คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ในรัชกาลพระเจ้าตากสิน มีผู้กินตำแหน่งพระยามหาเสนา สมุหพระกลาโหม แต่ตำแหน่งนี้ขาดความสำคัญมาตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยาแล้วครับ ความสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินไปอยู่ที่สมุหนายก และเสนาบดีกรมพระคลังแทน
เรื่องของเรื่อง คือ นโยบายลดอำนาจขุนนางฝ่ายทหารในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเป็นต้นมา (ทรงเคยดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม และปราบดาภิเษกจากการกุมอำนาจฝ่ายทหาร ทำให้ทรงถือเป็นบทเรียนที่จะไม่ให้ขุนนางฝ่ายทหารมีอำนาจมาก) แล้วยังมีเหตุการณ์ที่ สมุหพระกลาโหม สมัยปลายอยุธยากระทำผิดใหญ่ แต่ไม่ทราบว่าเรื่องอะไร ทำให้มีการโปรดฯ ให้โอนหัวเมืองปักษ์ใต้ที่เคยขึ้นกับกลาโหมไปอยู่กับกรมท่า ให้เสนาบดีกรมพระคลังบังคับบัญชาแทน และในรัชกาลพระเจ้าตากสินก็ยังยึดถือธรรมเนียมอยุธยานี้อยู่ ทำให้สมัยธนบุรีสมุหพระกลาโหมไม่มีบทบาทในการบังคับบัญชาหัวเมือง เพิ่งจะมาโอนหัวเมืองปักษ์ใต้คืนกลาโหมในสมัยรัชกาลที่ ๑ นี้ ดังปรากฏในพระราชพงศษวดารว่า
"...ครั้นเสร็จตั้งขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยแล้วทรงพระราชดำริว่า เมื่อครั้งกรุงเก่า เมืองปักษ์ใต้ยกมาขึ้นแก่กรมท่านั้น เพราะกลาโหมมีความผิด บัดนี้เจ้าพระยามหาเสนา ที่สมุหพระกลาโหม มีความชอบมาก จึ่งให้แบ่งหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก ซึ่งขึ้นกรมท่า ๑๙ เมือง กรมมหาดไทย ๑ รวม ๒๐ เมือง ...พระราชทานให้ยกมาขึ้นกรมพระกลาโหม..."
เหตุดังกล่าวทำให้ตำแหน่งสมุหพระกลาโหมสมัยอยุธยา เรื่อยมาจนธนบุรี ไม่มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองใด ๆ ทั้งสิ้น มิหนำซ้ำยังมีการโอนกรมกองต่าง ๆ ที่เคยมีอำนาจบังคับบัญชา เช่น กรมทหารอาสา กรมคชบาล กรมอัศวราช กรมพระแสงต้น ฯลฯ ออกจากกลาโหมด้วย ทำให้สมุหพระกลาโหมมีอำนาจบัญชาเพียงแค่กรมกองแก้วจินดา (ปืนใหญ่) กรมรักษาตึกดิน (ดินดำ) และกรมช่างสิบหมู่ เท่านั้น ซึ่งดูอำนาจจะน้อยกว่าเสนาบดีกรมวังเสียอีก
ในรัชกาลพระเจ้าตากสิน ปรากฏชื่อสมุหพระกลาโหมน้อยมาก ในพระราชพงศาวดารต้นรัชกาลแทบไม่มีการกล่าวถึงเลย แม้ในศึกใหญ่อย่างศึกอะแซหวุนกี้ก็ไม่ปรากฏชื่อ มาปรากฏครั้งแรกหลังศึกอะแซหวุนกี้ โดยมีรับสั่งให้ยกไปร่วมกับพระยายมราชตามทัพพม่าที่อุทัยธานี ความว่า "...