าคมสันต์ยังไม่มา แต่พอแนะนำตัวถึงรู้ว่าหนึ่งในนั้นคือคมสันต์ เขาดูเป็นหนุ่มทำงานธรรมดาคนนึงไม่ได้เหมือนซีอีโอ startup มูลค่าสองหมื่นล้านแต่อย่างใด แต่พอเขาเริ่มเล่าวิสัยทัศน์ที่ทะเยอทะยาน แนวความคิด และที่มาที่ไป รวมถึงแผนงานในอนาคตให้ฟัง คมสันต์ถึงกับประกาศว่าอีกไม่นานเขาจะแซงเคอรี่ขึ้นเป็นอันดับสองของการขนส่งไทยให้ได้ ผมฟังแล้วก็ทึ่งกับชายหนุ่มผู้นี้เป็นอย่างมาก ที่เขาเล่นเกมส์ใหญ่ในระดับภูมิภาค พาตัวเองมาได้ถึงขนาดนี้ แหวกแนวกว่า start up ไทยคนอื่นที่ผมเคยคุยด้วย ในขณะที่จุดเริ่มต้นของเขานั้นติดลบกว่าทุกคนซึ่งก็ดูเหมือนไม่ได้เป็นอุปสรรคอะไรต่อเขาเท่าใดนัก ผมเลยขอนัดเจอและมีโอกาสได้พูดคุยกับคมสันต์อีกสามสี่ครั้งเพราะด้วยความอยากรู้ถึงเคล็ดวิชาที่ทำให้คมสันต์มาเหนือเมฆได้จนวันนี้..
…..
คมสันต์ เป็นเด็กต่างจังหวัดโตอยู่แถวเชียงราย ไม่ได้มีฐานะดีนัก มีสายเลือดจีน พูดภาษาจีนได้ เรียนจบที่ลำปาง เคยเปิดร้านขายของอยู่หน้าราชภัฏ เน้นเอาของกินมาขายนักเรียนจีนที่มาเรียนแลกเปลี่ยน เหมือนชีวิตช่วงแรกของเขาจะวนเวียนกับความคิดแบบจีน ผู้คนที่ทำธุรกิจกับจีน โอกาสครั้งแรกในชีวิตเขาไม่น่าเชื่อว่ามาตอนเรียนอยู่ปีสาม มีบริษัทของคนจีนมาลงทุนทำท่าทรายแต่ขาดทุนเยอะมาก กำลังจะเจ๊งจะปิดบริษัท เพื่อนของคมสันต์เลยชวนให้ไปคุยจนได้เข้าไปเป็น md คมสันต์เข้าไปถึงก็รื้อเอาคนเก่าออก ล้างทุจริต โละเครื่องจักร กำไรมาก็ไปซื้อที่ที่มีทราย ปรับราคาใหม่ จนบริษัททำกำไรได้
ผมถามคมสันต์ว่า ทำไมเจ้าของถึงไว้ใจและปล่อยให้เด็กเรียนปีสามทำอะไรก็ได้แบบนั้น …ม้าที่ใกล้ตาย จะขอรักษายังไงก็ได้ เป็นคำตอบแนวจีนๆจากคมสันต์เมื่อได้ยินคำถามของผม
หลังจบ คมสันต์ก็ไปเจ๊งกับโรงเรียนสอนภาษาไทยให้คนจีน ได้บทเรียนความล้มเหลวมาพอสมควร แต่มาเริ่มรวยจากการเป็นนายหน้าอสังหาฯ ทำเงินเก็บได้หลายร้อยล้านบาท แต่งงานกับภรรยาชาวจีน มีลูกน่ารัก ชีวิตก็น่าจะเป็นที่น่าพอใจ แต่คงไม่ใช่คมสันต์ผู้คลุกคลี เดินทางไปเห็นและมีจิตวิญญาณของผู้ประกอบการ start up จีนอยู่ หลังจากนั้นคมสันต์ก็ไปทำธุรกิจขนส่งจากต่างประเทศทั่วโลกไปกระจายเข้าจีน ทำเงินได้อยู่ไม่น้อย แต่ที่สำคัญคือได้เห็น ได้เข้าใจความก้าวหน้าของจีนในด้านต่างๆจนเห็นช่องว่างที่เมืองไทยยังไม่มีขึ้นมา
