เรียกได้ว่าเป็นเรื่องคาใจสำหรับฝ่ายชายฝ่ายหญิงที่กำลังจะแต่งงาน ด่านแรกที่ต้องเจอคือ “ค่าสินสอด” หลายคนถามว่าต้องเตรียมไว้เท่าไหร่ถึงจะดูดีและเหมาะสม แพรวเวดดิ้งเข้าใจปัญหานี้ดี จึงไปหา สูตรคำนวณสินสอด มาฝาก บวกลบคูณหารตามนี้ได้เลย
ก่อนจะไปดูสูตรคำนวณสินสอด อย่างแรกที่ฝ่ายชายควรทำคือ เข้าไปเรียนถามผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงเสียก่อนว่า คุณพ่อคุณแม่จะเรียกสินสอดทองหมั้นเท่าไหร่? เพราะบางครอบครัวก็ตั้งธงเรื่องจำนวนของมีค่าไว้ก่อนแล้ว ฝ่ายชายควรพิจารณาว่า ตัวเองมีพร้อมทุกอย่าง หรือมีส่วนไหนที่ขาดอยู่บ้าง แล้วจะหาทันไหม สู้ไหวหรือเปล่า หรืออาจต้องขอต่อรองกับทางผู้ใหญ่พร้อมอธิบายเหตุผลให้ท่านเข้าใจ
ปัญหาที่กวนใจหนุ่มๆ อยู่ตรงนี้ค่ะ บางครั้งผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงไม่ได้กำหนดจำนวนสินสอดที่ต้องการไว้ (หรืออาจตั้งไว้แต่ไม่บอก!) แล้วพูดว่า “ขอให้จัดมาตามความเหมาะสม” เอาล่ะสิ! ไอ้คำว่าเหมาะสมนี่แหละที่ไม่รู้ว่าจะถูกใจว่าที่พ่อตาแม่ยายหรือเปล่า อย่าเพิ่งวิตกกังวลอะไรไปล่วงหน้า ถ้าไม่รู้ว่าต้องเตรียมเท่าไร ลองมาใช้สูตรคำนวณค่าสินสอดดูก่อน จะได้รู้ว่าเตรียมมากแค่ไหนถึงเหมาะสม
สูตรนี้ใช้ข้อมูลหลักคือ อายุ ระดับรายได้ต่อเดือน บวกกับปัจจัยอื่นๆ (ถ้ามี) และค่าคงที่ที่ถูกกำหนดมา 2 ค่า คือ 3.26 เป็นเลขมูลค่าของสินสอดที่เพิ่มขึ้นต่อรายได้ทุก 1 บาท และ 13,200 เป็นเลขมูลค่าของสินสอดที่เพิ่มขึ้นตามอายุของคู่แต่งงานทุก 1 ปี เมื่อนำตัวเลขมาใส่ในสูตรคำนวณจะได้ตามนี้:
(3.26 x รายได้ต่อเดือน) + (13,200 x อายุ)
= ค่าสินสอด
ใครยังไม่เห็นภาพลองมาดูตัวอย่างการคำนวณได้เลย
ตัวอย่าง นาวสาวชมพู่ อายุ 28 ปี เรียนจบปริญญาตรี ทำอาชีพเป็นพนักงานออฟฟิศเงินเดือน 15,000 บาท
(3.26 x 15,000) + (13,200 x 28) = 418,500 บาท
จากตัวอย่างข้างบน ค่าสินสอดที่ได้คือ 418,500 บาท ซึ่งจำนวนนี้อาจปรับลดหรือเพิ่มได้ตามปัจจัยอื่นๆ ที่ทั้งผู้ใหญ่และคู่รักเห็นสมควร บางคู่ก็คิดรวมปัจจัยรวมตัวไปด้วย เช่น หน้าที่การงาน, ระดับการศึกษ, ภาระทางครอบครัว, ภูมิลำเนา และลำดับการแต่งงานในจำนวนพี่น้อง ถ้าอยากใส่เงินเพิ่มเติมตรงไหนคงต้องเจรจากันให้ดีอีกที
หลังจากนี้เมื่อฝ่ายชายเห็นตัวเลขแล้ว ก็ใช่ว่าจะตัดสินใจเอาจำนวนนี้แหละเป็นสินสอด อยากให้คิดก่อนว่า เงินก้อนนี้เรามีพร้อมแล้วหรือเปล่า หรือยังขาดแล้วต้องหาเพิ่ม และที่สำคัญอย่าลืมนะคะว่า เงินจำนวนนี้ยังไม่รวมของหมั้นที่แยกต่างหากเป็นเพชรนิลจินดา ทองคำ ของมีค่าอื่นๆ และค่าใช้จ่ายในวันแต่งงานอีกมากมาย ใครที่คิดว่าตัวเลขที่ได้มามันสูงไปหน่อย ขอปรับลดลงมาเพื่อไปเสริมส่วนอื่น แบบนี้คงต้องลองเจรจากับผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงดูก่อน
สิ่งสำคัญที่อยากให้ทุกคู่รักคิดเอาไว้เสมอคือ ตัวเลขเงินทองเป็นของนอกกาย ค่าของคนและความรักไม่สามารถตีเป็นราคาแน่นอนได้ อย่ายึดติดว่าต้องให้ตามที่ฝ่ายหญิงร้องขอหรือตามเลขที่คำนวณออกมาเป๊ะๆ อย่างนี้เห็นทีจะไม่ได้แต่ง เพราะสูตรนี้เป็นเพียงแค่การประมาณตามความเหมาะสม ใช่ว่าจะถูกต้องเสมอไป ขอให้ยึดความรัก ความเข้าใจ และความพร้อมของคู่รักเป็นหลัก จะได้เริ่มต้นชีวิตคู่อย่างราบรื่นไม่ติดขัด