เสด็จขึ้นไปเมืองนครสวรรค์ ให้พระยายมราช พระยามหาเสนา เร่งยกไป (เมืองอุทัยธานี)..." และตั้งแต่ตอนนี้ก็ปรากฏชื่อพระยามหาเสนา มาเรื่อยๆ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเพิ่งมีผู้กินตำแหน่งนี้หลังศึกอะแซหวุ่นกี้ และปรากฏในสำเนากฎ เรื่อง ตั้งพระเจ้านครศรีธรรมราชครั้งกรุงธนบุรี ก็มีชื่อพระยามหาเสนา นั่งเฝ้าในท้องพระโรง ซึ่งเอกสารที่กล่าวถึงพระยามหาเสนา จะปรากฏตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๑๙ ทั้งสิ้น ซึ่งก็ไม่ทราบที่มาที่ไปของพระยามหาเสนาผู้นี้ แต่มีข้อน่าสังเกตว่าพระยามหาเสนา มีบรรดาศักดิ์เพียงชั้น "พระยา" เท่านั้น และดูภารกิจที่ได้รับมอบหมายก็มักเป็นงานของพลเรือนเป็นส่วนใหญ่ เช่น คุมเชลยพม่ามาที่กรุง กำกับเงิน ๑๐ ชั่ง ไปพระราชทานให้คนอดอยากรอบพระนครธนบุรี เป็นต้น
และในปลายรัชกาลพระเจ้าตากสิน ได้ปรากฏชื่อ พระยามหาเสนา สมุหพระกลาโหม เป็นขุนนางที่อยู่ฝ่ายพระยาสรรค์ ทำสงครามกลางเมืองกับพระยาสุริยอภัย ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา หลานเธอในสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เมื่อเปลี่ยนแผ่นดินแล้ว พระยามหาเสนาคนนี้ได้ถูกประหารชีวิตพร้อมกลุ่มพระยาสรรค์ ตามที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารความว่า
"...พระยาสรรค์ พระยามหาเสนา พระยารามัญวงศ์ คบคิดกันปล่อยกรมขุนอนุรักษ์สงคราม.." และหลังการปราบจลาจลกล่าวถึงการประหารชีวิตพระยามหาเสนา ความว่า "..จึงให้การถึงพระยาสรรค์ พระยามหาเสนา พระยารามัญวงศ์ แลพระยาวิชิตณรงค์ หลวงพัสดีกลาง พระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๑) ทรงพระพิโรธให้ประหารเสีย..."
เมื่อเปลี่ยนแผ่นดิน รัชกาลที่ ๑ จึงโปรดฯ ให้พระยาเพชรบูรณ์ (ปลี) ขึ้นเป็นเจ้าพระยามหาเสนา สมุหพระกลาโหมแทน
เรื่องของเรื่อง คือ นโยบายลดอำนาจขุนนางฝ่ายทหารในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเป็นต้นมา (ทรงเคยดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม และปราบดาภิเษกจากการกุมอำนาจฝ่ายทหาร ทำให้ทรงถือเป็นบทเรียนที่จะไม่ให้ขุนนางฝ่ายทหารมีอำนาจมาก) แล้วยังมีเหตุการณ์ที่ สมุหพระกลาโหม สมัยปลายอยุธยากระทำผิดใหญ่ แต่ไม่ทราบว่าเรื่องอะไร ทำให้มีการโปรดฯ ให้โอนหัวเมืองปักษ์ใต้ที่เคยขึ้นกับกลาโหมไปอยู่กับกรมท่า ให้เสนาบดีกรมพระคลังบังคับบัญชาแทน และในรัชกาลพระเจ้าตากสินก็ยังยึดถือธรรมเนียมอยุธยานี้อยู่ ทำให้สมัยธนบุรีสมุหพระกลาโหมไม่มีบทบาทในการบังคับบัญชาหัวเมือง เพิ่งจะมาโอนหัวเมืองปักษ์ใต้คืนกลาโหมในสมัยรัชกาลที่ ๑ นี้ ดังปรากฏในพระราชพงศษวดารว่า
"...ครั้นเสร็จตั้งขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยแล้วทรงพระราชดำริว่า เมื่อครั้งกรุงเก่า เมืองปักษ์ใต้ยกมาขึ้นแก่กรมท่านั้น เพราะกลาโหมมีความผิด บัดนี้เจ้าพระยามหาเสนา ที่สมุหพระกลาโหม มีความชอบมาก จึ่งให้แบ่งหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก ซึ่งขึ้นกรมท่า ๑๙ เมือง กรมมหาดไทย ๑ รวม ๒๐ เมือง ...พระราชทานให้ยกมาขึ้นกรมพระกลาโหม..."