ช่องว่างที่คมสันต์เห็นก็คือค่าขนส่งของไทยแพงกว่าจีนหลายเท่าทั้งๆที่พื้นที่ของไทยเล็กกว่ามาก แถมภาพที่คนไทยต้องไปเข้าแถวรอส่งสินค้าตามจุดให้บริการต่างๆก็ดูห่างไกลกับจีนที่บริษัทไปให้บริการรับสินค้าจากหน้าบ้านเลย คมสันต์เลยเห็นโอกาสพร้อมฝันใหญ่ที่จะทำธุรกิจโลจิสติกส์ในแบบที่เขาคิดขึ้นมา
คมสันต์เล่าว่าในการทำธุรกิจแบบนี้ให้ใหญ่ขึ้นมาให้เร็วที่สุดเนื่องจาก window of opportunity นั้นมีไม่นานเพราะเจ้าอื่นๆก็กำลังขยายขึ้นมาเรื่อยๆ นั้น จำเป็นต้องทุ่มสรรพกำลังทั้งหมดที่มี ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ต้องใช้ทั้งเงินทุนสูงมาก ใช้ทั้งเทคโนโลยี่ และการ subsidy เพื่อเข้าสู่ตลาด ซึ่งในการขยายเพื่อสร้างฐาน ยอมขาดทุนก่อนนั้นเป็นวิธีของ startup ที่มีความเสี่ยงสูงมาก คมสันต์ในตอนนั้นมีเงินหลายร้อยล้าน ก็เอาเงินทั้งหมดที่มีทุ่มเข้าสู่ธุรกิจนี้ คมสันต์เล่าว่าถึงกับทะเลาะกับภรรยาอย่างหนักเพราะภรรยากลัวจะหมดตัวจนกระทบถึงลูก เรื่องราวความเชื่อ ความบ้าคลั่งต่อสิ่งที่เชื่อแบบนี้ทำให้ผมนึกถึง elon musk ตอนที่ขายหุ้น paypal ได้เงินจำนวนมากแต่กลับเอาเงินทั้งหมดไปลงทุนกับ tesla จนแทบสิ้นเนื้อประดาตัวแล้วรอดมาหวุดหวิด …. ทั้งคู่เป็นตัวอย่างความบ้าถึงกับยอมเสี่ยงหมดตัวของจิตวิญญาน startup จริงๆ
วันที่ผมเจอคมสันต์ครั้งแรกนั้น คมสันต์แนะนำคนที่มาด้วยอีกคนว่าเพิ่งรับมาทำงานจากเมืองจีน เป็นผู้บริหารมือทองที่สร้างธุรกิจโลจิสติกส์ที่ปักกิ่ง คมสันต์ชวนอาลีบาบามาร่วมทุนจากการพาคนอาลีบาบามาดูว่าเมืองไทยยังขาดอะไรบ้าง พร้อมดึงคนเก่งจากอาลีบาบามาด้วยการให้ถือหุ้นจำนวนมาก เขาเล่าว่าเขาเดป (dev) platform จากการ outsource IT ไปจีน เขาดึงคนเก่งๆมาจากทุกสารทิศ CFO ที่อยู่ใน conference call ด้วยวันนั้นก็ดึงมาจากบริษัท investment banking ระดับโลก ผู้บริหารที่ดูแลบุคคลก็มาจาก CPN พร้อมทั้งมีหนุ่มสาวเก่งๆมาทำงานกับเขามากมาย เขาใจกว้างในการให้หุ้น มีส่วนแบ่งที่ดีกับผู้ที่เข้ามาร่วมสร้างความฝันด้วยกัน เวลาคุยกับเขาเหมือนคุยกับ startup เก่งๆของจีน มีความกระหาย มุ่งมั่น เอาทุกกระบวนท่า คนละรสชาติกับ startup ไทยที่มีกลิ่นอาย silicon valley อยู่เป็นส่วนใหญ่
