กำเนิดมอเตอร์ไซค์รับจ้าง
โดย อาจารย์ศิริวรรณ สมนึก
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
".......จากบทสัมภาษณ์ของเรือเอกสมบูรณ์ บุญศักดิ์ดี อดีตผู้จัดการคิวรถมอเตอร์ไซค์ ในซอยงามดูพลี ในนิตยสาร Thailand Business ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ. 2526 พอจะทำให้ทราบว่ามอเตอร์ไซค์รับจ้างสายแรกในกรุงเทพฯ เกิดขึ้นที่ซอยงามดูพลี และย่านชานเมืองบริเวณดอนเมืองและบางกะปิ ซึ่งได้ให้เหตุผลเกี่ยวกับการจัดตั้งคิวรถมอเตอร์ไซค์ไว้ว่า “ ในซอยงามดูพลีมีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น แฟลตทหารเรือซึ่งอยู่ห่างจากถนนพระรามสี่ถึง 0.8 ก.ม. มีคนอาศัย 300 ครัวเรือน และมีอีก 200 ครัวเรือนในชุมชนที่ห่างจากถนน 1.2 ก.ม. คนเหล่านี้มีรายได้น้อยจึงไม่มีเงินจ้างแท็กซี่หรือสามล้อ เข้าออกจากซอย สมัยก่อนตอนเย็นคนเหล่านี้ต้องเดินเข้าซอยมืดๆ ซึ่งอันตรายเพราะมักมีการจี้ปล้นบ่อยๆ ในซอย ครอบครัวเหล่านี้จึงต้องคอยดูแลลูกหลานของตนเวลาเข้าออก พ่อบางคนต้องไปรอรับลูกสาวที่กลับบ้านมืด เวลานั้นมีรถมอเตอร์ไซค์ 4-5 คันที่แฟลตทหารเรือ เจ้าของจะช่วยรับส่งคนรู้จักเข้าออกจากซอยโดยไม่คิดเงิน ต่อมาคนอาศัยรถรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมจึงออกเงินช่วยค่าน้ำมัน ในเดือนมิถุนายน 2524 นายทหารเรือกลุ่มหนึ่งจึงรวบรวมคนในแฟลตที่มีรถมอเตอร์ไซค์มาตั้งเป็นชมรมมอเตอร์ไซค์แฟลตทหารเรือ เพื่อให้บริการ รับส่งคนตอนเช้าและเย็นโดยคิดค่าโดยสาร 2-3 บาทต่อคน ในไม่ช้าบริการนี้ก็เริ่มเป็นที่นิยม ทำให้คนขับหาเงินได้มาก จึงเริ่มมีคนขับ มาร่วมชมรมมากขึ้นจนกลายเป็นธุรกิจไป”
หลังจากนั้นคนขับมอเตอร์ไซค์ในวินได้ร่วมกันกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อควบคุมพฤติกรรมการให้บริการ กฎเหล่านี้ได้แก่การกำหนดค่าอัตราโดยสารตายตัวเพื่อป้องกันคนขับบางคนโก่งราคาค่าโดยสาร ระเบียบการจอดรถและการจัดคิวรถ การห้ามแข่งรถในขณะมีผู้โดยสาร เพื่อรักษาความปลอดภัย ห้ามดื่มสุราและเล่นการพนันระหว่างปฏิบัติงาน เป็นต้น
อย่างไรก็ตามจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้บริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างขยายตัวอย่างรวดเร็วเกิดขึ้นหลัง พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นปีที่กองกำกับการตำรวจนครบาล มีข้อสรุปว่าการใช้รถมอเตอร์ไซค์ให้บริการขนส่งผู้โดยสารไม่ผิดพระราชบัญญัติการใช้รถยนต์ และอธิบดีกรมการขนส่งทางบกก็ลงความเห็นเช่นกันว่า มอเตอร์ไซค์รับจ้างไม่ผิดกฎหมายการใช้รถและกฎหมายการขนส่งทางบก ความเห็นดังกล่าวทำให้สถานีตำรวจในกรุงเทพฯ ยินยอมให้มีการตั้งวินมอเตอร์ไซค์ ในท้องที่ของตนเพิ่มขึ้น จากการสำรวจคิวรถมอเตอร์ไซค์จำนวน 49 วิน ปรากฏว่า 22 วิน (เกือบร้อยละ 45) จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2525-2527..."
ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้นิพนธ์ พัวพงศกร. www.nidambe11.net
http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=1832
กำเนิดมอเตอร์ไซค์รับจ้าง
โดย อาจารย์ศิริวรรณ สมนึก
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
".......จากบทสัมภาษณ์ของเรือเอกสมบูรณ์ บุญศักดิ์ดี อดีตผู้จัดการคิวรถมอเตอร์ไซค์ ในซอยงามดูพลี ในนิตยสาร Thailand Business ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ. 2526 พอจะทำให้ทราบว่ามอเตอร์ไซค์รับจ้างสายแรกในกรุงเทพฯ เกิดขึ้นที่ซอยงามดูพลี และย่านชานเมืองบริเวณดอนเมืองและบางกะปิ ซึ่งได้ให้เหตุผลเกี่ยวกับการจัดตั้งคิวรถมอเตอร์ไซค์ไว้ว่า “ ในซอยงามดูพลีมีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น แฟลตทหารเรือซึ่งอยู่ห่างจากถนนพระรามสี่ถึง 0.8 ก.ม. มีคนอาศัย 300 ครัวเรือน และมีอีก 200 ครัวเรือนในชุมชนที่ห่างจากถนน 1.2 ก.ม. คนเหล่านี้มีรายได้น้อยจึงไม่มีเงินจ้างแท็กซี่หรือสามล้อ เข้าออกจากซอย สมัยก่อนตอนเย็นคนเหล่านี้ต้องเดินเข้าซอยมืดๆ ซึ่งอันตรายเพราะมักมีการจี้ปล้นบ่อยๆ ในซอย ครอบครัวเหล่านี้จึงต้องคอยดูแลลูกหลานของตนเวลาเข้าออก พ่อบางคนต้องไปรอรับลูกสาวที่กลับบ้านมืด เวลานั้นมีรถมอเตอร์ไซค์ 4-5 คันที่แฟลตทหารเรือ เจ้าของจะช่วยรับส่งคนรู้จักเข้าออกจากซอยโดยไม่คิดเงิน ต่อมาคนอาศัยรถรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมจึงออกเงินช่วยค่าน้ำมัน ในเดือนมิถุนายน 2524 นายทหารเรือกลุ่มหนึ่งจึงรวบรวมคนในแฟลตที่มีรถมอเตอร์ไซค์มาตั้งเป็นชมรมมอเตอร์ไซค์แฟลตทหารเรือ เพื่อให้บริการ รับส่งคนตอนเช้าและเย็นโดยคิดค่าโดยสาร 2-3 บาทต่อคน ในไม่ช้าบริการนี้ก็เริ่มเป็นที่นิยม ทำให้คนขับหาเงินได้มาก จึงเริ่มมีคนขับ มาร่วมชมรมมากขึ้นจนกลายเป็นธุรกิจไป”
หลังจากนั้นคนขับมอเตอร์ไซค์ในวินได้ร่วมกันกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อควบคุมพฤติกรรมการให้บริการ กฎเหล่านี้ได้แก่การกำหนดค่าอัตราโดยสารตายตัวเพื่อป้องกันคนขับบางคนโก่งราคาค่าโดยสาร ระเบียบการจอดรถและการจัดคิวรถ การห้ามแข่งรถในขณะมีผู้โดยสาร เพื่อรักษาความปลอดภัย ห้ามดื่มสุราและเล่นการพนันระหว่างปฏิบัติงาน เป็นต้น
อย่างไรก็ตามจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้บริการรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างขยายตัวอย่างรวดเร็วเกิดขึ้นหลัง พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นปีที่กองกำกับการตำรวจนครบาล มีข้อสรุปว่าการใช้รถมอเตอร์ไซค์ให้บริการขนส่งผู้โดยสารไม่ผิดพระราชบัญญัติการใช้รถยนต์ และอธิบดีกรมการขนส่งทางบกก็ลงความเห็นเช่นกันว่า มอเตอร์ไซค์รับจ้างไม่ผิดกฎหมายการใช้รถและกฎหมายการขนส่งทางบก ความเห็นดังกล่าวทำให้สถานีตำรวจในกรุงเทพฯ ยินยอมให้มีการตั้งวินมอเตอร์ไซค์ ในท้องที่ของตนเพิ่มขึ้น จากการสำรวจคิวรถมอเตอร์ไซค์จำนวน 49 วิน ปรากฏว่า 22 วิน (เกือบร้อยละ 45) จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2525-2527..."
ที่มา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้