เหตุดังกล่าวทำให้ตำแหน่งสมุหพระกลาโหมสมัยอยุธยา เรื่อยมาจนธนบุรี ไม่มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองใด ๆ ทั้งสิ้น มิหนำซ้ำยังมีการโอนกรมกองต่าง ๆ ที่เคยมีอำนาจบังคับบัญชา เช่น กรมทหารอาสา กรมคชบาล กรมอัศวราช กรมพระแสงต้น ฯลฯ ออกจากกลาโหมด้วย ทำให้สมุหพระกลาโหมมีอำนาจบัญชาเพียงแค่กรมกองแก้วจินดา (ปืนใหญ่) กรมรักษาตึกดิน (ดินดำ) และกรมช่างสิบหมู่ เท่านั้น ซึ่งดูอำนาจจะน้อยกว่าเสนาบดีกรมวังเสียอีก
ในรัชกาลพระเจ้าตากสิน ปรากฏชื่อสมุหพระกลาโหมน้อยมาก ในพระราชพงศาวดารต้นรัชกาลแทบไม่มีการกล่าวถึงเลย แม้ในศึกใหญ่อย่างศึกอะแซหวุนกี้ก็ไม่ปรากฏชื่อ มาปรากฏครั้งแรกหลังศึกอะแซหวุนกี้ โดยมีรับสั่งให้ยกไปร่วมกับพระยายมราชตามทัพพม่าที่อุทัยธานี ความว่า "...เสด็จขึ้นไปเมืองนครสวรรค์ ให้พระยายมราช พระยามหาเสนา เร่งยกไป (เมืองอุทัยธานี)..." และตั้งแต่ตอนนี้ก็ปรากฏชื่อพระยามหาเสนา มาเรื่อยๆ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเพิ่งมีผู้กินตำแหน่งนี้หลังศึกอะแซหวุ่นกี้ และปรากฏในสำเนากฎ เรื่อง ตั้งพระเจ้านครศรีธรรมราชครั้งกรุงธนบุรี ก็มีชื่อพระยามหาเสนา นั่งเฝ้าในท้องพระโรง ซึ่งเอกสารที่กล่าวถึงพระยามหาเสนา จะปรากฏตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๑๙ ทั้งสิ้น ซึ่งก็ไม่ทราบที่มาที่ไปของพระยามหาเสนาผู้นี้ แต่มีข้อน่าสังเกตว่าพระยามหาเสนา มีบรรดาศักดิ์เพียงชั้น "พระยา" เท่านั้น และดูภารกิจที่ได้รับมอบหมายก็มักเป็นงานของพลเรือนเป็นส่วนใหญ่ เช่น คุมเชลยพม่ามาที่กรุง กำกับเงิน ๑๐ ชั่ง ไปพระราชทานให้คนอดอยากรอบพระนครธนบุรี เป็นต้น
และในปลายรัชกาลพระเจ้าตากสิน ได้ปรากฏชื่อ พระยามหาเสนา สมุหพระกลาโหม เป็นขุนนางที่อยู่ฝ่ายพระยาสรรค์ ทำสงครามกลางเมืองกับพระยาสุริยอภัย ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา หลานเธอในสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เมื่อเปลี่ยนแผ่นดินแล้ว พระยามหาเสนาคนนี้ได้ถูกประหารชีวิตพร้อมกลุ่มพระยาสรรค์ ตามที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารความว่า
"...พระยาสรรค์ พระยามหาเสนา พระยารามัญวงศ์ คบคิดกันปล่อยกรมขุนอนุรักษ์สงคราม.." และหลังการปราบจลาจลกล่าวถึงการประหารชีวิตพระยามหาเสนา ความว่า "..จึงให้การถึงพระยาสรรค์ พระยามหาเสนา พระยารามัญวงศ์ แลพระยาวิชิตณรงค์ หลวงพัสดีกลาง พระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๑) ทรงพระพิโรธให้ประหารเสีย..."
เมื่อเปลี่ยนแผ่นดิน รัชกาลที่ ๑ จึงโปรดฯ ให้พระยาเพชรบูรณ์ (ปลี) ขึ้นเป็นเจ้าพระยามหาเสนา สมุหพระกลาโหมแทน
แสดงความคิดเห็น
สอบถามเรื่องสมุหกลาโหม สมัยธนบุรีครับ
อยากทราบเรื่องของตำแหน่งบรรดาศักดิ์ พระยากลาโหม สมัยกรุงธนบุรีของพระเจ้าตากครับว่าท่านเป็นใคร มีบทบาทอย่างไร กับการเมืองการปกครองและการสงครามในสมัยนั้น
ทราบว่าปกติแล้ว บรรดาศักดิ์พระยามหาเสนา เป็นสมุหกลาโหม มักจะเคียงคู่กับพระยาจักรีซึ่งเป็นสมุหนายกและ สมุหพระกลาโหม จะทำหน้าที่ควบคุมกองกำลังทหารและดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ แต่ทำไมสมุหกลาโหมในสมัยธนบุรีจึงไม่ค่อยมีการกล่าวถึงครับ ประวัติศาสตร์มักจะกล่าวถึงแต่พระยาจักรี (แขก) พระยาจักรี(ทองด้วง)
ซึ่งต่อมาก็คือร.1 แล้วพระยามหาเสนา สมุหกลาโหม สมัยกรุงธนบุรี ท่านเป็นใคร ก่อนที่ท่านจะได้รับตำแหน่งเป็นสมุหกลาโหม หลังจากที่ท่านได้รับตำแหน่งแล้ว ท่านมีบทบาทในสมัยนั้นอย่างไร ท่านทำอะไรไว้บ้าง และท้ายที่สุดท่าน มีชะตากรรมอย่างไรบ้างครับ