คมสันต์เล่าถึงเวลาที่มีน้อยในการเข้าสู่ตลาด ทำให้เขาต้องทำงานหนักในช่วงสามปีแรกที่ก่อตั้ง เขาบอกว่าที่อาลีบาบาทำงานแบบ 996 คือทำงานเก้าโมงเช้าถึงสามทุ่มหกวัน เขาบอกว่าอาลีบาบาใหญ่แล้ว เขาเพิ่มเริ่มแถมอยู่ในตลาดแข่งขันสูงยิ่งต้องทำงานหนักกว่าอาลีบาบา เขาบอกว่าคู่แข่งเขาเย็นๆก็กลับหมด แต่เขาทำ 997 ก็คือเก้าโมงเช้าถึงสามทุ่ม เจ็ดวันไม่หยุด มีบางครั้งป่วยจนไอเป็นเลือดก็เคย .. ผมเห็นแววตาของเขาก็เชื่อแบบนั้นว่าเขาพูดจริงทำจริง
คมสันต์มีฝันที่ใหญ่ แต่ระหว่างทางก็ไม่ง่ายเลย เขาพยายามทำธุรกิจขนส่งเอง ไม่หาเฟรนไชส์ เน้นแก้ pain ที่เขาเห็นจากเมืองจีน ไปรับของถึงหน้าบ้านในราคาค่าส่งที่ถูกมาก flash มีคนทำงานในระบบเกือบหมื่นคน เขาใช้ไอทีในการควบคุมงานทั้งหมด เขาโชว์แอพ in house ที่เขาทำขึ้นมาเพื่อควบคุมระบบการทำงานของพนักงานขนส่งหลายพันคนที่ทุกเช้าทุกคนต้องสแกนหน้า เช็คอิน อ่านข้อความที่สำคัญ ตอบคำถามที่จำเป็น เขาติดตามความเคลื่อนไหว ผลงานการส่ง รวมถึงเรื่องขาดลามาสาย ทุกอย่างอยู่บนแอพ เพราะเขาบอกว่าพนักงานเขาการศึกษาไม่มากและอยู่กระจัดกระจาย เทคโนโลยี่เท่านั้นถึงจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อนำมาซึ่งต้นทุนที่ถูกลงเพื่อที่จะเอาไปแข่งขันได้ คมสันต์มี warehouse ที่ทันสมัย automate ทั้งหมด แต่ก็ผ่านประสบการณ์ของล้นคลัง คนด่าจากความล่าช้ามาหลายรอบเพราะการโตอย่างรวดเร็วจนรับไม่ทัน ค่อยๆทำค่อยๆแก้ เอามือดีจากจีนมาช่วยวางแผน ลงลุยเองแก้ปัญหาหน้าโกดังเอง จนมาถึงวันนี้ได้
Flash express เข้าตลาดมาด้วยกลยุทธ์ราคา แล้วตามด้วยศูนย์บริการที่น่าจะถึงหมื่นแห่งในปีนี้ มีรถวิ่งเกือบสองหมื่นคัน ส่งของเกินล้านชิ้นต่อวัน ปี 2562 flash ขาดทุนเกือบสองพันล้าน แต่ขยายฐานลูกค้าไปอย่างรวดเร็วจนเข้าใกล้ kerry มากขึ้นเรื่อยๆ ในรอบการระดมทุน series D รอบนี้มีผู้ลงทุนระดับประเทศอย่าง PTTOR Krungsri และกลุ่มกระทิงแดง เพิ่มทุนอีกสามพันล้านด้วยมูลค่าประเมินสองหมื่นล้านบาท มูลค่าที่สูงนี้เกิดจากฐานลูกค้าที่ทาง flash สามารถต่อยอดไปธุรกิจอื่นเช่น ประกัน ธุรกิจการเงิน รวมถึงการขยายไปต่างประเทศได้อีกมาก เป็น startup ไทยน้อยรายที่มาถึง series D และอาจจะมีโอกาสเป็น unicorn ตัวแรกของไทยได้เลยทีเดียว
…..