ยังมีเคล็ดลับเตรียมงานแต่งแบบไทยๆ อีกมากมาย ตามไปอ่านกันได้เลย
https://praewwedding.com/planning/121887
อ่านเเล้วคิดว่าสูตรนี้เเพงไปไหมคะสําหรับคุณ
สูตรคำนวณสินสอดจากนิตยสารเเพรว
ก่อนจะไปดูสูตรคำนวณสินสอด อย่างแรกที่ฝ่ายชายควรทำคือ เข้าไปเรียนถามผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงเสียก่อนว่า คุณพ่อคุณแม่จะเรียกสินสอดทองหมั้นเท่าไหร่? เพราะบางครอบครัวก็ตั้งธงเรื่องจำนวนของมีค่าไว้ก่อนแล้ว ฝ่ายชายควรพิจารณาว่า ตัวเองมีพร้อมทุกอย่าง หรือมีส่วนไหนที่ขาดอยู่บ้าง แล้วจะหาทันไหม สู้ไหวหรือเปล่า หรืออาจต้องขอต่อรองกับทางผู้ใหญ่พร้อมอธิบายเหตุผลให้ท่านเข้าใจ
ปัญหาที่กวนใจหนุ่มๆ อยู่ตรงนี้ค่ะ บางครั้งผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงไม่ได้กำหนดจำนวนสินสอดที่ต้องการไว้ (หรืออาจตั้งไว้แต่ไม่บอก!) แล้วพูดว่า “ขอให้จัดมาตามความเหมาะสม” เอาล่ะสิ! ไอ้คำว่าเหมาะสมนี่แหละที่ไม่รู้ว่าจะถูกใจว่าที่พ่อตาแม่ยายหรือเปล่า อย่าเพิ่งวิตกกังวลอะไรไปล่วงหน้า ถ้าไม่รู้ว่าต้องเตรียมเท่าไร ลองมาใช้สูตรคำนวณค่าสินสอดดูก่อน จะได้รู้ว่าเตรียมมากแค่ไหนถึงเหมาะสม
สูตรนี้ใช้ข้อมูลหลักคือ อายุ ระดับรายได้ต่อเดือน บวกกับปัจจัยอื่นๆ (ถ้ามี) และค่าคงที่ที่ถูกกำหนดมา 2 ค่า คือ 3.26 เป็นเลขมูลค่าของสินสอดที่เพิ่มขึ้นต่อรายได้ทุก 1 บาท และ 13,200 เป็นเลขมูลค่าของสินสอดที่เพิ่มขึ้นตามอายุของคู่แต่งงานทุก 1 ปี เมื่อนำตัวเลขมาใส่ในสูตรคำนวณจะได้ตามนี้:
= ค่าสินสอด
ตัวอย่าง นาวสาวชมพู่ อายุ 28 ปี เรียนจบปริญญาตรี ทำอาชีพเป็นพนักงานออฟฟิศเงินเดือน 15,000 บาท
(3.26 x 15,000) + (13,200 x 28) = 418,500 บาท
จากตัวอย่างข้างบน ค่าสินสอดที่ได้คือ 418,500 บาท ซึ่งจำนวนนี้อาจปรับลดหรือเพิ่มได้ตามปัจจัยอื่นๆ ที่ทั้งผู้ใหญ่และคู่รักเห็นสมควร บางคู่ก็คิดรวมปัจจัยรวมตัวไปด้วย เช่น หน้าที่การงาน, ระดับการศึกษ, ภาระทางครอบครัว, ภูมิลำเนา และลำดับการแต่งงานในจำนวนพี่น้อง ถ้าอยากใส่เงินเพิ่มเติมตรงไหนคงต้องเจรจากันให้ดีอีกที
หลังจากนี้เมื่อฝ่ายชายเห็นตัวเลขแล้ว ก็ใช่ว่าจะตัดสินใจเอาจำนวนนี้แหละเป็นสินสอด อยากให้คิดก่อนว่า เงินก้อนนี้เรามีพร้อมแล้วหรือเปล่า หรือยังขาดแล้วต้องหาเพิ่ม และที่สำคัญอย่าลืมนะคะว่า เงินจำนวนนี้ยังไม่รวมของหมั้นที่แยกต่างหากเป็นเพชรนิลจินดา ทองคำ ของมีค่าอื่นๆ และค่าใช้จ่ายในวันแต่งงานอีกมากมาย ใครที่คิดว่าตัวเลขที่ได้มามันสูงไปหน่อย ขอปรับลดลงมาเพื่อไปเสริมส่วนอื่น แบบนี้คงต้องลองเจรจากับผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงดูก่อน
สิ่งสำคัญที่อยากให้ทุกคู่รักคิดเอาไว้เสมอคือ ตัวเลขเงินทองเป็นของนอกกาย ค่าของคนและความรักไม่สามารถตีเป็นราคาแน่นอนได้ อย่ายึดติดว่าต้องให้ตามที่ฝ่ายหญิงร้องขอหรือตามเลขที่คำนวณออกมาเป๊ะๆ อย่างนี้เห็นทีจะไม่ได้แต่ง เพราะสูตรนี้เป็นเพียงแค่การประมาณตามความเหมาะสม ใช่ว่าจะถูกต้องเสมอไป ขอให้ยึดความรัก ความเข้าใจ และความพร้อมของคู่รักเป็นหลัก จะได้เริ่มต้นชีวิตคู่อย่างราบรื่นไม่ติดขัด
ยังมีเคล็ดลับเตรียมงานแต่งแบบไทยๆ อีกมากมาย ตามไปอ่านกันได้เลย
https://praewwedding.com/planning/121887
อ่านเเล้วคิดว่าสูตรนี้เเพงไปไหมคะสําหรับคุณ