เรื่องราวของคมสันต์ แซ่ลีนั้น ทำให้ผมนึกถึงชื่อหนังสือของพี่ตุ้ม หนุ่มเมืองจันท์ที่ชื่อว่า โลกนี้ไม่ได้มีคำตอบเดียว วิถีของ startup ไทยที่เดินตาม silicon valley ก็เป็นคำตอบหนึ่ง แต่วิถีของคมสันต์เกิดจากการได้ไปเห็นไปเข้าใจมาตรฐานระดับโอลิมปิกของจีนแล้วนำสิ่งที่เห็นทั้งโลกอนาคต วิสัยทัศน์ ความสามารถของผู้คน ความเข้มข้นของการแข่งขัน จนถึงวิถีและวินัยการทำงานแบบ startup จีนมาใช้ในสนามซีเกมส์แบบไทยๆก็เป็นอีกคำตอบหนึ่ง แน่นอนว่าพอใช้มาตรฐานโอลิมปิกในสนามไทยแล้ว โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็ดูเหมือนจะมากขึ้นไปด้วย
คมสันต์มาไกลมาก และผมก็ลุ้นเอาใจช่วยให้เขากลายเป็นยูนิคอร์นตัวแรกของไทยให้ได้ นอกจากเพราะบริษัทที่ผมอยู่สนใจใน flash แล้ว ก็เพื่อให้วิถีของคมสันต์เป็นตัวอย่างนำทางให้ startup ไทยรายอื่นที่พยายามหาคำตอบอยู่อย่างค่อนข้างหมดแรงได้มีความหวัง รวมถึงทำให้ชื่อ startup ไทยได้ปรากฏอยู่ในแผนที่โลก และทำให้เด็กไทยได้มีคมสันต์ แซ่ลีเป็นตัวอย่างใกล้ตัวได้ดีกว่านัมโดซานกะเขาบ้าง
ที่สำคัญคือคมสันต์น่าจะเป็นตัวอย่างของชีวิต start up จริงๆ สำหรับคนที่อยากจะประสบความสำเร็จในเส้นทางนี้ โดยเฉพาะ startup ไทยที่มีความด้อยกว่าประเทศอื่นในหลายเรื่อง เป็นภาพที่ไม่ได้สวยหรูแต่ต้องแลกมากับความเสี่ยงสูง การทำงานอย่างหนักกว่าคนอื่นอย่างมาก การเห็นและเข้าใจ connection และมาตรฐานระดับโลก รวมถึงการหาทีมระดับโอลิมปิกมาทำงานด้วยกัน เดินสายสุดโหดแบบจีน ไม่ใช่ภาพออฟฟิศสวยๆ การ pitch เท่ห์ๆ แต่งตัวคูลๆ หวังรวยแบบง่ายๆ มีชื่อเสียงแบบเร็วๆแต่อย่างใด
ทั้งหมดทั้งปวงนี้ลืมบอกไปว่า หนุ่มคนนี้ที่ต้นทุนชีวิตไม่ได้มีเหมือนคนอื่น ใช้เวลาสามปี ทุ่มหมดตัวทั้งทรัพย์และเวลา สร้าง startup ตามความฝันด้วยมาตรฐานโอลิมปิกนั้น…
คมสันต์ แซ่ลี : flash express
ผมเจอเขาครั้งแรกในช่วงที่โควิดเริ่มซาๆลง ซีอีโอผมผู้ซึ่งไม่ค่อยจะตื่นเต้นกับใครเท่าไหร่ เชิญผมเข้าประชุมร่วมกับบริษัทที่ซีอีโออยากลงทุนด้วยมาก บริษัทนั้นกำลังจะระดมทุน ซีรีส์ D ที่จำนวนเงินสามพันล้านบาทด้วยมูลค่าบริษัทกว่าสองหมื่นล้านบาท เป็นบริษัทที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจได้แค่ประมาณสามปี
บริษัทนั้นชื่อว่า flash express และซีอีโอของ flash ชื่อคมสันต์ แซ่ลี
ผมเดินเข้าไปในห้องก็เห็นผู้ชายหนุ่มๆสามคนนั่งอยู่ใส่เสื้อเชิ้ตบริษัท ตอนแรกนึกว่าคมสันต์ยังไม่มา แต่พอแนะนำตัวถึงรู้ว่าหนึ่งในนั้นคือคมสันต์ เขาดูเป็นหนุ่มทำงานธรรมดาคนนึงไม่ได้เหมือนซีอีโอ startup มูลค่าสองหมื่นล้านแต่อย่างใด แต่พอเขาเริ่มเล่าวิสัยทัศน์ที่ทะเยอทะยาน แนวความคิด และที่มาที่ไป รวมถึงแผนงานในอนาคตให้ฟัง คมสันต์ถึงกับประกาศว่าอีกไม่นานเขาจะแซงเคอรี่ขึ้นเป็นอันดับสองของการขนส่งไทยให้ได้ ผมฟังแล้วก็ทึ่งกับชายหนุ่มผู้นี้เป็นอย่างมาก ที่เขาเล่นเกมส์ใหญ่ในระดับภูมิภาค พาตัวเองมาได้ถึงขนาดนี้ แหวกแนวกว่า start up ไทยคนอื่นที่ผมเคยคุยด้วย ในขณะที่จุดเริ่มต้นของเขานั้นติดลบกว่าทุกคนซึ่งก็ดูเหมือนไม่ได้เป็นอุปสรรคอะไรต่อเขาเท่าใดนัก ผมเลยขอนัดเจอและมีโอกาสได้พูดคุยกับคมสันต์อีกสามสี่ครั้งเพราะด้วยความอยากรู้ถึงเคล็ดวิชาที่ทำให้คมสันต์มาเหนือเมฆได้จนวันนี้..
…..
คมสันต์ เป็นเด็กต่างจังหวัดโตอยู่แถวเชียงราย ไม่ได้มีฐานะดีนัก มีสายเลือดจีน พูดภาษาจีนได้ เรียนจบที่ลำปาง เคยเปิดร้านขายของอยู่หน้าราชภัฏ เน้นเอาของกินมาขายนักเรียนจีนที่มาเรียนแลกเปลี่ยน เหมือนชีวิตช่วงแรกของเขาจะวนเวียนกับความคิดแบบจีน ผู้คนที่ทำธุรกิจกับจีน โอกาสครั้งแรกในชีวิตเขาไม่น่าเชื่อว่ามาตอนเรียนอยู่ปีสาม มีบริษัทของคนจีนมาลงทุนทำท่าทรายแต่ขาดทุนเยอะมาก กำลังจะเจ๊งจะปิดบริษัท เพื่อนของคมสันต์เลยชวนให้ไปคุยจนได้เข้าไปเป็น md คมสันต์เข้าไปถึงก็รื้อเอาคนเก่าออก ล้างทุจริต โละเครื่องจักร กำไรมาก็ไปซื้อที่ที่มีทราย ปรับราคาใหม่ จนบริษัททำกำไรได้
ผมถามคมสันต์ว่า ทำไมเจ้าของถึงไว้ใจและปล่อยให้เด็กเรียนปีสามทำอะไรก็ได้แบบนั้น …ม้าที่ใกล้ตาย จะขอรักษายังไงก็ได้ เป็นคำตอบแนวจีนๆจากคมสันต์เมื่อได้ยินคำถามของผม
หลังจบ คมสันต์ก็ไปเจ๊งกับโรงเรียนสอนภาษาไทยให้คนจีน ได้บทเรียนความล้มเหลวมาพอสมควร แต่มาเริ่มรวยจากการเป็นนายหน้าอสังหาฯ ทำเงินเก็บได้หลายร้อยล้านบาท แต่งงานกับภรรยาชาวจีน มีลูกน่ารัก ชีวิตก็น่าจะเป็นที่น่าพอใจ แต่คงไม่ใช่คมสันต์ผู้คลุกคลี เดินทางไปเห็นและมีจิตวิญญาณของผู้ประกอบการ start up จีนอยู่ หลังจากนั้นคมสันต์ก็ไปทำธุรกิจขนส่งจากต่างประเทศทั่วโลกไปกระจายเข้าจีน ทำเงินได้อยู่ไม่น้อย แต่ที่สำคัญคือได้เห็น ได้เข้าใจความก้าวหน้าของจีนในด้านต่างๆจนเห็นช่องว่างที่เมืองไทยยังไม่มีขึ้นมา
ช่องว่างที่คมสันต์เห็นก็คือค่าขนส่งของไทยแพงกว่าจีนหลายเท่าทั้งๆที่พื้นที่ของไทยเล็กกว่ามาก แถมภาพที่คนไทยต้องไปเข้าแถวรอส่งสินค้าตามจุดให้บริการต่างๆก็ดูห่างไกลกับจีนที่บริษัทไปให้บริการรับสินค้าจากหน้าบ้านเลย คมสันต์เลยเห็นโอกาสพร้อมฝันใหญ่ที่จะทำธุรกิจโลจิสติกส์ในแบบที่เขาคิดขึ้นมา
คมสันต์เล่าว่าในการทำธุรกิจแบบนี้ให้ใหญ่ขึ้นมาให้เร็วที่สุดเนื่องจาก window of opportunity นั้นมีไม่นานเพราะเจ้าอื่นๆก็กำลังขยายขึ้นมาเรื่อยๆ นั้น จำเป็นต้องทุ่มสรรพกำลังทั้งหมดที่มี ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ต้องใช้ทั้งเงินทุนสูงมาก ใช้ทั้งเทคโนโลยี่ และการ subsidy เพื่อเข้าสู่ตลาด ซึ่งในการขยายเพื่อสร้างฐาน ยอมขาดทุนก่อนนั้นเป็นวิธีของ startup ที่มีความเสี่ยงสูงมาก คมสันต์ในตอนนั้นมีเงินหลายร้อยล้าน ก็เอาเงินทั้งหมดที่มีทุ่มเข้าสู่ธุรกิจนี้ คมสันต์เล่าว่าถึงกับทะเลาะกับภรรยาอย่างหนักเพราะภรรยากลัวจะหมดตัวจนกระทบถึงลูก เรื่องราวความเชื่อ ความบ้าคลั่งต่อสิ่งที่เชื่อแบบนี้ทำให้ผมนึกถึง elon musk ตอนที่ขายหุ้น paypal ได้เงินจำนวนมากแต่กลับเอาเงินทั้งหมดไปลงทุนกับ tesla จนแทบสิ้นเนื้อประดาตัวแล้วรอดมาหวุดหวิด …. ทั้งคู่เป็นตัวอย่างความบ้าถึงกับยอมเสี่ยงหมดตัวของจิตวิญญาน startup จริงๆ
วันที่ผมเจอคมสันต์ครั้งแรกนั้น คมสันต์แนะนำคนที่มาด้วยอีกคนว่าเพิ่งรับมาทำงานจากเมืองจีน เป็นผู้บริหารมือทองที่สร้างธุรกิจโลจิสติกส์ที่ปักกิ่ง คมสันต์ชวนอาลีบาบามาร่วมทุนจากการพาคนอาลีบาบามาดูว่าเมืองไทยยังขาดอะไรบ้าง พร้อมดึงคนเก่งจากอาลีบาบามาด้วยการให้ถือหุ้นจำนวนมาก เขาเล่าว่าเขาเดป (dev) platform จากการ outsource IT ไปจีน เขาดึงคนเก่งๆมาจากทุกสารทิศ CFO ที่อยู่ใน conference call ด้วยวันนั้นก็ดึงมาจากบริษัท investment banking ระดับโลก ผู้บริหารที่ดูแลบุคคลก็มาจาก CPN พร้อมทั้งมีหนุ่มสาวเก่งๆมาทำงานกับเขามากมาย เขาใจกว้างในการให้หุ้น มีส่วนแบ่งที่ดีกับผู้ที่เข้ามาร่วมสร้างความฝันด้วยกัน เวลาคุยกับเขาเหมือนคุยกับ startup เก่งๆของจีน มีความกระหาย มุ่งมั่น เอาทุกกระบวนท่า คนละรสชาติกับ startup ไทยที่มีกลิ่นอาย silicon valley อยู่เป็นส่วนใหญ่
คมสันต์เล่าถึงเวลาที่มีน้อยในการเข้าสู่ตลาด ทำให้เขาต้องทำงานหนักในช่วงสามปีแรกที่ก่อตั้ง เขาบอกว่าที่อาลีบาบาทำงานแบบ 996 คือทำงานเก้าโมงเช้าถึงสามทุ่มหกวัน เขาบอกว่าอาลีบาบาใหญ่แล้ว เขาเพิ่มเริ่มแถมอยู่ในตลาดแข่งขันสูงยิ่งต้องทำงานหนักกว่าอาลีบาบา เขาบอกว่าคู่แข่งเขาเย็นๆก็กลับหมด แต่เขาทำ 997 ก็คือเก้าโมงเช้าถึงสามทุ่ม เจ็ดวันไม่หยุด มีบางครั้งป่วยจนไอเป็นเลือดก็เคย .. ผมเห็นแววตาของเขาก็เชื่อแบบนั้นว่าเขาพูดจริงทำจริง
คมสันต์มีฝันที่ใหญ่ แต่ระหว่างทางก็ไม่ง่ายเลย เขาพยายามทำธุรกิจขนส่งเอง ไม่หาเฟรนไชส์ เน้นแก้ pain ที่เขาเห็นจากเมืองจีน ไปรับของถึงหน้าบ้านในราคาค่าส่งที่ถูกมาก flash มีคนทำงานในระบบเกือบหมื่นคน เขาใช้ไอทีในการควบคุมงานทั้งหมด เขาโชว์แอพ in house ที่เขาทำขึ้นมาเพื่อควบคุมระบบการทำงานของพนักงานขนส่งหลายพันคนที่ทุกเช้าทุกคนต้องสแกนหน้า เช็คอิน อ่านข้อความที่สำคัญ ตอบคำถามที่จำเป็น เขาติดตามความเคลื่อนไหว ผลงานการส่ง รวมถึงเรื่องขาดลามาสาย ทุกอย่างอยู่บนแอพ เพราะเขาบอกว่าพนักงานเขาการศึกษาไม่มากและอยู่กระจัดกระจาย เทคโนโลยี่เท่านั้นถึงจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อนำมาซึ่งต้นทุนที่ถูกลงเพื่อที่จะเอาไปแข่งขันได้ คมสันต์มี warehouse ที่ทันสมัย automate ทั้งหมด แต่ก็ผ่านประสบการณ์ของล้นคลัง คนด่าจากความล่าช้ามาหลายรอบเพราะการโตอย่างรวดเร็วจนรับไม่ทัน ค่อยๆทำค่อยๆแก้ เอามือดีจากจีนมาช่วยวางแผน ลงลุยเองแก้ปัญหาหน้าโกดังเอง จนมาถึงวันนี้ได้
Flash express เข้าตลาดมาด้วยกลยุทธ์ราคา แล้วตามด้วยศูนย์บริการที่น่าจะถึงหมื่นแห่งในปีนี้ มีรถวิ่งเกือบสองหมื่นคัน ส่งของเกินล้านชิ้นต่อวัน ปี 2562 flash ขาดทุนเกือบสองพันล้าน แต่ขยายฐานลูกค้าไปอย่างรวดเร็วจนเข้าใกล้ kerry มากขึ้นเรื่อยๆ ในรอบการระดมทุน series D รอบนี้มีผู้ลงทุนระดับประเทศอย่าง PTTOR Krungsri และกลุ่มกระทิงแดง เพิ่มทุนอีกสามพันล้านด้วยมูลค่าประเมินสองหมื่นล้านบาท มูลค่าที่สูงนี้เกิดจากฐานลูกค้าที่ทาง flash สามารถต่อยอดไปธุรกิจอื่นเช่น ประกัน ธุรกิจการเงิน รวมถึงการขยายไปต่างประเทศได้อีกมาก เป็น startup ไทยน้อยรายที่มาถึง series D และอาจจะมีโอกาสเป็น unicorn ตัวแรกของไทยได้เลยทีเดียว
…..
เรื่องราวของคมสันต์ แซ่ลีนั้น ทำให้ผมนึกถึงชื่อหนังสือของพี่ตุ้ม หนุ่มเมืองจันท์ที่ชื่อว่า โลกนี้ไม่ได้มีคำตอบเดียว วิถีของ startup ไทยที่เดินตาม silicon valley ก็เป็นคำตอบหนึ่ง แต่วิถีของคมสันต์เกิดจากการได้ไปเห็นไปเข้าใจมาตรฐานระดับโอลิมปิกของจีนแล้วนำสิ่งที่เห็นทั้งโลกอนาคต วิสัยทัศน์ ความสามารถของผู้คน ความเข้มข้นของการแข่งขัน จนถึงวิถีและวินัยการทำงานแบบ startup จีนมาใช้ในสนามซีเกมส์แบบไทยๆก็เป็นอีกคำตอบหนึ่ง แน่นอนว่าพอใช้มาตรฐานโอลิมปิกในสนามไทยแล้ว โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็ดูเหมือนจะมากขึ้นไปด้วย
คมสันต์มาไกลมาก และผมก็ลุ้นเอาใจช่วยให้เขากลายเป็นยูนิคอร์นตัวแรกของไทยให้ได้ นอกจากเพราะบริษัทที่ผมอยู่สนใจใน flash แล้ว ก็เพื่อให้วิถีของคมสันต์เป็นตัวอย่างนำทางให้ startup ไทยรายอื่นที่พยายามหาคำตอบอยู่อย่างค่อนข้างหมดแรงได้มีความหวัง รวมถึงทำให้ชื่อ startup ไทยได้ปรากฏอยู่ในแผนที่โลก และทำให้เด็กไทยได้มีคมสันต์ แซ่ลีเป็นตัวอย่างใกล้ตัวได้ดีกว่านัมโดซานกะเขาบ้าง
ที่สำคัญคือคมสันต์น่าจะเป็นตัวอย่างของชีวิต start up จริงๆ สำหรับคนที่อยากจะประสบความสำเร็จในเส้นทางนี้ โดยเฉพาะ startup ไทยที่มีความด้อยกว่าประเทศอื่นในหลายเรื่อง เป็นภาพที่ไม่ได้สวยหรูแต่ต้องแลกมากับความเสี่ยงสูง การทำงานอย่างหนักกว่าคนอื่นอย่างมาก การเห็นและเข้าใจ connection และมาตรฐานระดับโลก รวมถึงการหาทีมระดับโอลิมปิกมาทำงานด้วยกัน เดินสายสุดโหดแบบจีน ไม่ใช่ภาพออฟฟิศสวยๆ การ pitch เท่ห์ๆ แต่งตัวคูลๆ หวังรวยแบบง่ายๆ มีชื่อเสียงแบบเร็วๆแต่อย่างใด
ทั้งหมดทั้งปวงนี้ลืมบอกไปว่า หนุ่มคนนี้ที่ต้นทุนชีวิตไม่ได้มีเหมือนคนอื่น ใช้เวลาสามปี ทุ่มหมดตัวทั้งทรัพย์และเวลา สร้าง startup ตามความฝันด้วยมาตรฐานโอลิมปิกนั้น…